Starting point and challenges of becoming the Trading Nation for food industry

จุดเริ่มต้นและอุปสรรคการเป็น “ชาติการค้า” สำหรับธุรกิจอาหาร

 

โดย: ธิปไตร แสละวงศ์

Tippatrai SaelawongSenior ResearcherThailand Development Research Institute (TDRI)

 Full article TH-EN

ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจการผลิตและการค้าสินค้าอาหารเป็นธุรกิจที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยเนื่องจากมีห่วงโซ่การผลิตที่เชื่อมโยงตั้งแต่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และธุรกิจส่งออก ในเชิงมูลค่า เพียงแค่ภาคเกษตรกรรมก็มีมูลค่าร้อยละ 8-10 ของจีดีพี ส่วนในเรื่องการจ้างงาน ธุรกิจเหล่านี้ครอบคลุมร้อยละ 30 ของการจ้างงานของไทย เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร โรงแรมและร้านอาหาร เป็นต้น

 

ด้วยเหตุนี้ธุรกิจด้านอาหารจึงเป็นสาขาที่รัฐบาลประกาศสนับสนุน เริ่มตั้งแต่โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ปี 2547 และ โครงการ Thailand Food Valley ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2555 มีเป้าหมายเชื่อมต่อสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปสำหรับรัฐบาลปัจจุบัน แนวคิดการจะเป็น “ประเทศไทย 4.0” ก็ยังเสนอให้ประเทศไทยเป็น “ชาติการค้า” ด้านธุรกิจอาหารเช่นกัน งานวิจัยยุทธศาสตร์ชาติการค้าแลยุทธศาสตร์การรวมกลุ่มภาคีธุรกิจของทีดีอาร์ไอซึ่งจัดทำให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าพบว่าแนวคิคหลักที่จะช่วยพัฒนาให้ไทยเป็นชาติการค้าที่เข้มแข็งได้มีอยู่ 2 ข้อ

 

The food industry has always been  one of the most important business sectors for the Thai economy.  This is because it is “home grown” rather than “imported”. Its long domestic value chain from farms to the food processing industry and then on to the food transportation and export business means that a large part of the value of gross exports accrued to the Thai economy.

 

In the past decade or so, agriculture, the upstream industry that supplies the critical raw materials to the country’s food businesses, still accounts for only roughly 8-10 percent of Thailand’s GDP.  However, over 30 percent of Thai workers work in the industries related to agriculture such food processing., meaning that  a third of Thai workers’ livelihood depends on the state of the agricultural sector.

 

Consequently, every government in the past has put the food industry as one of the priority industries. The Thai Kitchen of the World in 2004 and Thailand Food Valley in 2012 are the well-known example. There is no exception for the current government which announces that Thailand will be the “Trading Nation” in the food industry.  But what does that really mean?. TDRI’s recent research for the newly established Trading Policy and Strategy Office (TPSO) of the Ministry of Commerce finds that there are key drivers for Thailand to achieve the goal of becoming a “Trading Nation” in the food industry.

Chocotejas by Helena Chocolatier One of the Best of Confectionery from Ica, Peru

ช็อกโกเทจฮาส ของ “เฮเลนน่า ช็อกโกลาเทียร์” หนึ่งในร้านขนมที่ดีที่สุดจากอิคา ประเทศเปรู

Full article TH-EN

โกโก้ นับเป็นผลิตผลทางการเกษตรอีกชนิดหนึ่งที่พบมากในเปรู ซึ่งการเดินทางมาที่เมืองอิคาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสสัมผัสร้านช็อกโกแลตเก่าแก่ที่สุดในท้องถิ่น นั่นก็คือ เฮเลนน่า ช็อกโกลาเทียร์ ที่ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในร้านที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่เมืองอิคาต้องแวะมาสัมผัสเพื่อเลือกสัมผัสรสชาติของผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบบพรีเมียมสไตล์เปรูแท้ๆ ของที่นี่ ซึ่งนอกจากการมีรสชาติที่ขึ้นชื่อแล้ว อีกไฮไลท์ของที่นี่ก็คือ การเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวผ่านบานหน้าต่างบานใหญ่ของร้านเพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาสมองเห็นการผลิตกันแบบสดๆ แต่ที่พิเศษกว่าในทริปนี้ก็คือ คณะของเราได้มีโอกาสเข้าชมถึงภายในโรงงานผลิตกันเลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะพาทุกท่านไปพบกับโรงงานแห่งนี้ ผมขอพูดถึงความเป็นมาและสถานการณ์ของโกโก้และช็อกโกแลตของเปรูกันก่อน

 

เปรูกับโกโก้เเละช็อกโกเเลต

จากรายงานเรื่อง โกโก้ในประเทศเปรู: “ดาวรุ่งพุ่งแรง”” ของกระทรวงการค้าระหว่างประเทศเเละการท่องเที่ยวเเห่งเปรู โกโก้กับเปรูเปรียบเสมือนมิตรภาพที่เเน่นเเฟ้นเเละยาวนาน เเม้จะมีการถกเถียงกันมาจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของกี่แพร่กระจายของต้นโกโก้ เเต่ในวิทยานิพจน์ทางพฤกษศาสตร์เเละวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าเชื่อถือที่สุด ระบุว่าต้นไม้ทรงเตี้ยชนิดนี้ มีต้นกำเนิดมาจากตีนเทือกเขา “เเอนดีส” ในเขตร้อนเเละลุ่มเเม่น้ำ “อเมซอน” กับ “โอรีโนโก้”

 

นอกจากนั้น เปรูยังถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด เเละในด้านความหลากหลายทางพฤกษศาสตร์ เปรูจัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่ไม่เพียงเเต่ทำให้เราเข้าใจความนิยมที่คนทั่วโลกมีต่ออาหารเปรู รวมถึงช็อกโกเเลตที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เเต่ยังรวมไปถึงศักยภาพในการทำตลาดเเละคุณภาพของช็อกโกเเลตเปรูด้วย โดยสิ่งที่ทำให้เกิดคุณภาพที่ยอดเยี่ยมนี้เป็นจริงได้ คือการผสมผสานของกลิ่นเเละรสชาติที่ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มช็อกโกเเลต ช็อกโกเเลตบาร์ หรือช็อกโกเเลตในรูปเเบบต่างๆ ซึ่งมีผลมาจากความหลากหลายทางสายพันธุ์ ดิน เเละอากาศในการปลูกโกโก้ที่เปรู เเละนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมช็อกโกเเลตเปรูหรือโกโก้เปรูที่เรารู้จักนั้นต่างได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้วโลก

 

Cocao is another agricultural crop that can be found most in Peru. While taking a journey to Ica city, it was a great opportunity to visit the oldest traditional chocolate shop in town. Helena Chocolatier- it is now becoming one of a must- places, where any travelers to Ica sholud never miss to sense and enjoy the original taste of real Peru-style premier chocolate here. Apart from its well- known exceptional taste, welcoming all travelers through a giant window sash is another highlight here at Helena Chocolatier where visitors can also enjoy the fresh scene of chocolate production while tasting the chocolate. In this journey, it was a great chance ever for our international press team to visit inside the production factory. Before taking everyone to the inner part of the factory, let’s enjoy original backgrounds and situations of cocoa and chocolate in Peru.

 

Peru, Cacao and Chocolate

According to the Cacao in Peru: A Rising Star report from Peru’s Ministry of Foreign trade and Tourism, Peru and cacao share an age old intimate relationship. Although the debate is still open about the origin of the ubiquitous cacao tree, the strongest palebotanic and phytogenetic thesis holds the shrub originated in the tropical Andes foothills, in the Amazona and Orinoco rivers’ watersheds.

 

Additionally, Peru ranks among the world’s countries with the greatest biological diversity and the fourth as regards diversity of plant species. This is a key piece in understanding not just the world boom of Peruvian cuisine where chocolate fills a privileged niche, but also the great potential and quality of Peruvian chocolate. Good flavour, made possible by a combination of taste and scent, of drinking, bar and other chocolate presentations, is the result of the combined effect of the diversity of species, soils and climates for cacao. That is why Peruvian chocolate and more generally Peruvian cacao are gaining increasing world acceptance.

Agricola Don Ricardo…One of Peru’s Top Ten Grape Exporters Exploring vineyard in Ica, Peru

สำรวจไร่องุ่นส่งออก ใน อิคา เปรู

Full article TH-EN

นิตยสารฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Expoalimentaria 2016 ที่เมืองลิมา ประเทศเปรู เมื่อระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนที่งานจะเริ่มขึ้นนั้นทางผู้จัดงาน ซึ่งก็คือ ADEX ได้จัดทัวร์เชิงเกษตรกรรมแก่ผู้สื่อข่าวจากนานาชาติที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน ให้เป็นการเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรและการส่งออกพืชผลสดของในเปรูให้ดียิ่งขึ้น

 

ทั้งนี้ ประเทศเปรู นับเป็นหนึ่งในประเทศโซนอเมริกาใต้ที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่แข็งแกร่ง อ้างอิงจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกของประเทศเปรูพบว่า เปรูมีปริมาณการส่งออกแอสพารากัสและปาปริกามากที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกอย่างกล้วยและกาแฟที่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม พืชผลเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ทางเปรูปลูกเพื่อส่งออกยังมีอีกหลายชนิด ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกและแนวโน้มตลาด อย่างเช่น องุ่น อโวกาโด มะม่วง บลูเบอร์รี่ เป็นต้น โดยในทริปนี้เราได้มีโอกาสแวะเยี่ยมชมสวนองุ่นสด Agricola Don Ricardo ซึ่งเป็นไร้องุ่นเพื่อการส่งออก 100% อย่างไรก็ตาม Agricola Don Ricardo ยังมีสวนบลูเบอร์รี่และอะโวคาโดพรีเมียมเพื่อการส่งออกด้วย โดยหลักๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด อิคา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงลิมาประมาณ 400 กิโลเมตร ลงมาทางใต้ นั่นเอง

 

Food Focus Thailand magazine had the opportunity to attend the Expoalimentaria 2016 in Lima, Peru on 28-30 September 2016. Before the event was opened, ADEX, an organiser, arranged a trip for international press, to enhance understandings about agriculture and export of fresh fruits and vegetable industry of Peru.

 

Peru is considered a strong export country from South America. According to data from Peru’s Export Association, Peru is the biggest exporter of asparagus and paprika, and the growing exporter of organic products such as banana and coffee. However, there are other economic crops for exports, depending on the acreage and market trend, including grapes, avocado, mango and blueberries. In this trip, we had the opportunity to visit vineyard “Agricola Don Ricardo”, whose products (including premium blueberry, avocado and citrus) are manufactured only for export. The farm is located in Ica province, 400 kilometre south of the capital city Lima.

2017 Top Ten Trend to Watch

จับตาเทรนด์ 2560 …คลีนเลเบลตลอดห่วงโซ่ การใช้วัตถุดิบจากพืช และการลดน้ำตาล มาแรง

 

โดย: Lu Ann Williams

Director of Innovation

Innova Market Insights

contact@innovami.com

Full article TH-EN

ทุกวันนี้ แม้ว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุส่วนผสมอย่างชัดเจนและไม่มีชื่อของส่วนผสมที่ดูแล้วเสี่ยงต่อการบริโภคบนฉลากจะเป็นเทรนด์ที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2560 นี้ เทรนด์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะถูกยกระดับความเข้มข้นมากขึ้นไปอีก นอกจากจากนี้ สืบเนื่องจากการทำการตลาดในผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบพื้นฐานจากพืชและผักในกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพนั้นมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เทรนด์ของผลิตภัณฑ์ที่มีการอ้างถึงวัตถุดิบจากพืชและผักจึงก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในลิสต์ของ ท็อป 10 เทรนด์ 2560 จาก อินโนวา มาร์เก็ต อินไซท์

 

ความสนใจในความเป็นธรรมชาติและคลีนเลเบลยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องจนเกือบจะกลายเป็นธีมมาตรฐานของเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีที่ผ่านมาไปแล้ว โดยในปี 2551 “เน้นธรรมชาติ” ถือเป็นเทรนด์มาแรงที่สุดในปีนั้น และหลังจากนั้นเทรนด์ดังกล่าวก็ไม่ได้หนีไปไหน เพราะยังสามารถยึดอันดับอยู่ในลิสต์เทรนด์ที่ต้องจับตามองเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงและความจำเพาะเจาะจงมากกว่าเรื่อยๆ เช่น ในปี 2554 ที่อยู่ในเทรนด์ของ “ไม่เอาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูป” หรือจะในปี 2558ที่มาในรูปของเทรนด์ “สะอาดและชัดเจน” โดยล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมาก็อยู่ในแบบของ “ออร์แกนิคที่ชัดเจน” และแน่นอนในปีนี้ “สะอาดและชัดเจน” ก็กลับมาอีกครั้งเพียงในตำแหน่งเทรนด์อันดับ 1 ที่ต้องจับตามองกันแบบสุดๆ โดยจะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้นไปอีกระดับภายใต้ชื่อเทรนด์ “สุดยอดสะอาดและชัดเจน”

 

อินโนวา มาร์เก็ต อินไซท์ เปิดเผย 10 เทรนด์มาแรงที่คาดว่าจะมีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรมอาหารอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 2560 ผ่านการวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในตลาดทั่วโลก

 

Growing calls for transparency throughout the supply chain are taking clean & clear label to a new and supreme level. This comes as the inherent benefits of plant-based products are being active marketed to a more health conscious consumers. “Clean Supreme” and “Disruptive Green” lead Innova Market Insights’ Top Ten Trends list for 2017.

 

Interest in naturalness and clean label continues to feature strongly. It has become somewhat of a running theme through our trends forecasts in recent years. In 2008, ‘Go Natural’ led our trends list, and since then the theme has featured each year in different forms, such as ‘Processed is Out’ in 2011, ‘From Clean to Clear Label’ in 2015 and ‘Organic Growth for Clear Label’ in 2016. This year, clean & clear is a theme weaving throughout the entire list, but is specifically the case for trend #1 (‘Clean Supreme’).”

 

Innova Market Insights has revealed its top trends likely to impact the food industry in 2017 from its ongoing analysis of key global developments in food and drinks launch activity worldwide.

What are “Novel Foods”?

อาหารใหม่ “Novel Foods” คืออะไร?

โดย: รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต

Associate Professor Dr.Songsak Srianujata

Advisor

Institute of Nutrition, Mahidol University

songsak.sri@mahidol.ac.th

Full article TH-EN

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 376 พ.ศ.2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 159ง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 ในประกาศฉบับนี้ให้คำจำกัดความ อาหารใหม่ หมายความว่า

 

(1) วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่าสิบห้าปี

 

ข้อนี้อธิบายขยายความได้ว่า อะไรก็ตามที่เอามาใช้เป็นอาหาร แต่ไม่มีประวัติการบริโภคมายาวนานตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป หรืออีกนัยหนึ่งมีประวัติการบริโภคโดยทั่วไปน้อยกว่า 15 ปี จะจัดว่าเป็นอาหารใหม่ทันที ไม่ว่าจะเป็นตัวอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารก็ตาม ทั้งนี้ ถ้าเคลมว่ามีการบริโภคมาตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ต้องมีหลักฐานมายืนยันว่ามีการบริโภคเป็นอาหารโดยทั่วไป สำหรับในประเทศที่มีข้อกำหนดควบคุม เช่น สหภาพยุโรป กำหนดว่าเป็นอาหารที่ไม่ได้มีการบริโภคโดยทั่วไปในประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 15/05/1997 คือ ก่อนวันที่มีการออกกฎหมาย แต่ขณะนี้กำลังจะมีข้อกำหนดสำหรับอาหารที่มีการบริโภคทั่วไปในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคอื่นนอกสหภาพยุโรป และกำลังจะมีรายละเอียดในการพิจารณา

 

(2) วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบ ของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต (Metabolism) หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (Level of undesirable substances)

 

ในข้อนี้อาจเข้าใจยากนิดหนึ่ง ความหมายที่สำคัญ คือ ถ้าวัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้นได้มาจากกระบวนการผลิตที่แตกต่างไปจากการผลิตทั่วไป เช่น  ปกติเราเอามาบริโภคโดยการหุงต้มธรรมดา หรือกระบวนการผลิตที่ใช้กันทั่วไป เช่น การอบแห้ง การนึ่ง ทอด หรือย่าง หรือชง เป็นต้น แต่ใช้วิธีการเอามาสกัดโดยสารตัวทำละลายบางอย่างที่แตกต่างจากการบริโภคทั่วไป เช่น ปกติบริโภคโดยใช้การชงด้วยน้ำร้อน แต่ใช้สกัดด้วยสารตัวทำละลายอื่น เช่น แอลกอฮอล์เข้มข้น เป็นต้น สารตัวทำละลายที่ใช้สกัดนั้นอาจจะละลายเอาสารที่ไม่พึงประสงค์ออกมาได้ หรือทำให้รูปแบบของอาหาร รวมทั้งโครงสร้างของอาหารเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญได้ เมื่อเอาใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร อาหารที่ได้จะจัดเป็นอาหารใหม่ และเมื่อบริโภคแล้วอาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการเปลี่ยนไป หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกายผิดไปจากอาหารที่ได้จากการแปรรูปหรือการบริโภคปกติ

 

(3) ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุ (1) หรือ (2) เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร และอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม

สำหรับข้อนี้ความหมายตรงไปตรงมา คือ ถ้าสารนั้นจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร หรือเป็นอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม จะไม่ถือเป็นอาหารใหม่ แต่จะเข้าข่ายเป็นวัตถุเจือปนอาหาร หรืออาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม และควบคุมโดยประกาศเรื่องนั้นๆ

 

Novel food, according to the Notification No.376 issued by the Ministry of Public Health and published in the Royal Government Gazette, volume 133, section 159 ง, published on 15 July B.E.2559 (2016), means:

(1) Material used as food or food ingredient that has been used as food in general less than 15 years. It can be elaborated further that any material that is used as food or food ingredient which has no evidence of safe use for general consumption from 15 years and more, it will be considered as Novel Food category. The evidence to support indicating that it has been used as food in general from 15 years or more must be document recognized by the official. It can be from the reliable source as government document, peer reviewed journal or historic document from official source. In some region as EU countries, novel food means “a food that was not consumed to a significant degree by human in the EU prior to 15/05/1997” (Regulation (EU) 1997/258). However, according to the new regulation “Regulation (EU) 2015/2283”, the definition is unchanged, but there are some considerations in the area of traditional food in the third countries outside Europe. It is considered to be novel food if it is new substance, or substance from new source, or using new technique of processing.

 

(2) Substance use as food or food ingredient obtained from processing other than normal or general processing of such food. These new processing may result in altering the composition, structure, form of that food, significantly. Such altering could affect the nutritional quality, metabolic process in the body, or the change in the level of undesirable substances.

 

In this item, it may be a little difficult to understand. However, it can be elaborate further as follows. The important meaning is that “the processing method or production method” which is not commonly used to obtain the food or food ingredient, such as those other than drying, steaming, frying, grilling, or extracting with water as examples of common processing. If the food or food ingredient is obtained by extracting with concentrated alcohol or other solvent which may extract undesirable component more than water extraction, the food or food ingredient obtained is considered to be novel food. This kind of process may alter the form or structure of the food, significantly. This may also alter the nutritional value of the food, and also it may alter the biochemical metabolism in human body.

 

(3) Food product contains substance as mentioned in (1) or (2) as ingredients. However, food additive and food obtained from genetically modified organism are excluded.

The meaning is strait forward, if it is classified as food additive or food obtained from genetically modified organism, they will be controlled under relevant notifications, such as food additive will be controlled under the notification No.281, food additive.