Continue reading “ชูพืชเกษตรไทยสู่การผลิตโปรตีนทางเลือก ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านอุปทาน”
Category: News
THINK PINK: THE GROWING COLOUR TREND IN FOOD AND DRINK INNOVATIONS
คาดปี’64 มูลค่าการใช้จ่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ขยับขึ้นร้อยละ 2.0 ดันมูลค่าตลาด 2.5 แสนล้านบาท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ช่วงที่เหลือของปี 2564 ทิศทางราคาเนื้อสัตว์ยังยืนตัวอยู่ในระดับสูง จากต้นทุนในการป้องกันควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ ต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่ปรับสูงเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งสินค้านำเข้าที่มีแนวโน้มจะยืนระดับสูงต่อเนื่อง และผลจากเงินบาทที่มีแนวโน้มผันผวนอ่อนค่า อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิดที่ยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งเนื้อสัตว์ยังจัดเป็นสินค้าควบคุมราคา การผลักภาระต้นทุนไปที่ผู้บริโภคจึงอาจทำได้เพียงบางส่วน ดังนั้น ความท้าทายจึงอยู่ที่การบริหารต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิต เพื่อให้ธุรกิจสามารถประคับประคองต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การใช้จ่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทั้งปี 2564 ยังคงเติบโตได้ราวร้อยละ 2.0 หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 2.5 แสนล้านบาท (เทียบกับปี 2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.3) โดยมีปัจจัยหลักมาจากผลของราคาเนื้อสัตว์ ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2564 ราคาขายปลีกเนื้อสัตว์เฉลี่ยจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2-3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการบริโภคน่าจะไม่ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคและซัพพลายเออร์สำคัญอย่างธุรกิจร้านอาหาร ยังคงได้รับผลกระทบและไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ภายในปีนี้จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ต้องใช้เวลากว่าจะคลี่คลาย
ส่วนโจทย์สำคัญของธุรกิจในระยะต่อไป นอกเหนือจากการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาวัตถุดิบหลักที่ผันผวน ซึ่งเป็นปัญหาหลักของธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว การปรับธุรกิจเข้าสู่มาตรการป้องกันความปลอดภัยในโรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดใหม่ๆ ในความถี่ที่มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ยังมีความจำเป็นต่อการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยด้านอาหารให้กับคู่ค้า สอดรับไปกับมาตรฐานสินค้าที่มีแนวโน้มจะยกระดับขึ้น ทั้งตลาดประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในระยะต่อไป
Credit : kasikornresearch
พลิกวิกฤตโควิด-19 สู่โอกาสธุรกิจของอาหารแห่งอนาคต
ด้วยความร่วมมือของ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนอุตสาหกรรมอาหาร โดยกลุ่ม FoodConnext สตาร์ทอัพ รวมทั้งผู้บุกเบิกด้านอาหารอนาคตในประเทศไทยร่วมกับกลุ่ม Future Food Network เกิดการระดมสมองจากผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมอาหาร จัดงานสัมมนาด้านอาหารอนาคต “WHERE IS THE FUTURE OF FUTURE FOOD 2021” เป็น Virtual Future Food Ideation Workshop ซึ่งจัดขึ้นโดยเทสบัด แลป และ ไบโอ บัดดี้
จากกิจกรรมที่ผ่านมา สรุปกุญแจหลักและ 2 หัวใจสําคัญสู่การเติบโตก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน ดังนี้
กุญแจหลัก Future Food System Framework 6 เสาหลัก เพื่อการวางรากฐานการพัฒนาห่วงโซ่อาหารแห่งอนาคตยั่งยืน โดย 6 เสาหลักนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ BCG แบ่งจาก 2 หมวดหมู่หลัก คือ ภาคการผลิตและการบริโภค การร่วมกันสนับสนุน ทําให้เป็นแรงผลักดันให้เกิดขึ้นได้เร็วและได้จริง มุ่งเป้าทํางานเชิงรุกแบบเกื้อกูล และสนับสนุนผู้บุกเบิกบน 6 เสาหลักที่สําคัญ เพื่อพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพสู่การแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตของโลกอย่างทันท่วงทีรวมทั้งการสร้างสรรค์โอกาสของการเติบโตก้าวประโดด (exponential growth) ทวีการเติบโตและทวีคูณคุณค่าผลกระทบ (impact) ในแนวคิดการทํางานร่วมกัน synergy เพื่อพัฒนาเสาหลักการสร้างห่วงโซ่คุณค่าเพื่อความมันคงอาหารในอนาคตบนแนวคิด resilience food value chain และ circular economy
2 หัวใจสําคัญ เพื่อพัฒนาด้านอาหารอนาคตที่สําคัญของประเทศไทย การนํามุมมองด้านการพัฒนายั่งยืนหรือ Sustainable Development ที่เป็นแนวทางที่ UN’s sustainable development มาร่วมกันพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านอาหารแห่งอนาคตที่สร้าง impact ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ impact ด้านความมั่นคงยั่งยืนทางอาหารและสิ่งแวดล้อม โดยมี 5 ไอเดีย ในการนําเทคโนโลยีร่วม REIMAGINE OUR FOOD VALUE CHAIN ตั้งคําถามใหม่เพื่อสร้างสรรค์ห่วงโซ่อาหารแห่งอนาคตยั่งยืน นํา 5 เทคโนโลยีที่สําคัญมาพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. BIO TECHNOLOGY เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร
2. AUTOMATION เทคโนโลยีเสริมระบบการผลิตเกษตร-แปรรูปอาหาร
3. FOOD PROCESS & HARDWARE เทคโนโลยีอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร
4. BIG DATA & AI ปัญญาประดิษฐ์และระบบข้อมูลด้านเกษตรอาหารประเทศ
5. BLOCKCHAIN บล็อกเชนและการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อความปลอดภัย ความโปร่งใส และความมั่นใจ ด้านระบบอาหารสู่ประชาคมโลก
นอกจากนี้ ยังนำ REINVENT FOR OUR FUTURE OF FOOD แนวคิดใหม่-ทําใหม่ เพื่อสร้างสรรค์ห่วงโซ่อาหารแห่งอนาคตยั่งยืนจากการรวบรวมข้อมูลบนจุดแข็งและโอกาสของประเทศไทย แบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ที่สําคัญ คือ
1. FUTURE FOOD CPGs นําจุดเด่นอาหาร รสชาติอัตลักษณ์พัฒนาอาหารแปรรูปในหมวดหมู่อาหารแห่งอนาคตรูปแบบยั่งยืนที่โลกต้องการ
2. FOOD SERVICES & FOOD RETAIL พัฒนาบริบทธุรกิจอาหารและรูปแบบการค้าปลีกการกระจายอาหารด้วยเทคโนโลยีและเทรนด์ความต้องการด้านอาหารแห่งอนาคต
3. EDUCATION FOOD & AGRICULTURE พัฒนาหลักสูตรการเรียนและการพัฒนาคนเพื่อพัฒนาธุรกิจในประเทศ ด้านรากและอัตลักษณ์ของอาหารในประเทศไทยตลอดจนด้านเทคโนโลยีเกษตร
ไต้หวัน เตรียมเปิดตัวงานแสดงสินค้าอาหาร Food Taipei Mega Shows 2021 พร้อมจัดแสดงในช่องทางออนไลน์ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
กระแสออร์แกนิกออสเตรเลียมาแรง-ไทยสบช่องส่งออกสินค้าเจาะตลาดอาหาร
‘พาณิชย์’ การันตี 237 โรงงานอาหารปลอดภัยจากโควิด-ปลื้มยอดส่งออกครึ่งปีทะลุ 441,000 ล้านบาท
Turnover in 2021 Snack Business Projected to Shrink 4.0% amid Eroding Consumer Purchasing Power.
Colours by Europe. Tastes of Excellence.
ชู “ธงโภชนาการ” จัดอาหารเด็กวัยเรียนในยุคโควิด-19 เสริมทัพลูกเรียนออนไลน์
อาหารและโภชนาการ “เด็กวัยเรียน” ถือเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยปัจจุบันภาวะสังคมเปลี่ยนแปลงไป เด็กบางคนพออายุครบ 3 ปี ก็เข้าโรงเรียนกันแล้ว ดังนั้น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็กจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรดูแลจัดการอาหารให้มีคุณค่าทางสารอาหารและพลังงานเพียงพอ
ผศ.พัทธนันท์ ศรีม่วง อาจารย์ด้านอาหารและโภชนาการ โครงการละออพลัส โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กล่าวถึงพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียนว่า ถ้าเด็กไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ จะขาดสารอาหารบางชนิด ก่อให้เกิดโรคได้ ขณะเดียวกันถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป แน่นอนจะเกิดภาวะโภชนาการเกิน น้ำหนักตัวมาก ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันเด็กวัยนี้มีภาวะสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงอาหารได้ และรูปแบบอาหารเปลี่ยนแปลงไป หากเด็กๆ อ้วนตั้งแต่วัยเรียน และไม่สามารถควบคุมเรื่องน้ำหนักได้ พอโตเป็นผู้ใหญ่ก็อาจทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ส่งผลต่อสมรรถนะการทำงาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างมาก อีกทั้งประสิทธิภาพการทำงานยังด้อยลงกว่าเดิม
“ในอดีตมักเกิดปัญหาขาดอาหารเป็นหลัก แต่ปัจจุบันพบว่าทิศทางปัญหาเปลี่ยนไป พบเด็กอ้วนมากขึ้น โดยในปี 2562 จากการสำรวจของกองโภชนาการ กรมอนามัย พบว่าเด็กอ้วนมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เด็กส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ก็พบว่าขาดสารอาหารเรื้อรังจำนวนมากขึ้น ส่วนกลุ่มเด็กผอมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน”
ผศ.พัทธนันท์ กล่าวอีกว่า ในช่วงปี 2551-2560 มีเด็กไทยช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กไทยติดรสหวาน มาจากกลุ่มเครื่องดื่มที่มีอิทธิพลมาก แม้จะสั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมภายในโรงเรียน แต่หน้าโรงเรียนยังมีจำหน่ายอยู่ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เป็นที่นิยมในกลุ่มเด็ก เช่น ชานมไข่มุก บริโภค 1 แก้ว ให้พลังงานสูงถึง 600 กิโลแคลอรี น้ำตาลไม่ต่ำกว่า 10 ช้อนชา ขณะที่เด็กวัยเรียนควรได้รับน้ำตาลเพียงวันละ 4 ช้อนชาเท่านั้น ส่วนเด็กอีกกลุ่มไม่ได้บริโภครสหวาน แต่ผู้ปกครองให้รับประทานกลุ่มข้าว-แป้งปริมาณมาก เมื่อร่างกายได้รับแล้วเปลี่ยนเป็นน้ำตาล จะส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการค่อนข้างมาก โดยโรคอ้วนจะส่งผลต่อชีวิตเด็ก ไม่ว่าจะเป็น นอนกรน หยุดหายใจ ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ความดันโลหิตสูง สมาธิสั้น ผลการเรียนเปลี่ยนไป และถ้าเป็นนานๆ จะกระทบต่อหัวใจและปอด ถ้าลูกอ้วนให้ปรับวิถีชีวิตใหม่เข้าสู่วิถีสุขภาพ ที่สำคัญทุกคนในบ้านต้องปฏิบัติเหมือนกัน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก
ผศ.พัทธนันท์ เปิดเผยว่า พฤติกรรมโภชนาการเด็กไทยในวัยเรียน มีดังนี้ 1. ไม่รับประทานผัก-ผลไม้ บางรายปฏิเสธรับประทานผัก ถึงขั้นอาเจียนออกมา ครอบครัวนับเป็นสาเหตุสำคัญ ต้องให้ความร่วมมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก 2. ไม่รับประทานอาหารเช้า ยิ่งช่วงวิกฤตโควิด-19 เด็กบางคนตื่นสาย ไม่ต้องไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ work from home ทำงานที่บ้าน กว่าจะตื่นครบทั้งครอบครัวอาจเลยเวลารับประทานมื้อเช้าไปแล้ว 3. บริโภคขนมขบเคี้ยวและเบเกอรี 4. รับประทานอาหารประเภทผัด ทอด และกะทิ และ 5. รับประทานตามกลุ่มเพื่อนตามความนิยมวัฒนธรรมอาหารแบบตะวันตก
“เด็กอายุ 6-8 ปี มีความต้องการพลังงาน 1,400 กิโลแคลอรีต่อวัน ขณะที่เด็กอายุ 9-12 ปี มีความต้องการพลังงาน 1,700 กิโลแคลอรีต่อวัน ใน 1 วันเด็กวัยเรียนควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ทั้งข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ผักต่างๆ ผลไม้ และไขมัน-น้ำมัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกรับประทานอะไร ตัวเองก็ต้องรับประทานด้วย จะมีผลต่อเด็ก” ผศ.พัทธนันท์ กล่าว
ผศ.พัทธนันท์ แนะนำอีกว่า ปัจจุบันสิ่งที่ควรเรียนรู้ คือ “ธงโภชนาการ” จัดอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กในวัยเรียน โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย จัดทำธงโภชนาการสำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี ควรบริโภคดังนี้ ข้าว-แป้ง วันละ 8 ทัพพี ผัก วันละ 4 ทัพพี ผลไม้ วันละ 3 ส่วน นม 1-2 แก้ว และเนื้อสัตว์ วันละ 6 ช้อนโต๊ะรับประทานข้าว โดยถ้าแบ่งย่อยรายละเอียดให้ลึกลงไป เด็กอายุ 6-9 ปี ควรรับประทานสารอาหารต่อวัน ดังนี้ นมสด 1-2 แก้ว ไข่ 1 ฟอง ข้าว-แป้งอื่นๆ 6 ทัพพี เนื้อสัตว์ปรุงสุก 5-6 ช้อนโต๊ะ ผลไม้ตามฤดูกาล มื้อละ 1 ส่วน ผักใบเขียวและอื่นๆ 1 ถ้วยตวง ไขมัน-น้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ ส่วนเด็กอายุ 10-12 ปี ควรรับประทานสารอาหารต่อวัน ดังนี้ นมสด 1-2 แก้ว ไข่ 1 ฟอง ข้าว-แป้งอื่นๆ 5-6 ทัพพี เนื้อสัตว์ปรุงสุก 6-7 ช้อนโต๊ะ ผลไม้ตามฤดูกาล มื้อละ 1 ส่วน ผักใบเขียวและอื่นๆ 1 ถ้วยตวง ไขมัน-น้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ หากได้รับอาหารไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กวัยนี้
ผศ.พัทธนันท์ กล่าวถึงแนวทางการจัดอาหารสำหรับเด็ก มีดังนี้ 1. เด็กต้องได้รับอาหารครบทั้ง 3 มื้อ 2. การปฏิเสธอาหารประเภทผักในเด็กเล็ก ให้เลือกผักไม่มีกลิ่นฉุน รสชาติไม่จัดจ้าน 3. ปรุงอาหารรสชาติจืด เน้นประกอบอาหารด้วยการต้ม นึ่ง อบ แทนการทอด 4. ชิ้นอาหารมีความเหมาะสมกับเด็ก 5. ไม่ให้บริโภคขนมกรุบกรอบ ขนมรสหวาน และน้ำหวานทุกชนิดก่อนรับประทานอาหารมื้อหลัก 6. อาหารว่างระหว่างมื้อเน้นผลไม้ แทนขนมกรุบกรอบและของทอด หรือจัดอาหารว่าง 200-250 กิโลแคลอรีต่อวัน 7. ควรจัดอาหารให้มีความหลากหลาย กระตุ้นความอยากรับประทานอาหาร 8. ฝึกสุขนิสัยที่ดี ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ตักข้าวและกับข้าวให้พอดี รับประทานอาหารให้หมดจาน หลังรับประทานอาหารเสร็จ รู้จักเก็บภาชนะให้เรียบร้อย
ปิดท้ายที่แนวทางการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน ผศ.พัทธนันท์ กล่าวว่า เด็กอนุบาล (อายุ 3-5 ปี) ควรบริโภคข้าว-แป้ง วันละ 1.5 ทัพพี เนื้อสัตว์ 1.5-2 ช้อนโต๊ะ ผัก 0.5-1 ทัพพี ผลไม้ 0.5-1 ส่วน นม 1 แก้ว ไขมัน-น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนเด็กประถมศึกษา 1-3 (อายุ 6-9 ปี) ข้าว-แป้ง 2 ทัพพี เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ ผัก 1 ทัพพี ผลไม้ 1 ส่วน นม 1 แก้ว ไขมัน-น้ำมัน 1.5 ช้อนโต๊ะ และเด็กประถมศึกษา 4-6 (10-12 ปี) ข้าว-แป้ง 3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ ผัก 1 ทัพพี ผลไม้ 1 ส่วน นม 1 แก้ว ไขมัน-น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
หลายบ้านคุณพ่อคุณแม่กลุ้มใจ ลูกในวัยเรียนอ้วนน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก ดังนั้น ควรหมั่นดูแลจัดอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ ยิ่งช่วงวิกฤตโควิด-19 เด็กต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน ยิ่งต้องใส่ใจก่อนจะสายเกินแก้ จนส่งต่อร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสติปัญญาเด็กด้วย
จากแนวทางการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนดังที่กล่าวมานี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสูตรอาหารสำหรับเด็กวัยเรียน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาประเทศไทยของเราต่อไป…เพราะเด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า…และพวกเขาคืออนาคตของชาติ