Vegan & Vegetarian Alternatives for Canadian Consumers

เทรนด์อาหารมังสวิรัติและวีแกน…ทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคแคนาดา

By: กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

 

ปัจจุบันในสังคมโลกตะวันตกมีสไตล์การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ 2 รูปแบบ คือ กลุ่มที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ (Vegetarian/Veggie) แต่ยังบริโภคผลิตภัณฑ์นมและไข่ และกลุ่มวีแกน (Vegan) ซึ่งเป็นกลุ่มมังสวิรัติที่เคร่งครัดกว่า Vegetarian คือ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกประเภทและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำผึ้ง หรือแม้แต่ยีสต์และน้ำตาลขัดขาวที่จะต้องผ่านกระบวนการใช้กระดูกสัตว์ในการขัดสีน้ำตาล โดยหันมาเน้นบริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืช และเมล็ดพืชแบบ 100% สำหรับกลุ่มเจจัดเป็นกลุ่มเจแบบไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน เป็นกลุ่มที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมถึงผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย และใบยาสูบ

ในประเทศแคนาดาสินค้าอาหารกลุ่มมังสวิรัติมีโอกาสเติบโตสูงมาก เนื่องจากผลสำรวจโดย Dalhousie University ชี้ให้เห็นว่าเทรนด์การรับประทานอาหารมังสวิรัติของผู้บริโภคในประเทศนั้นกำลังเป็นกระแสหลัก มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยปัจจุบันมีชาวแคนาดาหันมารับประทานมังสวิรัติสูงถึง 3.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารของแคนาดามีการปรับตัว เพื่อรองรับการเติบโตของเทรนด์ดังกล่าวนี้

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโทรอนโต แคนาดา ได้เปิดเผยข้อมูลด้านเทรนด์อาหารมังสวิรัติในแคนาดาว่า ขณะนี้เกือบทุกซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ภัตตาคาร ส่วนใหญ่มีการแปะป้ายโฆษณาว่ามีเมนูอาหารมังสวิรัติเป็นเมนูพื้นฐานเพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ ให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติได้ง่ายขึ้น และไม่ได้ยากลำบากเหมือนในอดีต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นแนวโน้มใหม่ที่กำลังเติบโต จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารของไทยในแคนาดาที่จะปรับเปลี่ยนและเพิ่มเมนูอาหารมังสวิรัติเพื่อตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ และเป็นโอกาสของผู้ผลิตอาหารไทยที่จะพัฒนาสินค้ามังสวิรัติ และส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปป้อนความต้องการในตลาดแคนาดา ซึ่งรวมถึงสารทดแทนโปรตีน เช่น โปรตีนเกษตร ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น

Nowadays, plant-based foods eating in western countries can be divided into 2 types; the vegetarians (veggie) and the vegans. The vegetarians do not consume meat, but they still opt for dairy and egg. Meanwhile, vegans are stricter than vegetarians, as they avoid meat products or entirely, including honey, yeast, and white sugar (which is bleached using bone char). They focus 100% on vegetables, fruit, grains, and seeds. In Thailand, another type of vegetarians called “Chinese vegetarian or Je” exists. Influenced by Chinese culture, this group avoids the consumption of meat, egg, milk, butter, animal products, and 5 strong smell vegetables – garlic, onion, Chinese onion, garlic chives, and tobacco.

In Canada, recent research from Dalhousie University confirms that vegetarian will become mainstream trend with surging demand. As of now, 3.6 million Canadians – especially those aged between 15-35 years old – are vegetarian, accounting for 10% of the country’s population, resulting in the readjustment of Canada’s food market in response to this growing trend.

According to the Toronto Thai Trade Centre, Canada, presently almost every supermarket and restaurants are promoting that vegetarian food is added and is compulsory in their menus to welcome vegetarian customers. The latter can now easily reside among normal consumers and doesn’t have to go through troubles as they did in the past. It is obvious that the trend is growing, thus providing a great chance for Thai restaurant operators in Canada to add more vegetarian dishes to meet the demand of this target group. Furthermore, it is a great opportunity for Thai food manufacturers to develop new vegetarian recipes to export to Canada. This includes protein replacement products such as Textured vegetable protein, soybean, tofu, for example.

 

Frozen & Processed Chicken Industry

อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป

By: เชฐชุดา เชื้อสุวรรณ
Chetchuda Chuasuwan
Bank of Ayudhya PCL.
chetchuda.chuasuwan@krungsri.com

Full article TH-EN

อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูปของไทยในปี 2561-2563 มีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามตลาดส่งออกที่คาดว่าจะเติบโต โดยมีอานิสงส์จาก (1) ประเทศคู่ค้าทยอยยกเลิกมาตรการระงับนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยอย่างต่อเนื่อง (2) การขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง และ (3) พบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ จึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกไก่แช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้น

ผลผลิตไก่เนื้อของโลกมีปริมาณปีละ 85-90 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตหลัก คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล และจีน สัดส่วนการผลิตรวมกันประมาณร้อยละ 50 ของผลผลิตทั่วโลก ผลผลิตไก่เนื้อในแต่ละประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศ การค้าไก่เนื้อในโลกจึงมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10-15 ของผลผลิตไก่เนื้อทั้งหมด

การค้าผลิตภัณฑ์ไก่ในตลาดโลกอยู่ในรูปของไก่แช่แข็ง คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 88 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 75 ในเชิงมูลค่า ประเทศผู้ส่งออกหลัก คือ บราซิล ซึ่งส่งออกไก่ชำแหละแช่แข็ง สัดส่วนร้อยละ 31.7 ของปริมาณการส่งออกไก่แช่แข็งในตลาดโลก รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเน้นส่งออกไก่ทั้งตัวแช่แข็ง มีสัดส่วนร้อยละ 13.8 และร้อยละ 10.5 ตามลำดับ ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพียงร้อยละ 1.7 โดยไทยเน้นส่งออกไก่ชำแหละแช่แข็งเช่นเดียวกับบราซิล ส่วนการค้าไก่แปรรูปซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มในตลาดโลก มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 12 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 25 ในเชิงมูลค่าส่งออก ผลิตภัณฑ์ไก่ในตลาดโลกมีประเทศผู้ส่งออกหลัก คือ ไทย มีสัดส่วนร้อยละ 27.8 ของปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมดในตลาดโลก รองลงมาได้แก่ จีน บราซิล เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ มีสัดส่วนร้อยละ 12.2 ร้อยละ 9.6 ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 6.3 ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทย เป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับ 10 ของโลก มีผลผลิตประมาณปีละ 2.0-2.1 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 2 ของผลผลิตไก่เนื้อทั่วโลก ขณะที่การบริโภคเนื้อไก่ของไทยมีปริมาณเฉลี่ยเพียงปีละ 1.2-1.3 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตไก่เนื้อทั้งหมดของไทย ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคในรูปเนื้อไก่สดชำแหละ ขณะที่ผลผลิตไก่เนื้อส่วนเกินประมาณร้อยละ 40 ของผลผลิตรวมในประเทศจะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมไก่แช่เข็งและแปรรูปซึ่งมีตลาดหลักเป็นตลาดส่งออก และบริโภคในประเทศบางส่วนโดยมีช่องทางจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกสมัยใหม่

Between 2018 and 2020, the Thai frozen and processed chicken sector is expected to grow on rising demand from international markets. Exports will benefit from (i) the ongoing relaxation of restrictions from trading partners on the import of Thai frozen chicken, (ii) the opening of new markets in Asia and the Middle East, and (iii) the spread of bird flu in flocks in other countries, which will present an opportunity for Thailand to increase its exports of frozen and processed chicken.

Worldwide, approximately 85-90 million tonnes of chicken is produced annually, with the main suppliers (the United States, Brazil and China) accounting for around half of this output. However, domestic markets consume the overwhelming majority of global production, leaving only 10-15% to be traded in export markets.

International trade in chicken meat is largely of frozen goods, which account for 88% of all exported chicken products by volume and 75% by value. The biggest exporter of frozen chicken is Brazil, which exports boned and prepared broilers, accounting for 31.7% of supply to the world market and is followed in importance by the United States and the Netherlands, which tend to focus more on the export of whole frozen items. These two countries contribute 13.8% and 10.5% of world exports, respectively. Thailand, which like Brazil exports boned and prepared broilers, is responsible for just 1.7% of global frozen chicken exports. With regard to the market for higher value processed chicken products, these contribute a 12% share of world exports in terms of volume and 25% in terms of value. Here, Thailand is the market leader, providing 27.8% of all global exports of processed chicken by volume. Thailand is followed by China, Brazil, Germany, and the Netherlands, which have a market share of 12.2%, 9.6%, 8.7% and 6.3%, respectively.

Overall, Thailand sits in 10th place in the rankings of global broiler producers, outputting 2.0-2.1 million tonnes annually, which represents 2% of the world’s output. The domestic market consumes 1.2-1.3 million tonnes of this (around 60% of the total), the majority of which is in the form of raw fresh chicken meat. The remaining 40% of Thai output is used as inputs to frozen and processed chicken industries, the lion’s share is exported and some of the output of these businesses is distributed via modern trade outlets in domestic market.

 

2018 Meat Trends: Meat the Future

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก: เทรนด์ปี 2561 และมุมมองในอนาคต

By: Bob Garrison
preparedfoods.com

Translated and Compiled By: กองบรรณาธิการ นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

งานวิจัยตลาดจาก Packaged Facts ระบุว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกยังคงเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และเป็นแกนหลักของอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งยังเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้โปรตีนจากสัตว์ยังคงเติบโตได้ต่อไปในสหรัฐอเมริกา แม้จะมีความท้าทายจากแหล่งโปรตีนทางเลือกจากพืชก็ตาม

Packaged Facts คาดการณ์ว่ายอดขายปลีกเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วยยอด 100 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2564 โดยเนื้อสัตว์จะมีมูลค่ายอดขายนำสัตว์ปีกแม้จะมีปริมาณการบริโภคต่อคนน้อยกว่า เนื่องจากเนื้อสัตว์มีระดับราคาที่สูงกว่า สำหรับผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จะมียอดขายน้อยกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐของยอดขายทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้

ถึงคราวอาหารมื้อว่างบุกตลาด
ฤดูใบไม้ผลิในปีที่แล้ว Nielsen เปิดเผยข้อมูลของสินค้ากลุ่มขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์ และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้รายงานว่า “จะหาผลิตภัณฑ์เนื้อวัวได้จากที่ไหน? ลองโฉบไปดูที่ชั้นวางขนมขบเคี้ยวได้เลย” ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์มียอดขายต่อปีเติบโตมากกว่าร้อยละ 7

ขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์มีมูลค่าตลาด 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์เจอร์กี้และอัดแท่งสร้างยอดขายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด โดยเจอร์กี้ฉายแววดีในช่วงปี 2559-2560 ยอดขายเติบโตเกือบร้อยละ 7 สำหรับเนื้อสัตว์อัดแท่งมียอดขายคงที่ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ 3 ปีก่อนหน้ามียอดขายขึ้นลงแบบผันผวนอย่างมาก

สูตรที่ให้ความรู้สึกดีๆ
ย้อนกลับไปช่วงปี ค.ศ.1980-1989 และต้นยุค 1990s สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามยาเสพติดและรณรงค์เยาวชนโดยใช้วลี “Just Say No” วันนี้เราได้เห็นบริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่ต้องการจะใช้วลี “Just Say No” เพื่อปฏิเสธการใช้ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต

กลิ่นรสอาหารคาวที่โดดเด่น
หากผู้บริโภคออกไปรับประทานอาหารตามร้านหรือภัตตาคารลดลง แล้วทำไมเราจึงไม่นำเมนูอาหารระดับภัตตาคารมาเสิร์ฟพวกเขาแทน? ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารทะเล ต่างนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติแท้ๆ มีการขยายกำลังการผลิตมากขึ้น และแสวงหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีกลิ่นรสใหม่ๆ

Meat and poultry products are consumer favorites, food industry mainstays, and protein powerhouses—all factors that will keep the US industry for animal protein growing despite challenges from plant protein alternatives, according to market research firm Packaged Facts.

Packaged Facts forecasts that total retail sales of meat, poultry, and meat substitutes will be just shy of USD 100 billion in 2021. Due to its higher price point, meat will dominate dollar sales despite still trailing poultry in per-capita consumption volume. Meat substitutes will account for less than USD 2 billion of the projected total.

Snack Attack
Last spring saw Nielsen review the meat snacks category. In a late March post, “Where’s The Beef? Check the Snack Aisle,” analysts noted the meat snack category has posted compound annual sales growth of more than 7% during the past four years.

A USD 2.8 billion category, meat snacks are bucketed into jerky and sticks, each of which contributes about half of total sales. Jerky had a particularly strong recent year (from 2016 to 2017), boasting sales growth of nearly 7%. Sales growth in the meat stick sub-group was flat in the recent year, after dramatic ups and downs in the previous three years.

Feel Good Formulations
Back in the 1980s and early 1990s, the US declared a “War on Drugs” and promoted the phrase, “Just Say No” to America’s youth. Of course today finds meat and poultry companies wanting to “just say no” to antibiotics and growth hormones.

Flavor to Savor
If consumer restaurant visits are down, why not bring the restaurant to them? Meat, poultry and seafood processors hope to do just that with more artisan, upscale and adventure some new products and flavors.

Top Six Meat Industry Trends

6 เทรนด์หลักของวงการอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

By: Michael Uetz
Midan Marketing

Translated and Compiled By: กองบรรณาธิการ นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

“What got us here, won’t get us there.”…คำพูดนี้คอยย้ำเตือนให้เราตระหนักว่าคนที่จะประสบความสำเร็จ เขาจะมองเห็นแต่โอกาส ในขณะที่คนอื่นมองเห็นแต่ภัยคุกคาม เราจึงต้องลับมีดของเราให้คมอยู่เสมอ พร้อมลุยในเวทีการแข่งขันของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่มีวิวัฒนาการอย่างไม่สิ้นสุด

ผู้เขียนและพาร์ทเนอร์ Danette Amstein ได้เคยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องเทรนด์หลักๆ ของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ภายในงาน North American Meat Institute (NAMI) Meat Industry Summit ปี 2561 ณ เมืองซานแอนโตนิโอ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา…เมื่อเส้นชัยข้างหน้าไม่ได้หยุดอยู่กับที่ หน้าที่ของเราคือ คอยจับตาเทรนด์ระดับมหภาคไม่ให้คลาดสายตา…เพราะนี่เป็นหนทางที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จในปี 2563 และก้าวต่อๆ ไป

I. ย้ายเป้าไปที่มิลเลนเนียล: เรากำลังมุ่งเป้าไปที่คนรุ่นมิลเลนเนียล และเจน Z ซึ่งเกิดหลังจากปี 2539 เป็นต้นมา และจะกลายเป็นประชากรกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีการคาดการณ์ที่น่าสนใจว่า ภายในปี 2563 คนเจน Z ทั่วโลกจะมีจำนวนถึง 2.5 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้บริโภคทั่วโลก คนเจน Z เติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย ก่อนที่จะซื้อสินค้าอะไรก็ตาม พวกเขาจะท่องโลกโซเชียลเน็ทเวิร์ก อ่านรีวิว (โดยฉพาะรีวิวแง่ลบ) ก่อน เพื่อประเมินในเบื้องต้นว่าจะซื้อสินค้านั้นๆ หรือไม่

II. กินแบบผู้รู้เป็นบรรทัดฐานใหม่: สุขภาพและความอยู่ดีมีสุขไม่ใช่กระแสแฟชั่นที่มาเร็วเคลมเร็วอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นกระแสหลักไปแล้ว ผู้บริโภคอยากรู้ว่าอาหารที่เขากินมาจากไหน มีส่วนผสมอะไรบ้าง และขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร ข้อมูลจาก Power of Meat study ปี 2561 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่กล่าวอ้างว่า “ปราศจากยาปฏิชีวนะ” และ “ไม่ใช้ฮอร์โมน” มียอดขายปลีกเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5…แล้วทำไมจะไม่บอกเล่าเรื่องราวแบรนด์ของคุณสู่ผู้บริโภค เพื่อชิงข้อได้เปรียบของ “กินแบบผู้รู้”

III. รับมือกระแสของโปรตีนจากพืช: คนรุ่นใหม่กำลังให้คำนิยามใหม่กับ “โปรตีน” ว่าโปรตีนไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ยังได้จากพืชด้วย นำไปสู่การบริโภคอาหารจากพืชมากขึ้น กระแสของ Flexitarianism หรือการกินแบบยืดหยุ่น บางครั้งก็เลือกกินโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และเป็นมากกว่าการจำกัดจำนวนอาหารที่บริโภคเพื่อลดน้ำหนัก เราต้องไม่ยอมแพ้กับกระแสนี้ ต้องเดินหน้าต่อโดยมุ่งเน้นการสื่อสารกับผู้บริโภค เพื่อวางตำแหน่งของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ให้เป็นอาหารหลักต่อไป

There’s a saying: “What got us here, won’t get us there.” It’s a reminder that we need to keep our game sharp to compete in the ever-evolving meat industry.

It was in that same vein that my partner Danette Amstein and I presented the top meat industry trends at the 2018 North American Meat Institute (NAMI) Meat Industry Summit in San Antonio in April. When the finish line is always moving, keeping your eye on these macro trends is one way to set yourself up for success in 2020 and beyond:

I. Move over, Millennials: Just as we’re getting up to speed on the soon-to-be-largest generation of Millennials, along comes Gen Z (those born after 1996). By 2020, Gen Z will account for 2.5 billion of the global population and 40% of all consumers. Gen Zs use their social network to determine what products to buy and read negative reviews first to validate purchases.

II. Educated eating is the new norm: As health and wellness move from trendy to mainstream, consumers want to know more about sourcing, ingredients and process. According to the 2018 Power of Meat study, retail sales for meat with claims like “no antibiotics ever” and “no added hormones” are up almost 5%. Proclaim your brand story to take advantage of the “educated eating” bandwagon.

III. Prepare for the global shift to more plant-based diets: Younger generations are redefining protein and leading the way in plant-based consumption. Movements like flexitarianism are likely to become more than just fad diets. Don’t give up the fight — keep your product messaging tight and on target to keep meat-based proteins on the center the plate.

 

Vision Inspection for Food Safety Standards

การตรวจสอบด้วยภาพเพื่อมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร

บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จํากัด
Mettler-Toledo (Thailand) Limited
MT-TH.CustomerSupport@mt.com

Full article TH-EN

กระบวนการบรรจุหีบห่อที่มีการดำเนินการอย่างเหมาะสมนั้นมีความสำคัญยิ่งในการรับประกันว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์อาหารด้วยภาพ1ซึ่ง สามารถตรวจสอบความถูกต้องของฉลากและความสมบูรณ์ของการพิมพ์และการปิดผนึกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากแม้จะอยู่ในสภาวะการผลิตด้วยความเร็วสูง

กฎหมายที่ว่าด้วยการติดฉลาก
เพื่อตอบสนองข้อกำหนดและกฎหมายต่างๆ ด้านการติดฉลากอาหารที่มีความเข้มงวดมากขึ้น เครื่องตรวจสอบบรรจุภัณฑ์อาหารด้วยภาพรุ่นใหม่นี้จึงถูกพัฒนาให้สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์และฉลากด้วยความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุม โดยจะทำการตรวจสอบภาพโดยอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เพื่อประกันว่าฉลาก น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ หมายเลขชุด ราคา และข้อมูลอื่นๆ ถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถลดการเกิดข้อผิดพลาดในการติดฉลากผิดให้เหลือน้อยที่สุด

ความจำเป็นในการตรวจสอบการบรรจุหีบห่อ
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปและองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ออกกฎหมายที่ระบุถึงข้อมูลที่ต้องแสดงบนบรรจุภัณฑ์อาหาร

พระราชบัญญัติการปฏิรูปด้านความปลอดภัยของอาหาร (FSMA) ที่ออกโดย FDA เป็นการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยของอาหารครั้งใหญ่ในรอบกว่า 70 ปี และได้รับการตราขึ้นเป็นกฎหมายในวันที่ 4 มกราคม 2554 หน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้มุ่งที่จะทำให้แน่ใจว่าอุปทานอาหารนั้นมีความปลอดภัย โดยเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับการตอบสนองผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (เช่น มีการปนเปื้อน) ให้เป็นการให้ความสำคัญกับการป้องกันอาหารเหล่านี้มิให้ออกสู่ตลาดและไปสู่ผู้บริโภค

Properly executed packaging processes are critical in ensuring food products are safe for end-user consumption. Today, an innovative food packaging inspection has been developed to better verify the accuracy of labels and printing and seal integrity at high to put speed

Food Labeling Laws
In response to increasingly stringent food labeling initiatives and law, the innovative food packaging inspection allows continuous and comprehensive high-speed product label inspection. It also provides fully automated imaging inspection of food packaging, ensuring the correct labeling of product weight, batch numbering, pricing and other information. This dramatically minimize instances of label mix up.

The Need for Packaging Inspection
The European Union and the United States Food and Drug Administration (FDA) have, within the last 2 years, enacted laws that dictate the information that must be on food packages.

The FDA Food Safety Modernization Act (FSMA) is one the most sweeping reform of food safety law in more than 70 years and was signed into law on January 4th 2011. Those secretary body aim to ensure the food supply is safe by shifting the focus from responding to non-conforming product (e.g. contaminated) to preventing them from hitting supermarket shelves and being consumed.

 

The Effects of Whey Protein on Sarcopenia in Older Adults

การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงอายุโดยเวย์โปรตีน

ฝ่ายบริการเทคนิคและประกันคุณภาพ
Technical service & Quality assurance Department
I.P.S. International Co., Ltd.

Full article TH-EN 

สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึงปรากฏการณ์ที่สัดส่วนผู้สูงอายุในสังคมสูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 และอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 14 โดยอ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ทั้งนี้ จากงานศึกษาเรื่องภาวะกล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่า “Sarcopenia” ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อลดลงและมีไขมันเพิ่มขึ้น แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงนั้น พบว่า “ภาวะกล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงอายุ” ในช่วงอายุตั้งแต่ 40-70 ปี มวลกล้ามเนื้อจะลดลงกว่าร้อยละ 8 ต่อ 10 ปี และจะเด่นชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 70 ปี โดยมวลกล้ามเนื้อจะลดลงกว่าร้อยละ 15 ต่อ 10 ปี ซึ่งการลดลงของมวลกล้ามเนื้อจะแปรผันตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ การไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นตามวัย การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ รวมถึงการมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อพร่องจะมีโอกาสหกล้ม และเกิดการแตกหักของกระดูก เพราะนอกจากการลดลงของมวลกล้ามเนื้อแล้ว ก็พบการลดลงของมวลกระดูกในผู้สูงอายุเช่นกัน โดยวิธีที่จะช่วยป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงอายุคือ การรับประทานโปรตีนเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

Aging society is the phenomenon which the proportion of the old adults in the society is very high when compared with the total population. According to the United Nation’s definition, the countries which have 60 years old population more than 10% or 65 years old population more than 7%. This country will nearly become an aging society. In addition, if there are 60 years old people increase from 10 % to 20% and 65 years old people reach up from 7% to 14%. This country will have aged society refers to National Statistic Office.

Sarcopenia has been defined as the age associated loss of muscle-mass and muscle performance along with an increase in body fat. Muscle loss is a natural consequence of aging. Researchers estimate that the loss of muscle mass increase up to 8% per decade in the age range between 40 years old and 70 years old. Furthermore, the loss of muscle mass will increase up to 15% per decade after the age of 70 years. The main cause of Sarcopenia may come from many reasons. For example, the inability to use muscle, the damage of cell level in old ages, and the inadequate of nutrition including making normal daily activities a challenge and threatening the very core of independent living because Sarcopenia can diminish old adults’ strength and the body can becomes frail. Hence, the solution which can solve the old adults from Sacropenia problem is to intake protein for build muscle strength.

 

Freeze Drying Process

การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง

ดร.สุกิจ ลิติกรณ์
Sukit Litikorn, Ph.D.
Engineering Support Director
Harn Engineering Solutions Pcl.
sukit@harn.co.th

Full article TH-EN

กระบวนการในการเก็บรักษาอาหารไว้ให้นาน โดยยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไว้ ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธีโดยแต่ละวิธีมีรูปแบบ ค่าใช้จ่าย และราคาที่แตกต่างกันให้เลือกตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้วิธีเก็บรักษาด้วยการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เป็นหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยวิธีดังกล่าวยังคงรักษารูปร่าง รสชาติ คุณค่าทางอาหาร และสามารถเก็บรักษาสินค้าได้นานนับปี

การทำแห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze Dehydration หรือ Lyophilization หรือ Freeze Dry) หมายถึงการทำให้แห้ง (Dehydration) ด้วยการแช่เยือกแข็ง (Freezing) โดยทำให้น้ำในเซลล์ที่เป็นของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นผลึก (ของแข็ง) น้ำแข็งเล็กๆ ก่อน จากนั้นจะลดความดันสภาพแวดล้อมลงให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งดังกล่าวสามารถระเหิด (Sublimation) กลายเป็นไอ ดังแสดงในรูปที่1 (ภายใต้อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งจะระเหิดที่ความดัน 4.7 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า)

ขั้นตอนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง
ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการผลิตอาหารด้วยวิธีการทำแห้งแบบเยือกแข็งมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการผลิตเบื้องต้นทั่วไปคือ คัดเลือก ล้าง ทำความสะอาด ปอกเปลือก การตัดแต่งขนาดให้เหมาะสม เป็นต้น จากนั้นเข้าสู่กระบวนการ ซึ่งมีกระบวนการหลักด้วยกัน 3 ขั้นตอนคือ…

Presently, there are many procedures to keep and reserve food for long period, while also maintain the nutritional value of the food. Each procedure has different methods, expenses, and prices. The freeze dry method is one of the most popular methods in current, and trend to be more popular as this method can retain the shape, taste, and nutrition, while can keep the product for years.
Freeze Dehydration or Lyophilization or Freeze Dry refers to dehydration by freezing method by changing the phase of water in the cell from liquid into ice crystals (solid) or small ice. After that, the pressure will be reduced to vacuum so that the ice can be sublimate into vapor as shown in Figure 1 (with temperature equal or below 0˚C, ice will be sublimated at 4.7 mmHg or below).

Freeze Dry Processes
The preliminary steps to produce food by freeze drying method are similar to those of conventional production processes, which are included selection, washing, peeling, trimming and so on. There are three main processes as follows…

 

5 Biggest Food Trends

5 เทรนด์สำคัญของอาหาร

By: Alison Millington
uk.businessinsider

Translated and Compiled By: กองบรรณาธิการ นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN 

ข้อมูลรายงานประจำปี Waitrose Food & Drink Report ในปี 2560-2561 ฉายภาพให้เราเห็นไอเดียว่าพฤติกรรมการบริโภคในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นไปในทิศทางใด

งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลสถิติการขายและการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของการจับจ่ายซื้อของ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนการปรุงอาหารของผู้บริโภคจำนวน 2,000 ราย Waitrose ได้คาดการณ์ 5 เทรนด์สำคัญของปี 2561 ดังนี้

‘Dude food’ แบบญี่ปุ่น
ข้อมูลจาก Waitrose ระบุว่าหมดเวลาของซุปมิโซะและก๋วยเตี๋ยวแล้ว ถึงทีของอาหารญี่ปุ่นแนวใหม่ อาหารในบาร์สไตล์ญี่ปุ่นจะกลายเป็นเทรนด์สำคัญ

สตรีทฟู้ดสไตล์อินเดีย
นึกภาพของเมนูรมควัน ย่าง หรือชุ่มไปด้วยซอส เมนูที่กำลังมา เช่น หอยเชลล์ในขิงดอง หรือขนมปังทอดกรอบสไตล์อินเดียยัดไส้ผักรสชาติเข้มข้นถึงใจ ราดด้วยชัทนีย์ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสสไตล์อินเดีย

อาหารมื้อที่ 4
ลืมอาหารมื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อเย็น เมื่อผู้บริโภคกินอาหารเป็นมื้อย่อยๆ 4 มื้อต่อวัน และเทรนด์นี้จะยังคงอยู่ในปี 2561 นี่ไม่ใช่เรื่องตะกละตะกลาม แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะกับชีวิตประจำวันที่แสนวุ่นวาย

หรือจะเป็นอวสานของรถเข็น?
ที่เทสโก้เอ็กซ์ตร้า ในเมืองวอตฟอร์ด ทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน มีบาริสต้าให้บริการภายในร้านกาแฟ Harris and Hoole เทสโก้ห้างค้าปลีกอันดับ 3 ของโลกใช้กลยุทธ์ให้บริการมื้อเย็นแบบสบายๆ ด้วยกาแฟ หรือแม้กระทั่งโยคะ เพื่อจูงใจให้คนอังกฤษหันกลับมาใช้บริการในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ซบเซา ด้วยงบลงทุน 1,000 ล้านปอนด์ (1,550 ล้านเหรียญสหรัฐ)

โปรตีนจากพืช
อาหารโปรตีนสูงยังคงเป็นที่ต้องการ และมีผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian diet) กันมากขึ้น จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมโปรตีนจากพืชถึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

The annual Waitrose Food & Drink Report for 2017-2018 has been released — and it gives us an idea of what our eating habits could look like in the not-so-distant future.

The research combines a survey of 2,000 consumers, Waitrose sales stats, and the predictions of in-house experts to analyse shopping, eating, drinking, and cooking habits. Here are the 5 biggest food trends set to hit in 2018, according to Waitrose:

Japanese ‘dude food’
According to Waitrose, the time for miso and noodle soup is over. Now, we’re turning to the indulgent side of Japan’s cuisine. “Gutsy sharing dishes favoured in the country’s izakaya bars are set to become a big thing,” according to the report.

Indian Street Food
It’s all about smoked, grilled, or seared delicacies over heavy sauces. We can expect dishes like scallops in pickled ginger, or “puris stuffed with zingy vegetables and drizzled in chutney” in the near future.

The Fourth Meal
Forget breakfast, lunch, and dinner — more and more people are now trying to squeeze a small fourth meal into their day, and this is set to continue in 2018. “This is not about gluttony, rather it is about adapting our eating schedules to our busy lives,” the report states.

The End of the Trolley?
A barista makes a latte at the Harris and Hoole coffee shop inside a Tesco Extra supermarket in Watford, north of London August 8, 2013. Tesco, the world’s number three retailer, is hoping the allure of casual dining, coffees and even yoga will help tempt Britons back to its ailing retail park stores as part of a 1 billion pound ($1.55 billion) push to revitalise business.

Plant Proteins
“The demand for high-protein foods continues, and with more of us choosing a flexitarian diet it’s no wonder there’s such a buzz around new plant-based proteins,” according to Waitrose.

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น U Share V Care เดือน ตุลาคม 2561

ฟังเพลิน เดินชิลล์ไปกับลำโพง JBL Clip 2 Bluetooth Speaker (Only 1 Lucky Winner)

ลุ้นรางวัลกับเราได้ตามลิงก์ด้านล่างเลย อย่าลืมกรอกให้ครบ..นะคะ

https://goo.gl/forms/R6cE8aPNlDfamCo73

The Top 11 Plant-Based Food Trend Predictions for 2018

จับตามอง Top 11 อาหารจากพืชในปี 2561

By: Jill Ettinger
organicauthority.com

Translated and Compiled By: กองบรรณาธิการ นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

2-3 ปีที่ผ่านมา ยอดขายผลิตภัณฑ์ Non-dairy milk เติบโตขึ้นอย่างมาก สตาร์ทอัพผลิตภัณฑ์วีแกนก็เข้ามาเล่นในอุตสาหกรรมมากขึ้น และดูเหมือนว่าจะมีโอกาสเข้ามาชิงตลาดของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เสียด้วย

1. ของหวานๆ ก็วีแกนได้
ของหวานๆ อย่างโดนัทหรือคัพเค้กก็ตอบโจทย์วีแกนได้ ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตไอศกรีมรายใหญ่ในตลาดได้นำเสนอไอศกรีมวีแกนเป็นทางเลือก

2. โปรตีนดีๆ จากพืช
โปรตีนจากพืชเป็นที่นิยมอย่างมาก และดูจะมาแรงแบบฉุดไม่อยู่ ทั้งผู้ผลิตอาหารแบรนด์ใหญ่ๆ และร้านอาหารดังๆ ต่างก็นำเสนอผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้

3. ได้โปรดๆ ชีสเถอะ
หลังจากที่ชีสวีแกนประสบความสำเร็จในอิสราเอลแล้ว ผู้ผลิตพิซซ่า Domino’s ก็ขยายตลาดมาสู่ออสเตรเลีย เทรนด์นี้กำลังมาเพราะร้านพิซซ่าในสหรัฐอเมริกาก็ใช้ชีสวีแกนกันแล้ว

4. ผักเต็มๆ จากรากสู่ลำต้น
นี่เป็นเทรนด์สำหรับปีใหม่ กะหล่ำอบยังคงอยู่ในเทรนด์ แต่ก็คาดหวังที่จะเห็นผักผองเพื่อนอย่างแครอททั้งผล ฟักทองยัดไส้ ตามมาโชว์ตัวในเมนูต่างๆ

5. วีแกนสไตล์ลาตินๆ
คอวีแกนในเมืองลอสแอนเจลิสจะบอกคุณว่าฟู้ดทรัคและอาหารตามร้านรถเข็นที่เยี่ยมที่สุดยามนี้ คือ อาหารสไตล์ลาติน…วีแกนแนวลาตินมาแน่ๆ

Building on the momentum of the last few years where sales of non-dairy milk have skyrocketed, vegan startups are running the tech industry, and vegans are taking over the meat industry.

1. Vegan Desserts
Yes, we’ve had vegan donuts around for a while. Cupcakes, too. But with the avalanche of mainstream ice cream brands adding vegan options over this past year.

2. Plant Protein
Of course plant protein is super hot right now but, it’s only going to get hotter. Look for more creative plant protein offerings from mainstream brands and restaurants.

3. Cheese, Please
Domino’s is moving to bring vegan cheese to Australia after success in Israel, and with numerous pizza shops already using vegan cheese in the U.S.

4. Whole Vegetables (Root to Stem)
Whole Foods says this is on trend for the new year and we couldn’t agree more. Yes, whole roasted cauliflowers are still on trend, but expect to see whole carrots and stuffed squash and peppers on the menu, too.

5. Vegan Latin
Any vegan living in Los Angeles can tell you that the best food trucks and carts right now are Latin-inspired. And you’ll want more.