Mie-Thailand Innovation Center: A Cooperation to Enhance Food Processing Technology

ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย ความร่วมมือเพื่อยกระดับเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร

By: สถาบันอาหาร
กระทรวงอุตสาหกรรม
National Food Institute
Ministry of Industry

Full article TH-EN

ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าด้านอาหารอันดับ 1 ของไทย ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าด้านอาหารอันดับ 4 ของญี่ปุ่น โดยไทยส่งออกอาหารไปญี่ปุ่นสัดส่วนร้อยละ 13.3 ขณะที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.4 โดยมีสัดส่วนค่อนข้างคงที่ตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา

ทั้ง 2 ประเทศ มีมูลค่าการค้าอาหารรวมเป็น 145,000 ล้านบาท โดยในปี 2560 ไทยส่งออกอาหารไปญี่ปุ่นมูลค่า 135,300 ล้านบาท ขณะที่ญี่ปุ่นส่งออกอาหารมาไทย 9,800 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าอาหารเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นมูลค่า 125,500 ล้านบาท สำหรับในปี 2561 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า 130,000 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2560 ส่วนปี 2562 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 8 มูลค่าส่งออกราว 140,000 ล้านบาท

ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างบีโอไอและจังหวัดมิเอะ ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเทคโนโลยีครั้งแรกในด้านการแปรรูปอาหาร โดยมีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย (Mie-Thailand Innovation Center) ณ สถาบันอาหาร ซึ่งเป็นความร่วมมือของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร และจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมมีการรับมอบเครื่องจักรแปรรูปอาหารมูลค่า 25 ล้านเยน จากบริษัท SUEHIRO EPM ประเทศญี่ปุ่น เพื่อต่อยอดการวิจัยและการทำต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากวัตถุดิบของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญพืช

When it comes to food trading, Japan is Thailand’s No.1 trading partner. On the other hand, Thailand is Japan’s 4th top trader. In the past 3-4 years, Thailand averagely exports 13.3% of its food to the Japan, which accounts for 6.4% of what’s imported by the island country.

The food trade between the 2 countries is worth THB 145 billion. In 2017, Thailand exported to Japan in value of THB 135.3 billion and imported THB 9.8 billion, making the country enjoys the trade profit of THB 125.5 billion. In 2018, it is speculated that Thailand has exported no less than THB 130 billion, relatively similar to 2017. However, it is predicted that in 2019, food exports from Thailand should expand around 8% to THB 140 billion.

The MOU signed between BOI and Mie Prefecture, which was the first technological cooperation in food processing, has resulted in the establishment of Mie-Thailand Innovation Center at Thailand’s National Food Institute (NFI). The project is a collaboration between the Department of Industrial Promotion (Ministry of Industry), the National Food Institute, and Mie Prefecture, Japan. Japan’s SUEHIRO EPM has also given a food processing machine worth 25 million yen to the NFI to support with researches and creations of prototypes of food, which are processing from Thailand’s local product, especially rice and grains, to create commercial value.

Four Laboratory Equipment and Technology Trends

 

4 เทรนด์ที่น่าจับตามองด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

By: McKenzie Brower, One Pointe Solutions

Translated by: กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

เทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการได้อย่างยอดเยี่ยม โดยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและวิธีการทดลองใหม่ๆ ทำให้นักเทคนิคทางห้องปฏิบัติการและนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

1. เล็กลงเรื่อยๆ สำหรับอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการนั้นเริ่มมีขนาดเล็กลง เล็กลง ซึ่งก็ช่วยประหยัดพื้นที่การจัดเก็บได้ดีทีเดียว! เทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถทำได้โดยกำจัดชุดปั๊มและวาล์วที่ครั้งหนึ่งเคยมีไว้สำหรับการเก็บตัวอย่างทดลองให้เหมาะสม ซึ่งตอนนี้เรามีชุดต่อประกอบแบบของไหลที่สามารถรวมฟังก์ชันการทำงานของห้องปฏิบัติการหลายๆ อย่างไว้ใน “ชิป” เดียว ช่วยประหยัดพื้นที่บนโต๊ะทำงาน ทรัพยากรบุคคล และเม็ดเงิน และแม้ว่าตัวอย่างทดสอบจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นก็สามารถทำให้เราใช้ปริมาณตัวอย่างได้น้อยลงกว่าเดิมตามไปด้วย

2. เก็บทุกข้อมูลไว้บนกลุ่มเมฆ
คลาวด์เทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งปันสิ่งที่เขาค้นพบได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ในด้านของข้อมูลนั้นก็สามารถอัพโหลดและเข้าถึงได้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องคราวละหลายๆ คน รวมถึงผู้ที่อยู่ต่างห้องปฏิบัติการ ทำให้การทำงานหลายอย่างสามารถบรรลุผลสำเร็จได้จากหลายสถานที่ โดยความสามารถในการสื่อสารนี้ช่วยเพิ่มผลผลิตและช่วยให้คนทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น

3. หลีกทางให้ระบบอัตโนมัติ
ระบบอัตโนมัตินั้นช่วยลดเวลาในการทำงาน ลดขั้นตอนการทดลองซ้ำๆ ซึ่งในอดีตจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง อีกทั้งยังได้ผลลัพธ์ในเวลาเพียงไม่กี่นาที! เวลาเหลือเพิ่มขึ้นนี้เองที่ช่วยให้นักเทคนิคห้องปฏิบัติการสามารถมุ่งความสนใจไปที่ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล แทนที่จะใช้เวลาไปกับการจดบันทึกผลการทดลองอย่างตั้งอกตั้งใจ

4. ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน
ห้องปฏิบัติการทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเป็น “ห้องปฏิบัติการกลาง” ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถแบ่งปันอุปกรณ์และทรัพยากรในห้องปฏิบัติการกันได้ เครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการนั้นมีราคาสูงมาก ดังนั้นห้องปฏิบัติการแบบส่วนกลางนั้นจะทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ โดยเป็นการลดต้นทุนของนักวิทยาศาสตร์และหน่วยงานห้องปฏิบัติการด้วย

1. Smaller Lab Equipment
Lab equipment is getting smaller and smaller. This saves a lot of shelf space! New technology could do this by eliminating a series of pumps and valves that were once required to store samples properly. Now, we have fluidic components capable of integrating multiple laboratory functions into a single ‘chip’, saving bench space, manpower and money. Even samples are becoming smaller. New technology has allowed us to store smaller amounts of required samples.

2. Utilizing Cloud Technology
Cloud technology allows scientists the ability to share their findings sooner than they’ve ever been able to before. Data can be uploaded to and accessed by multiple project contributors using Cloud technology, and this includes people in different laboratories. Work can now be done from different locations. This ability to communicate increases productivity, and it allows people to easily work collaboratively.

3. Automation
Automation eliminates a lot of the time consuming, repetitive experimental steps, which, in the past, would have been manually performed. Results can now be generated in a fraction of the time that they used to take! This new-found time allows laboratory technicians the ability to focus their critical thinking skills on the analysis of data, rather than spending time recording data.

4. New Sustainability Options
Labs all over the world are utilizing new ‘open labs’ that allow researchers to share equipment and resources in the laboratory. Equipment is extremely expensive and open labs allow access to many people at a reduced cost to both the scientists and the lab.

 

CPRAM ตอกย้ำความเป็นผู้นำ Food Provider สู่มาตรฐานโลก เตรียมจัด FTEC ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของภูมิภาคเอเซีย

ซีพีแรมนำโดย นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ที่ 4 จากซ้าย) ยกระดับขีดความสามารถขององค์กรด้วย CPRAM 4.0 ขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี และเป็นผู้นำ 3S (Food safety, Food security, Food sustainability) สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารของโลก พร้อมตั้งเป้าหมายยอดขาย 20,000 ล้านบาท ในปี 2019 และเตรียมจัดตั้ง FTEC (Food Technology Exchange Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือและประสานงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอาหาร ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท