Thai Beverage Businesses Take a Cautious Path Amid Various Pressures and New Excise Tax

ผู้ประกอบการเครื่องดื่มไทย…ปรับตัวระมัดระวัง
ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมหลากหลายและภาษีสรรพสามิตใหม่

โดย: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Kasikorn Research Center
www.kasikornresearch.com

Full article TH-EN

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยเติบโตในกรอบจำกัด..ท่ามกลางปัจจัยที่หลากหลาย
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทยมีฐานการบริโภคกว้างครอบคลุมผู้บริโภคทุกช่วงวัย เป็นผลให้ในตลาดมีสินค้าหลากหลายประเภทเพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจากความหลากหลายดังกล่าวทำให้เกิดการทดแทนกันได้ของผลิตภัณฑ์ทั้งในกลุ่มผู้ผลิตที่มีแบรนด์ ผู้ประกอบการร้านค้า รวมไปถึงผู้นำเข้า ส่งผลต่อเนื่องให้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ประกอบการเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดและออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน

อย่างไรก็ดี แม้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มจะมีมูลค่าตลาดค่อนข้างสูง แต่ภาพด้านการเติบโตอาจจะไม่สดใสมากนัก โดยในปี 2559 อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยมีมูลค่าตลาดมากกว่า 468,924 ล้านบาท แต่ในปี 2560 (ม.ค.-มิ.ย.) กลับพบว่ามูลค่าตลาดมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการจับจ่ายที่แปรผันตามกำลังซื้อของประชาชน กระแสการบริโภคของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนตามเวลา ตลอดจนการออกกฎระเบียบควบคุมการบริโภคสินค้าบางประเภท เช่น กำหนดเวลาการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ล่าสุดกรมสรรพสามิตได้ประกาศอัตราภาษีใหม่เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา โดยมีเจตนาลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งผลของภาษีน่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันยอดขายของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มให้ยังมีภาพการเติบโตในกรอบจำกัด เนื่องจากผู้บริโภคอาจมีแนวโน้มระมัดระวังในการบริโภคมากขึ้น

Thai Beverage Industry Grows at a Meager Pace amid Several Downsides
The Thai beverage industry has a broad consumer base, as evidenced by the vast array of both alcoholic and non-alcoholic drinks marketed here to meet the tastes of all consumer segments. Such an extensive range of beverages has resulted in a large degree of product substitution, in particular, vis-à-vis branded and imported drinks, plus beverages produced by retailers, thus steepening competition among producers to vie for greater market share and introduce new beverages to maintain their competitiveness.

Contrary to the high market value of the overall beverage industry, its growth prospects are not very encouraging. In 2016, the turnover totaled over THB 468.9 billion, but declined steadily in 1H17 from that recorded during 1H16, partly because of eroding purchasing power, changing consumer habits and regulations, such as, fixing of alcoholic beverage sale hours to control consumption of certain beverages. Most recently, new excise tax rates were put in place by the Excise Department on September 16, aimed at reducing the consumption of some beverages having detrimental effects on health. The excise tax hikes are said to be another factor that may dent overall beverage sales as consumers become more cautious towards their spending.

THE FUTURE OF CRAFT BEER – 6 TRENDS TO Watch in 2017

อนาคตของคราฟต์เบียร์ – 6 เทรนด์จาก CBR 17

โดย: มาร์ค เอ็ดเวิร์ด และ เบน เพรสตัน
Brandgenetics.com

Full article TH-EN

งาน Craft Beer Rising 2560 ที่รวมเอาโรงเบียร์กว่า 150 แห่ง เบียร์กว่า 700 แบรนด์ และไซเดอร์นานาชนิดนั้นถือเป็นงานที่พลาดไม่ได้อย่างยิ่งสำหรับคนที่ติดตามข่าวสารในวงการคราฟต์เบียร์ โดยหลังจากที่ผู้เขียนได้ไปเข้าร่วมงานดังกล่าวที่ย่านบริกเลนในกรุงลอนดอน พร้อมๆ กับสมาชิกคู่ค้ากว่า 2,000 คน และผู้ที่ชื่นชอบคราฟต์เบียร์อีกกว่า 600 คน ผู้เขียนได้ข้อสรุปหลังจากไปร่วมงานมาแล้วหลายชั่วโมงถึงแนวโน้มของนวัตกรรมคราฟต์เบียร์อย่างน้อย 6 ข้อดังต่อไปนี้

• เติมกาแฟลงไป
ในฐานะเครื่องดื่ม 2 ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหราชอาณาจักร การถือกำเนิดขึ้นมาของเครื่องดื่มเบียร์ผสมกาแฟนั่นเป็นแค่เรื่องของเวลาเท่านั้น ที่จริงแล้วผู้ผลิตเบียร์ต่างอ้างว่าสามารถสร้างสินค้ากลิ่นกาแฟได้มาสักพักแล้ว แต่เพิ่งสามารถจัดการให้ความหอม รูปลักษณ์ และเครื่องดื่มที่ได้มีรสชาติไปในทางเดียวกัน
Saranac Brewery บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มเบียร์รสกาแฟ ถือเป็นแบรนด์ที่น่าจับตามอง รวมทั้งแบรนด์ Sippin’ into Darkness จากโรงเบียร์นอร์วีเจียนอย่าง Lervig (lervig.no/en)

• ส่วนผสมที่แปลกใหม่เพิ่มเติม
ความสนุกสมัยวัยรุ่นนั้นสอนให้เรารู้ถึงอันตรายของการผสมเครื่องดื่มต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ในตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญสูตรเครื่องดื่มต่างๆ ต่างก็เริ่มทดลองส่วนผสมต่างๆ อีกครั้ง ทำให้การทดลองสูตรเครื่องดื่มที่ผสมผสานกลายเป็นเรื่องน่าสนใจอีกครั้ง สูตร “hauf and hauf” ที่ผสมวิสกีและกาแฟในปริมาณเท่าๆกัน ถือเป็นการจับคู่เครื่องดื่มที่คลาสสิกแบบหนึ่งตามสไตล์สก็อตติช และเป็นที่ชื่นชอบจนได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนทำเบียร์ที่มองหาสูตรที่ดีที่สุด โดยปัจจุบัน วิสกี้แบรนด์ Auchentoshan ซึ่งชื่อมีความหมายว่า “มุมหนึ่งในทุ่งหญ้า” ในภาษาเกอลิค (Gaelic) เป็นผู้นำตลาดอยู่ โดยมีสินค้าเฉพาะของบริษัท “Auchentoshan and Ale” เป็นเรือธง และทำงานร่วมกับบริวเวอร์ในท้องถิ่นเพื่อกระจายสินค้าได้มากขึ้น
การผสมผสานเครื่องดื่มยังเป็นที่นิยมในกลุ่มสินค้าประเภทเบียร์ โดยบริษัทเช่น Cantillon ได้ริเริ่มนำเอาส่วนผสมไม้โอ๊คบ่มในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งมีรสชาติหลากหลายและเฉพาะตัว เข้ามาผสมในเครื่องดื่ม “Gauze”

Boasting over 150 breweries and armed with more than 700 beers and ciders between them, Craft Beer Rising 2017 is a “must see” event in the craft beer calendar. I joined some of the 2000 trade members and 6000 craft beer lovers at the session in Brick Lane, London and emerged, several hours later, with the six trends shaping the future of craft beer innovation … and a few samples too.

• Time for a coffee
As two of the most prolific drinks in the UK, it was only a matter of time before these on-trend categories collided. In truth, beer the claimed to provide ‘coffee notes’ has been around for a while, but brewers have now unlocked the ability to go beyond aroma and appearance and deliver beverages with an incredible synergy of flavours.

Saranac Brewery, whose cold brew coffee lager self-professes to be “not just another coffee beer”, is a real one to watch. Along with Sippin’ into Darkness by the Norwegian brewery Lervig which is the perfect after-dinner reward.

2. Absolutely blended
Excessive teenage excitement taught many of us the perils of mixing drinks, however, now that brewing experts are turning their hand to more adventurous combinations, it is getting increasingly tempting again. A “hauf and hauf” of whisky and beer is a classic Scottish pairing and this trend is now spreading wider with many brewers pursuing that perfect cocktail. Auchentoshan whisky meaning “the corner of the fields” in Gaelic, is taking the lead in this area. Building on their signature ‘Auchentoshan and Ale’ combo, they are now working with local breweries to take this concept on the road.

Blending is also a trend across beers, with breweries such as Cantillon combining the diverse and unique taste profiles of its oak aged lambics from across the years to formulate a final bottle of ‘Gueuze’.

Thailand Food Market Report | Yogurt Market in Thailand, June 2017

 

ตลาดผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ตในประเทศไทย

โดย: ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร
สถาบันอาหาร
Food Intelligence Center
National Food Institute

Full article TH-EN

ในปี 2559 ที่ผ่านมาตลาดผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ตในประเทศไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 8.0 จากปีก่อนหน้า สาเหตุที่ตลาดนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจากการที่ผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองตระหนักถึงประโยชน์ในการรับประทานโยเกิร์ตมากขึ้น ประกอบกับวิถีชีวิตที่รีบเร่งของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคต้องการบริโภคอาหารที่สะดวกรวดเร็ว ดังนั้นนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตจึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถรับประทานเป็นอาหารเช้า อาหารว่าง หรือรับประทานในช่วงท้องว่างระหว่างวัน อีกทั้งยังสามารถนาโยเกิร์ตมาผสมกับสลัดผักหรือซีเรียลเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างง่ายๆ ซึ่งประหยัดเวลามากกว่าการทาอาหารไทยแบบทั่วไป

นอกจากนี้ จากสรรพคุณที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี จึงตอบโจทย์ผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่ใส่ใจในเรื่องความงามและต้องการเพิ่มความมั่นใจในเรื่องรูปร่างของตนเองมากยิ่งขึ้น ปัจจัยสนับสนุนเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ผลิตหันมาให้ความสนใจกับตลาดนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตมากขึ้น โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรสชาติหรือเนื้อผลไม้ที่ใส่เข้าไปในโยเกิร์ต เพื่อสร้างความแปลกใหม่และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความต้องการที่หลากหลายมากกว่าแต่ก่อน

ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยดังนี้
1. นมเปรี้ยว (Drinking Yogurt) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 22,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.4
2. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ (Plain Yogurt) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 4,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.6
3. โยเกิร์ตรสผลไม้ (Fruited Yogurt) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 1,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.0

จากส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ตจะเห็นว่านมเปรี้ยวครองส่วนแบ่งตลาดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ตลาดนมเปรี้ยวเป็นกลุ่มที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้ผลิตต้องมีการปรับตัวโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาและแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้สินค้าที่ออกใหม่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนมเปรี้ยวมากกว่าโยเกิร์ต อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาที่อัตราการเติบโตในปี 2559 พบว่า โยเกิร์ตรสธรรมชาติ และโยเกิร์ตรสผลไม้ มีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 16.0 และ 10.0 ตามลำดับ โดยได้ปัจจัยสนับสนุนมาจากผู้บริโภคที่หันมาสนใจในเรื่องของสุขภาพและรับรู้ถึงประโยชน์ในการบริโภคโยเกิร์ตมากขึ้น ส่วนนมเปรี้ยวมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 7.0 เท่านั้น

In 2016, Thailand’s yogurt market was valued at THB 28,000 million, grew 8.0% from the previous year. Reasons for the continuous growth of yogurt industry are that many consumers – city dwellers especially – have recognized the benefits of yogurt, and that many are seeking for fast and conveniently consumed food. Yogurt can answer to those demands well, because it can be eaten as breakfast, snacks, or with salad, or cereal, to quickly add the nutrition into your serving portion more than Thai food can offer.

Additionally, its laxative property also boosts its popularity among female consumers who concern with beauty and body image. These contributing factors have encouraged manufacturers to focus more on yogurt market, by promoting variation of products such as adding fruits or fruits taste into yogurt, to create distinctiveness and respond to the consumers’ demand that are varied that before.

Yogurt products can be divided into 3 sub-categories as follows;
• Drinking yogurt – with THB 22,300 million market value in 2016, accounting for 79.4%
• Plain yogurt – THB 4,400 million market value in 2016, 15.6%
• Fruited yogurt – THB 1,400 million market value in 2016, 5.0%

According to the market share, we can see that drinking yogurt is dominating the majority of the market share. This means the market for the product is very competitive, and manufacturers must adjust themselves by constantly launching new products to maintain and take over the market share. This also explains why new products are drinking yogurt rather than other types of yogurt. However, considering the market growth in 2016, natural taste yogurt and fruited yogurts have seen 16% and 10% expansion, respectively. The driving force behind this is that consumers are more focused on health and aware of yogurt consumption. Meanwhile, drinking yogurt only had 7% growth in the same year.

Drinking Milk Market in Thailand

ตลาดผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในประเทศไทย

โดย: สิทธิศักดิ์ ลีลาวิริยะวงศ์
sittisak@nfi.or.th

Full article TH-EN

ในปี 2559 ที่ผ่านมาตลาดผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 51,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 6.5 จากปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการที่ผู้บริโภคทราบถึงประโยชน์ของการบริโภคนมผ่านการประชาสัมพันธ์จากทางภาครัฐและเอกชนที่ส่งเสริมให้คนไทยหันมาบริโภคนมกันมากขึ้น ผู้บริโภคจึงมีมุมมองที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนที่มองว่านมเป็นเครื่องดื่มสำหรับเด็กเท่านั้น และหันมารับรู้มากขึ้นว่านมมีประโยชน์สำหรับผู้ใหญ่เช่นกัน ดังนั้นเครื่องดื่มประเภทนมจึงกลายเป็นเครื่องดื่มทานเล่นมากขึ้นเช่นเดียวกับการดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้

ส่วนทางด้านผู้ประกอบการได้มีการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายเพื่อผู้บริโภคในทุกช่วงอายุทั้งในเรื่องของรสชาติและขนาดบรรจุภัณฑ์ซึ่งมีการบริโภคที่แตกต่างกันไปตามช่วงอายุและการใช้ชีวิตของแต่ละคน จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ตลาดผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มเติบโตมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ตลาดนมพร้อมดื่มยังได้รับ การสนับสนุนจากสินค้าชนิดอื่นเช่นกัน อย่างเช่น กาแฟ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดการบริโภคนมพร้อมดื่มเพิ่มขึ้น เนื่องจากนมถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำกาแฟ

ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม (Drinking Milk Products) สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทย่อยดังนี้
1. นมปรุงแต่งกลิ่นรส (Flavored Milk) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 11,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4
2. นมโค (Cow’s Milk) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 18,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.2
3. นมแพะ (Goat’s Milk) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 26 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1
4. นมผง (Powder Milk) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 1,600 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.2
5. นมถั่วเหลือง (Soy Milk) ในปี 2559 มีมูลค่าตลาดประมาณ 20,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.1

In 2016, drinking milk market in Thailand valued at approximately 51,000 million baht, expanded 6.5% y-o-y partly because many consumers have learned about the benefit of milk from the promotion by the public and private sectors. At the moment, consumers have thrown away the mindset that milk is only for kids, and adopted the new mindset that milk is also profitable for adults.

Therefore, milk has gained its place as a confectionery drink similar to soda and fruit juice.

Entrepreneurs, at the same time, launch new products for consumers of all ages both in terms of taste and package sizes. This is another important factor that promotes the growth in ready-to-drink milk market. Moreover, the market is also driven by other products such as coffee. As coffee consumption grows, the demand for drinking milk is also growing as an additional product to coffee.
Products

Drinking milk products in Thailand can be divided into 5 categories;
• Flavored Milk – worth THB11,000 million in 2016, with 21.4% market share
• Cow’s Milk – worth THB18,000 million in 2016, with 35.2% market share
• Goat’s Milk – worth THB26 million in 2016, with 0.1% market share
• Powder Milk – worth THB1,600 million in 2016, with 3.2% market share
• Soy Milk – worth THB20,000 million in 2016, with 40.1% market share

LEAN: Indispensable Strategy for an Organization

 

LEAN กลยุทธการพัฒนาองค์กรที่ขาดไม่ได้

กฤชชัย อนรรฆมณี,
Kritchai Anakamanee
Lean and Productivity Consultant
kritchai.a@gmail.com

Full article TH-EN

เปิดหนังสือพิมพ์ธุรกิจวันนี้ เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ 2 ชิ้น ให้เป็นที่มาของบทความในครั้งนี้ครับ ชิ้นแรกเป็น โฆษณาโครงการของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lean Supply Chain โดยทางธนาคารประกาศรับสมัคร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อมาเข้าอบรมแนวคิดของ Lean และคาดหวังให้สามารถนำหลักการกลับไปประยุกต์ใช้ เพื่อปรับปรุงสถานประกอบการของตนเองได้ ชิ้นที่สอง เป็นโฆษณาการอบรมสัมมนาที่ทางหนังสือพิมพ์ร่วมจัดด้วย ในหัวข้อที่ว่า การบริหารแบบลีน (Lean Management) ผมปะติดปะต่อภาพจากข่าวทั้งสอง ทำให้เห็นว่า แนวคิดของ Lean นั้น ได้กลายมาเป็น ”ผลิตภัณฑ์ความรู้” หนึ่งที่มีความสำคัญ แม้แต่ธนาคารยังเลือกที่จะมาใช้เผยแพร่ เพื่อสร้างเครือข่าย และพัฒนาองค์กรให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

สำหรับด้านธุรกิจการจัดฝึกอบรมสัมมนานั้น Lean เป็นหัวข้อหนึ่ง ที่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญเพื่อ การพัฒนาปรับปรุงองค์กร มานานแล้ว ในภาคการศึกษา หากมีการพูดถึง การจัดการกระบวนการ หรือการจัดการองค์กร ก็จะมีการพูดถึงแนวคิดของ Lean เสมอ

แม้แต่ในภาครัฐเอง ก็มีการพูดถึง Lean Management ใน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภาพ (Productivity) ในการปฏิบัติราชการ โดยกล่าวว่า “มุ่งขจัดความสูญเปล่าของการดำเนินงานในทุกกระบวนการ ตัดกิจกรรม ที่ไม่มีประโยชน์หรือไม่มีการเพิ่มคุณค่าในกระบวนการออกไป”

มาถึงตรงนี้ ฝากคำถามให้กับท่านผู้อ่านว่า รู้จักกับหลักการของ Lean แล้วหรือยังครับ ถ้ายัง ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ จำเป็นต้องเรียนรู้โดยด่วนครับ มีสถาบันฝึกอบรมให้เลือกหลายแห่ง ที่จัดหลักสูตรเกี่ยวกับ Lean สำหรับในบทความนี้ ผมจะสรุปแนวคิดหลักตามพื้นที่ที่มีครับ

เริ่มต้นที่ ทำไมถึงใช้คำว่า Lean ถ้าแปลคำนี้ตรงตัวจะแปลได้ว่า ผอม เพรียว ไม่มีไขมัน Lean ได้ถูกนำมาใช้ขยายความเปรียบเทียบเป็น Lean Organization หรือ Lean Enterprise หมายถึงองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว ในการปฏิบัติงาน

หลังจากรู้จักคำว่า Lean แล้ว คำสำคัญถัดมา 2 คำที่ต้องทำความเข้าใจคือ “คุณค่า (Value)” และ “ความสูญเสีย (Waste)” ครับ หลักคิดพื้นฐานคือ ภารกิจของทุกองค์นั้นคือ การส่งมอบคุณค่าในรูปของสินค้าและบริการ ให้กับลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ (Stakeholders)

Today when I read the business newspaper, I found 2 advertorials that triggered me to write this article. One is an advertorial of a commercial bank with headline “Lean Supply Chain”. Inside, the bank is recruiting food and beverage enterprises to enroll in its course about lean business model and apply the knowledge to improve their businesses.

Another advertorial is a seminar, in which the newspaper is also a partner, in the topic of “Lean Management”. I concluded – from both advertorials – that lean strategy has become a new “knowledge package” that is getting more important that even a bank would use it for networking and developing itself for target customers.

In business training and seminars, lean strategy is one of the topics that has been used for organization development for quite a while. In an education sector, lean strategy is always mentioned when talking about process management or organizational management.

Even in the public sector, lean management is discussed in the Strategic Plan for the Thai Public Administration Development as a tool to improve productivity and “aims to eliminate waste in every process and dispose futile activities from the process”

Let me leave a question for you here if you really know what lean strategy is about. If the answer is no, I think it is an urgent matter for you to learn it. There are many institutes providing courses about lean strategy, and I will summarize some of the idea below.

We’ll start with a question, “Why Lean?” In a direct interpretation, “lean” means slim and fatless. The word “lean” is used in the term “lean organization” or “lean enterprise” to explain that a company is effective and active in its operation.

Track, Trace, and Tech

เทคโนโลยีด้านการตรวจติดตาม…ตอบโจทย์ความปลอดภัยอาหาร

By: Angela Carver
www.datexcorp.com

Full article TH-EN

ในวงการโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า การติดตามสินค้า คือ การตรวจสอบหาตำแหน่งในอดีตและปัจจุบันของสินค้าคงคลัง ซึ่งควรจะสามารถติดตามหรือตรวจสอบสินค้าคงคลังทุกชนิด ตั้งแต่จากวัตถุดิบไปจนถึงเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป รวมทั้งในระหว่างขั้นตอนต่างๆ การติดตามสินค้าสามารถดำเนินการได้ผ่านทางเทคโนโลยีการบริหารจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management; SCM) ที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับตำแหน่งและสถานะของสินค้าคงคลังเหล่านี้ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใดของซัพพลายเชน

กฎระเบียบของรัฐบาลที่นับวันเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับขั้นตอนการติดตามสินค้ามากกว่าเดิม ความเข้มงวดของภาครัฐนี้ก็เนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์เรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารในปี 2556 ซึ่งมียอดสูงสุดในประวัติศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกามีการเรียกคืนสินค้า 6 ครั้งต่อวันโดยเฉลี่ย การเรียกคืนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสินค้าประเภทต่างๆ สูงถึง 18.4 ล้านผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นยา อาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ปัญหานี้ได้จุดประกายให้ผู้ประกอบการมุ่งความสนใจไปยังเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติตลอดทั้งซัพพลายเชนมากขึ้น

เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อบริหารจัดการสินค้าหลายประเภทที่เคลื่อนย้ายไปในซัพพลายเชน ในการสร้างเส้นทางการติดตามสินค้าที่ละเอียดและแม่นยำเพื่อตอบสนองต่อกฎระเบียบใหม่ของภาครัฐนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำระบบการตรวจสอบหลายประเภทมาใช้งาน เช่น ระบบบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management System; WMS) ระบบอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification; RFID) และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติอื่นๆ

In the distribution and logistics field track and trace is defined as the process of identifying past and current locations of inventory items. This inventory should be tracked at any level from ingredient to finished product and anywhere in between. Track and trace processes are supported through a variety of SCM technologies that help to provide real-time information on both location and status of these items as they move throughout the supply chain.

A focus has been placed on track and trace due to the increasing complexity of governmental regulations. The government is becoming more active due to food recalls reaching their all-time high in 2013. On average, 6 recalls occur in the U.S. each day. These recalls impact up to 18.4 million products including pharmaceuticals, food and much more. This issue has sparked the focus on technology and automation throughout the supply chain.

These technologies are being used to manage the many moving pieces of the supply chain. In order to create a detailed, accurate audit trail needed to satisfy new regulations supply chain operators are implementing a variety of track and trace solutions including WMS, RFID and automated data collection devices.

Key Elements of Controlling Lactic Acid Bacteria in Foods and Beverages

ความสำคัญของการควบคุมเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียในอาหารและเครื่องดื่ม

คุณแสงรวี จงวนิช
Saengrawee Jongvanich
Senior Clinical Specialist
3M Health Care Business
sjongvanich@mmm.com

Full article TH-EN

เชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียเป็นแบคทีเรียที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นอกจากจะช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น แหนม ปลาส้มแล้ว ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มกลุ่ม Functional food ที่มีการใช้แลคติกแอซิดแบคทีเรียที่เป็นเชื้อกลุ่มโพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น Lactobacillus spp. ในผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออาหารเสริมในรูปแบบต่างๆ โดยโพรไบโอติกจะแย่งจับพื้นที่ของเนื้อเยื่อในลำไส้ทำให้แบคทีเรียก่อโรคอื่นๆ ไม่สามารถยึดเกาะอยู่กับผนังลำไส้ได้ ช่วยลดการเกิดการติดเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร1

การผลิตที่มีการเติมเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียลงในผลิตภัณฑ์มีข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 353 เรื่องนมเปรี้ยว คือสำหรับนมเปรี้ยวที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก ว่าต้องมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในกรรมวิธีการหมัก ดังนี้ แบคทีเรีย ไม่น้อยกว่า 10,000,000 โคโลนี ต่อกรัม 2และสำหรับอาหารที่มีการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก ตามประกาศกระทรวงสาธาณสุข ฉบับที่ 346 ต้องมีปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีชีวิต ไม่น้อยกว่า 106 CFU ต่ออาหาร 1 กรัม3 ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่ต้องการในผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการเก็บรักษา

นอกจากแลคติกแอซิดแบคทีเรียยังมีประโยชน์ในด้านคุณประโยชน์และการถนอมอาหารแล้ว ในบางกรณียังอาจทำให้อาหารมีการเสื่อมเสีย ให้รสชาติและลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่นในกรณีการพบการปนเปื้อนของแลคติกแอซิดในน้ำผลไม้ เนื่องจากเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย สามารถเจริญเติบโตและสร้างลักษณะที่ไม่พึงประสงค์4 ดังนั้น AIJN (European Fruit Juice Association) จึงกำหนดให้มีการตรวจสอบหาเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียในน้ำผักและน้ำผลไม้ รวมถึงน้ำผักและน้ำผลไม้แบบเข้มข้น5 เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ลดโอกาสการเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์ภายหลังการผลิต

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเสื่อมเสียของไข่เหลวพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งพบว่ามีสาเหตุหลักจากเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย6 ดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งจึงมีการตรวจประเมินเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียในไข่เหลวพาสเจอร์ไรส์ ก่อนที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป

Lactic acid bacteria are bacteria that have a number of potential benefits including preservation of meat products such as fermented pork, and pickled fish. In recent years, there have been remarkable developments of functional foods and beverages that use lactic acid bacteria in a group of probiotic organisms beneficial to the gastrointestinal tract, like Lactobacillus spp. It has been used for fermented milks, yogurt or in various forms of food supplements. Probiotics will capture most areas of intestinal tissues, caused other pathogenic bacteria are not to be able to adhere to the intestinal wall. That helps to reduce the gastrointestinal infections1.

Food production that contains probiotic microorganisms is subject to the requirements of the notification of the Ministry of Public Health No. 353 Re: Fermented Milk stating that fermented milk that is not subject to heat treatment after fermentation must contain microorganisms used during the production as fermented bacteria not less than 10,000 colonies per one gram2. Also, notification of the Ministry of Public Health No. 346 Re: Use of Probiotic Microorganisms in Foods required viable probiotics microorganism not less than 106 CFU per one gram of food3. That is to control the number of microorganisms required in the product throughout the end of its shelf life.

Among many-sided benefits including food preservation, nevertheless, lactic acid bacteria may also produce an antibiotic effect on other organisms that might cause spoilage, unpleasant taste and characteristics of food. There have been few instances of lactic acid contaminated with fruit juices due to the growth of lactic acid bacteria that create undesirable characteristics4. Therefore, the AIJN (European Fruit Juice Association) has required an inspection of lactic acid bacteria in vegetable juices and fruit juices, including concentrated vegetable and fruit juice5 to control product quality, and to reduce a chance of product deterioration after production.

In addition, previous research on the deterioration of pasteurized liquid eggs has revealed that primarily deterioration is caused by lactic acid bacteria6. Therefore, many industries are usually evaluated lactic acid bacteria in pasteurized liquid eggs before producing further for other products.

Shelf Life for Foods

ปนิตา กรมยินดี
Panita Kromyindee
Client Manager
British Standards Institution (BSI)
panita.kromyindee@bsigroup.com

Full article TH-EN

อาหารที่ดีที่มีประโยชน์นั้นเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร แต่อาหารที่ดีนั้นก็สามารถเน่าเสียได้ตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในอาหารทุกประเภท และอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือใช้เวลานาน

อายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ใดๆ รวมถึงอาหาร หมายถึง ระยะเวลานับตั้งแต่ผลิตเสร็จจนถึงเวลาที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่างไปจากเดิมจนถึงระดับที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับ หรือกล่าวว่าหมดอายุการบริโภค คุณภาพหมายรวมทั้งทางด้านประสาทสัมผัสซึ่งผู้บริโภคจะไม่ทราบแต่เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิต ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการตามที่ผู้ผลิตกล่าวอ้างบนฉลาก และคุณภาพทางด้านความปลอดภัยที่จะเกิดจากการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ การเคลื่อนย้ายภาชนะพลาสติก กระป๋อง ซึ่งอาจมีสารอันตราย รวมถึงเหล็กหรือดีบุกที่อาจปนเปื้อนในอาหารจนถึงปริมาณที่อาจเป็นอันตรายตามกฎหมายกำหนด

เนื่องจากอาหารมีส่วนผสมของวัตถุดิบหลากหลายชนิด และส่วนผสมดังกล่าวมีการทำปฏิกิริยาที่แตกต่างกันต่อสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบรรจุภัณฑ์ ทำให้การประเมินอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เพื่อคงคุณค่าของอาหารให้คงอยู่และเสื่อมสลายนั้นจะกำหนดให้แน่นอนค่อนข้างยาก โดยมีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์

A healthy diet is a rich source of minerals and high nutrients. However, the healthy foods can be spoiled naturally. This change will occur in every kind of foods both in a short or long period of time.

A shelf life of any product, especially food, means a length of time that the product may be stored without becoming unfit for use, consumption, or mentioned to the expire. The quality of product refers to the consumer perception. They may not realize, but it is the responsibility of the manufacturer included the nutritional value that the manufacturer claims on the label and the safety quality resulting from an increase number of microorganisms, deriving from containers including plastic, can, which may contain dangerous substances including steel or tin that may contaminate in food to meet hazardous amounts in accordance to the food regulations.

Since food has been combined of various raw materials and ingredients, which have different reaction on both inside and outside of the food container. The assessment of shelf life is quite difficult because there are many factors as follows:

“Free from” foods do not have to be free-from function

อาหาร “Free From” ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ในเชิงฟังก์ชัน

By: Stephen Quinn, JD
Business and Regulatory Director – Asia, Europe
squinn@ganedenprobiotics.com

Full article TH-EN

ผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่ม “ปราศจาก” หรือ “Free from” กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่แพ้ “Clean label” หรือ “คลีนลาเบล” ซึ่งผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหาร “Free from” หรืออาหารที่ปราศจากส่วนผสมบางชนิดที่มักจะได้ยินอยู่เสมอๆ คือ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ตลอดจนสารสังเคราะห์ เกลือ การเติมน้ำตาล และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผลมาจากความจำเป็นทางการแพทย์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มด้านสุขภาพ เมื่อพูดถึงส่วนผสมหรือส่วนประกอบในอาหารในหลายๆ กรณีมักจะมีแนวคิดว่า ส่วนผสมยิ่งน้อย คุณค่าอาหารยิ่งมาก
การขับเคลื่อนเหล่านี้เริ่มมาจากการผลิตอาหารที่มีสูตรในการผลิตโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อาหาร ซึ่งอาจมีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่ความรู้สึกไม่สบายเพียงเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงและอันตรายมาก แนวโน้มดังกล่าวเริ่มต้นจากการนำเสนออาหารที่ปราศจากนมหรือถั่ว เรื่อยมาจนถึงข้าวสาลี (กลูเตน) ในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อผู้ที่มีความรู้สึกไวต่อสิ่งกระตุ้น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือเพื่อเป็นทางเลือกด้านโภชนาการ
แนวโน้มนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีผู้บริโภคจำนวนมากต้องการอาหารที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคำว่า “Free from” ปรากฏอยู่บนฉลากเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารทั่วไป และผ่านกระบวนการผลิตเพียงเล็กน้อย (ปรุงแต่งน้อย) ยิ่งกว่านั้นการสร้างสรรค์สูตรที่ปราศจากส่วนผสมบางอย่างในอาหารมักจะต้องเลือกให้ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นปราศจากฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ สารกำจัดศัตรูพืชบางชนิด รวมทั้งส่วนผสมอาหารทางอ้อม หรือปราศจากกระบวนการผลิตอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ประเภท “Free from ” ดังกล่าว จะสามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกับแนวโน้มของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีอยู่ได้อย่างไร? สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายในการนำเสนอผู้บริโภคด้วยอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมกับการรักษาไว้ซึ่งสูตรและผลิตภัณฑ์ให้มีความสด สะอาด และคงความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีการที่เป็นหนึ่งในทางออกที่ดีคือการคิดค้นสูตรที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติกส์ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก โปรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่เมื่อเข้าไปสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมแล้วจะก่อให้ผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเรียกง่ายๆ ว่า “แบคทีเรียที่ดี” จากผลการศึกษาวิจัยใหม่ๆ ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าแบคทีเรียที่ดีในลำไส้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ดีขึ้นในเกือบทุกระบบของร่างกาย รวมถึงระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และในบางกรณียังส่งผลถึงสุขภาพจิตใจอีกด้วย

A close cousin of the “clean label” trend, “free from” foods are on the rise. Increasingly, consumers are demanding food products “free from” of a litany of food ingredients, including various allergens, artificial inclusions, salts, additional sugars, and much more. Whether driven by medical necessity or as part of a health trend, in many cases, when it comes to ingredients, less is more.

The movement has its roots in formulating products for people with food allergies ranging from uncomfortable to truly dangerous. The early stages of this trend gave us foods “free from” dairy or peanuts, and more recently wheat (gluten), all in response to individuals’ sensitivities, allergies or dietary preferences.

The trend has continued to pick up momentum, and many consumers now prefer simpler, more natural product formulations. Foods with “free from” language on the labels are perceived to be more healthful and less processed. In addition to foods formulated “free from” certain ingredients in the end product, there is also pressure to have food options “free from” hormones, antibiotics, certain pesticides, and other indirect ingredients or processes.

How does this “free from” movement mesh with the simultaneous trend of functional foods and beverages? It is a challenge to provide customers with a health benefit or function while keeping formulations and products as clean and simple as possible. One good solution to this is to formulate certain probiotic strains into foods and beverages. According to the World Health Organization’s definition, a probiotic is a live microorganism that, when administered in adequate amounts, provides a health benefit to the host organism. Most people simply know them as “good bacteria”. New research is continuously being released showing that a healthy gut flora is linked to improved health in almost every system of the body, including digestion and immune health, and in some instances even mental health.

Free-from Concept on Food Labelling in Food Industry

การแจ้งข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในเชิงปราศจาก

รัชดาภรณ์ จีนบุญ
Ratchadaporn Jeenboon
Lead Auditor
SGS (Thailand) Limited
ratchadaporn.jeenboon@sgs.com

Full article TH-EN

ในปัจจุบันนี้ ทิศทางการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของผู้บริโภค เริ่มมุ่งเน้นในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากความนิยมในการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารคลีน การดื่มเครื่องดื่มทางเลือกที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประกอบกับสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งทางสื่อออนไลน์ โทรทัศน์ หรือวิทยุล้วนมีการนำเสนอและดึงดูดให้ผู้คนมีรูปแบบของการใช้ชีวิตที่ส่งเสริมและดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

จากแนวโน้มดังกล่าวผู้ประกอบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มหลายรายได้ตัดสินใจเพิ่มช่องทางการตลาดอีกหนึ่งช่องทาง นั่นคือการแจ้งข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์ของตนเอง เพื่อให้ผู้ซื้อทราบข้อมูลของผลิตภัณฑ์และใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างจุดสนใจในสินค้าของตนเองให้ตอบรับต่อสถานการณ์การตลาดในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

การแจ้งข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์ของตนเองนั้นมีการระบุได้ในหลายรูปแบบตามลักษณะของผลิตภัณฑ์และกฎหมายอาหารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายฉลากอาหารของประเทศที่ทำการจัดจำหน่าย อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ในเชิงปราศจากบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารก็นับว่าเป็นการแจ้งข้อมูลโภชนาการที่น่าสนใจในปัจจุบัน

ข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ในเชิงปราศจาก หรือ “Free-from” บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารคือ การระบุข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อให้ผู้ซื้อทราบว่า ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ไม่มี หรือ ปราศจาก (free) จากสารอาหารชนิดใด เพื่อให้ผู้ซื้อรับทราบทางเลือกในการรับประทาน ทั้งในแง่ของการรักษาสุขภาพ หลีกเลี่ยงการรับประทานสารอาหารใดๆ มากจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการรับประทานชนิดอาหารตามความต้องการของตนเอง

Nowadays, health-conscious consumers are leading the trend like healthy foods and beverages. Then, throw in the fact there seems to be a new fitness trend, eating clean foods and drinking functional beverages. Moreover, with the mass media including social online, television and radio also delivering news to the healthy lifestyle that increases consumer awareness of health- and wellness-consciousness.

According to the healthy trend, many food and beverage manufacturers have decided to use another marketing tool to inform the nutrition of their products by labelling the nutrition fact. Providing effective information can lead to consumers making optimal purchasing decision and creating brand awareness of consumer through dramatically changing in the global trend.

There are many types of nutrition claim on the label of food and beverage products, which depending on different types of products and related food regulations of the country of origin. However, the term “free-from concept” for food labeling becomes more interesting issue as well.

The free-from label is the key for communicating such vital information to tell consumers about the foods they eat do not contain something with potentially unpleasant. More importantly, to be able to choose a well-balanced, healthy diet, consumers need to understand what is in the food they buy.