มาตรการลดเกลือ…โอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
โดย: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Kasikorn Research Center
ปัจจุบัน คนไทยบริโภคเกลือต่อวันมากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า จนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง และนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมากตามมา สะท้อนผ่านจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคไตและโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลต่อเนื่องให้งบประมาณการรักษาพยาบาลในปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 120,000 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์การลดบริโภคเกลือและโซเดียม (พ.ศ.2559-2568) จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจนและสามารถบรรลุเป้าหมายลดปริมาณการบริโภคเกลือลงเฉลี่ยร้อยละ 30 ภายในปี 2568 ตามตัวชี้วัดด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลกได้ โดยที่ผ่านมามีการดำเนินงานไปบ้างแล้ว เช่น การให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคเกลือมากเกินไป พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการลดเกลือผ่านเมนูสุขภาพในพื้นที่นำร่องอย่างโรงเรียนและโรงพยาบาล การติดฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amount) ที่แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ที่ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์
สำหรับมาตรการที่คาดว่าจะนำมาปรับใช้ในอนาคต ได้แก่ การปรับสูตรอาหาร โดยการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการผลิตอาหารปรับปริมาณเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารลง ซึ่งในระยะแรกจะเริ่มในกลุ่มที่มีโซเดียมสูงก่อน คือ อาหารสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส ทั้งนี้ หากไม่สามารถตกลงร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบจะออกกฎหมายควบคุมปริมาณเกลือที่เหมาะสมในอาหารแต่ละชนิด และมาตรการสุดท้ายคือ การเก็บภาษีการใช้เกลือเกินปริมาณที่เหมาะสม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าหากมีการปรับสูตรอาหารด้วยการลดปริมาณการใช้เกลือลงร้อยละ 10 ร่วมกับการใช้สารทดแทนเกลือสำหรับอาหารบางประเภทตามความจำเป็นในกระบวนการผลิต น่าจะมีผลทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการผลิตอาหารที่มีการใช้เกลือในปริมาณสูงของไทยเพิ่มขึ้นจากการใช้สารทดแทนเกลือประมาณร้อยละ 1.4 ต่อปี หรือคิดเป็น 1,500 ล้านบาทต่อปีจากมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมอาหารที่มีเกลือสูงที่มีมูลค่ามากกว่า 107,000 ล้านบาทต่อปี
At present, Thais consume salt twice higher than their daily requirement. This is because there are numerous foods containing high levels of salt, including instant foods (noodles, chilled & frozen foods and rice porridge), snacks (shredded fish, potato chips and processed/fried seaweed) and seasonings. Also, Thais love to add condiments into their foods that already have high salt content. A long-term high salt diet can cause hypertension and other NCDs, such as kidney disease, diabetes, heart failures and stroke, thus endangering lives and incurring high medical costs. As a result, government health care spending in 2016 increased by at least THB 120 billion.
This has led the government to implement the Salt and Sodium Reduction Strategy for 2016-2025, with a clear goal of reducing the average salt consumption in Thailand by 30% within 2025 in accordance with the Health Indicator of the World Health Organization (WHO). This strategy includes a public education program concerning the dangers of excessive salt consumption, wherein advices on healthier food choices have been given to schools and hospitals in pilot areas. Moreover, Guideline Daily Amounts (GDA) labeling, which provides guidance on daily energy, sugar, fat and sodium needs, has been made mandatory on five categories of snack.
Measures that are likely to be introduced in the future include food reformation, whereby the government will work with food companies to reduce the salt content in their processed foods. Initially, such an effort will focus on high sodium content foods, such as instant foods and seasonings. If an agreement cannot be reached with food companies, relevant agencies would then introduce regulatory controls on salt content for each food product. Taxes on an excessive salt content might be imposed as a last resort.
KResearch has assessed that if food companies are required to reduce salt by 10%, (replacing it with healthier substitutes), it is expected that their processing costs will increase 1.4% p.a., or THB 1.5 billion p.a., versus the THB 107 billion p.a. in turnover of the food industry using high levels of salt.