อุตสาหกรรมอาหารพลิกฟื้น-โค้งสุดท้ายปี 64 ยังโตแกร่งสวนโควิด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 7 เดือนแรกปี 2564 ว่า การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกพบว่า มีมูลค่า 622,700 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่ผ่อนคลายมาตรการ Lockdown หลังจากสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ประชาชนสามารถออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน ธุรกิจบริการร้านอาหารต่างๆ มีการฟื้นตัว โดยการส่งออกไปจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจำนวนมากเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน ส่วนการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปก็มีสัญญาณการฟื้นตัวเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกในกลุ่มอาหารทะเลแช่แข็ง จำพวกกุ้ง ปลา ปลาหมึก สับปะรดกระป๋อง ที่มีการขยายตัวตามช่องทางจำหน่ายในธุรกิจบริการร้านอาหารที่กำลังฟื้นตัว ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับ Pent up demand หรือความต้องการที่ถูกอั้นไว้ในช่วงที่ออกนอกบ้านไม่ได้และร้านอาหารถูกปิดเป็นเวลาหลายเดือน

            

ด้าน นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยใน 5 เดือนหลังยังจะโตแกร่งสวนทางโควิด-19 โดยคาดว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 มูลค่า 427,300 ล้านบาท ทั้งปีประเมินว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 การส่งออกจะมีมูลค่า 1,050,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 จากปี 63 จึงเร่งขอความร่วมมือโรงงานโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็กเข้าประเมินตนเอง Online ในแพลตฟอร์ม Thai Stop Covid (TSC) และการสุ่มตรวจประเมินโรงงาน (Onsite) เพื่อแนะนำการใช้มาตรการต่างๆ ในเชิงรุก เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถทำรายได้จากการส่งออกและเป็นภาคส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไทย

 

แหล่งที่มาสำนักข่าวอินโฟเควสท์

ชูพืชเกษตรไทยสู่การผลิตโปรตีนทางเลือก ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านอุปทาน

Continue reading “ชูพืชเกษตรไทยสู่การผลิตโปรตีนทางเลือก ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านอุปทาน”

คาดปี’64 มูลค่าการใช้จ่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ขยับขึ้นร้อยละ 2.0 ดันมูลค่าตลาด 2.5 แสนล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ช่วงที่เหลือของปี 2564 ทิศทางราคาเนื้อสัตว์ยังยืนตัวอยู่ในระดับสูง จากต้นทุนในการป้องกันควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ ต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่ปรับสูงเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งสินค้านำเข้าที่มีแนวโน้มจะยืนระดับสูงต่อเนื่อง และผลจากเงินบาทที่มีแนวโน้มผันผวนอ่อนค่า อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิดที่ยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งเนื้อสัตว์ยังจัดเป็นสินค้าควบคุมราคา การผลักภาระต้นทุนไปที่ผู้บริโภคจึงอาจทำได้เพียงบางส่วน ดังนั้น ความท้าทายจึงอยู่ที่การบริหารต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิต เพื่อให้ธุรกิจสามารถประคับประคองต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การใช้จ่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทั้งปี 2564 ยังคงเติบโตได้ราวร้อยละ 2.0 หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 2.5 แสนล้านบาท (เทียบกับปี 2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.3) โดยมีปัจจัยหลักมาจากผลของราคาเนื้อสัตว์ ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2564 ราคาขายปลีกเนื้อสัตว์เฉลี่ยจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2-3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการบริโภคน่าจะไม่ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคและซัพพลายเออร์สำคัญอย่างธุรกิจร้านอาหาร ยังคงได้รับผลกระทบและไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ภายในปีนี้จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ต้องใช้เวลากว่าจะคลี่คลาย​

ส่วนโจทย์สำคัญของธุรกิจในระยะต่อไป นอกเหนือจากการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาวัตถุดิบหลักที่ผันผวน ซึ่งเป็นปัญหาหลักของธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว การปรับธุรกิจเข้าสู่มาตรการป้องกันความปลอดภัยในโรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดใหม่ๆ ในความถี่ที่มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ยังมีความจำเป็นต่อการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยด้านอาหารให้กับคู่ค้า สอดรับไปกับมาตรฐานสินค้าที่มีแนวโน้มจะยกระดับขึ้น ทั้งตลาดประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในระยะต่อไป

 

Credit : kasikornresearch

พลิกวิกฤตโควิด-19 สู่โอกาสธุรกิจของอาหารแห่งอนาคต

ด้วยความร่วมมือของ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนอุตสาหกรรมอาหาร โดยกลุ่ม FoodConnext สตาร์ทอัพ รวมทั้งผู้บุกเบิกด้านอาหารอนาคตในประเทศไทยร่วมกับกลุ่ม Future Food Network เกิดการระดมสมองจากผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมอาหาร จัดงานสัมมนาด้านอาหารอนาคต “WHERE IS THE FUTURE OF FUTURE FOOD 2021” เป็น Virtual Future Food Ideation Workshop ซึ่งจัดขึ้นโดยเทสบัด แลป และ ไบโอ บัดดี้

จากกิจกรรมที่ผ่านมา สรุปกุญแจหลักและ 2 หัวใจสําคัญสู่การเติบโตก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน ดังนี้
กุญแจหลัก Future Food System Framework 6 เสาหลัก เพื่อการวางรากฐานการพัฒนาห่วงโซ่อาหารแห่งอนาคตยั่งยืน โดย 6 เสาหลักนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ BCG แบ่งจาก 2 หมวดหมู่หลัก คือ ภาคการผลิตและการบริโภค การร่วมกันสนับสนุน ทําให้เป็นแรงผลักดันให้เกิดขึ้นได้เร็วและได้จริง มุ่งเป้าทํางานเชิงรุกแบบเกื้อกูล และสนับสนุนผู้บุกเบิกบน 6 เสาหลักที่สําคัญ เพื่อพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพสู่การแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตของโลกอย่างทันท่วงทีรวมทั้งการสร้างสรรค์โอกาสของการเติบโตก้าวประโดด (exponential growth) ทวีการเติบโตและทวีคูณคุณค่าผลกระทบ (impact) ในแนวคิดการทํางานร่วมกัน synergy เพื่อพัฒนาเสาหลักการสร้างห่วงโซ่คุณค่าเพื่อความมันคงอาหารในอนาคตบนแนวคิด resilience food value chain และ circular economy

2 หัวใจสําคัญ เพื่อพัฒนาด้านอาหารอนาคตที่สําคัญของประเทศไทย การนํามุมมองด้านการพัฒนายั่งยืนหรือ Sustainable Development ที่เป็นแนวทางที่ UN’s sustainable development มาร่วมกันพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านอาหารแห่งอนาคตที่สร้าง impact ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ impact ด้านความมั่นคงยั่งยืนทางอาหารและสิ่งแวดล้อม โดยมี 5 ไอเดีย ในการนําเทคโนโลยีร่วม REIMAGINE OUR FOOD VALUE CHAIN ตั้งคําถามใหม่เพื่อสร้างสรรค์ห่วงโซ่อาหารแห่งอนาคตยั่งยืน นํา 5 เทคโนโลยีที่สําคัญมาพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. BIO TECHNOLOGY เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร
2. AUTOMATION เทคโนโลยีเสริมระบบการผลิตเกษตร-แปรรูปอาหาร
3. FOOD PROCESS & HARDWARE เทคโนโลยีอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร
4. BIG DATA & AI ปัญญาประดิษฐ์และระบบข้อมูลด้านเกษตรอาหารประเทศ
5. BLOCKCHAIN บล็อกเชนและการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อความปลอดภัย ความโปร่งใส และความมั่นใจ ด้านระบบอาหารสู่ประชาคมโลก

นอกจากนี้ ยังนำ REINVENT FOR OUR FUTURE OF FOOD แนวคิดใหม่-ทําใหม่ เพื่อสร้างสรรค์ห่วงโซ่อาหารแห่งอนาคตยั่งยืนจากการรวบรวมข้อมูลบนจุดแข็งและโอกาสของประเทศไทย แบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ที่สําคัญ คือ

1. FUTURE FOOD CPGs นําจุดเด่นอาหาร รสชาติอัตลักษณ์พัฒนาอาหารแปรรูปในหมวดหมู่อาหารแห่งอนาคตรูปแบบยั่งยืนที่โลกต้องการ

2. FOOD SERVICES & FOOD RETAIL พัฒนาบริบทธุรกิจอาหารและรูปแบบการค้าปลีกการกระจายอาหารด้วยเทคโนโลยีและเทรนด์ความต้องการด้านอาหารแห่งอนาคต

3. EDUCATION FOOD & AGRICULTURE พัฒนาหลักสูตรการเรียนและการพัฒนาคนเพื่อพัฒนาธุรกิจในประเทศ ด้านรากและอัตลักษณ์ของอาหารในประเทศไทยตลอดจนด้านเทคโนโลยีเกษตร