EXCLUSIVE WEBINAR Q&A SUMMARY Food Focus Virtual Connect Digital Transformation: Challenges, Opportunities and Solution of Food & Beverage Industry

Q: ปัจจุบันมีระบบหรือ Software อะไร ที่ทำให้เชื่อมโยงทั้ง Value Chain ที่น่าสนใจบ้าง

A:  ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยี Blockchain โดยจะต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ต่างๆ ที่สามารถรับส่งข้อมูลขึ้นบน Chain ด้วย

Q: หากปัจจุบันทางโรงงานใช้ระบบ ERP แต่ไม่เชื่อมต่อกันในแต่ละส่วนงาน จะแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

A: จำเป็นต้องดู Scope ของระบบ ERP แต่ละตัวว่าเน้นการใช้ประโยชน์ส่วนไหน แต่โดยรวมของระบบ
ERP ควรจะเชื่อมต่อกันหมดในทุกส่วนงาน ไม่ว่าจะเป็น Sale/ Planning/ Procurement/ Production/ QA /Inventory /Finance ควรจะอยู่ด้วยกันเป็นระบบเดียว เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล

Q: หากสนใจใช้ระบบ Cloud จำเป็นต้องใช้ Resource หรือ Network หรือ Infra อะไรบ้าง

A: การทำงานบนระบบ Cloud ต้องมี Internet เพื่อ Access เข้า Software รันผ่านโทรศัพท์มือถือ Smart phone หรือ Tablet และหากบริษัทต้องการใช้งาน Cloud Software ก็อาจจะต้องประเมิน Network ในบริษัท โดยสามารถติดต่อสอบถามกับ Internet Provider ได้เพื่อทำการประเมิน

Q: มี Digital Platform ที่จะสามารถช่วยในการบริหารจัดการโรงงานที่มีการจัดทำระบบ FSSC 22000 (Food Safety System) หรือไม่

A: FSSC 22000 คือมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งโดยรวมสามารถปรับใช้งานกับระบบตรวจสอบคุณภาพของ Infor Food and Beverage ที่เกี่ยวกับการกำหนดหัวข้อในการตรวจสอบ ค่าของผลตรวจที่ต้องผ่าน ยกตัวอย่างเช่น การสแกนพนักงานเข้า-ออกจากพื้นที่โรงงาน เพื่อป้องกันคนที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปสร้างสิ่งปนเปื้อนในโรงงาน แต่ต้องทำงานร่วมกับระบบไฟ Alarm หรือส่ง SMS เตือนหัวหน้าโรงงาน เมื่อมีคนที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในพื้นที่ต้องห้าม

Q: สำหรับระบบดิจิทัลต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต มีความเสถียรเพียงพอที่จะให้โรงงานต่างๆ เริ่มนำมาปรับใช้ในตอนนี้หรือไม่

A: ระบบ Cloud ในปัจจุบันได้พัฒนาในเรื่องของ Security และ Infrastructure ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบที่ต้องการใช้ ว่าเป็น Software แบบใด ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าระบบ ERP ในหลายๆ บริษัทถูกนำไปไว้บน Cloud เรียบร้อยแล้ว

Q: การใช้ระบบ Cloud มีข้อจำกัดเรื่องอะไรบ้าง

A: ระบบ Cloud ต้องมีการติดตั้ง Internet เพื่อใช้ในการเข้าถึงระบบบน Cloud ค่ะ ข้อจำกัดคือ จะไม่มี Software ที่เป็น Asset ของบริษัท เพราะบริษัทจะต้องสมัครใช้งานรายเดือน จะเกิดค่าใช้จ่ายรายเดือนโดยราคาขึ้นอยู่กับฟังก์ชันที่เลือกใช้งาน

Q: ทาง Infor มี Solution ที่ช่วยเก็บข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (QC) แบบ Real Time และสามารถประเมินผลได้โดยลดการจดข้อมูลหน้างานหรือไม่

A: Infor Solution for Food and Beverage มีระบบการตรวจสอบคุณภาพของ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพเพื่อรับส่งข้อมูลเข้ามาประมวลผลต่อได้ โดยไม่ต้องบันทึกข้อมูล นอกจากนั้นยังสามารถออก Certificate of Analysis (COA) จากระบบเพื่อยืนยันยันคุณภาพสินค้าได้อีกด้วย

Q: Software ของ Infor เป็นเทคโนโลยีจากประเทศอะไร

A: Infor Solution เป็นเทคโนโลยีจาก USA

EXCLUSIVE WEBINAR Q&A SUMMARY Food Focus Virtual Connect Natural & Health Ingredients: The Rising Trend in Food & Pet Food Industry

Continue reading “EXCLUSIVE WEBINAR Q&A SUMMARY Food Focus Virtual Connect Natural & Health Ingredients: The Rising Trend in Food & Pet Food Industry”

อย. จับมือกรมศุลกากร พัฒนาธุรกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการนำเข้า และส่งออก สินค้าข้ามแดนทางบก ผ่านระบบ NSW

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมศุลกากร ได้ดำเนินการพัฒนาธุรกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า – ส่งออก และโลจิสติกส์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ National Single Window (NSW) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ โดยยื่นเอกสารเพียงครั้งเดียว สามารถส่งข้อมูลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง อย. มี 5 ธุรกรรม ได้แก่

1.คำขอใบแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

2.ข้อมูลใบแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3.ยกเลิกข้อมูลใบแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

4.ข้อมูลใบขนสินค้าผ่านพิธีการขาเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

5.ข้อมูลแจ้งผลการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ในปี 2565 อย. มีแผนการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบก รองรับกลุ่มประเทศตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง หรือ ACMECS ผ่านระบบ NSW โดย อย. มีพิกัดศุลกากร และรหัสสถิติที่ควบคุมสินค้านำเข้าส่งออกผ่านระบบ NSW จำนวน 3,207 รายการพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติ ปัจจุบันได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW ครบ 100 % ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำเข้า และส่งออกสินค้าได้รับความสะดวกรวดเร็วในการยื่นเรื่องขออนุมัติ/อนุญาตผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสารทางระบบ NSW ซึ่งสามารถลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ และจัดทำเอกสาร รวมทั้งค่าบริการต่าง ๆ จากการติดต่อผ่านหลายหน่วยงาน และส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการนำเข้าส่งออกสินค้าของประเทศไทย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเชื่อมโยงระบบของหน่วยงานให้สามารถส่งข้อมูลใบอนุญาตการนำเข้าส่งออก และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีการศุลกากรไปยังระบบ NSW ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเสริมว่า พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อให้มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และโปร่งใสมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถนำเข้า – ส่งออกได้อย่างราบรื่น บนพื้นฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

 

Source

ไก่ไทยตู้แรกบุกตลาดอาหารซาอุ สร้างประวัติศาสตร์ในรอบ 18 ปี ตั้งเป้าไทยส่งออกไก่ 980,000 ตัน

เมื่อเร็วๆ นี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าซาอุดิอาระเบีย ยินดีเปิดไฟเขียวให้ไก่จากประเทศไทย สามารถส่งออกไปซาอุดิอาระเบียได้ โดยมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา ทั้งไก่แช่เย็น ไก่แช่แข็ง และไก่แปรรูป จาก 11 โรงงาน ซึ่งถือเป็นข่าวดีอย่างมาก หลังจากไม่ได้ส่งออกไก่ไปซาอุฯ มายาวนานถึง 18 ปี

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถือเป็นข่าวดีด้านการส่งออกปศุสัตว์ไทยอย่างยิ่ง เป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ปี 2565 ของความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียอีกครั้ง เพราะ SFDA แจ้งผลการพิจารณาว่า จะยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากประเทศไทย โดยภายหลังจบการหารือทางเว็บไซต์ SFDA ได้เปลี่ยนสถานะการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากประเทศไทย จาก “Banned” เป็น “Permitted โดย 11 โรงงาน มีดังนี้
GFPT PUBLIC COMPANY LIMITED
BANGKOK RANCH PUBLIC CO, LTD
SKY FOOD CO. LTD
CENTRAL POULTRY PROCESSING CO, LTD
SUN FOOD INTERNATIONAL CO., LTD
และ 6-11 โรงงาน ได้แก่ CPF (THAILAND) PUBLIC COMPANY

และในวันนี้ 28 มีนาคม 2565 นี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมยินดีในการส่งออกไก่แปรรูป “ตู้ปฐมฤกษ์” ของไทย ไปซาอุดิอาระเบีย ที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟ (มีนบุรี 2)

“วันนี้ส่งมอบไก่ล็อตแรกไปยังประเทศซาอุฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี ตั้งแต่ปี 2547 และเดือนนี้คาดว่าจะส่งออกได้ 600 ตัน มูลค่า 47 ล้านบาท และภายในสิ้นปีจะส่งออกได้ 300 ตู้ ปริมาณ 6,000 ตัน มูลค่า 400-500 ล้านบาท และคาดว่าเราจะสามารถทำได้ถึง 60,000 ตัน ภายใน 5 ปี หรือมูลค่า 4,200 ล้านบาท ทั้งไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปที่ผ่านกระบวนการมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดตามหลักศาสนาอิสลาม ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าว

“ช่วงที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียนำเข้าไก่จากประเทศบราซิล 75% และนำเข้าจากยูเครนและฝรั่งเศส 25% จากนี้ไปตนคิดว่า ไก่จากประเทศไทยจะเป็นตลาดสำคัญที่ซาอุดิอาระเบียจะนำเข้าในอนาคต โดยปี 64 เราส่งออกไก่ไปทั่วโลกประมาณ 900,000 ตันนำเงินเข้าประเทศประมาณ 100,000 ล้านบาท และปี 65 ตั้งเป้าว่าจะทำได้ 980,000 ตัน การส่งออกไก่ไปซาอุฯ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกและเพิ่มตัวเลขการส่งออกไก่ของไทยด้วย” นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กล่าวเพิ่มเติม

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมีประชากรมากถึง 35.6 ล้านคนและมีสัดส่วนการนำเข้าอาหารสูงที่สุดในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Corporation Council) และปัจจุบันซาอุดิอาระเบียนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ 6.5 แสนตัน โดย 70% เป็นการนำเข้าไก่สดทั้งตัวและ 30% เป็นการนำเข้าไก่ชำแหละและไก่แปรรูป ผู้บริโภคซาอุดิอาระเบียมีอัตราการบริโภคเนื้อไก่ 45 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือทั้งประเทศที่ 1.5 ล้านตันต่อปี

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

‘METTLER TOLEDO’ เสริมความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ ด้วยโปรแกรมสัมมนาออนไลน์ประจำเดือนเมษายน 2565

เมทเล่อร์-โทเลโด ประเทศไทย คัดสรรและรวบรวมมาให้คุณแล้วกับงานสัมมนาออนไลน์ ประจำเดือนเมษายน 2565 โดยขอแนะนำ 3 หัวข้อพิเศษ ที่จะมาช่วยเสริมความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั้ง 3 หัวข้อที่จัดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับ เครื่องมือวิเคราะห์ออนไลน์/อินไลน์ (Process Analytics) เครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) และเครื่องชั่งน้ำหนักบนสายพานลำเลียง (Checkweigher) ซึ่งในเนื้อหาสัมมนาที่ได้จัดเตรียมไว้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องมือชนิดดังกล่าว และในสัมมนาทุกๆ รอบได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญด้านเครื่องมือชนิดนั้นๆ ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานมาเป็นผู้บรรยายและตอบข้อซักถามในช่วง Q&A ให้ทุกท่านอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ยังมีกิจกรรมมากมายเพื่อให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกลุ้นชิงรางวัลภายในงานอีกด้วย

หากท่านใดสนใจโปรแกรมงานสัมมนาออนไลน์ของเมทเล่อร์-โทเลโด สามารถสแกน QR Code เพื่อลงทะเบียนสำรองสิทธิ์การเข้าร่วมสัมมนาตามหัวข้อที่ท่านสนใจ หรือสามารถติดตามข้อมูลทาง Line Official Account @mtth, www.mt.com, และทุกช่องทางของ Food Focus Thailand
Link: https://www.mt.com/th/th/home/search/events.html#-249136207(3=true&page=1&products=/products/Process-Analytics)

บีโอไอปรับมาตรการส่งเสริมลงทุนภาคเกษตร ผลักดันไทยก้าวสู่ Bio Hub ในภูมิภาค

บอร์ด บีโอไอ ไฟเขียวมาตรการส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตร ผลักดันไทยก้าวสู่ Bio Hub

ในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมศูนย์การค้าผลผลิตทางการเกษตรระบบดิจิทัล ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ทบทวนการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย

Continue reading “บีโอไอปรับมาตรการส่งเสริมลงทุนภาคเกษตร ผลักดันไทยก้าวสู่ Bio Hub ในภูมิภาค”