THAIFEX-World of Food Asia 2019…11 Trade Shows Under 1 Roof

งานแสดงสินค้า ครั้งสำคัญของวงการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ที่รวมสุดยอด 11 งานแสดงที่เกี่ยวข้องไว้ใต้หลังคาเดียวอย่างยิ่งใหญ่

Full article TH-EN

 

งานแสดงที่น่าสนใจและสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนในทุกครั้ง THAIFEX-World of Food Asia จะจัดขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 16 ในระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคมถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2562 เพื่อจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ที่รวบรวมที่สุดของอุตสาหกรรมไว้ในงานนี้งานเดียว งานนี้ถือเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เปรียบเสมือนประตูทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับภาคธุรกิจ และบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการเจาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนและอินโดจีน
ยกระดับประสบการณ์งานแสดงสินค้าครั้งสำคัญ
ในฐานะงานแสดงสินค้าที่มุ่งสู่การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ทั้งยังนำไปสู่ข้อตกลงทางการค้าที่มีคุณภาพ THAIFEX-World of Food Asia 2019 จะนำเสนอประสบการณ์ใหม่สำหรับกลุ่มผู้ซื้อหลัก ซึ่งกิจกรรมสำหรับกลุ่มผู้ซื้อหลักได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปี 2561 โดยมีกลุ่มผู้ซื้อต่างประเทศหลักจาก 2,168 รายเข้าร่วมงาน โดยในปีนี้กลุ่มผู้ซื้อหลักจะสามารถเลือกผู้แสดงสินค้าที่พวกเขาต้องการพบได้ล่วงหน้า เพื่อให้แน่ใจว่าการนัดหมายในช่วงวันแสดงจะมีประสิทธิผลและมีความหมายต่อพวกเขาอย่างแท้จริง

ในครั้งนี้จะมีบัตร THAFEXclusive บัตรสมาชิกสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ที่จะออกให้สำหรับผู้ซื้อชั้นนำเพื่อการเข้าถึงงานแสดงที่รวดเร็ว พร้อมมอบสิทธิประโยชน์พิเศษอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มและอาหารรับรอง บริการเจ้าหน้าที่ให้ความอำนวยความสะดวก การเข้าถึง WIFI บริการนวด รวมถึงบริการรับฝากและเก็บรักษาสัมภาระ

และเพื่อให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไรได้อย่างเต็มที่ อิมแพ็คชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1 ได้รับการปรับแต่งใหม่ให้เป็นโถงแห่งเทคโนโลยีซึ่ง บริษัทต่าง ๆ ใน 3 กลุ่มเทคโนโลยีของ THAIFEX – ประกอบด้วย เทคโนโลยีอาหาร บริการอาหาร และกาแฟและชา จะจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชั้นนำของพวกเขา รวมถึงเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ

A highly engaging and multi-sensory show, THAIFEX-World of Food Asia returns for its 16th edition from 28 May to 01 June 2019 to serve up the best of the food and beverage (F&B) industry in one blockbuster seating. The region’s largest dedicated F&B trade show is the strategic gateway for companies looking to penetrate the industry in the ASEAN and Indochina regions.

An Elevated Tradeshow Experience
As a show geared towards the facilitation of quality business and trade deals, THAIFEX-World of Food Asia 2019 will feature a new and improved hosted buyer experience. The hosted buyer program was a huge hit in 2018, with 2,168 hosted international buyers attending the show. This year, hosted buyers will be able to pre-select the exhibitors they want to meet ahead of time to ensure that appointments during the show days are productive and meaningful.

An exclusive membership card, the THAFEXclusive Card, will be issued to top buyers for quick access to the show with exclusive benefits such as complimentary F&B, concierge services, WIFI access, massage as well as luggage delivery and storage.

To allow businesses to increase efficiency and profitability, IMPACT Challenger, Hall 1 has been re-tailored as the Technology Hall, where companies across 3 technology sectors of THAIFEX – Food Technology, Food Service and Coffee & Tea – will be showcasing their leading products, tools and processes.

Seaweeds-derived Potential Functional Food Ingredients for Gut Health Benefits

สารผสมอาหารที่มีหน้าที่เฉพาะจากสาหร่าย: ประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้

โดย: ดร.สุวิมล เจริญสิทธิ์
Suvimol Charoensiddhi, Ph.D.
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University
suvimol.ch@ku.th

Full article TH-EN

สาหร่ายเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงได้และมีความหลากหลายสูง พบในธรรมชาติทั่วท้องทะเลและมหาสมุทรของโลก สามารถจัดประเภทได้แตกต่างกันตามระบบการจัดชั้นและหมวดหมู่พืชและสัตว์ โดยขึ้นอยู่กับรงควัตถุ ได้แก่ สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีเขียว และสาหร่ายสีน้ำตาล

ข้อมูลในปี 2559 จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสาหร่ายนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการเพาะเลี้ยงในกว่า 50 ประเทศ ทั้งนี้ในปี 2557 มีผลผลิตสาหร่ายและ Algae ประเภทอื่นๆ ประมาณ 28.5 ล้านตัน เพื่อใช้บริโภคโดยตรง หรือนำไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตอาหาร ไฮโดรคอลลอยด์ ปุ๋ย และจุดประสงค์อื่นๆ

พอลิแซคคาไรด์ที่ได้จากสาหร่าย เช่น อัลจิเนต (Alginates) ฟูคอยแดน (Fucoidans) ลามินาริน (Laminarins) อัลแวน (Ulvans) อะการ์ (Agars) และคาราจีแนน (Carrageenans) ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร เนื่องจากทนต่อการย่อยของเอนไซม์ที่พบในระบบทางเดินอาหารมนุษย์ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ที่มีประโยชน์ ยับยั้งการรุกล้ำของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค และช่วยควบคุมเมทาบอลิซึมรวมถึงกระบวนการหมักในลำไส้ใหญ่ (O’Sullivan และคณะ, 2010) ดังนั้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพอลิแซคคาไรด์เมื่อผ่านระบบจำลองการย่อยของมนุษย์ (in vitro model) จึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยยืนยันว่าองค์ประกอบในสาหร่ายถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารหรือไม่ รวมถึงมีแนวโน้มผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่และส่งผลต่อเชื้อจุลินทรีย์ ยกตัวอย่างเช่น Neoagaro-oligosaccharides จากสาหร่ายสีแดงไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ที่พบในลำไส้เล็กเมื่อทดลองผ่านระบบจำลองการย่อย (Hu และคณะ, 2006)

Seaweeds are a large and diverse group of photosynthetic macro-algae found across the world’s oceans. They can be categorized into different taxonomic groups based on their pigments, including red seaweed, green seaweed, and brown seaweed.

The cultivation of seaweeds has been growing rapidly and is now practiced in about 50 countries, and 28.5 million tonnes of seaweed and other algae were harvested in 2014 to be used for direct consumption, or as a starting material for the production of food, hydrocolloids, fertilizers, and other purposes (FAO, 2016).

Most seaweed polysaccharides such as alginates, fucoidans, laminarins, ulvans, agars, and carrageenans may be regarded as dietary fibre, as they resist the digestion by enzymes present in the human gastrointestinal tract, selectively stimulate the growth of beneficial gut bacteria, inhibit pathogen adhesion and evasion, and modulate intestinal metabolism including fermentation (O’Sullivan et al., 2010). The digestibility of seaweed components can be determined in vitro to verify whether they are decomposed by human digestive enzymes, and thus their likelihood of reaching the large bowel and its resident microbiota. Neoagaro-oligosaccharides from red seaweeds, for instance, have shown that they were not digestible by enzymes typically present in the small intestine (Hu et al., 2006).

The Most Recently Enforced Food Regulations Revision of the Regulations on the Usage of Food Additives: The Notification of the Ministry of Public Health No.389 B.E.2561 (2018) Re: Food Additives (No.5)

กฎระเบียบด้านอาหารล่าสุดที่มีผลบังคับใช้

การปรับปรุงข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหาร: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)

 

โดย:    สำนักอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

Bureau of Food

Food and Drug Administration, Ministry of Public Health

food@fda.moph.go.th

 

Full article THEN

 

สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2559 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลการบริโภคอาหารของคนไทยให้เป็นปัจจุบัน และสามารถสะท้อนสถานการณ์จริงของรูปแบบการบริโภคของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission; CAC) ในการประชุมครั้งที่ 40 ให้การรับรองข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหารเพิ่มเติมซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการโคเด็กซ์ สาขาวัตถุเจือปนอาหาร (Codex Committee on Food Additives; CCFA) เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (General Standard for Food Additives; GSFA 2017) ดังนั้น เพื่อให้ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารมีความเหมาะสมตามความจำเป็นทางด้านเทคโนโลยีการผลิตอาหารสอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางสากล ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)

 

In 2016, the National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS) updated the data on food consumption of Thai nationals which consequently reflected the real situations of Thai consumers’ changing behaviors. Additionally, in the 40th Session of the Codex Alimentarius Commission (CAC), additional conditions for food additive usage proposed by the Codex Committee on Food Additives (CCFA) were finally adopted in order to establish the General Standard for Food Additives (GSFA 2017). Therefore, to improve the effectiveness of consumer protection and to make the food additive usage requirements response better to the technological needs of food production, current situations, and international standards, the Ministry of Public Health, via the Food and Drug Administration, thusly prescribed the Notification of the Ministry of Public Health No.389 B.E.2561 (2018) Re: Food Additives (No.5).

Up & Coming Beverage Trends in 2019 … Cannabis is Coming to The Top Rank

 

เทรนด์เครื่องดื่มปีนี้กัญชา มาแรง ติดอันดับทุกชาร์ต

 

ฝ่ายบริการเทคนิคและประกันคุณภาพ

Technical Service and Quality Assurance Department

IPS International Co., Ltd.

IPS.TSQA@gmail.com

 

Full article TH-EN

 

นวัตกรรมกำลังเกิดขึ้นในทุกส่วนของอุตสาหกรรม และในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนั้น นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของผู้คนมากกว่าที่เราคาดไม่ถึง การพยากรณ์ไปข้างหน้าเป็นการยากที่จะทราบว่ามีอะไรอยู่ แต่นี่คือแนวโน้มที่เราคาดหวังว่าจะมีบทบาทสำคัญในตลาดเครื่องดื่มในปี 2562

  1. Personalized Functionality

ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสนใจดื่มเครื่องดื่มเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น จากวัตถุดิบใหม่ๆ เช่น ขมิ้น ผงถ่าน ชาเขียวมัทฉะ สารเมลาโทนิน และว่านหางจระเข้ ที่เติมลงในเครื่องดื่ม ส่วนผสมเหล่านี้จะถูกเติมเข้ากับส่วนผสมอื่นๆ เช่น วิตามิน และอาหารเสริม เพื่อให้ผู้บริโภครับประทานได้ง่ายขึ้นและได้รับประโยชน์จากความสะดวกสบายและเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

  1. Plant-based, Non-dairy Beverages

ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งมีวิถีดำเนินชีวิตแบบที่เรียกว่า Flexitarian คือรับประทานมังสวิรัติแต่รับประทานเนื้อสัตว์ เช่น ปลา หรือ นม เป็นบางครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณการรับประทานผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืชมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว มีความรับรู้ว่าผลิตภัณฑ์จากพืชทำให้มีสุขภาพที่ดีกว่า

  1. Cannabinoid Beverages

Cannabidiol (CBD) เป็น Phytocannabinoid ค้นพบในปี 2483 เป็นหนึ่งใน Cannabinoids จำนวน 133 ชนิด ที่ระบุในพืชกัญชาคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของสารสกัด ในปี 2561 วิจัยทางคลินิกเบื้องต้นพบประโยชน์ของสารสกัดกัญชาในเรื่อง ลดความวิตกกังวล เพิ่มการเรียนรู้ ลดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวและลดความเจ็บปวด

  1. Nootropic Drinks

คำว่า “Nootropics” ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 2515 โดยนักเคมีและนักจิตวิทยาชาวโรมาเนีย Corneliu E. Giurgea Nootropics หมายถึงยาอาหารเสริมและสารอื่นๆ ที่ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบสมองในด้านความรู้ความเข้าใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริหารจัดการ หน่วยความจำ ความคิดสร้างสรรค์หรือแรงจูงใจ

 

 

Innovation is happening across every market segment, and beverages are fitting into more areas of people’s lives than we could have ever imagined. Looking ahead it’s difficult to know exactly what’s in store, but here are some of the trends we’re expecting will play a significant role in the beverage landscape in 2019.

  1. Personalized Functionality​

Consumers are increasingly drawn to functional beverages for the health benefits of superfood and various ingredients like turmeric, activated charcoal, Matcha, melatonin and aloe Vera into their drinks. It blends the beverage industry with vitamins and supplements, benefitting convenience and healthy grab-and-go options.

  1. Plant-based, Non-dairy beverages.

More people are adopting a flexitarian lifestyle, incorporating meat, dairy but also an increasing volume of plant-based products into their diet. Consumers hold the perception that plant-based products are healthier in moderation and more sustainable than their animal-based counterparts.

  1. Cannabinoid Beverages

Cannabidiol (CBD) is a phytocannabinoid discovered in 1940. It is one of some 113 identified cannabinoids in cannabis plants, accounting for up to 40% of the plant’s extract. As of 2018, preliminary clinical research on cannabidiol included studies of anxiety, cognition, movement disorders, and pain.

  1. Nootropic drinks.

The term “nootropics” it was first mentioned in 1972 by Romanian chemist and psychologist Corneliu E. Giurgea. Nootropics are drugs, supplements, and other substances that may improve cognitive function, particularly executive functions, memory, creativity, or motivation, in healthy individuals

Food Pack Asia 2019… Crowded as Always

 

ปิดฉากงานแสดงเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์นานาชาติครั้งที่ 10 ด้วยความสำเร็จเช่นเคย

Full article TH_EN

Food Pack Asia 2019 ปิดฉากลงแล้วเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแต่ความสำเร็จของงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ตลอดจนสินค้าที่เกี่ยวข้องก็ส่งสัญญาณตั้งแต่เริ่มวันแรกของงานซึ่งจัดที่ศูนย์นิทรรศการไบเทค กรุงเทพฯ ประเทศไทย ตลอดสี่วันมีผู้มาร่วมงานมากมายทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพื่อแสวงหาและสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ดีที่สุดของตน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพความผันผวนของบรรยากาศทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน อันสืบเนื่องจากการแข่งขันของมหาอำนาจของโลกคือ จีนและอเมริกา การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกและช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งในประเทศไทยเอง เป็นต้น Food Pack Asia 2019 ภายใต้ธีม “Trend + Technology+ Innovation= Business Opportunity” เพื่อขานรับการเติบโตของ เทรนด์ใหม่ๆและความต้องการหลากหลายของแทบทุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยรวมเอาผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายชั้นแนวหน้าทั้งไทยและเทศมาไว้ในงานเดียวกันพร้อมสินค้าและบริการคุณภาพสูง ดังนั้นผู้ร่วมงานจึงสามารถดำเนินธุรกิจการค้าและแลกเปลี่ยนข่าวสารและความรู้ทันเหตุการณ์และยังได้พบกับเทรนด์น่าสนใจจากธุรกิจระดับโลก AI เทคโนโลยี และผลงานค้นคว้าวิจัยที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย งานนี้แบ่งเป็นโซนต่างๆคือ Food Processing Machinery, Packaging & Printing Technology, Confectionery Machinery, Drink Technology รวมถึงบริการสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกิจกรรมสัมมนาและองค์ความรู้ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีต่างๆกว่า 45 หัวข้อ คาดว่าหลายธุรกิจจะเติบโตและสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้น ในงานครั้งนี้ ขอให้ก้าวต่อไปสำหรับผู้ประกอบการทั้งรายใหม่ที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เครื่องดื่มและบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย และผู้ประกอบการที่อยู่ในวงการทุกท่านด้วยใจสู้ไม่ถอย

งาน Food Pack Asia 2020 จะกลับมาอีกครั้งระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์ไบเทค อย่างแน่นอน

On 16 February, 2019 the curtain came down on Food Pack Asia 2019, yet the success had already signaled since the first day of this 10th annual trade exhibition of international food and beverage processing, packaging and related industries held at Bangkok’s BITEC Exhibition Centre, Thailand. Throughout the 4-day event, crowds of local and foreign visitors and exhibitors flooded at the event for their best business opportunity despite uncertain current trade and business climate affected by the global powers’ trade competition especially between China and the US, a slowdown of economic growth across the globe, and the pre-national election period in Thailand, for example. Under the theme “Trend + Technology+ Innovation = Business Opportunity”, which responds to rising mixed trends and varieties of demand from the global and local markets in almost everywhere, Food Pack Asia 2019 brought in one place top producers and distributors from Thailand and abroad together with thousands of their high-quality products and services. Thus, the exhibitors and visitors not only could make their trades and exchange update information and knowledge but also experience the world’s latest food business trends, AI technologies, and award-winning R&D works applied to many successful food businesses. The exhibition consisted mainly of food processing machinery, packaging & printing technology, confectionery machinery, drink technology and related products and services, as well as 45 business talk and technology seminar sessions. Expectedly, following Food Pack Asia 2019 are further expansions and higher profits for several businesses after their experience at the event and some new players in Thailand’s food processing and packaging industries; keep going with great spirits for all players.

The next Food Pack Asia 2020 will be held on 12-15 Feb 2020 at BITEC.

Food Allergen Management in the Food Industry

การควบคุมอาหารก่อภูมิแพ้ในอุตสาหกรรมอาหาร

 

By:      สุภารัตน์ เจียมทอง

Supharat Jiamtong

Client Manager

British Standards Institution (BSI)

Supharat.Jiamtong@bsigroup.com

 

Full article TH-EN

 

สารก่อภูมิแพ้ทางอาหาร (Food allergen) หมายถึง อาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้สำหรับบางคนที่มีภาวะเป็นโรคแพ้อาหาร ซึ่งเมื่อรับประทานอาหารที่ก่อภูมิแพ้เข้าไปแล้วจะทำให้ร่างกายเกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse Food Reaction; AFR) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งเป็น lgE Mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป และ Non lgE Mediated reaction ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และอีกหนึ่งกลุ่มคือ Food intolerances ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Lactose intolerances โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา และ Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (Lactose intolerances)

 

ในปัจจุบันการระบุอาหารที่ก่อภูมิแพ้บนฉลากสินค้ามีความสำคัญต่อผู้บริโภคมากขึ้นทุกขณะเนื่องจากอาหารในปัจจุบันมีส่วนผสมที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนผสมของอาหารก่อภูมิแพ้ร่วมด้วย ผู้บริโภค รวมทั้งภาครัฐของประเทศต่างๆ จึงหันมาให้ความสนใจในการควบคุม รวมทั้งออกกฎระเบียบสำหรับการให้ข้อมูลบนฉลากแก่ผู้บริโภคให้สามารถเลือกซื้ออาหารที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อสุขภาพของตนเอง และเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการแพ้อาหาร แต่เป็นเพียงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการแพ้ตามกรณีที่พบ รวมทั้งผู้บริโภคต้องหลีกเลี่ยงอาหารนั้นๆ ด้วยตัวเอง

 

แนวทางการจัดการหรือควบคุมอาหารก่อภูมิแพ้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเกิดอันตรายหรือมีการปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจเกิดขึ้นสามารถทำได้หลายวิธี โดยโรงงานผู้ผลิตจะต้องมีมาตรการควบคุมและจัดการอาหารก่อภูมิแพ้เพื่อป้องกันและลดอันตรายที่อาจจะไปถึงผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ BRC Food, FSSC 22000, ISO 22000 เป็นต้น ซึ่งในแต่ละมาตรฐานก็จะระบุข้อกำหนดที่โรงงานจะต้องปฏิบัติ

 

Food allergen means food that causes allergic reactions. People with food allergy experience adverse food reaction (AFR) after receiving the allergens. AFR can be divided into 2 groups; allergies associated with human’s immune system and food intolerances. The former group can also be divided into 2 categories; IgE Mediated Reaction such as an allergy to peanuts which shows symptoms within 1 minute after consuming and Non-IgE Mediated Reaction which shows symptoms within 2 hours after the intake. Meanwhile, food intolerance is not related to the immune system but human body responses to the allergy with toxic reactions or non-toxic reactions – lactose intolerance, for instance.

 

Nowadays, identifying food allergens on the label becomes more prominent to consumers, as food is getting more and more diverse and may contain ingredients that can potentially pose as allergens. Consumers, along with many governments, are paying more attention to the controlling and regulating food labelling to ensure that consumers can avoid food that they are allergic to. Since food allergy is still incurable, and can only be treated accordingly upon symptoms, consumers must be in charge of choosing their own food.

 

Food allergen management and control can be done through several processes. In order to prevent harm and unintentional contamination, food manufacturers must act to control and manage food allergens to protect customers and reduce possible risks. At present the standards such as BRC Food, FSSC 22000, and ISO 22000 are applied for allergen control in food manufacture, and each standard specifies requirements that the factory must follow.

 

Prototype of the Sodium Reduction Project: Utilization and Commercial Technology Transfer

โครงการต้นแบบผลิตภัณฑ์เกลือลดโซเดียม: การใช้ประโยชน์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

 

โดย:    ชุษณา เมฆโหรา

Chusana Mekhora

Researcher Professional Level

Department of Nutrition and Health

Institute of Food Research and Product Development (IFRPD)

Kasetsart University

ifrcnm@ku.ac.th

 

Full article THEN

 

การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชากรไทย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์อัมพาต และโรคไต รวมถึงส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมติดเค็ม ทำให้การลดปริมาณโซเดียมเป็นไปได้ยาก

 

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับเกลือประมาณ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลาประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แต่จากผลการสำรวจที่ผ่านมาในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย พบว่าประชากรส่วนใหญ่บริโภคโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการของร่างกายถึง 3-4 เท่าตัวซึ่งถือว่าอยู่ในสถานการณ์อันตราย และถ้าไม่ได้รับการควบคุมอาจทำให้อัตราการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคโซเดียมเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

 

วิธีการที่นิยมใช้ปรับลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร คือ การใช้สารทดแทนเกลือ หรือโพแทสเซียมคลอไรด์ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้โพแทสเซียมคลอไรด์อาจก่อให้เกิดรสเฝื่อนในผลิตภัณฑ์ รวมถึงยังมีข้อควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคไต หรือโรคหัวใจ ที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม ดังนั้นการหาแนวทางในการปรับลดโซเดียมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติเค็มจึงมีความจำเป็น

 

ทางทีมผู้วิจัยได้ทำการศึกษากระบวนการการปรับลดขนาดอนุภาคเกลือทะเล (Particle size reduction) และใช้สารเสริมรสชาติ (Flavor induced saltiness) เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการลดปริมาณโซเดียมหรือเกลือในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยที่ผลิตภัณฑ์ยังคงมีรสชาติเค็มใกล้เคียงเดิม

 

High-sodium food consumptions cause chronic non-communicable diseases (NCDs) such as high blood pressure, coronary artery disease, paralysis, and kidney disease, which affect health problems for the Thai population. Eating behavior also influences people on a salty taste habit that makes it difficult to reduce sodium intake.

 

The World Health Organization (WHO) has determined not more than 2,000 milligrams of sodium an acceptable daily intake, which equivalent to about 1 teaspoon of salt or 2 tablespoons of fish sauce. Based on previous surveys in countries around the world, including Thailand, this pertains to the majority of the population consuming 3-4 times more sodium than the body’s needs. Over consumption of sodium is however considered dangerous. If not controlled, the rate of chronic illness related to sodium intake would be highly increased in the future.

 

A popular way to cut back sodium content in food products is to use salt substitutes or potassium chloride. However, the use of potassium chloride may cause unpleasant taste in the food product. Precautions for kidney disease or heart disease patients are necessary to limit the amount of potassium usage. Therefore, finding a tasteful way to reduce sodium without affecting salty flavor is essential.

 

The researchers studied the particle size of the sea salt reduction process and flavor induced saltiness as an alternative to reducing sodium or salt in food products, but maintaining a sensitivity to the taste as much salt as original.

Top Flavor Trends for Functional Beverages

กลิ่นรสที่มาแรงสำหรับเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล

By: George Glass

 

Compiled and Translated By: กองบรรณาธิการ

นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

 

Full article TH-EN

 

ในบรรดาเครื่องดื่มพร้อมดื่มที่มีมากมายในตลาดนั้น กลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลได้กลายเป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ทรงอิทธิพลและมาแรงมากที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคหันมาเลือกดื่มในสิ่งที่ดีกว่าสำหรับสุขภาพของพวกเขา แต่การที่คุณประโยชน์ทางด้านสุขภาพนั้นจะถูกตาต้องใจกับผู้บริโภคทั้งเสริมสร้างพลังงาน ช่วยการนอนหลับ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน หรือแม้แต่การลดน้ำหนักก็ตาม ล้วนนำมาซึ่งความท้าทายในการผลิตสูตรเครื่องดื่มที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มฟังก์ชันนัลนั้นต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องกลิ่นรส เนื่องจากต้องการปกปิดกลิ่นรสขมและกลิ่นที่ไม่ต้องการอันเป็นผลมาจากอินกรีเดียนท์ที่เลือกนำมาใช้ในเครื่องดื่มนั่นเอง

 

มองภาพรวมตลาดและแนวโน้มการเติบโต

ก่อนจะล้วงลึกไปถึงอินกรีเดียนท์ที่มาแรง มาดูทิศทางด้านการตลาดสักเล็กน้อย โดยจากการวิจัยการตลาด Future Market Insights ได้คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลทั่วโลกจะเติบโตสูงถึงร้อยละ 6.3 ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 25641 โดยตลาดที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับอเมริกาเหนือ รองลงมาคือเอเชียแปซิฟิก และยุโรป โดยเป็นที่จับตาว่าตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง จะมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไปอย่างแน่นอน

 

นอกจากในกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลหลักๆ อย่างเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา ผลิตภัณฑ์นมฟังก์ชันนัล และผลิตภัณฑ์นมทางเลือกแล้วนั้น น้ำผักและผลไม้ ชา กาแฟ ตลอดจนน้ำดื่มต่างๆ ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องดื่มกลุ่มดังกล่าวไปแบบง่ายๆ และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการใช้ส่วนผสมพรีมิกซ์ทางโภชนาการ เรียกได้ว่าเครื่องดื่มธรรมดาๆ ก็สามารถกลายเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลที่พร้อมเสิร์ฟคุณค่าให้กับผู้บริโภคได้ไม่ยากเลยทีเดียว

 

ส่วนผสมฟังก์ชันนัลที่ได้รับความนิยม

การเติมสารอาหารในเครื่องดื่มนั้นมีตั้งแต่การเติมวิตามิน แร่ธาตุซึ่งเติมไปตามปริมาณที่ขาดไปจนถึงการเติมอินกรีเดียนท์ยอดนิยมอย่างเช่น ขมิ้นชัน ถ่านชาร์โคล คอลลาเจน แคนนาบินอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารที่พบเฉพาะในกัญชาและกำลังเริ่มได้รับความสนใจในด้านประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม กลุ่มอินกรีเดียนท์ที่ยังคงได้รับความสนใจมากที่สุดในการนำมาเติมแต่งในเครื่องดื่ม ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ พรีไบโอติกส์ โพรไบโอติกส์ กรดไขมันโอเมก้า-3 กรดอะมิโน สมุนไพรและสารสกัดสมุนไพรต่างๆ ชา กาแฟ รวมถึงสารสกัดที่ได้จากชาและกาแฟ ตลอดจนสารสกัดจากซูเปอร์ฟรุต

 

Functional beverages have become a vital part of the ready-to-drink landscape as consumers shift to better-for-you options. But providing health and wellness benefits like improved energy, sleep, immunity, or weight loss brings unique formulation challenges. Functional beverages require special attention to flavor to cover the bitter and off flavors often associated with functional ingredients.

 

Market Overview and Growth Forecast

According to Market Research Future, the global functional beverages market is forecast to grow at a CAGR of 6.3% from 2018 to 2023.1 Future Market Insights identifies North America as the largest market, followed by Asia-Pacific and Europe, with strong future growth expected in Asia-Pacific and the Middle East.2

 

While the largest segments of functional beverages are energy and sports drinks, functional dairy and dairy-alternative beverages, fruit and vegetable juices, teas, coffees, and waters have all become part of the ever-expanding category of functional beverages. By adding a custom nutrient premix, any beverage can be transformed into a functional beverage to provide more value to consumers.

 

Popular Functional Ingredients

Fortifications range from vitamins and minerals that address nutrient shortfalls to trendy ingredients like turmeric, activated charcoal, collagen, and cannabinoids, whose potential health benefits are still being explored. The most popular categories of functional ingredients include: vitamins, minerals, antioxidants, prebiotics, probiotics, omega-3 fatty acids, amino acids, herbs and herbal extracts, tea and coffee extracts, superfruit extracts.

Bioactive Compound from Soy Peptide…A Better Choice for Your Health

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากถั่วเหลืองกับคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

 

กสิภูมิ ทวนคง

Khasipoom Thaunkhong

Assistant Product Manager

BJC Specialties Company Limited

Khasipot@bjc.co.th

 Full article TH-EN 

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compounds) คือ สารจากสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งคน สัตว์ และพืช โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีต้องเป็นสารที่มีผลจําเพาะเจาะจงและสารนั้นจะต้องไม่มีผลในทางลบต่อร่างกาย หรือมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมีหลายชนิด เช่น สารกลุ่มพอลิฟีนอล (Polyphenol) ฟลาโวนอยด์ (Flavoniod) แอนโทไซยานิน (Anthocyaine) ลูทีน (Lutein) และไบโอแอคทีฟเพปไทด์ (Bioactive peptide)1 เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงไบโอแอคทีฟเพปไทด์เเป็นหลัก

 

ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าโปรตีนจากอาหารประกอบด้วยลำดับกรดอะมิโมที่เป็นส่วนประกอบของเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาซึ่งออกฤทธิ์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ปรับระบบภูมิคุ้มกัน (Immunomodulation) ลดความดันโลหิต (Anti-hypertension) ลดน้ำตาลในเลือด (Anti-diabetic) และลดไขมันในเลือด (Anti-dyslipidemic) โดยทั่วไปไบโอแอคทีฟเพปไทด์จะประกอบด้วยกรดอะมิโน 2-20 ชนิดและมีมวลโมเลกุลน้อยกว่า 6,000 ดาลตัน ซึ่งการเกิดหรือการผลิตไบโอแอคทีฟเพปไทด์นั้นจะเกิดจากกระบวนการย่อยด้วยน้ำ (Hydrolysis) โดยมีเอนไซม์ในกลุ่มโปรติเอส (Protease) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งทำให้เกิดเพปไทด์สายสั้นๆ หรือเกิดไบโอแอคทีฟเพปไทด์ขึ้น ซึ่งร่างกายจะสามารถดูดซึมเพปไทด์สายสั้นๆ ได้รวดเร็วกว่าในรูปกรดอะมิโน2

 

ปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหันมาบริโภคโปรตีนจากพืชและลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในจีน ยุโรป และอเมริกา ทำให้โปรตีนจากพืชมีบทบาทมากขึ้นในอนาคตซึ่งรวมถึงไบโอแอคทีฟเพปไทด์จากพืชด้วย เช่น เพปไทด์จากถั่วเหลือง (Soy peptide)

 

Bioactive compounds are substances from natural organisms that affect human beings, animals and plants. Good bioactive compounds must be a substance that has specific effects and the substance must not create negative to the body or have few side effects to the body. There are many kinds of bioactive compounds such as polyphenol, flavoniod, anthocyanin, lutein, and bioactive peptide1, and etc. This article will discuss mainly on the bioactive peptide.

 

At present, there is a scientific evidence to show that proteins from food contain the amino acids which are parts of peptides that have many pharmacological effects on the body such as antioxidant, immunomodulation, anti-hypertension, anti-diabetic, and anti-dyslipidemic. In general, bioactive peptides are composed of 2-20 amino acids and have a molecular mass of less than 6,000 Daltons. The bioactive peptide is produced from hydrolysis with having protease enzymes as a catalyst, causing short-chained peptides or formed of bioactive peptide, which the body can absorb short peptide faster in the form of amino acid2 (Figure 1)

 

Nowadays, consumers mainly in China, Europe, and America tend to consume more of plant protein, while reduce consumption of meat products continuously, resulting plant protein, including bioactive peptide likes soy peptide to play more significant role in the future.

 

Technology for Real increasing O.E.E.

เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของอุปกรณ์

 

บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด

Mettler-Toledo (Thailand) Limited

MT-TH.CustomerSupport@mt.com

 

Full article TH_EN

 

OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness หรือที่เรียกกันว่า “ประสิทธิภาพโดยรวมของอุปกรณ์” เรามักเข้าใจกันว่า เครื่องตรวจสอบคุณภาพเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กำลังการผลิตลดลง แต่ในความเป็นจริงแล้วเครื่องตรวจสอบคุณภาพที่ดีจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดีได้เช่นกัน

สำหรับในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องตรวจจับโลหะ (Metal detector) เป็นเครื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน หากเลือกใช้เครื่องที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตผลโดยรวม และคุณภาพ

เทคโนโลยีในการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งบ่งบอกสถานะความพร้อมในการใช้งาน ให้กับผู้ใช้งานทราบ รวมถึงการแจ้งเตือนเมื่อเครื่องมีปัญหาต่างๆ จะช่วยลดการเกิดการหยุดกระบวนการผลิตโดยไม่จำเป็นได้

ทั้งนี้ การหยุดกระบวนการผลิต เพื่อทำการทวนสอบ (Routine performance monitoring) เครื่องตรวจจับโลหะบ่อยๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลกระทบต่อ OEE อย่างมาก เทคโนโลยีในปัจจุบัน มีซอฟแวร์ที่สามารถยืนยันถึงประสิทธิภาพของเครื่องได้โดยสามารถลดความถี่ในการทำทวนสอบ ลงได้ นอกจากนั้น การลดระยะเวลาของการทวนสอบ ก็เป็นตัวช่วยหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องตรวจจับโลหะได้ เทคโนโลยีดังกล่าวเรียกว่า ระบบออโต้เทส (Auto Test) โดยเป็นการติดตั้งอุปกรณ์เสริมให้กับเครื่องตรวจจับโลหะ เทคโนโลยีนี้ สามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำการทวนสอบ ได้มากกว่าร้อยละ 80 เลยทีเดียว และเป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่สามารถยืนยันประสิทธิภาพการตรวจจับสิ่งปนเปื้อนที่กลางอุโมงค์ของเครื่องตรวจจับโลหะได้อย่างแท้จริง

 

The Overall Equipment Effectiveness (OEE) is generally known as a quality diagnostic tool.  It is sometimes considered, yet equivocally, as one of the factors that may compromise the production capacity. In reality, a good quality monitoring device can boost the manufacturing capacity, enhance the quality control processes, and ultimately help achieve optimum standards.

In the food manufacturing industry, a metal detector is undeniably indispensable. If such device is inefficient or has unsuitable qualities, there will be direct negative impacts on the overall quality and production.

A self-reliant effectiveness monitoring technology, with indicators that inform users of its operational status or warn them of possible problems, will help reduce any unnecessary disruptions of the production lines.          Frequent disruptions of the manufacturing processes due to routine performance monitoring of metal detectors are one of the causes that dramatically impact the OEE. With the help of the modern-day technology and software, a machine’s effectiveness can be checked and confirmed while the frequency of the disruptive routine performance monitoring can be lessened. Besides, the shortened duration of such monitoring activities is also another beneficial factor that helps improve the overall effectiveness of metal detectors. Such technology, which is known as the Auto Test, involves additional accessories installed on metal detectors and can cut down the length of performance monitoring process by more than 80 percent. It is also the only way that can truly confirm the effectiveness of contaminant detection at the middle section of a metal detector’s tunnel.