The winner of U Share V Care. In NOVEMBER 2017
- Phanadda Tangsunawan, Head of Laboratory, Chaiyaphum Plant Product Co., Ltd.
- Prasit Jarupokkul, Vice President, May Ao Foods Co., Ltd.
- Sudarat Suwanrattanadej, R&D, Taveephol Product Co., Ltd.
การป้องกันการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจอาหารที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการก่อการร้ายในธุรกิจอาหารควรครอบคลุมทุกภาคส่วนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ การผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุอาหาร โดยมีแนวทางที่สำคัญก็คือการทำความเข้าใจและการให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร และการพิจารณาถึงผลกระทบและมูลเหตุสำคัญของการเกิดการก่อการร้าย ตลอดจนร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการป้องกัน หรือแนวทางการแก้ไขรวมถึงมาตรการตอบโต้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
การป้องกันการก่อการร้ายในธุรกิจอาหารของประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหารขึ้นในปี 2552 โดยความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริกา และได้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้แล้ว แต่สำหรับการเตรียมพร้อมของผู้ประกอบการด้านธุรกิจอาหารในทุกภาคส่วน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือถึงผลกระทบซึ่งเกิดจากการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร และเตรียมรับมือเพื่อกำหนดแนวทางการตอบโต้และการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดสถานการณ์ที่ต้องสงสัยอันสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร ซึ่งในประเด็นนี้ระบบการควบคุมและป้องกันการก่อการร้ายในธุรกิจอาหารจะมีความแตกต่างจากระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในอาหาร เช่น ระบบการวิเคราะห์อันตรายและการกำหนดจุดควบคุมวิกฤติ (HACCP) และเพื่อให้เรารู้จักและทำความเข้าใจถึงประเด็นปัญหาด้านการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร จึงควรทำความเข้าใจถึง มูลเหตุและผลกระทบของการก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในธุรกิจอาหาร กันก่อน
แนวทางการดำเนินการเพื่อควบคุมสถานการณ์การก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร
การดำเนินการในระยะที่ 1 ผู้บริหารทุกระดับขององค์กรจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงผลกระทบของการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร และทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมของการทำงานเพื่อทำการประเมินสถานการณ์ที่อาจเข้าข่ายเป็นประเด็นการก่อการร้ายในธุรกิจอาหารและนำมาสืบสวนหาสาเหตุและแรงจูงใจของกระทำดังกล่าวของกลุ่มบุคคลที่ต้องสงสัยว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการร้ายในธุรกิจอาหาร
การดำเนินการในระยะที่ 2 ผลจากการดำเนินการในระยะที่หนึ่ง องค์กรควรพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานโดยคัดเลือกตัวแทนจากผู้บริหารและอาจจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สถานการณ์การก่อการร้าย โดยคณะทำงานนี้มีหน้าที่ในการพิจารณาข้อมูลจากการสำรวจข้อมูล และการพิจารณาหาความเสี่ยงจากการกระทำอันต้องสงสัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการทำงานต่างๆ ในองค์กรเพื่อประเมินถึงบริเวณพื้นที่เสี่ยง หรือการตรวจพบกิจการอันต้องสงสัยที่อาจเกิดการก่อการร้ายขึ้นได้
การดำเนินการในระยะที่ 3 การพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมหรือแนวทางการป้องกัน
การดำเนินการในระยะที่ 4 เมื่อคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันพิจารณาถึงมาตรฐานควบคุมที่เหมาะสมแล้วจำเป็นต้องสื่อสารมาตรฐานควบคุมต่างๆ ให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ และทำความเข้าใจถึงหลักการและเหตุผลของการดำเนินงานตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
การดำเนินการในระยะที่ 5 คณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญได้กำหนดแนวทางการเฝ้าระวังตรวจสอบถึงการบังคับใช้มาตรการควบคุมต่างๆ และจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการการเฝ้าระวังมาตรการการตรวจสอบมาตรฐานการแก้ไข และอาจรวมถึงการซักซ้อมมาตรการตอบโต้กรณีเกิดเหตุที่ต้องสงสัย
การดำเนินการในระยะที่ 6 คณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญจะมีการนำเสนอผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารสูงสุดเพื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นและดำเนินการพิจารณาความเหมาะสมของมาตรการควบคุมต่างๆ ที่องค์กรมีการประยุกต์ใช้
บรรจุภัณฑ์และเครื่องบรรจุภัณฑ์แบบ Form-Fill-Seal กับการพัฒนาที่ตอบโจทย์ตลาดผู้ผลิตในปัจจุบัน
By: Iddhiputt Thamsuriya
Engineering Director
Thai Sek Son Co., Ltd
ปัจจุบันการตลาดมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ ได้มีผลผลักดันให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหันมาใช้เครื่องบรรจุแบบ Form-Fill-Seal (FFS) กันมากขึ้น เนื่องจากระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการผลิตได้สะดวก รวดเร็ว และมีราคาไม่สูง รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ออกมามีราคาถูกกว่าและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น โดยบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วยังสามารถที่จะนำกลับมารีไซเคิลได้ง่ายหรือสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ
ความยืดหยุ่น อเนกประสงค์ และการเชื่อมต่ออย่างชาญฉลาดเพื่อตอบโจทย์ 4.0
เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือกลไกของเครื่อง FFS เฉพาะตัวเครื่องจักรเองเริ่มมีความอิ่มตัว เราอาจจะไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มากนักเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทว่า การออกแบบในยุคต่อไปจะมุ่งเน้นไปที่ความยืดหยุ่นและอเนกประสงค์มากขึ้น และสามารถเชื่อมต่อแบบบูรณาการอย่างชาญฉลาดกับเครื่องจักรอื่นๆ ได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยหลักการออกแบบในยุคต่อไปจะต้องใช้ความรู้เข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นเรื่องขนาดบรรจุภัณฑ์ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ วัสดุที่นำมาใช้ การถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ง่ายและไม่ต้องใช้เครื่องมือ การเพิ่มความเร็วทางกลศาสตร์ ขนาดเครื่องจักรที่เล็กลง การใช้ระบบเซอร์โวที่ซับซ้อนมากขึ้น ระบบการตัดสินใจอัตโนมัติต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นส่วนประกอบเล็กๆ แต่สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถสร้างความต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ ทั้งนี้ เรื่องการบริการและการสนับสนุนเชิงเทคนิคก็เป็นอีกส่วนที่ต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการผลักดันตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเครื่องจักรระดับนี้มีผู้สร้างขึ้นมาแล้วในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียตะวันออก แต่ยังมีราคาที่สูงมากจึงยากที่จะเข้าถึง ทว่าเป็นโอกาสอันดีของผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะเข้าสู่ขุมทองเหล่านี้ แต่ต้องเน้นย้ำที่นวัตกรรม คุณภาพ และเทคโนโลยีที่สูงขึ้นด้วย
คาดการณ์เทคโนโลยีใหม่ที่น่าจะเปิดตัวปี 2561
ผู้ผลิตเครื่องจักร Form-Fill-Seal สัญชาติไทยชั้นนำ1 ต่างมีการตื่นตัวและมีการเตรียมตัวมานานแล้วสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยเทคโนโลยีที่คาดว่าจะพบในการเปิดตัวในปี 2561 นั้นน่าจะเป็นการดึงเอาเรื่องของการรวมระหว่างเครื่องจักรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่าย Internet of Things (IoT) ระบบการทำงานและฐานข้อมูลบนคลาวด์ การตัดสินใจแบบกระจายศูนย์และการรวมองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ และระบบการบริการผ่านอินเทอร์เน็ตเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยเครื่องจักรรูปแบบต่างจะสามารถทำงานและสื่อสารกันได้บนภาษาที่แตกต่างกัน สามารถปรับตัวเองด้วยการตัดสินใจของตัวเองเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถแก้จุดบกพร่องหรือข้อผิดพลาดได้ด้วยตัวเครื่องจักรเอง แต่อย่างไรก็ตามเทรนด์ในภาพรวมกว้างๆ ก็ยังต้องคำนึงถึงการนำเทคโนโลยีเช่น “บล็อกเชน” มาใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพและการสอบย้อนเพื่อเพิ่มคุณค่าทางห่วงโซ่การผลิตให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
อาหารจากประเทศชิลี: อาหารจานโปรดจากแผ่นดินของเรา ส่งตรงถึงโต๊ะท่าน
รัฐบาลชิลีเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกในการริเริ่มแคมเปญ “อาหารจากประเทศชิลี (Foods from Chile) อาหารจานโปรดจากแผ่นดินของเรา ส่งตรงถึงโต๊ะท่าน” แคมเปญนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าด้านอาหารและไวน์ของประเทศในแถบละตินอเมริกาในภูมิภาคเอเชียและละตินอเมริกา โดยเปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศไทย และเดินทางต่อไปยังประเทศจีน โคลอมเบีย และบราซิล
เอกอัครราชทูตชิลี คริสเตียน เรเรน ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้อธิบายเหตุผลที่เลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกเพื่อริเริ่มโครงการนี้ว่า เนื่องจากไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของชิลีด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว
“นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีของไทยและชิลี เนื่องจากความหลากหลายและความแตกต่างของทั้งสองประเทศ และการซื้อขายระหว่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือทางการค้า ระหว่างปี 2556 การส่งออกด้านอาหารของชิลีมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นกลุ่มสินค้าอาหารทะเล ปศุสัตว์ และไวน์ ในขณะที่ยอดจำหน่ายรถบรรทุกและรถยนต์ของประเทศไทยรวมมูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ แคมเปญอาหารจากประเทศชิลีซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของเราได้ดีที่สุด” เอกอัครราชทูตชิลี คริสเตียน เรเรน กล่าว
“ชิลีสืบทอดมรดกที่ดีที่สุดจากโลกใหม่และเก่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ได้รับความนิยมหลายประเภท เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ และอะโวคาโด ผสานกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยชาวสเปนที่อพยพไปชิลีในศตวรรษที่ 16 เป็นวิธีที่เราเริ่มต้นผลิตองุ่นและไวน์ มะกอกและน้ำมันมะกอก เนื้อวัว แอปเปิ้ลและเชอร์รี่ โดยสังเขป” มร.ดีเอโก้ โอเซส ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ชิลี กรมส่งเสริมการส่งออกชิลี สถานทูตชิลี กล่าว
ความคืบหน้าของเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย-ชิลี
ชิลีและไทยได้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรี ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2558 ซึ่งได้กลายเป็นสนธิสัญญาที่ 5 ของชิลีที่ลงนามกับประเทศในอาเซียน ต่อจากประเทศสิงคโปร์ บรูไน มาเลเชีย และเวียดนาม
ในข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-ชิลี ไม่มีข้อยกเว้นและสินค้าทุกประเภทที่ระบุไว้ในข้อตกลงจะปลอดภาษีภายในระยะเวลา 8 ปี ผลิตภัณฑ์จากชิลีที่ได้รับการยกเว้นภาษีทันทีหลังการลงนามในข้อตกลงฯ ได้แก่ อะโวคาโด ถั่ว ลูกเกด นมข้นหวาน เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู กระดาษและกระดาษลัง แคโทดและทองแดง ส่วนผลิตภัณฑ์ของไทย ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ รถยนต์ รถตู้ สับปะรดกระป๋อง และอื่นๆ ในเดือนมกราคม 2561 สินค้าทั้ง 250 รายการนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีระหว่าง 2 ประเทศนี้
6 เทรนด์มาแรงของอาหารมื้อว่างในปี 2561
สินค้าตัวต่อไปที่จะนำเสนอสู่ตลาด…อาจจะรุ่งหรือร่วง…ขึ้นอยู่กับบรรจุภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ไม่มีสิ่งใดที่จะรับประกันได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แต่หลังจากการเยี่ยมชมงาน Sweets & Snacks Expo ที่ผ่านมา ณ กรุงชิคาโก เราก็พอจะเห็นภาพได้…และนี่คือ 6 เทรนด์ที่น่าจับตามองของบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมื้อว่าง ไม่ว่าจะเป็น ขนมขบเคี้ยว ลูกอม และลูกกวาด
หลายๆ แบรนด์ต่างสรรหาแนวทางในการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ขนมหวานผ่านการสอดแทรกความรุ่มร้อนให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ความเผ็ดร้อนไม่ได้มีเพียงแค่มิติเดียวอีกต่อไป แต่ยังสามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก ลักษณะเนื้อสัมผัส และแน่นอนคือกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์เอง
โปรตีนทางเลือกเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นมากในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา โปรตีนจากพืช (ผัก) ได้ถูกยกระดับให้มาอยู่ในรูปแบบที่เหนือความคาดหมาย เช่น ในผลิตภัณฑ์นมและสมูธตี้ นอกจากนี้ยังถูกนำไปผสมผสานในรูปแบบของขนมขบเคี้ยวต่างๆ อย่างเช่น แครกเกอร์ ชิพ และผงโปรตีน เป็นต้น ทางแบรนด์ Ripple และ แบรนด์ Off the Eaten Path ก็ได้นำหน้าไปก่อนด้วยการนำเสนอโปรตีนจากถั่วลันเตาและผักชนิดต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แค่เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ด้วย
หลายๆ แบรนด์ได้พยายามสรรหาวิธีเพื่อสร้างความแตกต่างด้วยการสื่อสารถึงเรื่องราวของสินค้าโดยใช้วลีต่างๆ เช่น “ผลิตแบบแบทช์ (batch made)” เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกอันล้ำค่าและสื่อถึงที่มา หากมีการใช้คำว่า “ทำมืออย่างประณีต” หรือ “craft” ก็จะเป็นไปในแนวทางที่ให้ความรู้สึกโรแมนติก อย่างเช่น “ทำมือด้วยความใส่ใจ (consciously crafted)” หรือ “ทำมือสดๆ ใหม่ๆ (freshly crafted)”
แค่รสชาติแปลกและน่าทึ่งนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะผู้บริโภคยังคงมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ให้ความรู้สึกหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ขนมหวาน อย่างเช่นแบรนด์ Jolly Rancher ที่นำเอาทุกความรู้สึกมารวมกันไว้ใน “filled pops” อมยิ้มสอดไส้ซึ่งแข็งนอก หนุบใน เคี้ยวได้ และยังมีรสชาติหลากหลาย
แบรนด์ดังอย่าง Gary Poppins, Tiny But Mighty และ Angie’s Boom Chicka Pop ยังยึดฐานที่มั่นกับการสร้างสรรค์ป๊อปคอร์นซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และต่อลมหายใจโดยการเพิ่มสีสันสดใส รสชาติแปลกใหม่ และรูปแบบที่แตกต่าง นับเป็นการสร้างความคึกคักและเติมพลังให้กับช่วงเวลาของอาหารมื้อว่าง
ตัวอย่างสินค้าลอกเลียนแบบนั้นมีให้เห็นหลากหลาย โดยพยายามที่จะทำให้ดูคล้ายกับสินค้าไฮเอนด์ แต่มีคุณภาพแตกต่างกับของแท้อย่างลิบลับ เช่น ผลิตภัณฑ์กลุ่มกาแฟ และเครื่องประดับ
7 in 10 US and UK consumers want to know and understand the ingredient list
ผู้บริโภคที่ค่อนข้างรอบคอบและมีความระมัดระวังในการรับประทานจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต แพ็คเกจ และฉลากสินค้า ความตื่นตัวในการเลือกซื้อสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ ส่งผลให้ผู้บริโภคทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษถึง 4 ใน 10 เลือกซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น และอีก 7 ใน 10 ต้องการทราบรายการส่วนผสมทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาถึง 1 ใน 5 ยังได้รับอิทธิพลจากฉลากที่ระบุว่ามีส่วนผสม “จริง” และคำกล่าวอ้างด้านจริยธรรม นอกจากนี้ ฉลากที่ระบุว่า “ดีกว่าสำหรับคุณ” ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องและชิงส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มเป็นร้อยละ 49 ในปี 2560 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42 ในปี 2555
“ปัจจุบัน ผู้บริโภคแสดงออกถึงความระมัดระวังอย่างมากในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและใส่ใจในสิ่งแวดล้อม” ลู แอนน์ วิลเลี่ยม ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม จาก Innova Market Insights ระบุ “ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญในการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น และอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมในอาหาร เพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่คำนึงถึงสุขภาพ ความยั่งยืน และจริยธรรม”
Top Ten Trends to Look for in 2018
ข้อมูลจาก Innova Market Insights ได้ชี้ให้เห็นว่า ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี ได้หยุดใช้เวลาอ่านส่วนผสมบนฉลากมากขึ้น และประมาณ 7 ใน 10 ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษยังต้องการทราบและเข้าใจในรายชื่อส่วนผสมด้วย ในขณะเดียวกัน ความสนใจในจริยธรรมที่มีของผู้ผลิตในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ๆ ก็มีเพิ่มขึ้นชัดเจน ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการกล่าวอ้างถึงประเด็นนี้บนบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
ขณะที่ผู้บริโภคยังคงมองหาวิธีการกินดื่มแบบที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ยังแฝงไว้ด้วยความดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเบาๆ ไปจนถึงทั้งในแง่ของความหวาน กลิ่นรส เนื้อสัมผัส และในบางครั้งปริมาณของผลิตภัณฑ์ก็ยังนับเป็นปัจจัยที่สำคัญ และที่แน่นอนที่สุดทั้งหมดนี้ต้องดีต่อสุขภาพ เป็นที่คุ้นเคย และเป็นมิตรต่อกระเป๋าสตางค์ด้วย
ในขณะที่ความเป็นธรรมชาติและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันกำลังเป็นที่กังขาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผู้บริโภค ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต่างก็กำลังชุบชีวิตการผลิตแบบดั้งเดิมให้สามารถมีประสิทธิภาพสูงเพื่อนำใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่มให้ได้คุณภาพ ตัวอย่างเช่น กระบวนการหมัก หรือ ชากาแฟที่ชงแบบ “Cold brew” ซึ่งก็ถูกนำมาใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นต้น
ไอเดียของผู้บริโภคที่กำลังมองหาบริษัทผู้ผลิตที่ใจดี มีจริยธรรม พร้อมผลิตภัณฑ์คุณภาพมีมาตรฐาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งหมดคือเทรนด์ที่ผู้บริโภคกำลังมองหามากขึ้น แต่ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ก็ต้องเป็นนวัตกรรม มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการได้ด้วย ตัวอย่างเช่น การลดของเหลือทิ้ง การย่อยสลายได้ และการนำกลับมาใช้ใหม่ของบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
ในขณะที่กาแฟกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียม เจน “Z” ชาก็กำลังพยายามที่จะสร้างชื่อตัวเองกลับเข้ามาครองใจกลุ่มคนรุ่นหลังเช่นกัน ทั้งหมดนี้ ด้วยรสชาติและภายลักษณ์ที่เป็นที่รู้กันว่าดีต่อสุขภาพของทั้งชาและกาแฟ จึงทำให้อุตสาหกรรมหันมาใช้กาแฟและชาเป็นส่วนผสมในสูตร เพิ่มเติมรสชาติให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ มากมาย หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสูตรใน Energy bars โยเกิร์ต ไปจนถึงในแยม
20 ปีแห่งการสานต่อนวัตกรรมส่วนผสมอาหาร…สู่การยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทย
“เมื่อ 20 ปีก่อน อุตสาหกรรมอาหารของไทยเพิ่งจะเริ่มเกิดการขยายตัว โดยมีบริษัทด้านอาหารและส่วนผสมอาหารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และ “นิธิฟู้ดส์” เองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน” คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ถึงความเป็นมา และเผยกลยุทธ์แห่งความสำเร็จ
ทีละก้าวของ “นิธิฟู้ดส์” สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสมัยใหม่
ในช่วง 10 ปีแรก “นิธิฟู้ดส์” มุ่งเน้นที่จะเป็นผู้ผลิตเครื่องเทศที่มีคุณภาพสูง มีมาตรฐานระดับสากล ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และเป็นโรงงานเครื่องเทศรายแรกๆ ของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน HACCP ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพ อีกทั้งช่วยให้ลูกค้าสามารถขยายตลาดเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
“ในช่วง 10 ปีต่อมาซึ่งผมได้เข้ามารับช่วงต่อนั้น “นิธิ ฟู้ดส์” เริ่มเข้าสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูงขึ้น เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเราเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้บริโภค เช่น ซอสผงข้าวอบต้มยำในหม้อหุงข้าว ซอสผงทำอาหารแบบเอเชียฟิวชั่น และอีกกว่า 40 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้ 4 แบรนด์ของเราอย่าง เออร์เบิร์นฟาร์ม พ๊อคเก็ตเชฟ อีสท์คิทเช่น และ คิทเช่น คิทเช่น” คุณสมิต กล่าว พร้อมเผยกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในก้าวต่อไป
สำหรับก้าวต่อไปในการผลักดันอุตสาหกรรมอาหารของไทยนั้น “นิธิ ฟู้ดส์” ได้วางกลยุทธ์การดำเนินงานใน 3 เสาหลักที่สำคัญ เรื่องแรก คือ สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรภายในประเทศด้วยการส่งเสริมการเพาะปลูกกระเทียมอย่างยั่งยืน ทำให้มั่นใจในคุณภาพ รักษาสิ่งแวดล้อมของเกษตรต้นน้ำ และกลุ่มเกษตรกรยังมีความเข้มแข็งจากการที่บริษัทรับซื้อผลผลิตอย่างสม่ำเสมอทุกปี
เรื่องที่สอง คือ การคิดค้นนวัตกรรมเครื่องปรุงอาหารสำหรับธุรกิจการให้บริการด้านอาหาร หรือที่เรียกว่า HoReCa โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหารรูปแบบผงสำหรับเมนูหลากหลายสัญชาติเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น เมนูอาหารจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการวัตถุดิบได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าแบบน้ำที่ใช้อยู่ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมองถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปรุงรสให้กับอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งต่อไปด้วย
เรื่องที่สาม คือ การวิจัยส่วนผสมอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะกับผู้ที่เฝ้าระวังโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยจะนำองค์ความรู้ทางโภชนาการและวัตถุดิบอาหารนวัตกรรมมาสู่การใช้ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น
ก้าวแห่งนวัตกรรมของ “นิธิฟู้ดส์” ในยุคอุตสาหกรรม 4.0
“เมื่อเราเองสามารถพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมอาหารออกมาได้หลากหลาย สามารถหยิบเอาองค์ความรู้สมัยใหม่มาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ผมพบว่าเรามีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของการพัฒนารสชาติอาหารในระดับสูง จึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างสรรค์ “นวัตกรรมแบบเปิด” (Open Innovation) โดยจัดตั้งสถาบันวิจัยรสชาติอาหาร บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs หรือ OTOP ที่มีความต้องการจะพัฒนารสชาติผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ให้มาใช้ความสามารถและประสบการณ์ของเราได้” คุณสมิต กล่าว
“เมื่อเชื่อมต่อธุรกิจอาหารของไทยเข้าสู่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยจะก้าวสู่ยุค 4.0 ได้อย่างเร็วขึ้นแน่นอน” คุณสมิต กล่าวสรุป
7 คุณประโยชน์อัศจรรย์…น้ำมันหอมระเหยออริกาโน
By: OrganicFacts
Translated by: Food Focus Thailand Magazine
หลายคนรู้จักออริกาโนในฐานะที่เป็นพืชสมุนไพรยอดนิยมชนิดหนึ่งซึ่งใช้เป็นเครื่องเทศที่ช่วยเพิ่มกลิ่นรสให้กับอาหาร อันที่จริงออริกาโนยังจัดเป็นพืชสมุนไพรประเภทไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Origanum vulgare โดยเป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากทีเดียว ลักษณะของต้นออริกาโนมีความใกล้เคียงกับมินท์ และจัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกับสะระแหน่ ดังนั้น พืชตระกูลดังกล่าวจึงมีสารประกอบอินทรีย์ที่เหมือนกันและมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่างที่คล้ายกัน โดยชิ้นส่วนของต้นออริกาโนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ก็คือใบ แต่ก็น่าแปลกที่เมื่อนำใบมาทำแห้งแล้ว ความหอมและกลิ่นรสของมันกลับอ่อนลงเมื่อเทียบกับใบสด ซึ่งผิดจากสมุนไพรทั่วไป
น้ำมันหอมระเหยออริกาโนได้มาอย่างไร
น้ำมันหอมระเหยออริกาโนมีการนำมาใช้ครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณเนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงได้รับการยอมรับให้นำมาใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียบริเวณผิวหนังหรือบาดแผล และยังมีการนำไปใช้เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสียจากเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย น้ำมันหอมระเหยดังกล่าวนี้สกัดได้จากใบออริกาโนสดโดยใช้กระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำและได้สารออกฤทธิ์สำคัญหลายชนิด ได้แก่ คาร์วาครอล ไธมอล ไซมีน แคริโอฟิลลีน ไพนีน ไบซาโบลีน ไลนาโลออล บอนีออล เจอรานิลอะซีเทต ไลนาลิลอะซีเทต และเทอร์พินีน ทั้งนี้ สารสกัดน้ำมันหอมระเหยออริกาโนสามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีกหลายรูปแบบเช่นกัน โดยเฉพาะการบำบัดด้วยกลิ่นหอมซึ่งถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมายาวนานกว่าทศวรรษเลยทีเดียว และคุณเองก็สามารถนำมาใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นการทาที่ผิวโดยตรงหรือใช้คู่กับน้ำมันมะพร้าวเพื่อช่วยฟื้นบำรุงสภาพผิวให้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายสามารถนำมารับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งจะกินในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือเจือจางกับน้ำผึ้งหรือผสมในเครื่องดื่มทั่วไป
น้ำมันหอมระเหยออริกาโนมีการนำมาใช้ครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณเนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงได้รับการยอมรับให้นำมาใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียบริเวณผิวหนังหรือบาดแผล และยังมีการนำไปใช้เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสียจากเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย น้ำมันหอมระเหยดังกล่าวนี้สกัดได้จากใบออริกาโนสดโดยใช้กระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำและได้สารออกฤทธิ์สำคัญหลายชนิด ได้แก่ คาร์วาครอล ไธมอล ไซมีน แคริโอฟิลลีน ไพนีน ไบซาโบลีน ไลนาโลออล บอนีออล เจอรานิลอะซีเทต ไลนาลิลอะซีเทต และเทอร์พินีน ทั้งนี้ สารสกัดน้ำมันหอมระเหยออริกาโนสามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีกหลายรูปแบบเช่นกัน โดยเฉพาะการบำบัดด้วยกลิ่นหอมซึ่งถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมายาวนานกว่าทศวรรษเลยทีเดียว และคุณเองก็สามารถนำมาใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นการทาที่ผิวโดยตรงหรือใช้คู่กับน้ำมันมะพร้าวเพื่อช่วยฟื้นบำรุงสภาพผิวให้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายสามารถนำมารับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งจะกินในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือเจือจางกับน้ำผึ้งหรือผสมในเครื่องดื่มทั่วไป
18 กันยายน 2560 – กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (T Mark) ให้แก่ 67 องค์กรธุรกิจไทย เจ้าของสินค้าและบริการคุณภาพมาตรฐานสากล ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 18 กันยายน 2560 โดยได้รับเกียรติจากนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธี เพื่อการันตีคุณภาพระดับสากลของสินค้าและบริการ หวังช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ไทยในตลาดต่างประเทศ พร้อมสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่าได้รับสินค้าและบริการคุณภาพสากลทำด้วยใจคนไทยอย่างแท้จริง
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เวทีการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก ผู้ประกอบการแต่ละประเทศต่างมีกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบและจุดขาย เพื่อ
กุมหัวใจของผู้บริโภคให้ได้ ซึ่งผู้บริโภคสมัยนี้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงยังสนใจเรื่องความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ด้วยตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงจัดทำตราสัญลักษณ์ T Mark ขึ้นมา เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่า สินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์นี้มาจากประเทศไทย มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากลและเชื่อถือได้ เนื่องจากบริษัทที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark ต้องมีมาตรฐานด้านต่างๆ ตรงตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการ ได้แก่ กระบวนการผลิต การใช้แรงงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทจะต้องขอต่ออายุการใช้ตราสัญลักษณ์นี้ทุกๆ 3 ปี ดังนั้นจึงหมายความว่าจะต้องรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากต้องมีการประเมินทุกๆ 3 ปี
“สินค้าและบริการไทยได้รับการยอมรับและเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่แล้ว โดยกรมฯ พบว่า ตรา T Mark ช่วยให้ผู้บริโภคชาวต่างชาติตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เพราะพวกเขามั่นใจว่าสินค้าและบริการเหล่านี้ผลิตอย่างพิถีพิถันในเมืองไทย และมีคุณภาพดี”
สำหรับปีนี้ มีบริษัทผ่านการคัดเลือกได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark รวมทั้งสิ้น 67 บริษัท แบ่งเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร 20 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก 14 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ 12 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น 2 บริษัท และกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป 19 บริษัท โดยบริษัทที่ได้รับตราสัญลักษณ์สามารถ
นำตราสัญลักษณ์ไปติดบนสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตราสินค้า และความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าในกลุ่มผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน ยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่น อาทิ ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในสื่อต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ตลอดจนรับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ และได้รับการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นลำดับแรก อาทิ การเข้าร่วมในงาน T Mark Festival การประชาสัมพันธ์ในนิตยสารระดับโลก การร่วมสร้างศักยภาพด้านการสร้างแบรนด์และพัฒนาสินค้ากับกิจกรรม T Mark Training Series และเข้าร่วมกิจกรรม Road to Shanghai ให้คำปรึกษาวางแผนธุรกิจเพื่อบุกตลาดลักชัวรี่ในประเทศจีน เป็นต้น
ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ T Mark จัดทำโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อตอกย้ำจุดแข็งและสร้างความโดดเด่นอย่างมีเอกลักษณ์แก่สินค้าและบริการจากประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพที่ทั่วโลกไว้วางใจ (Trusted Quality) ในทุกมิติ ได้แก่ กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม (Fair Labour) การผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environmental Concern) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) และที่สำคัญคือคุณภาพที่เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจลงมือ “ทำด้วย ใจ” ของผู้ประกอบการ (Heartmade Quality)
ในปี 2560 มีบริษัทผลิตสินค้าและบริการของไทยได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark รวม 763 บริษัท โดยมี 2 ประเภทหลัก คือ สินค้า ได้แก่ สินค้ากลุ่มอาหาร อุตสาหกรรมหนัก ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น สินค้าทั่วไป และธุรกิจบริการ ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ การศึกษานานาชาติ และธุรกิจบริการรักษาพยาบาล
www.thailandtrustmark.com