สารต้านออกซิเดชันจากสารสกัดชาเขียว การประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ฝ่ายบริการเทคนิคและประกันคุณภาพ
บริษัท ไอ พี เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
Technical Service and Quality Assurance Department
IPS International Co., Ltd.
ips.tsqa@gmail.com
ชาเขียว (Camellia sinensis) คือ ชาที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว ได้แก่ กรดอะมิโน วิตามินบี ซี และอี สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (Xanthine alkaloids) คือ กาเฟอีน (Caffeine) และธีโอฟีลลีน (Theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่เรียกว่าคาเทชิน (Catechins) โดยคาเทชินที่พบมากที่สุดในชาเขียว คือ สารอิพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (Epigallocatechin gallate; EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
เมื่อเติมสารสกัดจากชาเขียวที่ระดับ 50-100 ppm ในเนื้อเบอร์เกอร์ไก่ย่าง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยวิเคราะห์ค่า TBARS พบว่าตัวอย่างที่มีการเติมสารสกัดจากชาเขียวมีค่า TBARS ต่ำกว่าตัวอย่างควบคุมที่ไม่มีการเติมสารต้านออกซิเดชัน นอกจากนี้ การใช้สารสกัดชาเขียวที่ 150 ppm ในเนื้อเบอร์เกอร์วัวสามารถยับยั้งการเกิด Hexanal (เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เมื่อเกิดการหืน) ภายในระยะเวลา 13 วัน ของการเก็บรักษา
การใช้ผงสกัดจากชาเขียวที่ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งทั้งแบบผ่านและไม่ผ่านรังสีที่ปริมาณความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ในผลิตภัณฑ์เนื้อเบอร์เกอร์หมูทั้งแบบสุกและสด พบว่าสารสกัดจากชาเขียวทั้งสองชนิดสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสีแดง (Hunter a*) ในผลิตภัณฑ์ รวมถึงยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Green tea (Camellia sinensis) is non-fermented tea which prepared by quickly dry the tea leaves through the heat. The heat will inhibit the decomposition enzymatic activity. The tea leaves are dry, but still fresh and has a rather green color, so called green tea. Substances that are found in green tea are amino acids, vitamins B, C, E. Xanthine alkaloids are caffeine and tinfoil. Theophylline, which stimulates the action of the central nervous system, affect the body to rejuvenate. And the substances in flavonoids called catechins. The most common found in green tea is Epigallocatechin gallate (EGCG), which is important in antioxidant activity.
Senanayake (2013) studied the effect of using Green tea extract at 50-100 ppm in roasted turkey burger. The changes of oxidation by analyzing the Thiobarbituric Acid Reactive Substances (TBARS) showed that green tea extract had lower TBARS than control samples without antioxidant. It was also found that the use of green tea extract at 150 ppm in roasted beef burger. Hexanal (a secondary product of lipid oxidation) can be inhibited during 13 days of storage.
Jo et al. (2003) found that the use of irradiation and non-irradiation freeze-dried green tea powder 0.1% in raw and cooked pork patties. The result was shown that both green tea extracts can prevent the change of red color intensity (Hunter a*) as well as inhibit the oxidation of the products. At the 95% confidence level compared to control samples without green tea extract added. In addition to the use of green tea extract in meat products to slow changes during storage, green tea extract can also be applied to a variety of products.