บีโอไอ ส่งเสริมไทยสู่ยุค Future Food หนุนเป็น ‘ซิลิคอน วัลเลย์ อาหารแห่งอนาคต’

Future Food หรืออาหารแห่งอนาคต คืออาหารที่ผลิตด้วยการใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายแขนง ร่วมกับการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะอาหารกลุ่มนี้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการอาหารต่างจากอดีต ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สวัสดิภาพสัตว์ และประเด็นอื่นๆ ที่มองไปไกลกว่าแค่การเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว โดยสถาบันอาหาร ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้แบ่งอาหารแห่งอนาคต 4 ประเภท ได้แก่

1. อาหารอินทรีย์ – ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น ผักปลอดสารพิษ หมูที่ปราศจากจากสารเคมีในการเลี้ยง
2. อาหารเสริมสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชัน – เป็นอาหารที่ให้คุณประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะ เป็นต้น
3. อาหารทางการแพทย์ – อาหารเพื่อบำบัดผู้ป่วย เช่น อาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการกลืน
4. อาหารที่ผลิตขึ้นใหม่จากนวัตกรรม – อาหารที่ผลิตใหม่ เช่น โปรตีนทางเลือกจากพืช เป็นต้น Continue reading “บีโอไอ ส่งเสริมไทยสู่ยุค Future Food หนุนเป็น ‘ซิลิคอน วัลเลย์ อาหารแห่งอนาคต’”

คาดการณ์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยปี 2565 ‘ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อที่ลดต่ำลง’


Continue reading “คาดการณ์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยปี 2565 ‘ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อที่ลดต่ำลง’”

‘ไทยวา’ พร้อมเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน

บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทแป้งมัน และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้ประกาศความสำเร็จในปี 2564 ด้วยยอดขายกว่า 9,105 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากปี 2563 ส่งผลให้คณะกรรมการได้อนุมัติเงินปันผลรวมมูลค่าทั้งหมด 190 ล้านบาท ณ โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ ห้องบอลรูม ชั้น 10 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

นายโฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไทยวาเผชิญกับความท้าทายเช่นกัน โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญของเราคือการรักษาคนของเราให้ปลอดภัย  อย่างไรก็ตามผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2564 ถือว่าแข็งแกร่งมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การบริหารการขายและการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มียอดขายรวมอยู่ที่ 9,105 ล้านบาทแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง 4,422 ล้านบาทหรือร้อยละ 49 รายได้จากธุรกิจแป้งมันสำปะหลังมูลค่าเพิ่ม (HVA) 2,910 ล้านบาท หรือร้อยละ 32  และรายได้จากธุรกิจอาหาร 1,767 ล้านบาท หรือร้อยละ 19 โดยมีสัดส่วนรายได้จากในประเทศคิดเป็นร้อยละ 83 และรายได้จากต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 17 เรายังคงมุ่งมั่นส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพให้กับลูกค้าทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C ทั่วโลก ผ่านแบรนด์สินค้าอย่าง มังกรคู่ กิเลนคู่ และโรส อย่างต่อเนื่อง สำหรับการทำตลาดในต่างประเทศ ไทยวาได้ทำการส่งออกสินค้าไปแล้วทั่วโลก โดยมีโรงงานและสำนักงานทั้งหมด 15 แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศไทย 9 แห่ง ประเทศเวียดนาม 3 แห่ง และยังมีสำนักงานตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศกัมพูชา และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป้าหมายของบริษัทฯ คือการก้าวเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เป็น 10,000 ล้านบาทในปี 2565

ในส่วนของแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2565 เราจะมุ่งเน้นไปในการขับเคลื่อนธุรกิจที่มีความยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมของสินค้าที่ทางบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ระดับสากล นอกจากนี้บริษัทฯ มีการต่อยอดธุรกิจ ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ หรือไบโอพลาสติก ภายใต้แบรนด์ ROSECO ซึ่งผลิตมาจากแป้งมันสำปะหลัง และสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ในปีนี้เรามีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่เพิ่มอีก 8-10 รายการเช่น ผลิตภัณฑ์ส่วนผสมที่ปราศจากกลูเตน (gluten free) และโซลูชันด้านอาหาร

บริษัทฯ ยังมุ่งขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ผ่านไทยวาเวนเจอร์ (Thai Wah Ventures) เพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัป หรือธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เพื่อต่อยอดและพัฒนาสินค้าเกษตร ที่สามารถช่วยเสริมการเติบโตของธุรกิจหลักได้ ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นวัตกรรมด้านฟาร์มและเทคโนโลยีการเกษตร การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจในรูปแบบ B2B พลาสติกชีวภาพและการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต และส่วนผสมในอาหารและเทคโนโลยีการแปรรูปแบบใหม่ๆ ภายในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงให้ธุรกิจในเครือของบริษัทฯ ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

 

“เรายังมุ่งที่จะขยายตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตและการส่งออก รวมถึงการขยายฐานผู้บริโภคให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ผ่านนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ทั้งนี้เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน สร้างความมั่นคงทางอาหารและความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการสร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน  ในปี 2564 เราสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมั่นใจว่าจะสามารถรักษาการเติบโตต่อไปได้อีกในปี 2565 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นปีที่เราครบรอบ 75 ปี และยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไปเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของไทยวา”  นายโฮ เรน ฮวา กล่าวทิ้งท้าย

 

สรุปสาระสำคัญของการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ Hand in Hand for our Future of Food เพื่อเชื่อมโยงให้ระบบอาหารเราเกื้อกูลกับระบบอาหารโลก

ร่วมไขคำตอบเพื่ออนาคตของอาหารบนแนวคิด Future of Food and Sustainability โดย Mr. Renaud Mayers UNDP Thailand ซึ่งได้กล่าวโดยสรุปว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับโลก เนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่แม้แต่ตาเปล่าก็ยังมองไม่เห็นอย่าง ‘โคโรนาไวรัส’ ซึ่งกลายเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก นอกจากปัญหาเรื่องของไวรัสแล้ว ยังมีปัญหาระดับโลกที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ สภาพอากาศที่แปรปรวนและสภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกและการดำรงชีวิต รวมไปถึงวิถีการอุปโภคและบริโภคได้ แต่เพราะว่าโลกไม่มีวันเหมือนเดิม (Disruption) จึงต้องแก้ปัญหานี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่คุ้นชิน (Disrupted from comfort zone) อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง พยายามเพิกเฉยไม่สนใจต่อปัญหา ดังนั้นจึงต้องการสัญญาณเตือนที่ดังมากพอที่จะให้เกิดความตระหนัก (Awareness) ถึงสิ่งที่ต้องแก้ไข และใช้ Innovation (นวัตกรรม) เพื่อหาทางแก้ไขหรือยับยั้งปัญหานั้น เช่น การเปลี่ยนอาหารจากเนื้อสัตว์กลายเป็นอาหารจากพืช ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนและสภาวะโลกร้อนได้ และสิ่งที่จะช่วยให้นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นยังคงอยู่ รวมทั้งแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ Mindset (รูปแบบความคิด) ซึ่งเป็นคำสำคัญที่จะเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น อย่างเช่น การทำความเข้าใจว่า การที่เราลดการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์ และเปลี่ยนมาบริโภคเนื้อสัตว์จากพืชแทน เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับสภาพแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการทำปศุสัตว์  รวมทั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะถ่ายทอดความรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อให้แก้ปัญหาได้สำเร็จ และทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่เช่นนั้นจะมีสิ่งที่น่ากลัวกว่าเชื้อไวรัสโคโรนารออยู่อย่างแน่นอน

Dr. Gijs Theunissen Agricultural Counsellor Netherlands Ambassy ได้เสริมแนวคิดของ Future of Food and Sustainability โดยสรุปว่า อนาคตของอาหาร คือ อาหารที่ใช้นวัตกรรมและเกิดขึ้นในอนาคต หรืออาหารที่พบเจอได้ทั่วไป เช่น แมลง ซึ่งคนไทยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่จะใช้แมลงเพื่อทำอาหาร และตอนนี้แมลงก็ได้กลายเป็นอาหารแห่งอนาคตแล้ว หรืออาจจะเป็นอาหารที่ทำจากพืชทดแทนเนื้อสัตว์ ซึ่งดีต่อสุขภาพร่างกายมากกว่า แต่นอกจากเรื่องของสุขภาพแล้วยังต้องคำนึงถึงรสชาติที่จะดึงดูดให้กลับมาบริโภคซ้ำ นอกจากนี้ยังต้องการความร่วมมือเพื่อให้เกิดการหาแหล่งโปรตีนที่แตกต่าง ในราคาที่เหมาะสมเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ พร้อมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและมีความยั่งยืน

แนวคิดถัดมาที่จะมาร่วมกันไขคำตอบ คือ Tourism, Local Wisdom, Michelin Star and Future of Food จากคุณศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาดและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งท่านได้กล่าวโดยสังเขปว่า ในปี 2562 ก่อนที่จะมีโรคระบาด โคโรนาไวรัสเกิดขึ้น ประเทศไทยประสบความสำเร็จในเรื่องของการท่องเที่ยว และมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านคน มีรายได้ถึง 2 ล้านล้านบาท โดยหนึ่งในสามมาจากการท่องเที่ยวในประเทศ และรายได้กว่าร้อยละ 25-30 นั้นมาจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งการรับประทาน ซึ่งโดดเด่นเป็นอย่างมากของประเทศไทย แต่เพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้นโยบายเปลี่ยนแปลง เกิดการปิดประเทศและมีผลกระทบด้านลบต่อทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่ในปีนี้นโยบายเริ่มมีการผ่อนปรน จึงมีเป้าหมายที่จะปลุกกระแสการท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยวแต่ยังนำอาหารการกินเข้ามาเชื่อมโยง และไม่ใช่แค่การคิดค้นอาหารใหม่ แต่ต้องรวมเอาความยั่งยืนสอดแทรกเข้าไปด้วย ประกอบกับที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีแคมเปญ Amazing new chapters: From A to Z Thailand has it all ตัวอย่างเช่น O – Organic life style, Q – Quest of dining, V- Vegan, T-Thai recipe หรือ Z- Zero food waste ที่ส่งเสริมทั้งการท่องเที่ยวและอาหาร ผนวกกับแคมเปญ SPOT (Soft Power Of Thailand) และ 4F ที่สำคัญของประเทศไทย คือ Food, Film, Festival and Fabric โดยเน้นที่ Food เพราะอุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งแก่ประเทศไทย

 

และแนวคิดสุดท้ายที่มาร่วมไขคำตอบในหัวข้อนี้ ก็คือ Innovation for Future of Food โดย ดร.ลลานา ธีระนุสรณ์กิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กล่าวถึงปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ นั่นก็คือ จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภายในปี 2050 จะมีประชากรในโลกประมาณ 10 พันล้านคน หมายความว่ามีประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 พันล้านคน ความต้องการบริโภคอาหารมีมากขึ้นแต่พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งแหล่งเพาะปลูก แหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกและการทำปศุสัตว์ ส่งผลกระทบและเป็นเหตุให้เกิดสภาวะโลกร้อน ประกอบกับสังคมผู้สูงอายุที่อาจมีถึง 2.1 พันล้านคน และผู้สูงอายุมีความต้องการอาหารและสารอาหารที่มีความพิเศษขึ้น เช่น สามารถเคี้ยว กลืน และย่อยง่าย รวมกับผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ซึ่งคร่าชีวิตกว่า 41 ล้านคนในแต่ละปี ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เสียอีก สาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีความเกี่ยวข้องกับอาหาร สุขภาพ และความยั่งยืน โดยการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการหาแหล่งอาหารทดแทน ทำให้เกิดคำว่า อาหารแห่งอนาคตขึ้น และอาหารแห่งอนาคตอาจมีการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี โดยอาจเป็นอาหารเดิมที่มีเทคโนโลยีใหม่ ในการทำให้อาหารที่ทำจากพืชมีรสชาติและเนื้อสัมผัสเหมือนจริง หรือวัตถุดิบใหม่ และใช้เทคโนโลยีทำให้เป็นอาหารฟังก์ชัน ที่มีราคาจับต้องได้ และได้สุขภาพที่ดี นอกจากนี้ยังต้องมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยการลดปริมาณการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ AI, Big data หรือ Co-farming ที่ช่วยให้ใช้พื้นที่น้อยลงแต่ยังได้ผลผลิตเท่าเดิม และอาหารยังคงมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุที่ดีต่อสุขภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งชื่นชอบอาหารที่มีความสดใหม่ เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป รวมทั้งใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ไม่ได้ทำมาจากพลาสติก ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล  และนำเทคโนโลยีมาลดการเกิด Food waste นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแนวทางที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ SME และ Start up เพื่อให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีวัตถุดิบอาหารหลากหลาย สามารถส่งออกสู่ต่างประเทศ และสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารในระดับโลกได้

เมทเล่อร์-โทเลโด ประชาสัมพันธ์ตารางงานสัมมนาออนไลน์ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565

Continue reading “เมทเล่อร์-โทเลโด ประชาสัมพันธ์ตารางงานสัมมนาออนไลน์ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565”

ผนึกกำลัง อาร์บีเอฟ อะแวนติกรุ๊ป และไทยยูเนี่ยน ตีตลาดธุรกิจส่วนผสมอาหารในประเทศอินเดีย

Continue reading “ผนึกกำลัง อาร์บีเอฟ อะแวนติกรุ๊ป และไทยยูเนี่ยน ตีตลาดธุรกิจส่วนผสมอาหารในประเทศอินเดีย”

METTLER TOLEDO’ ปรับหน้าเว็บไซต์ พร้อมแนะนำคลังข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ

Continue reading “METTLER TOLEDO’ ปรับหน้าเว็บไซต์ พร้อมแนะนำคลังข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ”