Summarize of Thailand’s International Trade Situation and the Export Promotion Strategies to Penetrate Each Region

สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศและการจัดทำแผนผลักดันการส่งออกเชิงรุกรายภูมิภาค

โดย: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
www.ditp.go.th

Full article TH-EN

สถานการณ์การส่งออกในภาพรวมของไทยยังคงดีกว่าปีที่แล้ว โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5 จากภาวะเศรษฐกิจโลกในปีหน้าที่มีแนวโน้มจะฟื้นตัว ตลอดจนราคาน้ำมันที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าที่เกี่ยวเนื่องและกำลังซื้อของตลาดศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้น

เป้าตลาดหลัก คือ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน 5 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 CLMV เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ฮ่องกง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 อินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 รัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ทวีปออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ทวีปตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ทวีปแอฟริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และทวีปลาตินอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าติดตามผลกระทบจากนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ตลอดจนสถานการณ์อื่นๆ ที่สำคัญของโลก

ด้านสินค้าและการส่งออก
ในภาพรวมเรื่องโครงสร้างสินค้าส่งออก ขณะนี้ไทยควรจะต้องเร่งปรับโครงสร้าง ยกระดับสินค้าเน้นที่เป็นไทยแลนด์ 4.0 ให้มากขึ้น กลุ่มยานยนต์ควรจะต้องผันตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องภายใน 5 ปี จะต้องมีคลัสเตอร์สินค้าใหม่ๆ มาเป็นตัวผลักดันเพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารควรใช้นวัตกรรมปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเน้นการผลิตแบบออร์แกนิกและยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวโน้มความต้องการของโลก ตลอดจนสินค้าที่เราแข่งต้นทุนแรงงานไม่ได้ให้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้างที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

Thailand’s overall export this year has shown stronger growth compared to the same period last year. For this year, the Thai government has set to drive export target to 5 percent expansion, thanks to positive outlook on recovering global economy, and rising global oil price to drive up export value of many related products made from oil, while expected higher purchasing power in many emerging markets.

The government has set to promote export growth to each major targeted market as follows: to four major countries in ASEAN (Indonesia, Malaysia, the Philippines, and Singapore) to grow 4 percent, to CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, and Vietnam) 6.4 percent, to the United States 3.2 percent, to Japan 4 percent, to the European Union 3 percent, to Hong Kong 4 percent, to India 4 percent, to Russia 15 percent, to Australia region 7 percent, to the Middle East 2 percent, to Africa region 2.5 percent, and to Latin America market 3 percent. However, Thailand still needs to closely monitored uncertainty trade policies of trading partner countries and other uncertainty global situation as it could affect international trading and the country’s export growth.

Export Products
On export product structure, Thailand should accelerate restructuring the export sector by upgrading export products in accordance with Thailand 4.0 policy, which has focused on technology and innovation based industries. In automobile and parts, the industry needs to shift to produce Electric Vehicles or EV, as well as other automobile parts with higher technology sophisticated within the next five years. Thailand should have new products clusters to encourage overall export growth. In processed agricultural and food industry, it should adopt new innovation for increasing products quality, as well as emphasise on organic productions and sustainability, which are the global’s trend at present. Moreover, some industries such as garment and construction that Thailand could not compete as rely largely on cost of labours, enterprises should move their investment and production based to neighbouring countries as part of strategy to reduce cost of production and increase export competitiveness.

Promising Outlook for 2017 Food Exports

จับตาการส่งออกอาหารปี 2560…มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

โดย: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Kasikorn Research Center
www.kasikornresearch.com

Full article TH-EN

อุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2560 โดยคาดว่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของไทยจะมีมูลค่าประมาณ 27.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 4.0 โดยการส่งออกอาหารที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี ได้แก่ สินค้ากุ้ง (ภายใต้สมมติฐานน้ำท่วมภาคใต้ไม่เกิน 1 เดือน) ไก่ และสับปะรดกระป๋อง ในขณะที่การส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังยังคงได้รับแรงกดดันจากราคาที่ยังผันผวนตามความต้องการจากคู่ค้าหลักที่ยังแผ่วเบา

การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัว…ส่งผลดีต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวม
มูลค่าการส่งออกรวมในปี 2560 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากปี 2559 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 0.1 โดยการส่งออกได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2559 รวมทั้งค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ทั้งนี้ การส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย โดยใน ปี 2560 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีจากการฟื้นตัวของผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารจากภาวะภัยแล้งในปีก่อนหน้า และแนวโน้มการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของภาครัฐ นอกจากนั้น ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อาทิ เช่น ความเป็นไปได้ที่ไทยอาจจะได้รับการยกเลิกใบเหลืองจาก IUU Fishing การยกเลิกการนำเข้าสินค้าไก่ของไทยของเกาหลีใต้ ไข้หวัดนกที่แพร่ระบาดในหลายประเทศผู้บริโภคหลัก ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยในปี 2560 ทั้งสิ้น จากปัจจัยเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกที่กระทบต่ออุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม) ทำให้คาดว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยจะมีมูลค่าส่งออกในปี 2560 ที่ประมาณ 27.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปี 2559 ที่มีมูลค่า 26.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0

The Thai food industry looks bright overall for 2017, given that food exports are projected to reach some USD 27.4 billion, increasing 4 percent YoY, led by shrimp products (if flooding in southern Thailand is not prolonged for more than a month), plus chicken and canned pineapple. However, rice and tapioca product shipments will likely continue to be pressured by volatile prices on weak demand from key trade partners.
Recovery foreseen in 2017 food exports is a boon to the food industry
The overall value of food shipments in 2017 will likely increase over the 0.1 percent growth recorded for 2016, given that global commodity prices already bottomed out in 2016, plus the fact that the Baht will likely weaken further. The increase would also be attributable to growth in the food industry, being a backbone of the Thai economy, as well as the recovery of agricultural outputs that are raw materials for the food industry following severe drought last year, plus the government’s plans to promote the Thai food industry. Moreover, a likelihood that the European Union (EU) will withdraw its “yellow card” warning on Thailand concerning illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing, plus South Korea’s decision to lift an import ban on Thai chicken products and avian flu outbreaks confirmed in many major chicken consuming countries should benefit the Thai food export industry in 2017. Given this, the Thai food industry (excluding beverages) will likely report some USD 27.4 billion in export value for 2017, increasing 4 percent over the USD 26.3 billion recorded in 2016.

Thai Exports to CLMV in 2017 to Expand 3.8% to US$ 23 billion … after the recovery of commodity prices

คาดส่งออกไทยไป CLMV ปี ‘60 ขยายตัว 3.8% แตะ 23,000 ล้านเหรียญฯ … จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ฟื้นตัว

โดย: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Full article TH-EN

CLMV นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวอย่างโดดเด่น โดยในปี 2559 ที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้ราวร้อยละ 6.5 จากกาลังซื้อของประชาชนใน CLMV ที่ขยายตัวได้ตามการพัฒนาเศรษฐกิจ1 และจากการลงทุนยกระดับและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทางภาครัฐ รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งมีส่วนช่วยให้การส่งออกจาก CLMV ขยายตัวดีด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนโมเมนตัมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ CLMV ในปี 2560 คาดว่ายังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องราวร้อยละ 6.8 ทั้งนี้ ด้วยพัฒนาการเศรษฐกิจที่โดดเด่น ประกอบกับการมีพรมแดนที่ตั้งติดกับไทย รวมถึงการมีเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา CLMV ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยัง CLMV ที่เพิ่มขึ้นสูงจากเดิมเพียงร้อยละ 6.9 ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2554 ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 10.3 ในปี 2559
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกของไทยไปยัง CLMV ในปี 2559 หดตัวราวร้อยละ 0.1 เทียบกับการขยายตัวของการส่งออกโดยรวมของไทยที่ขยายตัวได้ร้อยละ 0.5 และสวนทางกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ CLMV ที่ยังคงสูงต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 27 ของการส่งออกไทยไปยัง CLMV ปรับตัวลดลงอย่างมากในปี 2559 ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะยังคงใกล้เคียงกับปี 2558 ซึ่งวัฏจักรของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวน ทำให้การส่งออกของไทยไป CLMV มีความผันผวนตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับโครงสร้างการส่งออกโดยรวมของไทยที่มีสัดส่วนสินค้าโภคภัณฑ์เพียงร้อยละ 19 นอกจากนี้ การเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตใน CLMV เพื่อผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานของนักลงทุนไทยและต่างชาติ เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และวัสดุก่อสร้าง อาทิ ปูนซีเมนต์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การส่งออกจากไทยไป CLMV ลดลงเช่นเดียวกัน

CLMV countries gain a remarkable growth rate. In 2016, the region expanded 6.5% as purchasing power increased from the economic development, government investment in infrastructure, and foreign direct investment (FDI) which encourages export growth. The economic growth momentum in 2017 is also predicted to remain high at 6.8%. With outstanding economic development, borders with Thailand and the ASEAN Free Trade Agreement, CLMV have become Thailand’s prominent export market as their share of Thai export increased from 6.9% in 2011 to 10.3% in 2016.

However, it is noticeable that Thailand’s export to CLMV in 2016 contracted by 0.1%, comparing to Thailand’s overall export which expanded 0.5%. The number is also contrasted with CLMV’s continuous economic growth. One particular reason is that the price of commodity products, which equals to 27% of exports from Thailand to CLMV, dropped sharply in 2016. This resulted in declining export value in 2016 despite unchanged export volume from 2015. The erratic circle of commodity prices have shaken Thailand’s export of commodity products to CLMV, considering that the goods only account for 19% of Thailand’s total export. Moreover, the establishment of commodity production plants in CLMV by Thai and foreign investors to produce goods such as drinks, personal care, and construction materials (e.g. cement), is another reason why commodity exports from Thailand to the region had shrunken.

The Idea to Produce Premuim Quality, Safe, and High Nutrition Food With Sustainability

แนวคิดการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการระดับพรีเมียมอย่างยั่งยืน

บทสัมภาษณ์พิเศษ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
และประธานจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย
Professor Emeritus
Kraisid Tontisirin, M.D., Ph.D.
Resource Person in National Food Committee
Chair of Planning Committee
for “Strategic Framework for Food Management”
in Thailand

Full article TH-EN

อาหารและโภชนาการมีความสำคัญต่อมนุษย์ตลอดวงจรชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดการได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพดีนั้นจะส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการร่างกายที่สมวัย ดังนั้น ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็มีความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณลักษณะพิเศษกว่าอาหารในชนิดหรือประเภทเดียวกันโดยทั่วไป หรือเรียกว่า “อาหารพรีเมียม”
จากการที่ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy diet) และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญนั้นทำให้เกิดการตื่นตัวของผู้ผลิตที่จะต้องหาวิธีในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy food) ให้ตรงตามความต้องการดังกล่าว นอกจากนี้ในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 2ndInternational Conference on Nutrition (ICN 2) ณ กรุงโรม เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2557 วาระเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพยังได้รับความสนใจ จากคณะกรรมการร่วม FAO และ WHO เป็นอย่างมาก โดยประเทศสมาชิกต่างให้ความสำคัญกับเรื่องการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับประชากรโลกอย่างยั่งยืน
สำหรับประเทศไทยได้มีแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ประชากร ในประเทศได้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพดี โดยมียุทธศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการจัดการอาหารของประเทศไทยที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่าง ภาคการเกษตร อาหาร โภชนาการ และสุขภาพมาโดยตลอด ทั้งนี้ยังได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนใน 5 ปี ข้างหน้าว่าประเทศไทยจะต้องเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อสุขภาพระดับพรีเมียม โดยพิจารณาความพรีเมียมจากคุณภาพอาหาร ความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการที่ดี

Food and nutrition are crucial to human being throughout the life cycle. Whatever is your aged, healthy diets will enhance physical development and promote good health. Thus, every country has given high attention to healthy diets, while people also need more special health food, which is known as “premium food”.
As the global has focused on healthy diets and food safety, manufacturers are actively producing healthy food to serve demand of the market. At the International Conference on Nutrition (ICN 2) held in Rome in November, 2014, the agenda for healthy diets was highly focused by a joint committees from FAO and WHO. Member states have paid high attention to a production of quality and healthy food for the world’s population and sustainability.
For Thailand, the country has a master plan to encourage Thai population have quality and healthy food. The government has a strategy on Thai food management to create linkage among agricultural sector, food, nutrition, and health. A concrete target has been also set in the next five years so that Thailand will become a source for premium healthy food production. This will be measured by food quality, safety, and nutrition.