SIG Leads the Industry with 100% Renewable Energy – Electricity and Gas – for Production Worldwide

Switzerland, August 2018 – SIG is the first in the industry to produce all its packs using 100% renewable energy – electricity and gas – at production sites worldwide. By effectively eliminating greenhouse gas emissions from production, this represents a major milestone on SIG’s journey to go Way Beyond Good by contributing more to society and the environment than it takes out.

SIG has met its 2020 goal to source 100% renewable energy and Gold Standard CO2 offset for all non-renewable energy at production plants two years early. The company made the switch to 100% renewable electricity in 2017 and is now sourcing renewable alternatives for the remaining energy used in production that comes from natural gas.

SIG is purchasing biogas certificates that are certified to the recognised GoldPower® standard to offset 100% of the natural gas used at its production sites as of 1 January 2018.

Arnold Schuhwerk, SIG’s Global Category Manager for energy procurement, said: “We achieved a big milestone last year by securing 100% renewable electricity for production. Sourcing renewable alternatives for gas was even more challenging because the market for renewable biogas is not yet well established.”

With no viable option to source renewable biogas directly, SIG is sourcing it indirectly instead by supporting projects to construct and operate waste-to-energy systems in China, Thailand and Turkey that capture gas generated at landfill sites and use it to produce renewable energy.

Landfill gas from decomposing waste includes large amounts of methane, a potent greenhouse gas. Preventing this gas from escaping into the atmosphere helps to avoid harmful climate impacts.

The projects are certified to the GoldPower® standard which verifies that they will not only deliver measurable greenhouse gas emissions reductions, but also create benefits for local communities, such as air or water quality improvements or job opportunities.

“We are supporting projects that capture harmful greenhouse gases from landfill and convert these into energy,” said Schuhwerk. “We chose the projects because they are certified to a recognised standard to make sure they have a positive social impact as well as supporting environmental savings.”

All other remaining greenhouse gas emissions from production sites, such as small amounts released in the printing process, are also being offset to completely eliminate greenhouse gas emissions from production.

The switch to renewable gas will save an estimated 28,600 tonnes of CO2 equivalent emissions per year. This will make an important contribution towards SIG’s science-based targets to cut Scope 1 and 2 greenhouse gas emissions by 50% by 2030 – and by 60% by 2040 – from the 2016 base-year.

By reducing the climate impact of SIG’s solutions, this latest step to go Way Beyond Good will also help customers cut the lifecycle impacts of their products and meet their own sustainability goals.

Epi Ingredients Enters the Protein Ingredient Market with EPIPROT 60UL

France, August 2018 – As consumer interest in protein continues to grow, their new expectations in terms of sustainability, transparency, animal welfare and the like, are transforming the market and urging food, beverage and nutrition manufacturers to continuously innovate. To support them, Epi Ingredients is now launching its first ever protein concentrate, EPIPROT 60 UL.

“As a major food producer, we have a responsibility to contribute to people’s quality of life through our products. This is why we are fully committed to assist our customers by supplying sustainable, high-quality ingredients designed to tackle their current challenges as well as to meet consumers ever evolving requirements”, explains Mathieu Lucot, Marketing Manager at Epi Ingredients.

This innovative native ingredient fits into the company’s new protein range, EPIPROT, which also includes caseinates and acid caseins and will soon feature additional offerings of milk protein concentrates and isolates. EPIPROT 60 UL is a milk protein concentrate containing 60% total native protein. It is produced directly from fresh milk using a unique ultra-low heat process which allows for minimal denaturation and optimal functional & nutritional properties. It also preserves the 80/20 casein/native whey protein ratio unadulterated.

EPIPROT Dairy proteins are considered high-quality proteins as they provide adequate amounts of all the essential amino acids as well as excellent digestibility and bioavailability, allowing the body to perform its countless functions flawlessly. “And Epi Ingredients takes it a step further with full control over the entire value chain from field to fork as well as the implementation of its very comprehensive CSR initiative, Passion du Lait®; ultimately allowing us to offer the highest quality, most natural and safest ingredients possible”, adds Mathieu Lucot. This commitment to quality and sustainability goes a long way in today’s landscape, especially as consumer demand for familiar ingredients and recognizable protein sources is rising, per Katy Askew, editor at FoodNavigator.com. The article also suggests that milk protein remains the most popular source of protein, according to a new consumer survey.

In this context, native protein EPIPROT 60 UL is the ideal solution for product developers seeking a highly functional quality protein source with outstanding nutritional properties. Not only does the ingredient offer superior gelling, emulsifying and water retention capabilities, but it also features the unique ability to provide enhanced creaminess and a rich mouthfeel in low-fat, high-protein applications. EPIPROT 60 UL also presents a superior nutritional profile high in native calcium and low-lactose. This new ingredient is easy to use and can be incorporated into a wide range of applications such as cheese, yogurt, quark, beverages, nutritional products and more!

“At Epi Ingredients, we take our mission to drive innovation very seriously and the best way for us to feature what our ingredients can do is to develop finish product concepts with them”, explains Mathieu Lucot. After the massive success of SoFlexi, first concept of the SoUnik range, last year, the company has decided to repeat the experience and will soon be launching a new concept using EPIPROT 60 UL. It will be available to sample at the company’s upcoming trade show appearances: Gulfood Manufacturing and HIE. Stay tune for the big announcement in September!

TILOG–LOGISTIX 2018 เวทีบูรณาการภาคธุรกิจโลจิสติกส์ไทย สร้างโอกาสเชื่อมโยงสู่ภูมิภาค

15 สิงหาคม 2561

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ รี้ด เทรดเด็กซ์ จัดงาน TILOG–LOGISTIX 2018 ระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2561 ณ ไบเทค กรุงเทพ เพื่อเป็นเวทีบูรณาการส่งเสริมการพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจการค้าโลจิสติกส์ไทยในการเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาคอาเซียน นำผู้แสดงสินค้าจำนวนกว่า 415 แบรนด์ จาก 25 ประเทศ จัดแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม โซลูชั่นและบริการด้านโลจิสติกส์ พร้อมกิจกรรมเพิ่มองค์ความรู้ และสัมมนาระดับนานาชาติ คาดผู้เข้าชมงานกว่า 11,000 ราย เป้ามูลค่าเจรจาธุรกิจจากการจัดงานกว่า 600 ล้านบาท

นางวรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประธานแถลงข่าวการจัดงาน TILOG–LOGISTIX 2018 โดยกล่าวว่า “ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ ทั้งยังสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาทต่อปี จ้างแรงงานกว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจ โลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยกำหนดไว้ชัดเจนทั้งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2564) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (2560-2564) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชน และบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด จัดงาน TILOG-LOGISTIX 2018 เป็นครั้งที่ 4 แต่นับเป็นปีที่ 15 สำหรับงาน TILOG เพื่อให้เป็นกิจกรรมรองรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งยกระดับประสิทธิภาพและมาตรฐานการให้บริการโลจิสติกส์ให้เทียบเคียงกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ”

ผลจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน ส่งผลให้อันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Performance Index: LPI) ของธนาคารโลก ปี 2561 ไทยอยู่อันดับที่ 32 จาก 160 ประเทศทั่วโลก ดีขึ้นกว่าปี 2559 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 45

นอกจากนี้ ในปีนี้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการโลจิสติกส์ด้านการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตโดยใช้กระบวนการโลจิสติกส์เข้ามาบริหารจัดการ อาทิ การเก็บรักษา/ยืดอายุสินค้า บรรจุภัณฑ์
การขนส่ง เพื่อรักษาคุณภาพจนถึงผู้ซื้อ ซึ่งจะสามารถขยายโอกาสและสร้างช่องทางการตลาดให้กับผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย งาน TILOG-LOGISTIX 2018 จึงไม่เพียงแต่ยกระดับงานแสดงสินค้าด้านโลจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงเครือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งไทยและในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น ยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก แสดงถึงศักยภาพของโลจิสติกส์ไทยในการเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค นางวรรณภรณ์ กล่าวเสริม

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงมุมมองต่อบทบาทธุรกิจโลจิสติกส์ว่า “ธุรกิจโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับการค้าระหว่างประเทศได้ ด้วยคุณภาพบริการที่ดี ต้นทุนที่เหมาะสมกับคุณภาพบริการ และการขยายเครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนี้ การขยายตัวของตลาด Cross Border e-Commerce
ที่ต้องการบริการโลจิสติกส์สำหรับพัสดุขนาดเล็ก ที่ส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงการจัดส่งแบบ door-to-door service ส่งผลให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต้องพัฒนาระบบภายในของตนเองให้เชื่อมโยงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล และป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมถึงการจัดการข้อมูลที่รวดเร็วที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ต้องพัฒนาให้ทันตลาด e-Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงจะสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างชาติ และเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าของไทย สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก”

นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)
ได้ชี้ให้เห็นถึงทิศทางภาคธุรกิจโลจิสติกส์ไทยว่า “จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทยฉบับที่ 3 ต้องการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค โดยมีดัชนีชีวัดความสำเร็จของการพัฒนาที่สำคัญ 3 ด้าน คือ ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index- LPI) โดย World Bank ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับที่ 32 จาก 160 ประเทศ และถือเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน และอันดับ 7
ในเอเชีย สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2564 เท่ากับ 12%
ซึ่งมีสัดส่วนลดลงตามรายงานของสภาพัฒน์ฯ และประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกทางการค้าของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นในปี 2564 จาก Trading Across (อันดับด้านการค้าระหว่างประเทศของธนาคารโลก) จากดัชนีชี้วัดดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าโลจิสติกส์ไทยมีทิศทางการเติบโตทีสูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงสู่การค้าในระดับภูมิภาค”

ภายในงานประกอบด้วยองค์ความรู้มากมายจากงานสัมมนาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
โลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศ อาทิ Trade Logistics Symposium 2018 นำเสนอองค์ความรู้
ด้านโลจิสติกส์เพื่อสินค้าเกษตรและสินค้าเน่าเสียง่าย World Transport & Logistics Forum Thailand (WTLFT) เผยดัชนี Logistics Performance Index (LPI) และบทวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาภาคโลจิสติกส์
โดยธนาคารโลก (World Bank) และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิตัลไปกับองค์ความรู้ด้าน
e-commerce ต่อผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์และผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศ
ในอนาคต และประเด็นสัมมนาอื่นๆ กว่า 20 หัวข้อ รวมทั้งกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น พบต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการคลังสินค้าแห่งอนาคต (Virtual Reality Advanced Distribution Centre)
ที่โซน “Innovation Showcase” เรียนรู้จากแนวคิดและกลยุทธ์ของผู้นำวงการโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนามาตรฐานธุรกิจสู่ระดับสากล ณ “ELMA Showcase” พบเคล็ดลับลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายและขนส่งสินค้าเกษตร โดยใช้ประโยชน์โลจิสติกส์จากธุรกิจต้นแบบ พร้อมรับคำแนะนำโดยตรงที่ “Agri Logistics Value Chain Pavilion” เทคโนโลยีระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์จากสตาร์ทอัพไทยที่ “Logistics Startup Pavilion” ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ ไม่ควรพลาดโอกาสสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจ รองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

เตรียมตัวให้พร้อมกับ Taiwan Expo 2018 ครั้งแรกในเมืองไทย

30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2561 ณ อีเว้นท์ฮอลล์ 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

 

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (Bureau of Foreign Trade, MOEA) ร่วมกับ สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน (Taiwan External Trade Development Council) และสมาคมการค้าไทย-ไต้หวัน (Thai-Taiwan Business Association) พร้อมด้วยสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (Thailand Convention and Exhibition Bureau – TCEB) จัดงาน Taiwan Expo 2018 ครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Let’s Tie Together” ชูเทคโนโลยีเพื่อให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม และกระตุ้นความร่วมมือทางการค้าระหว่างไทยกับไต้หวัน งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2561 ณ อีเว้นท์ฮอลล์ 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

นายเฟลิกซ์ เฮช. แอล. ชิว ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดอุตสาหกรรม สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน (TAITRA) กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักในการจัดงาน Taiwan Expo ว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไต้หวัน ผู้คนต่างพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น และมีศักยภาพทางด้านธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง จึงกำหนดจัดงาน ไต้หวัน เอ็กซ์โป 2018 ขึ้น ภายใต้แนวคิด “Let’s Tie Together” เพื่อแสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างไทยกับไต้หวัน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานในครั้งนี้จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนมีความสุขและสะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมกับสร้างโอกาสสำคัญในการขยายความร่วมมือทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน

ภายในงานไต้หวัน เอ็กซ์โป 2018 จะได้พบกับสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไต้หวันที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายมากขึ้น และได้รู้จักไต้หวันอย่างใกล้ชิดขึ้นในมุมมองใหม่ที่หลากหลายผ่าน 7 โซนแสดงสินค้าไฮไลท์ ได้แก่ โซนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตคนเมือง (Smart City) โซนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Tech) โซนสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพ (Health Care) โซนศิลปวัฒนธรรม (Culture) โซนการท่องเที่ยว (Talents & Tourism) โซนสินค้าการเกษตร (Agricultural) และโซนสินค้าเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น (Good Living) จากผู้ประกอบการที่มาร่วมออกบูธกว่า 210 ราย นอกจากนี้ ผู้เข้าชมงานยังมีสิทธิ์ลุ้นตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-ไทเป จำนวน 2 รางวัล นายเฟลิกซ์ กล่าว

นายชู-เทียน หลิว ประธาน สมาคมการค้าไทย-ไต้หวัน กล่าวว่า จัดงาน Taiwan Expo 2018 ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทย หลังจากที่ได้มีการจัดงานหลากหลายประเทศในเอเซียมาแล้ว เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยแต่ละประเทศได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เฉลี่ยมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 18,000 คน ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมาไต้หวันเข้ามาลงทุนในประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,307 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 480,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะมีความร่วมมือทางการค้าเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้น การจัดงาน ไต้หวัน เอ็กซ์โป 2018 ครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนสื่อกลางของนักลงทุนไทยและไต้หวันได้พบปะแลกเปลี่ยนมุมมองธุรกิจและการเจรจาทางการค้าต่อไปในอนาคต ผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ พร้อมส่งเสริมความรู้ผ่านงานสัมมนาในอุตสาหกรรมต่างๆ (Industry Forums) อาทิ Taiwan Excellence Smart Transportation Forum, Taiwan Smart Machinery Forum และ Taiwan Digital Commerce & Startups Forum ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ฟรี ทาง https://thai.taiwanexpoasean.com/en_US/index.html

นายเจสัน ฮู ผู้อำนวยการ ฝ่ายการค้า สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เผยว่า ไต้หวัน ตั้งเป้าลงทุนในตลาดอาเซียน และประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกมากขึ้นตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound) ของรัฐบาลที่มุ่งก่อให้เกิดความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และผลักดันให้ผู้ประกอบการไต้หวันก้าวออกไปลงทุนในประเทศต่างๆ มากขึ้น โดยประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่มีศักยภาพทางการค้า มีวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี การศึกษา รวมทั้งการร่วมลงทุนทางธุรกิจ

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (TCEB) กล่าวว่างาน Taiwan Expo 2018 ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนไทยที่ได้สัมผัสกับความเป็นไต้หวันทั้งในแง่ของผู้บริโภคที่สนใจนวัตกรรมช่วยเสริมการใช้ชีวิตให้สะดวกสบายขึ้น และกลุ่มผู้ทำธุรกิจที่อยากต่อยอดทั้งเรื่องเทคโนโลยีและการค้า ในภาพรวมหวังว่าจะเห็นความร่วมมือที่ได้รับการต่อยอดอย่างมีคุณภาพต่อไป

 

Website: https://thai.taiwanexpoasean.com/

Facebook: https://www.facebook.com/twexpointhai/

เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง บุกตลาดค้าปลีก ขยายธุรกิจสู่ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ

 

กรุงเทพฯ, 2 สิงหาคม 2561 – บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัทในเครือข้าวหงษ์ทอง ขยายธุรกิจสู่ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ เข้าซื้อกิจการร้าน “ใบเมี่ยง” ร้านสินค้าเพื่อสุขภาพชื่อดัง พร้อมเดินหน้าขยายสาขาครอบคลุมกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เข้าถึงกลุ่มคนรักสุขภาพ หวังเติบโตปีละร้อยละ 30

นางแคทลียา มานะธัญญา ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า “เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง มีนโยบายที่เปรียบเสมือนหัวใจขององค์กร คือ การมุ่งมั่นสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย จึงทำให้ข้าวหงษ์ทองพัฒนาเป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์สูงและดีต่อสุขภาพ เพราะเราเชื่อว่าการรับประทานอาหารที่ดีมีส่วนช่วยให้มีสุขภาพดีในระยะยาว แต่แน่นอนว่าข้าวไม่ใช่สิ่งเดียวที่คนรับประทานกัน เราจึงมีแนวคิดที่จะรวมเอาสินค้าเพื่อสุขภาพมาไว้ในที่ๆ เดียว เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและผู้ที่รักสุขภาพทุกคน แนวคิดนั้นก่อให้เกิดร้านสินค้าเพื่อสุขภาพชื่อว่า “Hongthong Health Station”

Hongthong Health Station ได้รับผลตอบรับอย่างดีจากกลุ่มคนรักสุขภาพ แต่ด้วยจำนวนสาขาเพียง 3 สาขา ทำให้ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ห่างไกล เจียเม้งมาร์เก็ตติ้งจึงวางแผนที่จะขยายไลน์ของสินค้าเพื่อสุขภาพให้มากขึ้น โดยการเข้าซื้อกิจการร้าน ‘ใบเมี่ยง’ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2560 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ร้านใบเมี่ยง เป็นร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงในกลุ่มของคนรักสุขภาพในประเทศไทย มีสาขาอยู่หลายสาขาทั่วกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล จุดเด่นของร้านใบเมี่ยงคือ ชื่อเสียงและฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูง อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี มีไลฟ์สไตล์ที่ชอบออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และชอบอัพเดทเทรนด์สุขภาพแนวใหม่ๆ จุดเด่นอีกอย่างคือ สินค้าภายในร้านที่มีครบวงจร ตั้งแต่ของกิน ของใช้ รวมไปถึงสินค้าแม่และเด็ก นับว่าตอบโจทย์ความต้องการของคนรักสุขภาพได้อย่างตรงจุด

นางแคทลียา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “หลังจากบริษัทได้ซื้อกิจการร้านใบเมี่ยงแล้ว ก็ได้มีการปรับปรุงระบบการขาย รวมถึงปรับกลุ่มสินค้าในร้านให้เป็นแบบแผนและมีมาตรฐานมากขึ้น รวมไปถึงวางแผนการตลาดที่เน้นในทางเชิงรุก ซึ่งเราวางแผนการเติบโตของร้านใบเมี่ยงไว้ปีละประมาณร้อยละ 20-30 ขึ้นอยู่กับแผนการขยายสาขา โดยเน้นสร้างในทำเลที่เหมาะสม เริ่มจากการขยายสาขาเพิ่มอีก 2 แห่ง ทำให้ตอนนี้มีร้านใบเมี่ยงในเครือของเจียเม้งมาร์เก็ตติ้งอยู่ทั้งหมด 6 สาขา และวางแผนขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก สร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย”

“ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลัง ที่มีร้านสินค้าเพื่อสุขภาพเกิดขึ้นใหม่มากมาย ร้านใบเมี่ยงก็ถือเป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน และเพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในทางร้าน เจียเม้งมาร์เก็ตติ้งจึงมุ่งมั่นนำประสบการณ์จากการทำธุรกิจระดับสากล ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกมาปรับใช้กับร้านให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความแตกต่างและยกระดับมาตรฐานทั้งเรื่องการคัดสรรสินค้าและในด้านการให้บริการ สอดคล้องกับหัวใจหลักขององค์กร คือ มุ่งมั่นสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย” นางแคทลียา กล่าวทิ้งท้าย

Krispy Kreme Doughnuts เตรียมเปิดสาขาแรกในเมียนมา

 

วินสตัน-เซเลม นอร์ทแคโรไลนา, 2 สิงหาคม 2561 – ร้าน Krispy Kreme สาขาแรกในเมียนมามีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2561 นี้ โดย Krispy Kreme จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ธุรกิจร้านอาหารจากตะวันตกเพียงไม่กี่รายที่จะเปิดให้บริการในเมียนมาผ่านการทำธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ ทั้งยังเป็นหนึ่งในแบรนด์ขนมหวานจากตะวันตกแบรนด์แรกที่เข้าสู่ตลาดเมียนมา

ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและการที่ประชากรมีความตื่นตัวต่อแบรนด์ระดับโลก เวลานี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับ Krispy Kreme ที่จะนำเสนอขนมหวานชนิดนี้สู่ตลาดเมียนมา โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะเปิดร้านในเมียนมาราว 10 แห่ง ในอนาคต

เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น แต่งตั้งนักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการชาวมาเลเซียคนแรก เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการ

กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย, 26 กรกฎาคม 2561 – เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทโภชนาการระดับโลก ประกาศแต่งตั้ง ดร.ฮามิด จัน บิน จัน โมฮาเหม็ด ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการ (NAB) คนแรกในมาเลเซีย โดย ดร.ฮามิด จัน บิน จัน โมฮาเหม็ด เป็นประธานโครงการโภชนาการและการกำหนดอาหารแห่งมหาวิทยาลัยซายน์มาเลเซีย และเป็นรองศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและโรคอ้วน
ดร.จอห์น อักวูโนบี ประธานร่วมและประธานเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพและโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าวว่า “เรายินดีให้การต้อนรับ ดร.ฮามิด สู่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ดร.ฮามิด คือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารที่เป็นที่รู้จักในวงการ จึงถือเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าสำหรับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ วิทยาศาสตร์ และสุขภาพของเรา เราตั้งตารอที่จะทำงานร่วมกับเขา เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจกับโภชนาการที่ดีและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงช่วยรับมือกับแนวโน้มสุขภาพที่กำลังเกิดขึ้น เช่น อัตราโรคอ้วนที่พุ่งสูง และจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”
ดร.ฮามิด จัน ได้รับรางวัลมาแล้วมากมายตลอดการทำงาน ซึ่งรวมถึงรางวัล Malaspina Scholar Travel Award จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์นานาชาติสหรัฐอเมริกาในปี 2558 และยังเป็นสมาชิกของสมาคมโภชนาการแห่งมาเลเซียด้วย
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากทั่วโลกทั้งในด้านโภชนาการ วิทยาศาสตร์ และสุขภาพ โดยมีหน้าที่ให้ความรู้และฝึกอบรมสมาชิกอิสระของเฮอร์บาไลฟ์ในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและกระฉับกระเฉง รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสมอีกด้วย
การแต่งตั้ง ดร.ฮามิด จัน เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทของบริษัทในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมด้านโภชนาการที่ดีในเอเชียแปซิฟิก ผ่านการสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับแนวหน้าในภูมิภาค

การประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018

กรุงเทพฯ, 7 สิงหาคม 2561 – ACID 2018 THAILAND EXCELLENT COFFEE เผย 11 รายชื่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟไทยคุณภาพที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโครงการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟไทยคุณภาพสนใจส่งเมล็ดกาแฟเข้าร่วมประกวดรายการการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 คึกคักกว่า 70 ตัวอย่าง ล่าสุดคณะกรรมการตัดสินการประกวดฯ ประกาศ 11 รายชื่อเกษตรกรและกลุ่มเกษตรที่เข้ารอบ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งจะมีการประกาศผลผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในการจัดงานโครงการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดเชียงใหม่

นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะอำนวยการจัดประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 หรือ 1st ASEAN Coffee Industry Development Conference (ACID 2018) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 (ACID 2018 THAILAND EXCELLENT COFFEE) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพกาแฟไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำว่า กิจกรรมการประกวดฯ นับว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เนื่องจากในเบื้องต้นทางคณะผู้จัดงานฯ ตั้งเป้าผู้ส่งผลผลิตเมล็ดกาแฟเข้าประกวดเพียง 40 ตัวอย่าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟของเกษตรกร ประกอบกับการประกวดรายการนี้เป็นรายการใหญ่ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการพระราชทานถ้วยรางวัล ทำให้เกษตรกรเกิดการตื่นตัวในการส่งเมล็ดกาแฟเข้าร่วมประกวดจำนวนมากถึง 70 ตัวอย่าง

แม้การจัดการประกวดฯ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก แต่การคัดเลือกและการตัดสินถือว่ามีความเข้มข้นสูง โดยในการคัดเลือกรอบแรกคณะกรรมการได้ใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษสหรัฐอเมริกา (Specialty Coffee Association of America; SCAA) ในการคัดเลือกเมล็ดกาแฟ และประเมินคุณภาพกาแฟโดยใช้ประสาทสัมผัส (Cupping) ในส่วนของรสชาติ กลิ่น และความรู้สึกที่มีต่อกาแฟ จากนั้นในการคัดเลือกเมล็ดกาแฟที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ทางคณะกรรมการได้ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพกาแฟตามมาตรฐาน COE (Cup of Excellence) ของกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเป็นเลิศทางกาแฟ (Alliance of Coffee Excellence; ACE) ซึ่งคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อต้องการค้นหาสุดยอดเมล็ดกาแฟไทยที่มีความโดดเด่นและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติอย่างแท้จริง

ล่าสุดคณะกรรมการการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 ได้มีการประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่มีคะแนนรวมสูงกว่า 82 คะแนน จำนวน 11 ราย ได้แก่
– กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา
อมก๋อย บ้านขุนอมแฮดใน ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (Honey Process)
– กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา
อมก๋อย บ้านขุนอมแฮดใน ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (Dry Process)
– นางสาวบงกชษศฏา ไชยพรหม ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– นายบัญชา ยั่งยืนกุล บ้านขุนช่างเคี่ยน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– นางสาวปนิดา คิดงาม ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– นายไพศาล โซ่เซ ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
– นางภัทรานิษฐ์ พรอิทธิกิจ บ้านผาฮี้ ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
– นายสิรวิชญ์ สิริโชควัฒนกุล บ้านแม่จันใต้ ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
– นายศิวกร โอ่โดเชา หมู่บ้านหนองเต่า ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ตำบลดอยช้าง อำเภอวาวี จังหวัดเชียงราย (Dry Process)
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ตำบลดอยช้าง อำเภอวาวี จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
โดยการประกาศอันดับและผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศนั้นจะมีขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 และมีพิธีรับมอบรางวัลถ้วยพระราชทานในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ในการจัดงานโครงการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเชียงใหม่

ด้าน Mr.Shieh Chen Hsiao, International Jury Cup of Excellence, Taiwan ในฐานะประธานกรรมการการตัดสินการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 และกรรมการการตัดสิน COE ระดับนานาชาติ กล่าวว่า กาแฟที่ผลิตได้จากประเทศไทยนับว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราพบว่ากาแฟไทยที่สามารถทำคะแนนได้เกิน 80 คะแนนมีปริมาณมากขึ้น จนถึงวันนี้มีกาแฟไทยจำนวนหนึ่งสามารถทำคะแนนได้สูงกว่า 85 คะแนน ทำให้ก้าวขึ้นสู่กาแฟที่เรียกได้ว่าเป็นกาแฟพิเศษ หรือ Cup of Excellence อย่างแท้จริง ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมกาแฟของไทยในระดับสากล

ผลที่เกิดขึ้นจากการประกวดฯ ครั้งนี้ นอกจากจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูกกาแฟของไทย ความสามารถในการปลูก การดูแลต้นกาแฟ ผลผลิตกาแฟ และกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟของเกษตรกรไทยแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและความมุ่งมั่นของผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกาแฟและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องของไทย ซึ่งร่วมมือกันพัฒนาและผลักดันให้ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตกาแฟชั้นนำของโลกอีกด้วย

SATO Provides Resort Hotel with RFID Wine Cellar Inventory Solution

Tokyo, 2 August 2018 – SATO, a leading global provider of Auto-ID solutions that empower workforces and streamline operations announced a new inventory management solution for Tokyo Baycourt Club Hotel & Spa Resort (hereafter, Tokyo Baycourt Club) using an RFID-enabled inventory management system. The system drastically optimized stocktaking operations of the hotel staff and boosted inventory management accuracy. This is the first system of its kind used by Japan’s hotel industry.

Tokyo Baycourt Club is a resort hotel in Tokyo’s Odaiba entertainment district operated by RESORTTRUST, INC. The stocktaking operations of its roughly 5,000 bottles of wine for its restaurants, bars and lounges previously required sommeliers to carefully and laboriously handle each bottle separately and enter details manually into the purchasing system. The hotel sought a faster and more accurate system to streamline operations.

After switching to RFID, Tokyo Baycourt Club can now scan multiple bottles with contactless operation and automatically register inventory in its purchasing system, drastically reducing time spent for stocktaking. At one restaurant in the resort, two workers previously spent eight hours apiece (16 hours total which includes total time spent for stocktaking including items not yet RFID tagged) before switching to RFID. After the upgrade, the operation only required one staff and two hours, for an 88% labor savings.

Tokyo Baycourt Club head of operations Katsuhiro Kawamura said, “Thanks to the RFID system, we were able to both streamline our painstaking stocktaking processes and reduce the number of mistakes from human error. It also improves accuracy of inventory management by allowing us to see inventory right away, which minimizes our risk of lost bottles. We are looking at using RFID for other products and expanding the system to hotels in the future.”

Tokyo Baycourt Club beverages head Katsuhiko Aihara said, “We implemented RFID as a way to strengthen our internal controls. By utilizing RFID in our stocktaking, we digitized our wine list which ensures inventory management transparency. If successful, it will allow us to go paperless and provide labor savings for refreshing our wine stocks, speeding up our response time for customers and reducing total working hours. I expect the system to provide a good return on investment.”

อย. จับมือเอกชน ถก “ลดเค็ม” นำร่องอาหารกลุ่มเสี่ยง 4 ชนิด

กรุงเทพฯ, สิงหาคม 2561 – อย.จับมือผู้ประกอบการ หนุนขับเคลื่อนมาตรการรณรงค์ลดบริโภคเกลือและโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป หลังพบเกือบร้อยละ 30 ของการตายในประเทศไทยมาจากการกินเค็ม ตั้งเป้าให้คนไทยกินเค็มลดลงร้อยละ 30 ภายในปี 2573

ในการประชุมชี้แจงหารือเพื่อจัดทำเป้าหมายเชิงสมัครใจในการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับองค์การอนามัยโลก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม โดยมีภาคเอกชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมเสนอแนะและรับฟังข้อคิดเห็น

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ประเทศไทยมีการบริโภคเกลือสูงเกือบ 2 เท่าของที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ 5 กรัม หรือ 1 ช้อนชาต่อวัน และจากการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน เกลือ หรือโซเดียม มากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดในแต่ละวัน ส่งผลให้คนไทยป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และเป็นสาเหตุการตายเกือบร้อยละ 30 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับเครือข่ายลดการบริโภคเกลือ สสส. และองค์การอนามัยโลก จึงร่วมกันผลักดันการลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียม ตามกรอบยุทธศาสตร์นโยบายลดเกลือและโซเดียมของประเทศไทย ปี 2559-2568 โดยมาตรการแรก คือ ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตอาหารในการลดปริมาณเกลือหรือโซเดียมลง เพื่อให้ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนไทย มุ่งเน้นอาหารกลุ่มเสี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแช่เย็นและแช่เข็ง โดยเฉพาะอาหารกลุ่มสำเร็จรูป บะหมี่และก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป รวมทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวต้มสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปยอดฮิตของคนไทย ซึ่งมีโซเดียมอยู่ในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

ส่วนมาตรการทางด้านฉลากอาหาร ทาง อย. ได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอาหารที่สามารถลดหวาน มัน เค็ม ติดฉลาก “ทางเลือกสุขภาพ” บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า อาหารดังกล่าวนั้นอยู่ในเกณฑ์ไม่เป็นอันตรายและเหมาะกับสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจำนวน 633 ผลิตภัณฑ์ หากมาตรการต่างๆ ที่ออกมาแล้วยังไม่ได้ผล ภายใน 2-3 ปี ก็ต้องมาพิจารณาว่าควรจะออกกฎหมายมาบังคับใช้ได้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องของภาษีเกลือและโซเดียม เหมือนอย่างประเทศทางยุโรปที่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว

“อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ให้คนไทยลดการบริโภคเกลือและโซเดียมให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคได้รับรู้ตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคเกลือและโซเดียมมากเกินไป และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในที่สุด อาจจะเริ่มตั้งแต่การสอนในรั้วโรงเรียน ซึ่งเป็นแนวทางทางที่เรากำลังบูรณาการร่วมกันกับกระทรวงศึกษาธิการ เพราะถือเป็นยุทธศาสตร์ของชาติเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียมในอาหารลงร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ.2030” รองเลขาธิการ อย. กล่าว

ด้าน ผศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายลดบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อลดโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ได้มีนโยบายในการปรับลดค่าปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในการบริโภคจากเดิม 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็น 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อลดสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

“เราไม่ได้ห้ามให้เลิกทานเค็ม แต่ต้องรู้จักเฉลี่ยการบริโภคเกลือหรือโซเดียมต่อมื้อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหารจากร้านปรุงสด ซึ่งในส่วนนี้จะต้องรณรงค์ขอความร่วมมือไปยังร้านค้าให้ช่วยลดความเค็มลงด้วย” ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าว