เชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ…ภัยเงียบที่นับวันจะทวีความรุนแรง
By: Centers for Disease Control and Prevention
National Center for Emerging and Zoonotic Infectious Diseases (NCEZID)
Division of Foodborne, Waterborne, and Environmental Diseases (DFWED)
www.cdc.gov
โดยทั่วไปสัตว์ทุกชนิดจะมีแบคทีเรียในลำไส้ การให้ยาปฏิชีวนะกับสัตว์จะทำให้แบคทีเรียจำนวนมากตาย แต่สำหรับเชื้อแบคทีเรียดื้อยานั้นกลับจะสามารถมีชีวิตเหลือรอดและเจริญเติบโตต่อไปได้ เมื่อสัตว์ผ่านเข้าสู่โรงเชือดและกระบวนการแปรรูป เชื้อเหล่านั้นก็จะปนเปื้อนเข้าไปในเนื้อผลิตภัณฑ์หรือติดไปกับผลิตภัณฑ์สัตว์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมหรือในอุจจาระสัตว์ และอาจแพร่กระจายไปสู่แหล่งน้ำหรือระบบชลประทานต่อไปได้
เชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์สามารถแพร่สู่คนได้หลายทาง อาทิ การหยิบจับ หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก หรือเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปนเปื้อนในกระบวนการผลิต อีกทางหนึ่งคือการสัมผัสกับอุจจาระสัตว์ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นจากแหล่งน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภค รวมถึงการว่ายน้ำหรือใช้น้ำในทางการเกษตรจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระสัตว์ ทางสุดท้ายคือมาจากการสัมผัสหรืออุ้มสัตว์โดยตรง
ยาปฏิชีวนะต้องได้รับการใช้อย่างมีความรับผิดชอบทั้งในมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาการของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ ทำให้เชื้อดื้อยา และแพร่กระจายไปในมนุษย์และสัตว์ได้ อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในกรณีที่มีสัตว์ป่วยเป็นโรค เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ทว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและวิธีการที่ถูกต้องสำหรับสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารนั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นสำคัญ
Antibiotic resistance is the ability of bacteria to resist the effects of an antibiotic – that is, the bacteria are not killed, and their growth is not stopped. Resistant bacteria survive exposure to the antibiotic and continue to multiply in the body, potentially causing more harm and spreading to other animals or people.
People can be exposed to resistant bacteria from animals:
– From handling or eating raw or undercooked food from animals or produce contaminated with resistant bacteria
– From contact with animal stool (either directly or when it gets into water for drinking, swimming or growing plants)
-From touching or caring for animals
Antibiotics must be used responsibly in both humans and animals because both uses help bring about the development, persistence, and spread of resistant bacteria. Antibiotics are valuable tools for reducing animal disease and suffering from bacterial infections, but decisions about which antibiotics to use in food animals and how to use them must be made with consideration of their potential impact on human health.