Packaging Technology and Design The Perfect Blend of Individuality and Efficiency

 

เทคโนโลยีและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนผสมที่ลงตัวของประสิทธิภาพและความไม่ซ้ำใคร

By: Interpack

Full article TH-EN

ในภาคธุรกิจเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ต้องหัดยิงปืนนัดเดียวให้ได้นกสองตัว โดยนกตัวแรกคือความคาดหวังของผู้บริโภคที่อยากเห็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ออกแบบมาไม่ซ้ำใคร และมีฟังก์ชันหลากหลาย ขณะที่นกตัวที่สองเป็นความคาดหวังของผู้บริโภคที่เป็นกังวลต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และกระหายที่จะดื่มน้ำจากบรรจุภัณฑ์ที่อนุรักษ์ทรัพยากรและยังผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สามารถบรรลุความพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างนกสองตัวนี้ได้แล้วด้วยกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่และเครื่องมือในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบันนี้ การนำไวน์เพื่อไปร่วมเฉลิมฉลองงานปาร์ตี้นั้นอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป ของขวัญยุคใหม่ต้องก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมไปกับวัตถุดิบและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์จึงต่างออกแบบลัง กล่องพับ ตะกร้า ลังไม้ และเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ ไปจนถึงหูหิ้วเพื่อให้บรรจุภัณฑ์สื่อถึงของขวัญที่สร้างความประทับใจให้มากที่สุด ดังนั้น ขวดไวน์จำนวนมากจึงออกแบบและบรรจุในกล่องพิเศษที่มาพร้อมกับความรู้สึกที่จะมอบให้เป็นของขวัญและการสัมผัสถึงวัสดุไม้แท้ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ต่อไปจะกลายเป็นลูกเล่นน่าตื่นตาตื่นใจ เช่น โคมไฟขนาดเล็กจากการเปลี่ยนขวดเปล่าให้กลายเป็นโคมไฟประดับโต๊ะอาหาร จะเห็นว่าความไม่ซ้ำใครและความหลากหลายเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจบรรจุภัณฑ์

สถาบันวิจัยเกี่ยวกับเทรนด์ในอนาคตระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มนั้นเห็นได้ชัดเจนจากการจำหน่ายไวน์และเบียร์ในบรรจุภัณฑ์ธรรมดาซึ่งไม่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้อีกต่อไป ทางเลือกของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มผสมรสต่างๆ คือการสร้างบรรจุภัณฑ์หลายรูปแบบตามใจผู้บริโภคที่ช่างเลือก ผู้ผลิตที่ต้องการครองใจผู้บริโภคจะต้องมีสินค้าที่โดดเด่นมากที่สุดในตลาดชนิดที่ว่ามองเห็นได้เพียงแค่แว๊บเดียว อันเดรส สไตน์เลอ จากซูคุนฟต์สอินสติตูว์ท (สถาบันแห่งอนาคต) ให้ความเห็นว่า “ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ และความรู้สึกของผู้ซื้อกลายเป็นส่วนสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการเลือกบริโภคสินค้าต่างๆ โดยบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและโดดเด่นช่วยลดเวลาในการเลือกซื้อสินค้าและตัดเอาความเป็นเหตุเป็นผลออกไป เหลือเพียงแต่สัญชาตญาณ”

In the beverage sector, the packaging industry has to kill two birds with one stone. Firstly, consumers expect individually designed packages, if possible with supplementary functions. And secondly, increasingly eco-minded drinks consumers are showing a growing thirst for resource-conserving containers manufactured with environmentally compatible methods. The industry achieves this balancing act with new packaging strategies and efficient production equipment.

It is no longer enough for guests to bring their host a bottle of wine, sparkling or otherwise. The latest trend in gift packages involves celebrating the act of giving and stimulating the emotions with new materials and finishes. The companies in this segment develop cartons, folding boxes, baskets, wooden crates, decorative items and carrier bags so that gifts make a big impression. Bottles of wine are presented in exclusive gift boxes with the feel and appearance of real wood. Or the packages come with intriguing extra features – such as a miniature lamp shade for easily converting the empty bottle into a decorative table lamp. Exclusivity and diversity are all-important as far as gift packages are concerned.

What applies to this packaging segment is evident throughout the beverages market: selling just wine and beer in standard bottles is hardly capable of inspiring consumers any more. The selection of alcoholic, mixed and flavoured drinks and thus of ornate bottles as well has now become so vast that the consumer can afford to be choosy. Anyone who wants to take the consumer’s fancy has to have a product that stands out of the crowd at first glance. “There is a growing emphasis on packaging aesthetics – and hence on the emotions – and this is increasingly important in goods consumption. In a complex world, this applies all the more, as it saves time if decisions are taken not rationally but intuitively,” says Andreas Steinle of the Zukunftsinstitut (Future Institute), a think tank for trend and future research.

Five Global Packaging Trends for 2017

5 โกลบอลเทรนด์ด้านบรรจุภัณฑ์…ผลักดันไอเดีย ปี 2560

By: Mintel

Full article TH-EN

ทุกวันนี้ บ่อยครั้งที่ผู้บริโภคมักจะถูกกับดักทางการค้ารูปแบบต่างหว่านล้อมให้ชวนเชื่อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาเชิงพานิชย์ กระแสทางสังคมออนไลน์ หรือชื่อแบรนด์ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบรรจุภัณฑ์ของสินค้านั้นสามารถดึงความสนใจจากผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบคงเส้นคงวา อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ชั้นยอดเข้ากับการสื่อสารของแบรนด์สินค้าที่กระชับได้ใจความ รวมไปถึงความล้ำสมัยในอุปกรณ์การสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรศัพท์มือถือ จะช่วยขยายขอบเขตความสามารถของแบรนด์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างและหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ซึ่งกล่าวง่ายๆ ก็คือ สามารถก่อให้เกิดการช้อปปิ้งออนไลน์ได้อย่างดี ซึ่งปัจจุบัน การตลาดเหล่านี้สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้อย่างมากและมีประสิทธิภาพ

ต่อจากนี้จะเป็น 5 เทรนด์ด้านบรรจุภัณฑ์ที่ มินเทล ได้รวบรวมและวิเคราะห์แล้วว่ากำลังมาแรงในปี 2560 ซึ่งคาดว่าน่าจะช่วยสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆ ด้านบรรจุภัณฑ์ได้ต่อไป

โครงสร้างกับแบรนดิ้ง…คู่นี้ลงตัว
ฉลากสะอาดยังคงเป็นกระแสมาแรงทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แต่มีหนึ่งในสามของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาให้ข้อสังเกตว่าบรรจุภัณฑ์อาหารที่แลดูมีคุณภาพเป็นปัจจัยบ่งชี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรประมาณสามในห้ากล่าวว่า พวกเขาให้ความสนใจกับรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มมากทีเดียว ดังนั้น น่าจะถึงเวลาแล้วที่สำหรับผู้ผลิตที่จะต้องมองหาบรรจุภัณฑ์เจ๋งๆ มาใช้ โดยนกจากจะต้องสร้างความแตกต่างบนชั้นวางได้เเล้วยังต้องช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำ อีกทั้งยังต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู็บริโภครู้สึกชื่นชอบที่จะหยิบจับหรือทำอะไรซักอย่างกับบรรจุภัณฑ์ สรุปแล้วก็คือ บรรจุภัณฑ์ดีต้องปกป้องผลิตภัณฑ์ของคุณ แต่บรรจุภัณฑ์ที่ดีมากๆ ต้องปกป้องแบรนด์ของคุณ

• Consumers often and easily get caught up in the unending ebb and rapid flow of commercial fads, social issues and branded messages. With so much clatter and chatter constantly vying for their attention, packaging becomes white noise – an often silent, but steady force in consumers’ daily lives. However, the impact of the combination of superior structures and succinct branding, the way packaging and our mobile devices are becoming inextricably intertwined, and the way brands are using packaging to reach out to consumers beyond their traditional categories – to include the influence of online shopping – is having more of an impact than consumers realized…at least for now.

Here, the Mintel Global Packaging Team takes a look at five emerging, morphing and mainstreaming packaging trends. These trends are designed to inspire new ideas. and provide insight and recommendations brands can put into practice in the coming weeks, months and years.

The [Re] Union of Package Structure and Branding
Clean label messaging continues to trend around the world. But with one third of US adults noting that high-quality food packaging is an indicator of product quality, and three in five UK consumers saying they pay attention to beverage packaging formats, the time is now for brands to roll out unique packaging structures that not only differentiate on shelf, but also help form and support brand identity, as well as give consumers an incentive to spend time with them. The bottom line: good packaging protects your product. Great packaging protects your brand.

Crucial step of Myanmar after US Sanctions’ Lift

 

ก้าวย่างสำคัญของเมียนมา หลังสหรัฐอเมริกายกเลิกมาตรการคว่ำบาตร

 

โดย: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

Export-Import Bank of Thailand

Full article TH-EN

ความพยายามในการปฏิรูปประเทศสู่เส้นทางประชาธิปไตยของเมียนมาได้รับการยอมรับจากนานาชาติมากขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางอองซาน ซูจี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2559 สหรัฐฯ ประกาศยกเลิกคำสั่งฉุกเฉิน (National emergency) หรือมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเมียนมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงการถอดรายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทัพของเมียนมาออกจากบัญชีบุคคลต้องห้าม หรือ Specially Designated Nationals and Blocked Persons (SDN) List ของสหรัฐฯ ยกเว้นบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดและค้าอาวุธ ตลอดจนการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่ว ไป (Generalized System of Preferences: GSP) หลังจากเมียนมาถูกถอนชื่อออกจากกลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิ์ GSP จากสหรัฐฯ เมื่อปี 2532 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป นับเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนสู่เป้าหมายที่สหรัฐฯ ต้องการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเมียนมาในทุกมิติ รวมถึงการยกระดับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในเมียนมาให้เหมาะสม เพื่อเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ

 

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศคืนสิทธิ์ GSP ให้แก่เมียนมา โดยเมียนมาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least-Developed Beneficiary Developing Countries : LDBDCs) ซึ่งทำให้เมียนมาได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ กว่า 5,000 รายการ ทั้งนี้ ในปี 2558 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากเมียนมาเพียง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวร้อยละ 0.006 ของมูลค่านำเข้าสินค้าทั้งหมดของสหรัฐฯ แต่เป็นที่คาดว่าภายหลังการคืนสิทธิ์ GSP ให้เมียนมาจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากเมียนมาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อาหารแช่แข็ง (สัดส่วนร้อยละ 23 ของมูลค่านำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ จากเมียนมาทั้งหมด) เครื่องหนัง (ร้อยละ 20) และเครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 19) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

The reform effort of Myanmar to democratic end has been increasingly recognized from time to time, since after National League for Democracy party or NLA of Aung San Suu Kyi won a landslide victory in the general election on November 2016. Latest, United States of America announced to cancel National Emergency or officially lift all economic sanctions against Myanmar on October 7, 2016, as well as revise the name lists in Specially Designated Nationals and Blocked Persons (SDN) List, to keep Myanmar military related persons out of prohibited lists, except the persons and juristic persons that are found to get involved with drug and weapon trades. The special custom tax privilege of Generalized System of Preferences or GSP, has also been resumed and started its enforcement again on November 13, 2016 after being revoked since 1989. It is considered as a clear signal of US target in restoring its relationship with Myanmar in every dimension, including the boost of mutual trade and investment cooperation between the two countries. All of these movements have thus represented as opportunities for Thai entrepreneurs to come up with the appropriated business strategies for Myanmar market and change this challenge into an opportunity.

 

 

In addition, as Myanmar is considered as the Least- Developed Beneficiary Developing Countries: (LDBDCs), resuming of US’s GSP in Myanmar is mean of giving tax-free privileges to import 5,000 commodities from US with a zero tax.

In 2016, US had imported 150 million dollars of goods from Myanmar, which is about 0.006% of the total US imported goods.  However, after GSP has resumed, the mutual trade volumes are expected to increase significantly. The top-three exported goods from Myanmar to US are frozen foods (23% of total US imported goods from Myanmar) leatherworks (20%) and clothing (19%), as per below details:

Policies of US’s New Leader and Its Implication on Thai Food Industry

Policies of US’s New Leader and Its Implication on Thai Food Industry

ผลกระทบจากนโยบายผู้นำคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมอาหารไทย

Full article TH-EN

ปฏิเสธไม่ได้ว่าชัยชนะของทรัมป์เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายหาเสียงที่สุดโต่งและได้ใจคนหลายกลุ่มในประเทศ โดยมีหลักการพื้นฐานที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของอเมริกามาก่อน (American Comes First) โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เน้นการปกป้องทางการค้าด้วยการประกาศที่จะยกเลิก หรือทบทวนข้อตกลงทางการค้าเดิมที่มองว่าอเมริกาเสียเปรียบ ทั้งในกรอบ NAFTA, TPP หรือแม้แต่ WTO ก็อยู่ในข่ายที่อาจต้องทบทวนสถานะและความสัมพันธ์ การทบทวนความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน เม็กซิโก รวมทั้งประเทศคู่ค้าอื่นๆ เพื่อดึงการจ้างงาน (Jobs create) กลับมาให้คนอเมริกันมากขึ้น

เป้าหมายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 นั่นคือ การให้สัญญาว่าจะการสร้างงานใหม่ให้แก่ชาวอเมริกัน 25 ล้านตำแหน่ง ภายในระยะเวลา 10 ปี ด้วยการทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว โดยใช้การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสนับสนุนการเติบโต (Pro-growth tax plan) รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทรัมป์เห็นว่าไม่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นพื้นฐานสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว รวมทั้งยังช่วยให้เกิดการจ้างงานในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

 

นโยบายของผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจที่มีลักษณะกีดกันทางการค้าได้ทำลายภาพลักษณ์ความเป็นประเทศเสรีนิยมที่สนับสนุนการค้าเสรีของสหรัฐฯ มานานหลายสิบปีลงอย่างสิ้นเชิง ภาวะการณ์ดังกล่าวได้สร้างความวิตกกังวลไปทั่วโลก เพราะเกรงกันว่านโยบายที่สุดโต่งของผู้นำประเทศคนใหม่ของสหรัฐฯ หากนำไปปฏิบัติจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า รวมทั้งตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ไทยมีสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ

 

 

It is undeniable that the victory of the new US President Donald Trump comes from his extremism policies that win many people’s heart. The basic principle of his policy evolves around the idea of “American Comes First”, especially economic policies which highlight trade protectionism. Cancellation and revision of trade agreements including NAFTA, TPP and WTO are announced, as well as the trade relations with China, Mexico and other trade partners, in order to create more jobs for Americans in their homeland.

 

Objectives of Trump’s economic policies are also key factors for his victory. The 45th president promised to create more than 25 million jobs in 10 years by expanding its economy, using pro-growth tax plan and government investment in basic infrastructures. According to Trumps, public expenditure was largely neglected for a long time, and it is a foundation to create the country’s long-term growth, and to boost employment.

 

Not only had that, Trump’s new economic policies, particularly its protectionism characteristic, destroyed the US’s liberalism, pro-free trade image which has long been established. The situation stirred anxiety across the globe, as such extremism policies would not only affected the US, but also the global economy. The US is a global player in economic, trade, finance and capital. Thailand is likely to be affected by the policy, especially Thai food industry whose main export partners are also including the US.