Free-from Concept High Quality is the Leading Purchase Driver for Urban Thais

แนวคิดปราศจาก…หนึ่งในปัจจัยด้านคุณภาพของสินค้าที่ผู้บริโภคชาวไทยในสังคมเมืองไว้วางใจ

Avanthi Ravindran
Senior Trend & Innovation Consultant, Southeast Asia and India
Mintel Group Ltd.

Full article TH-EN

แม้ว่าปัจจัยทางด้านราคาที่ถูกกว่านั้นจะดึงดูดผู้บริโภคในประเทศไทยให้สนใจได้มาก แต่ดูเหมือนว่าคุณภาพของสินค้าก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกซื้อจริงๆ จากงานวิจัยฉบับล่าสุดโดย Mintel ในการวิเคราะห์จัดอันดับอิทธิพลของสิ่งที่ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของคนไทยใน 5 อันดับ พบว่า 3 ใน 5 ของจำนวนผู้บริโภคในสังคมเมือง1 หรือคิดเป็นร้อยละ 58 นั้นยกให้ความมีคุณภาพสูงของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อ ตามมาคือปัจจัยด้านความสะดวกสบาย คิดเป็นร้อยละ 42 สินค้าที่มีข้อเสนอพิเศษ ร้อยละ 40 สินค้ามีความยั่งยืนใช้ได้นาน ร้อยละ 35 และสุดท้ายคือเลือกในสินค้าแบรนด์ที่โปรดปราน ร้อยละ 26

ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มมีแนวโน้มการใช้จ่ายที่รอบคอบมากขึ้น และมีผู้บริโภคจำนวนมากกำลังหันไปใช้ช่องทางออนไลน์ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อเสนอที่มีการแข่งขันและได้สินค้าที่มีราคาถูกลง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของ Mintel ก็ยังชี้ให้เห็นว่าปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็คือความมีคุณภาพสูงของสินค้าซึ่งชัดเจนที่สุด โดยผู้บริโภคมีความยินดีที่จะจ่ายแพงให้กับสินค้าที่มีคุณภาพสูงโดยเฉพาะสินค้าที่เชื่อมั่นได้ถึงความปลอดภัยและมาจากธรรมชาติ

ที่มากไปกว่านั้นก็คือผู้บริโภคกำลังให้ความห่วงใยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและมีความสนใจในสิ่งที่พวกเขาบริโภคด้วย แท้จริงแล้วคนไทยร้อยละ 37 ชอบสินค้าที่ถูกหลักการค้าที่เป็นธรรม ในขณะที่ร้อยละ 31 ชอบสินค้าที่มีการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานรัฐบาลที่เชื่อถือได้หรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสักแห่ง

โดยทุกวันนี้ผู้บริโภคในสังคมเมืองหรือร้อยละ 43 เต็มใจที่จะซื้อสินค้าที่มีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณที่ดีกว่า ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจแรกในการตัดสินใจเลือกซื้อเลยทีเดียว รองลงมาคือร้อยละ 40 หรือผู้บริโภคจำนวน 2 ใน 5 คนยินดีที่จะจ่ายแพงให้กับสินค้าที่มีการกล่าวอ้างถึงความปลอดภัย อันดับสามที่ผู้บริโภคพิจารณาคือสินค้านั้นมาจากธรรมชาติและใช้ส่วนผสมอาหารที่บริสุทธิ์ โดยผู้บริโภคมากกว่า 1 ใน 4 หรือคิดเป็นร้อยละ 27 จะยอมจ่ายในราคาสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมาจากธรรมชาติ

จากความกังวลเรื่องความปลอดภัยในส่วนผสมอาหารส่งผลต่อเทรนด์อาหารทั่วโลก ผู้บริโภคชาวไทยต่างมองหาสินค้าที่เน้นความเป็นธรรมชาติและใช้ส่วนผสมในสูตรการผลิตที่เป็นธรรมชาติโดยแท้ คำว่า “ปลอดภัย” และ “ธรรมชาติ” จึงช่วยเพิ่มความสนใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งการรับรู้ในสิ่งที่เรียกว่า “ปราศจาก” ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามความกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของอาหารและการปนเปื้อนสารเคมี

Although cheaper prices attract consumers in Thailand, it seems a product’s quality is the highest priority when making a purchase decision. According to new research from global market intelligence agency Mintel, as many as three in five (58%) metro Thai consumers1 rate high quality as a key purchase factor, making this the leading driver of buying decisions. Also ranking in the list of the top five purchase influences among metro Thais are convenience (42%), special offers (40%), durability (35%), and finally, their favourite brands (26%).

Thailand’s consumers have become more prudent with their spending in recent years. In light of this, more and more consumers are turning to online channels that give them access to competitive offers and cheaper pricing. However, our research shows that high quality remains a key driver of purchases, and consumers are still willing to pay a premium for products that are safe and natural.

Furthermore, Mintel research shows that consumers are increasingly becoming more mindful of the environment and what they are consuming. Indeed, 37% of urban Thais prefer products that maintain fair trade regulations, while just over three in 10 (31%) prefer products that carry an environmental certification from a credible government or non-profit organisation.

Consumers are now also willing to pay a premium for ‘safe to use’ claims on products, as indicated by two in five (40%) metro Thai consumers. This is the second biggest factor behind consumers’ willingness to pay a premium among urban Thais, following ‘better product performance’ (43%) which is the leading motivator. The third most important consideration for Thais to purchase products with a premium price tag is for them to be natural and formulated using pure ingredients; over one in four (27%) metro Thais said that they are willing to pay a premium for everyday products that are ‘natural’.

With ingredient safety concerns on an upward trend globally, consumers are on the lookout for products that highlight naturalness as well as clean, pure formulations. The words ‘safe’ also ‘natural’ and ‘free-from’ enhance a product’s appeal to consumers, and ‘free-from’ perceptions are only likely to grow with the increasing concerns around food safety and chemical contamination.

Russian Market: “Free From” Food Trend

ตลาดรัสเซีย: แนวโน้มอาหาร Free From

สำนักส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมอสโค รัสเซีย
Thai Trade Center Moscow
info@thaitrade.ru

Full article TH-EN

อาหาร “Free From” สําหรับผู้บริโภคที่แพ้กลูเตนและแลคโตส ยังคงเป็น Niche market ในตลาดรัสเซีย แต่ถึงแม้ว่าอาหารประเภทนี้จะได้รับความสนใจในวงกว้างขึ้น แต่ด้วยภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เอื้ออํานวย ทําให้ผู้บริโภคไม่อยากจะควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มเพื่อสินค้าที่มีคุณลักษณะพิเศษเหล่านี้

ทันทีที่ผลิตภัณฑ์ปราศจากแลคโตสถูกปลดออกจากรายการห้ามนําเข้าอาหารในรัสเซียในปี 2557 ระเบียบข้อบังคับสําหรับการนําเข้าผลิตภัณฑ์ปราศจากแลคโตสถูกเพิ่มความเข้มงวดอย่างรวดเร็วตั้งแต่กลางปี 2558 ที่กําหนดให้ผู้ผลิตต้องได้รับเอกสารอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานของรัสเซียที่ให้การรับรองการนําเข้าผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากแลคโตสมีคุณสมบัติเป็นผลิตภัณฑ์โภชนาการสําหรับการรักษาโรคและโภชนบําบัด
มูลค่าหมวดอาหารปราศจากแลคโตสเติบโตร้อยละ 15 ในปี 2559 หรือคิดเป็นมูลค่า 15.5 พันล้านรูเบิล (260 ล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นไปตามการพยากรณ์อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี แต่ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่อํานวยได้ฉุดให้ปริมาณการค้าปลีกมีปริมาณเพิ่มขึ้นได้เพียงเล็กน้อย

อาหารเด็กที่ปราศจากแลคโตสเป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการขายขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 20 ในปี 2559 โดยที่อาหารเด็กถือว่าเป็นประเภทสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองไม่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนโภชนาการของเด็ก

มูลค่าผลิตภัณฑ์นมเนยที่ปราศจากสารแลคโตสเติบโตร้อยละ 15 ในปี 2559 แต่หากคิดในแง่ปริมาณจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น มีผู้บริโภคจํานวนมากขึ้นที่มองหาอาหารที่มีโภชนาการพิเศษอย่างนมเนยที่ปราศจากแลคโตส ส่งผลให้มีสินค้าประเภทนี้วางจําหน่ายในร้านค้าปลีกมากขึ้น เช่นเดียวกับการติดฉลากให้ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ช่วยกระตุ้นความตระหนักและผลักดันยอดจําหน่ายให้ปรับตัวสูงขึ้นด้วยส่วนการผลิตนมภายในประเทศที่ปราศจากแลคโตสก็ขยายตัวมากเพื่อทดแทนสินค้านําเข้า

“Free From” food for consumers who are allergic to gluten and lactose is still a niche market in Russia. Even though this type of food had gained wider interests, but the unfavorable economic climate is making consumers less willing to spend extra cash on these special foods.

When lactose-free products was removed from import prohibition list in 2014, rules and regulations on the import of lactose-free products into Russia was rapidly amended to be much stricter by mid-2015. Manufacturers are required to obtain official authorization document from the Russian government agency to import lactose-free products with qualifications as nutritional products for diseases treatment or nutritional therapy.

Lactose-free food market expanded 15% in 2016, accounting for 15.5 billion rubles (260 million US dollar). The growth went in accordance with annual growth forecast, but the unfavorable economic environment has drawn back retail growth to expand only little.

Lactose-free children food has seen the biggest growth in 2016 at 20%. It is considered to be the product that is least affected by the economic condition, because many parents do not wish to cut expense on children’s nutrition.

Meanwhile, market for lactose-free dairy products expanded 15% in 2016, despite only 4% growth in terms of quantity. More consumers are looking for special nutrition products such as dairy products that are free-from lactose, which drives for the availability of the products in retail stores. Putting nutrition label on food packages also boosts customers’ awareness and sales for lactose free dairy products, and triggers domestic expansion in the sector to substitute for import products.

Do you know ISO8573-1:2010, the international standard for Compressor Air Quality?

คุณรู้จัก ISO8573-1:2010 มาตรฐานสากลที่ให้ข้อกำหนดสำหรับการวัดความบริสุทธิ์ลมอัดหรือไม่?

Full article TH-EN

ระบบลมอัด เป็นพลังงานสะอาดและไม่ซับซ้อน โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตหลากหลายประเภท ระบบลมอัดใช้งานง่ายและปลอดภัย แต่ถ้าหากไม่ได้รับการซ่อมบำรุงและการดูแลรักษาที่ดี อาจส่งผลเสียต่อเครื่องจักร อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ได้

ISO8573-1:2010 มาตรฐานสากลที่นิยมอ้างอิงและเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานลมอัดที่ดี ซึ่งจะระบุปริมาณการปนเปื้อนของ อนุภาคที่เป็นของแข็ง (Particles) ความชื้นหรือไอน้ำในอากาศอัด (Water) น้ำมัน ไอน้ำมัน (Total Oil Content) ในแต่ละลูกบาศก์เมตรของลมอัด การจัดการที่สำคัญคือ
1. ตั้งเป้าหมายคุณภาพอากาศอัดที่เราต้องการ
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ คอมเพรสเซอร์ที่ใช้อยู่ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
3. บำรุงรักษาอุปกรณ์คอมเพรสเซอร์อย่างสม่ำเสมอตรงตามระยะการบำรุงรักษา
4. ทดสอบความบริสุทธิ์ของลมอัด และบันทึกข้อมูล

แนวทางการเลือกอุปกรณ์กรองสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ในระบบอัดลม หรือคอมเพรสเซอร์
เลือกเครื่องกรองอากาศที่สามารถกรองละเอียดได้ถึง 0.01 μm ไมครอน และเลือกเครื่องที่ถูกสุขลักษณะสุขาภิบาล อากาศที่ปล่อยผ่านออกมาจะมีคุณภาพตามการจัดลำดับคุณภาพ Class 1 Level ตามมาตรฐาน ISO8753-1

การใช้เครื่องกรองอากาศที่มีความละเอียดสูง อาจส่งผลให้สูญเสียแรงดันในระบบลมอัดบ้าง ดังนั้นการเลือกเครื่องกรองอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อคำนึงถึงการสูญเสียแรงดันน้อยที่สุด พร้อมทั้งดูแลรักษาง่ายและสามารถใช้งานได้ยาวนาน

การเปลี่ยนชุดระบบอากาศอัดหรือคอมเพรสเซอร์ เป็นรุ่นปราศจากน้ำมัน (Oil Free Compressor) ก็สามารถช่วยให้ลมอัดสะอาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่คุณรู้หรือไม่เครื่องคอมเพรสเซอร์รุ่นปราศจากน้ำมัน (Oil Free Compressor) ส่วนมากใช้น้ำมันหล่อลื่นในระบบเกียร์ สำหรับบางรุ่นเท่านั้นที่ใช้น้ำในการหล่อลื่นซึ่งรับรองได้ว่าไม่มีน้ำมันปนเปื้อนในระบบอัดลมแน่นอน

การควบคุมการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ อีกทั้งการเลือกคอมเพรสเซอร์และเครื่องกรองก็เป็นส่วนสำคัญของการผลิตและการรักษาคุณภาพของอากาศให้ดีอยู่เสมอ

ISO8753-1 is the group of international standards relating to the purity of compressed air. It specifies the amount of contamination as Solid Particulate. Water and Oil allowable in each cubic meter of compressed air. It’s important to manage by
1. Set Air purity target
2. Check compressor facility properly for the purity target
3. Periodical properly maintenance
4. Air purity test and record

Compressed air is used in thousands of applications and is vital to the productivity of industries, easy and can use with various fields because compressed air its very safe and simple utility.

However, lack of proper maintenance, the compressed air may cause bad effect to production facility and finished goods.

Guideline to select purification equipment By using 0.01 μm filter and sanitary filter for air purity level which can be improved to Class level 1

Using filter means to occur pressure loss and element cost therefore, it’s important to choose effective filter to help perform less pressure loss, easy to maintenance and long term guarantee.

Changing Air compressor to Oil free is also obviously effective to get clean air.

You need to know many Oil free compressors use lubricant oil in gear box, but some Oil free compressor use water lubricated instead of oil, so there is no risk of oil contamination, easy maintenance, less cost and excellent result of clean air.

Control and eliminate the risk of contamination is important to keep Air quality always clean.

Crucial elements you need to know for sustainable growth in manufacturing industry (end-of-line inspection)

องค์ประกอบสำคัญที่คุณต้องรู้ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในการอุตสาหกรรม การผลิต (เฉพาะ ส่วนการตรวจสอบท้ายไลน์)

โดย: บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด
Mettler-Toledo (Thailand) Limited

Full article TH-EN

การแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น กฎข้อบังคับที่มีมากขึ้น และความต้องการที่หลากหลายรูปแบของลูกค้า ล้วนแต่เป็นความท้าทายให้เราต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่ออยู่ในธุรกิจได้อย่างมีผลกำไรดี และยั่งยืน

การใช้เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ท้ายสายการผลิตเพื่อควบคุมคุณภาพนั้น มักถูกมองว่าเป็นอุปสรรค หรือเป็นความท้าทายของผู้ผลิตอยู่เสมอ และจุดปลายทางนี้เองที่หากเราเข้าใจองค์ประกอบสำคัญอย่างแท้จริง จะเป็นส่วนช่วยให้เราเติบโตขึ้นไปอีกขั้นได้อย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ท้ายไลน์ อันได้แก่
• เครื่องตรวจสอบน้ำหนักบนสายพาน (Dynamic Checkweigher)
• เครื่องตรวจจับโลหะ – Metal Detectorพ
• เครื่องตรวจสอบสิ่งปลอมปน – X-Ray
• เครื่องตรวจสอบความถูกต้องแพคเกจสินค้าด้วยภาพ (Vision Inspection)

การใช้เครื่องมือในการตรวจสอบข้างต้นนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเข้าใจองค์ประกอบ 4 เรื่องอันได้แก่
• การตรวจจับ (Detect)
• การคัดแยก (Reject)
• การคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของเครื่องมือ (Maintain)
• การบันทึกข้อมูลและนำไปวิเคราะห์ต่อยอด (Data Integrity)

ปัจจุบัน ผู้ผลิตมักให้ความสำคัญ หรือมีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้ผ่านข้อกำหนด แต่หากขาดความเข้าใจใน 3 องค์ประกอบแรก หรือเข้าใจเพียงบางข้อ จะสร้างปัญหา และทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากมาย

More intense market competition, tightening regulations, and varieties of demands from the customers are challenging us to continually develop ourselves to stay in business profitably and sustainably.
The use of quality inspection tools at the end of the production line for quality control is often seen by many manufacturers as an obstacle or a challenge. However, at this final destination, it is where you can step up to the next level rapidly if you truly understand the important elements.
Equipment for Quality Control in End-of-Line Inspection
1. Dynamic Check-weigher
2. Metal Detector
3. X-Ray
4. Vision Inspection
4 Elements You Need to Understand before Using the Tools
1. Detection
2. Rejection
3. Maintenance
4. Data Integrity
Nowadays, many manufacturers have recognised the importance of quality control and have quality inspection tools to assess products in order to meet with requirements. However, without the clear understanding of the first 3 elements, it could cause problems or losses of great costs

Comparative Consumer Analysis between ASEAN, Japan and India

การวิเคราะห์ผู้บริโภค: ภูมิภาคอาเซียน ญี่ปุ่น และอินเดีย
By: Rieko Shofu
President and CEO
Sensing Asia Ltd.
rieko.shofu@sensingasia.com

Full article TH-EN

ภูมิภาคอาเซียน
• ภาพรวมตลาด
จากการศึกษาเปรียบเทียบประชากรที่มีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี ในแต่ละเมืองของทวีปเอเชีย ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในด้านความต้องการที่จะคงความหนุ่มสาวและให้ดูอ่อนกว่าวัย การให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงามก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ทีเดียว

ในขณะที่ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันนอลและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ผู้บริโภคก็เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับการกล่าวอ้างและสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของกฎระเบียบ ขั้นตอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์ ตลอดจนหลักฐานการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ต่อการกล่าวอ้างทางสุขภาพต่างๆ มากขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค

• แนวโน้มของผู้บริโภค
ปัญหาด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน คือ การบริโภคน้ำตาลในปริมาณสูง และอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน บางประเทศในอาเซียนได้มีการพิจารณาปรับขึ้นภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงอีกด้วย
• แนวโน้มในแต่ละประเทศ
ประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลได้ประกาศใช้ตราสัญลักษณ์แสดงสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดี (Healthier Choice Symbol; HCS) โดยตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ดังกล่าวจะติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ และร้านที่

ASEAN
• Market Overview
The comparative study in Asian cities on people in their 50s shows a clear difference among people with regards to their aspiration for being or looking young. Their sense of beauty is also quite different.
While demands for functional foods and supplement are increasing across the ASEAN region, consumers are becoming more wary about the product claims. Consistent regulations, approval procedure, and guidelines for scientifically evidenced health/functional claims are called for across the region.

• Consumer Trends
In ASEAN, high sugar intake and increasing rate of obesity and diabetes have been a big issue. Some ASEAN countries have been deliberating on the plan of imposing sugar taxes on sugary beverages and food.
• Trends by countries:
In Singapore, the government introduced Healthier Choice Symbol (HCS) Programme, which places logos on healthy food/groceries.
In Indonesia, one of the most popular products is “cooling water”. “Cooling down” is seen as an added function to the beverage.
In Thailand, high-protein health beverages have become increasingly popular. Tipco Foods Plc., has introduced “Tipco beat”, yellow pea extract-based high-protein drink.

• Marketing Strategies Case Studies: Carabao Dang Energy Drink
Carabao group successfully reaches its target – the working class population – by promoting its energy drink “Carabao Dang” with one of the founders, Aed Carabao, a leader of a famous music band “Carabao”. They also formed “Bao Dang Girls Team” and used “Cash Van model” to promote the drink.

The APAC Health and Wellness Industry: Where are We Now and What’s Next?

Full article TH-EN

อุตสาหกรรม Health and Wellness ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก: เราอยู่ที่จุดไหน และก้าวต่อไปเป็นอย่างไร

By: Reema Jagtiani
Analyst
Euromonitor International
Reema.Jagtiani@euromonitor.com

ตลาดสินค้า Health and Wellness ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด โดยในปี 2559 คิดเป็นร้อยละ 32 ของยอดจำหน่ายปลีกทั่วโลก จึงเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่จะเข้ามาจับตลาดนี้

ในปี 2559 ผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอล/ผลิตภัณฑ์เสริมสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มียอดจำหน่ายสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยธรรมชาติ (Naturally healthy products) โดยทาง Euromonitor International ได้ให้คำนิยามผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอล/ผลิตภัณฑ์เสริมสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการเสริมสารอาหารสำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น แคลเซียม โอเมก้า-3 ลงไปในระหว่างขั้นตอนกระบวนการผลิต ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะไม่พบสารอาหารดังกล่าวในอาหารตามธรรมชาติ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยธรรมชาติจะหมายถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งมีส่วนช่วยปรับปรุงสุขภาพและสุขภาวะที่ดีเป็นองค์ประกอบอยู่แล้วโดยธรรมชาติ เหนือไปกว่าอาหารที่ไม่มีการเสริมสารอาหารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ขนมปังโฮลมีล ซึ่งมีเส้นใยอาหารเป็นองค์ประกอบที่สูงอยู่แล้วโดยธรรมชาติ

การเติบโตของผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอล/ผลิตภัณฑ์เสริมสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นสัญญาณว่าผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอลโดยธรรมชาติ (Naturally functional) ที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป หรือผ่านกระบวนการแปรรูปเล็กน้อยจะมีแนวโน้มที่จะเติบโต

น้ำมะพร้าวจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืชที่มีประโยชน์เชิงฟังก์ชันโดยธรรมชาติ (Naturally functional) และน่าจับตามอง ประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นตลาดสำคัญของน้ำมะพร้าวสดในเอเชียแปซิฟิกและมียอดจำหน่ายที่เติบโตอย่างมาก ส่วนเกาหลีเป็นตลาดสำคัญของน้ำมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเติบโตกว่าร้อยละ 50 จากปี 2559-2564 ทั้งนี้ น้ำมะพร้าวมีคุณสมบัติดับกระหายและลดอาการขาดน้ำ (Hydrate) ดังนั้น การนำน้ำมะพร้าวมาใช้เป็นกลิ่นรสหรือสารผสมอาหารจะช่วยสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืนและช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์สินค้า

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์จากพืชอื่นๆ และซูเปอร์ฟู้ดก็ได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีการนำมาเป็นส่วนผสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างเช่น F&N นำเสนอผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็ก Magnolia ที่มีส่วนผสมของโกจิเบอร์รี ซึ่งจัดเป็นซูเปอร์ฟรุทชนิดหนึ่ง

นอกจากนี้ น้ำมันมะกอกก็มาแรงเช่นกัน โดยได้ขยายฐานกลุ่มผู้บริโภคไปยังตลาดเกิดใหม่อย่างจีนและอินเดียไปเรียบร้อยแล้ว ในปี 2559 ยอดจำหน่ายปลีกน้ำมันมะกอกในจีนได้แซงหน้าฝรั่งเศส และคาดว่าภายในปี 2564 ยอดจำหน่ายปลีกน้ำมันมะกอกในอินเดียจะสูงกว่าญี่ปุ่นอีกด้วย น้ำมันมะกอกอุดมไปด้วยพอลิฟีนอลซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันในเลือดเกิดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (Oxidative stress) ซึ่งเป็นการที่อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ น้ำมันมะกอกยังเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เดียวที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งสหภาพยุโรป (The European Food Safety Authority; EFSA) ให้สามารถกล่าวอ้างถึงประโยชน์ของพอลิฟีนอล (ในอาหารชนิดอื่นๆ ก็มีส่วนประกอบของพอลิฟีนอลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ) ด้วยเหตุผลนี้น้ำมันมะกอกจึงมีความโดดเด่นในตลาดสินค้าที่เกี่ยวกับ Health and Wellness ในปี 2559 ผู้ประกอบการในอินเดียได้เปิดตัวน้ำมันมะกอกที่ผลิตภายในประเทศ ทั้งยังมีแผนในระยะยาวที่จะผลิตและส่งออกน้ำมันมะกอกไปยังทั่วโลก

Accounting for about 32% of global retail value sales in 2016, the Asia-Pacific (APAC) region is the largest health and wellness market worldwide, thereby offering exciting opportunities for food and beverage players.

In 2016, fortified/functional products led value sales in the region, followed by naturally healthy products. Euromonitor International defines fortified/functional products as those that have been actively enhanced or fortified during production with additional amounts of health ingredients (e.g. calcium, omega-3) that would not normally be found in that product. Naturally healthy refers to food and beverages that naturally contain a substance that improves health and wellbeing beyond the product’s pure calorific value without being additionally fortified. An example is high fibre wholemeal bread.

The continued dominance of fortified/functional products and the growing importance of the naturally healthy segment signal a trend towards “naturally functional” food and drinks, i.e., products that are unprocessed or minimally processed.

Coconut water is one of the more dynamic botanical product categories within the naturally functional space. Key APAC markets such as Thailand and Indonesia have witnessed relatively robust value sales growth despite access to fresh coconut water and South Korea’s market for packaged coconut water is set to grow significantly by a CAGR of about 50% from 2016 to 2021. Alongside its healthy hydrating properties, the use of coconut water as a flavour or ingredient will help not only sustain future growth, but allow brands to create greater product differentiation.

The use of other botanicals and superfoods has also taken root in the region through new product development in this direction over the last couple of years. One notable example is F&N Magnolia kids’ milk drink, launched in Thailand, which contains the superfruit, goji berry.

Furthermore, the region is set to witness opportunities for olive oil, with an expanding base of consumers in emerging markets like China and India driving interest and growth. In 2016, retail value sales of olive oil in China marginally surpassed that of France, and by 2021, value sales of olive oil in India will be higher than sales in Japan. Olive oil contains rich polyphenols help protect blood lipids from oxidative stress and is the only product (some other foods also contain beneficial polyphenols) thus far approved by the European Food Safety Authority to hold this claim. This provides olive oil with a strongly marketable health and wellness attribute. The November 2016 launch of India’s own domestically produced brand of olive oil is additionally set to add to global production and supply of olive oil in the long run, further improving prospects for growth.

The Region’s Nutraceutical Needs Healthy Ageing, Digestive Health, and Personalised Nutrition are Top-of-mind

ความต้องการผลิตภัณฑ์นูทราซูติคอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มุ่งเน้นสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี สุขภาพของระบบย่อยอาหาร และโภชนาการเฉพาะบุคคล

By: Informa Exhibitions
www.vitafoodsasia.com

Full article TH-EN

ผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรมนูทราซูติคอลนำเสนอข้อมูลด้านนวัตกรรมล่าสุดและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมนูทราซูติคอลและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้

สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี: สิ่งที่ผู้บริโภคเอเชียตระหนักและให้ความสำคัญ
ข้อมูลจากคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (United Nations’ Economic & Social Commission for Asia and the Pacific; ESCAP) 1 ระบุว่า ร้อยละ 60 ของประชากรผู้สูงอายุในโลกซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้นอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ จำนวนผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์เนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อายุคาดเฉลี่ยหรืออายุโดยเฉลี่ยของประชากรที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีการคาดการณ์กันว่าจำนวนผู้สูงอายุในเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว จาก 547 ล้านคน ในปี 2559 เป็นเกือบ 1.3 พันล้านคน ภายในปี 2593

ดังนั้น การเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีจึงเป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกและประชากรในประเทศนั้นๆ ต่างให้ความสนใจ และนี่คือโอกาสของกลุ่มอุตสาหกรรมนูทราซูติคอล ทาง Lu Ann Williams ผู้อำนวยการนวัตกรรม จาก Innova Market Insights ให้ความเห็นว่า “ประเด็นด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ปัญหาของสุขภาพข้อต่อและกระดูก ตลอดจนภาวะกระดูกเปราะ เป็นหนึ่งในเรื่องที่ผู้บริโภคเอเชียให้ความสำคัญมากที่สุด ผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียจึงได้มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว”

Carolina Orgonez นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม จาก Euromonitor International ก็ได้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ภาพรวมของการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในภูมิภาคเอเชีย เธอให้ข้อมูลว่า “จากภาพรวมของโครงสร้างทางประชากรที่ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่เจนเนอเรชันของผู้สูงอายุที่มากขึ้น จึงคาดว่ายอดขายของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเสริมแคลเซียม เสริมกลูโคซามีน และเสริมวิตามินดีทั่วโลกจะแตะยอด 9.95 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564 ทั้งนี้ ประชากรเพศหญิงในโลกใบนี้มีอยู่ประมาณ 3.66 พันล้านคน และกลุ่มที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดก็คือกลุ่มผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดีที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เป็นที่น่าสนใจว่ามากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุเพศหญิงอาศัยอยู่ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนถึง 213 ล้านคน ภายในปี 2564 ดังนั้น การวางตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพเพศหญิงอย่างเหมาะสมจะเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่สำคัญต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ และด้วยจำนวนประชากรเพศหญิงที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการตระหนักในเรื่องการเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีที่มากขึ้น จึงก่อให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสุขภาพของข้อต่อและกระดูกมากขึ้นด้วย”

The industry experts share their in-depth insights on the latest innovations and key developments that will impact the nutraceutical industry and product development.

Healthy Ageing: A Pressing Concern for Asia
According to United Nations’ Economic & Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP)1, about 60% of the world’s population of older persons, defined as people at 60 years or older, live in the Asia Pacific region. Population ageing is happening at an unprecedented pace because fertility rates have been declining rapidly, while life expectancy has improved tremendously. In fact, the number of older persons in Asia Pacific is expected to more than double from 547 million in 2016 to nearly 1.3 billion by 2050.

Clearly, the notion of healthy ageing is a pressing concern for Asia Pacific countries and its people, and this presents opportunities for the nutraceutical sector. Lu Ann Williams, Director of Innovation at Innova Market Insights, commented, “Mobility-related health issues – like osteoporosis, bone health and joint health problems – are amongst the most important concerns for Asian consumers. Asian manufacturers have focused on developing healthy ageing products, and we’ve seen a surge in mobility platforms in the last five years.”

Carolina Orgonez, Industry Analyst at Euromonitor International, concurs that the outlook for healthy ageing is positive in Asia. She shared, “As the demographic panorama shifts to an older generation, calcium supplements, glucosamine, and vitamin D supplements are expected to reach global sales of USD 9.95 billion by 2021. There are 3.66 billion women on earth and the fastest-growing segment for healthy ageing is the group above 65 years of age. Over half of this elderly female population is concentrated in Asia Pacific, which will reach 213 million women by 2021. The right positioning of products towards women’s health will be one of the key drivers of growth. As the ageing population of women continues to grow, together with a generation more concerned about healthy ageing, there will be a global increase in consumer health demand for joint and bone health support.”

Food Industry in Germany

อุตสาหกรรมอาหารในเยอรมนี
By: Federal Ministry of Food and Agriculture (BMEL)
www.bmel.de

Full article TH-EN

เศรษฐกิจภาคการเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารในเยอรมนี
1. เศรษฐกิจภาคการเกษตรและอาหาร
ภาคการเกษตร ประมง และป่าไม้ ของเยอรมนี นับว่ามีผลผลิตอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัย โดยในช่วงปี 2538-2558 ภาคการเกษตรของประเทศมีผลิตภาพสูงขึ้นถึง ร้อยละ 72 และผลิตภาพของเศรษฐกิจเยอรมนีในภาพรวมก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42

เยอรมนีเป็นผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป เป็นรองเพียงฝรั่งเศสและอิตาลี โดยมีผลผลิตทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 12.5 ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดในสหภาพยุโรป ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปด้วยกัน เยอรมนีเป็นผู้ผลิตนม เนื้อสุกร เรพซีด และมันฝรั่งที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตซีเรียลหรือธัญพืช ต้นบีทที่นำไปสกัดเป็นน้ำตาล (Sugar beet) และเนื้อวัวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองอีกด้วย

พื้นที่ทำการเกษตรหรือฟาร์มในเยอรมนีส่วนใหญ่ร้อยละ 98 เป็นการดำเนินการโดยบุคคลหรือในรูปแบบหุ้นส่วน ซึ่งโดยส่วนมากเป็นธุรกิจในครอบครัว และร้อยละ 50 ของผู้ที่ทำงานในฟาร์มก็เป็นสมาชิกในครอบครัวนั่นเอง ฟาร์มเหล่านี้ใช้พื้นที่สำหรับทำการเกษตรถึงร้อยละ 99 โดยมีขนาดฟาร์มเฉลี่ยประมาณ 59.6 เฮกตาร์

เศรษฐกิจภาคอาหารของเยอรมนีจะรวมทั้งกลุ่มภาคการเกษตรดังที่กล่าวมาข้างต้น และภาคการค้าส่งสินค้าทางการเกษตร รวมทั้งงานฝีมือที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food-based crafts) อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมค้าส่งและค้าปลีก ตลอดจนกลุ่มธุรกิจ HoReCa ซึ่งคือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และการบริการจัดเลี้ยงอีกด้วย

ในเยอรมนีมีจำนวนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอาหารถึง 705,000 บริษัท มีการจ้างงาน 5.3 ล้านคน และสร้างรายได้กว่า 808 พันล้านยูโร

Agriculture, Food-based Economy and Food Industry in Germany
1. Agriculture and Food-based Economy
German agriculture, fishery and forestry is highly productive. Due to the use of advanced technology, Germany’s agriculture has increased its productivity by 72 percent between 1995 and 2015. In comparison, the productivity of the German economy as a whole has risen by 42 percent.

Germany is the third biggest agricultural producer in the European Union after France and Italy and produces 12.5 percent of the agricultural output of the European Union. Germany is the biggest milk, pork, rapeseed and potato producer and the second biggest cereal, sugar beet and beef producer in the European Union.

98 percent of the German farms are run by individuals or partnerships (mostly family run) and 50 percent of their employees are family members. These farms manage 99 percent of agricultural land. The average farm size is around 59.6 hectares.

The food-based economy includes the above mentioned sectors and agricultural wholesale trade, food-based crafts, food industry, food wholesale and retail as well as the HoReCa-sector.

The food-based economy encompasses 705,000 companies, employs 5.3 million people and generates a turnover of 808 billion Euro.

Sustainable Agriculture Principles for Food Security and More Income for Farmers

ความร่วมมืออาเซียน-เยอรมันนำเสนอหลักการระบบอาหาร-เกษตรยั่งยืน

โดย: องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)

Full article TH-EN

โครงการความร่วมมืออาเซียน-เยอรมันด้านอาหารและการเกษตรได้นำเสนอหลักการระบบอาหาร-เกษตรอย่างยั่งยืนในอาเซียนที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรในอาเซียนจำนวนกว่า 125,000 ราย เป็นมูลค่าถึง 98 ล้านยูโร (เทียบเท่าประมาณ 3,800 ล้านบาท) ในระยะเวลา 4 ปีของการทำโครงการ

โครงการความร่วมมืออาเซียน-เยอรมันได้นำเสนอ 4 หลักการ ดังนี้
• ผู้มีส่วนร่วมในทุกระดับต้องทำความเข้าใจและนำนโยบายด้านระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนไปปฏิบัติและทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
• การกำหนดบทบาทและความร่วมมือของแต่ละภาคส่วนในห่วงโซ่มูลค่า (ภาครัฐ เอกชน และผู้ผลิต) และนำจุดแข็งของแต่ละภาคส่วนมาเสริมซึ่งกันและกัน
• การให้ความสำคัญและดึงเกษตรกรรายย่อยให้มีบทบาทในห่วงโซ่มูลค่าเพื่อสร้างความยั่งยืน
• การพัฒนาผู้นำและสร้างศักยภาพของตัวบุคคลเพื่อนำไปพัฒนาภาคส่วน (หรือองค์การของตน) และสังคมในระดับต่อๆ ไป

หลักการทั้ง 4 ข้อนี้เป็นหลักการจากการทำงานร่วมมือระหว่างอาเซียน-เยอรมัน ผ่านโครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนแห่งอาเซียน (ASEAN Sustainable Agirfood Systems; ASEAN SAS) ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557-2560

โครงการ ASEAN SAS เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมอาเซียน-เยอรมัน ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการเกษตรและป่าไม้ (GAP-CC) ดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และพันธมิตรในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนเริ่มแรกจากรัฐบาลเยอรมัน 15 ล้านยูโร (เทียบเท่าประมาณ 580 ล้านบาท) และจากหุ้นส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เสริมขึ้นมาอีก 15 ล้านยูโร ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรจำนวน 125,000 รายในอาเซียน สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นถึง 98 ล้านยูโร (เทียบเท่าประมาณ 3,800 ล้านบาท) ภายในระยะเวลา 4 ปี

The four principles for sustainable agriculture stress cooperation among all stakeholders as a key for food security and already helped 125,000 farmers to get additional income of USD 115 million.

The ASEAN-German principles for sustainable agriculture in ASEAN are shown the four principles are composed of;
• Multi-level policy linkages;
• Multi-stakeholder and Public-Private Partnerships;
• Farmer inclusivity in the value chain;
• Leadership and capacity building.

The principles come from the collective efforts through the ASEAN-German partnership project, ASEAN Sustainable Agrifood Systems (SAS), from 2014-2017 to advance future sustainable agrifood systems in ASEAN.

It is part of the German-ASEAN Programme on Response to Climate Change in Agriculture and Forestry (GAP-CC) which being implemented by Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH and ASEAN partners. The project received 15 million euro initial funds from the German government with an additional 15 million euro leveraged from public and private partners. As a result, 125,000 farmers were able to generate an estimated 98 million euro of additional income.