Category: News
Inex Belgium chooses Sidel’s aseptic solutions to package UHT milk in PET bottles
บรรจุภัณฑ์อุ่นผักโขมอบชีส ผลงานจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์…ตอบโจทย์ตลาดอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตอบโจทย์ภาคเอกชนเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับอุตสาหกรรมอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง (Chilled & Frozen Food) โดยพัฒนาบรรจุภัณฑ์อุ่นผักโขมอบชีสพร้อมรับประทานด้วยเครื่องไมโครเวฟ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาอุณหภูมิด้านนอกและใจกลางที่ได้รับความร้อนไม่ทั่วถึงกัน Continue reading “บรรจุภัณฑ์อุ่นผักโขมอบชีส ผลงานจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์…ตอบโจทย์ตลาดอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง”
Sustainability Reimagined
ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับรางวัล “อุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2564 ประเภทการเพิ่มผลผลิต”
Anuga Foodtec 2022
Aleph Farms and Mitsubishi Bring Cultivated Meat to Japan
Aleph Farms and Mitsubishi Bring Cultivated Meat to Japan
Collaboration to bring cultivated meat to Japan will help the country meet climate change and food security goals
REHOVOT, Israel — Aleph Farms, Ltd., and Mitsubishi Corporation’s Food Industry Group signed a Memorandum of Understanding (MoU) to bring cultivated meat to the Japanese table. Aleph Farms will provide its proven, scalable manufacturing platform (BioFarm™) for cultivation of whole-muscle steaks. Mitsubishi Corporation will provide its expertise in biotechnology processes, branded food manufacturing, and local distribution channels in Japan.
“The MoU with Mitsubishi Corporation’s Food Industry Group marks an important milestone for us, as we methodically build the foundations of our global go-to-market activities with selected partners,” notes Didier Toubia, Co-Founder and CEO of Aleph Farms.
Mitsubishi Corporation is a global integrated business enterprise that develops and operates a global network of 1,700 group companies in 90 countries. With yearly revenue of US$140B, Mitsubishi Corporation is comprised of 10 Business Groups covering virtually every industry. The Food Industry Group covers food resources, fresh foods, consumer products, and food ingredients, and is active in every link of the food supply chain, from the production and sourcing of raw materials to the manufacturing of finished food products.
“The cooperation demonstrates Aleph Farms’ strategy of working together with the food and meat industries to ensure a successful integration of cultivated meat within the ecosystem, while maximizing the positive impact we make,” adds Toubia. “We are excited to bring cultivated meat production closer to the Japanese market.”
This cooperation takes a lead role in the fight against climate change, especially now that the Japanese government stipulated a goal of achieving zero greenhouse gas emissions. In April 2020, Aleph Farms committed to eliminating emissions associated with its meat production by 2025 and reach the same net-zero emissions across its entire supply chain by 2030. As the demand for meat continues to rise with evolving lifestyles, the cooperation will also provide actionable solutions to overcome the societal challenges to the local population surrounding the domestic meat supply. This includes implementing stable food channels of quality nutrition.
“This is part of a network of ‘BioFarm to Fork’ strategic partnerships being developed by Aleph Farms in APAC, LATAM, and Europe, following the successful 2019 Round-A strategic investment by Cargill and the Migros Group in Switzerland,” reports Gary Brenner, VP of Market Development at Aleph Farms.
Aleph Farms and Mitsubishi Corporation are members of the “Cellular Agriculture Study Group”, a consortium implementing policy proposals under the Japanese Center for Rule-Making Strategy. The consortium brings together a range of experts on the definition and construction of cellular agricultural foods. It also adds clarification of conditions for Japanese products and technologies to have international competitiveness and establishes mechanisms for coexistence and division of roles with existing industries.
ทูตพาณิชย์บุกขยายตลาดชูโมเดลใหม่ เจาะจังหวัดหวินห์ลงในเวียดนามใต้
ทูตพาณิชย์บุกขยายตลาดชูโมเดลใหม่ เจาะจังหวัดหวินห์ลงในเวียดนามใต้
เวียดนาม, 6 มกราคม 2564 – นางสุภาพร สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครโฮจิมินห์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ซึ่งได้เน้นการรุกเจาะตลาดในเมืองเศรษฐกิจรองที่มีศักยภาพของแต่ละประเทศ สำหรับตลาดเวียดนามได้กำหนดนำคณะผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายสินค้าไทย เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Vietnam – Thailand Trade and Agricultural Product Exchange Fair ภายใต้ Thailand Pavilion ระหว่างวันที่ 4-11 มกราคม 2564 ณ จังหวัดหวินห์ลง เวียดนามตอนใต้
ในครั้งนี้ ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายสินค้าไทยในเวียดนามให้ความสนใจเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าภายใต้ Thailand Pavilion จำนวน 16 บริษัท รวม 22 คูหา นอกเหนือจากการจัดแสดงสินค้าในคูหา Thailand Pavilion แล้ว สคต. ณ นครโฮจิมินห์ ยังได้ประสานงานกับผู้นำเข้า และบริษัท Expo International Trading Group Joint Stock Company เพื่อนำเข้าสินค้าคุณภาพดีจากไทยที่ต้องการบุกขยายตลาดมายังเวียดนาม และจัดจำหน่ายในรูปแบบมินิมาร์ทหรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามสามารถเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย รวมทั้งสินค้าวิสาหกิจชุมชนไทยที่มีคุณภาพ ภายใต้โมเดล EXPO MART
ทั้งนี้ โมเดล EXPO MART จะเป็นโมเดลนำร่องต้นแบบ ซึ่งจะนำมาพัฒนาเป็นเครือข่ายร้านมินิมาร์ทและซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าไทยที่ครอบคลุมทุกจังหวัดของเวียดนาม โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแผนจัดตั้งสาขาให้ครอบคลุมทั้ง 25 จังหวัดเมืองรองทางตอนใต้ของเวียดนามภายในปี 2564 ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคในเมืองรองของเวียดนามสามารถเข้าถึงสินค้าไทยได้มากขึ้น
สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
กรมประมงประสานโมเดิร์นเทรด สะพานปลา ห้องเย็น เปิดช่องทางกระจายสินค้าสัตว์น้ำ พร้อมสั่งการประมงจังหวัดทั่วประเทศ เปิดตลาดขาย “กุ้ง”
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รอบใหม่ ซึ่งแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคจากตลาดกุ้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและได้ขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่น สร้างความตื่นตระหนกให้กับพี่น้องประชาชนถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยในการบริโภคสัตว์น้ำ กระทบต่อการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ รวมถึงการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยในพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และชาวประมง ตลอดจนผู้ประกอบการในทุกภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงสั่งการให้ทุกฝ่ายเข้มงวดและเพิ่มมาตรการในการเฝ้าระวัง ตรวจเข้มการนำเข้าสินค้าเกษตรอย่างรัดกุม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค พร้อมทั้งกำชับให้กรมประมงดูแลช่วยเหลือความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรทุกภาคการผลิตโดยเร็วที่สุด
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ และการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง และอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ซึ่งจังหวัดสมุทรสาครเป็นแหล่งการค้าสินค้าประมงที่สำคัญของประเทศ ครอบคลุมทั้งตลาดกลางและกิจการห้องเย็นที่กระจายสินค้าจำหน่ายเข้าสู่ตลาดภายในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะสินค้ากุ้งทะเลที่เป็นสินค้าหลักของหมวดสินค้าประมง ซึ่งปกติปริมาณผลผลิตจากฟาร์มเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมาจากพื้นที่อนุญาตให้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลทั่วประเทศ จะถูกจำหน่ายไปยัง 2 ส่วน คือ
(1) โรงงานแปรรูป (ร้อยละ 80) ปัจจุบันยังไม่ได้รับผลกระทบ และ (2) การเข้าสู่การซื้อขายที่ตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะตลาดที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร (ร้อยละ 20) ซึ่งจากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตกุ้งทะเล รวม 2 เดือน ตั้งแต่มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 มีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดอีกราว 33,000 ตัน นอกจากนี้ ในส่วนของกุ้งก้ามกราม ยังได้มีการคาดการณ์ตัวเลขผลผลิตในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งจะมีปริมาณอีกกว่า 8,000 ตัน ดังนั้น กรมประมงจะต้องเร่งดำเนินการมาตรการเร่งด่วนเพื่อระบายสินค้าทั้ง 2 ชนิด ออกสู่ตลาด และช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมา
โดยขณะนี้ กรมประมงได้กำหนดแนวทางในการกระจายผลผลิตกุ้งและสินค้าสัตว์น้ำ ดังนี้
1. เปิดสถานที่ให้เกษตรกรนำกุ้งมาจำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งเปิดจำหน่ายออนไลน์ผ่านทาง Fisheries Shop ของกรมประมง
2. มอบหมายให้ประมงจังหวัดทั่วประเทศ นำผลผลิตสัตว์น้ำมาจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งขณะนี้มีการนำร่องจำหน่ายกุ้งก้ามกรามในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี แล้ว โดยมีประชาชนให้ความสนใจมาเลือกซื้อกุ้งเป็นจำนวนมาก
3. ขอความร่วมมือห้องเย็นโรงงานแปรรูปในการรับซื้อกุ้งทะเล
4. ประสานความร่วมมือกับกรมการค้าภายในนำสินค้าปลอดภัยมาจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดต่างๆ เช่น บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด เพื่อกระจายสินค้า
5. ประสานความร่วมมือในการหาตลาดใหม่ๆ ในการกระจายสินค้าสัตว์น้ำ เช่น ตลาดไท
6. ประสานความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ในการจำหน่ายสินค้าผ่านทาง Call Center และ เว็บไซต์ www.ohlalashopping.com
7. ประสานความร่วมมือกับกองทัพบกในการรับซื้อกุ้ง เพื่อนำไปเป็นอาหารให้กับกำลังพล
8. ประสานความร่วมมือกับกรมอนามัยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเป็นแหล่งจำหน่ายกุ้ง
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการช่วยกระจายกุ้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอีกด้วย อาทิ สมาคมสื่อมวลชนเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศิลปินดารา เป็นต้น
โดยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 กรมประมงได้มีการประชุมหารือร่วมกับตลาดไท นำโดยนายโอฬาร พิทักษ์
ที่ปรึกษาตลาดไท และนายโชคชัย คลศรีชัย กรรมการผู้จัดการ เพื่อเตรียมหาตลาดอาหารทะเลแหล่งใหม่รองรับและกระจายสินค้าสัตว์น้ำ โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่กว่า 2,300 ตารางเมตร เปิดให้เป็นโซนจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำปลอดภัย ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำในภาวะวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจะเปิดให้เกษตรกรที่เดือดร้อนไม่มีช่องทางการขายสินค้ามาจำหน่ายได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมประมง ส่วนสถานที่ทางตลาดไทได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในเรื่องของการเฝ้าระวังตรวจวัดอุณหภูมิให้กับทั้งค้าและผู้ขายในทุกจุดทั่วตลาดไท และยังมีการสุ่มตรวจ swab test กับผู้ค้าในพื้นที่ ตลอดจนการหยุดการจำหน่ายสินค้าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งกรมประมงคาดว่าจะเริ่มดำเนินการกระจายและจำหน่ายสินค้ากุ้งและสัตว์น้ำอื่นๆ ได้ภายในเดือนมกราคม 2564 และในอนาคตจะร่วมกันพัฒนาให้เป็นตลาดสัตว์น้ำยุคใหม่ ตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำที่ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย สินค้าคุณภาพปลอดภัย เกษตรกรจำหน่ายเอง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้สามารถเข้าสู่กลไกการค้าได้โดยตรง ลดการพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภคก็ได้สินค้าดี ราคาเหมาะสมด้วย
สำหรับสถานการณ์ความตื่นตระหนกต่อการบริโภคกุ้งในขณะนี้ กรมประมงเชื่อมั่นว่าคลายลงแล้ว และประชาชนผู้บริโภครับรู้รับทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้องว่ากุ้งและสินค้าสัตว์น้ำไม่ได้เป็นพาหะของโรคโควิด-19 อย่างแน่นอน แต่การปนเปื้อนของเชื้อไวรัสนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการขาดสุขอนามัยที่ดี ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรับประทานและสัมผัสสัตว์น้ำ จึงขอให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและผ่านการผลิตที่มีมาตรฐาน เน้นให้ความใส่ใจในเรื่องสุขอนามัยเป็นสำคัญ โดยไม่ควรรับประทานอาหารสัตว์น้ำที่ดิบหรือไม่สุก ไม่ควรใช้มือสัมผัสกับสัตว์น้ำโดยตรง อาจใช้ถุงมือหรืออุปกรณ์ในการหยิบหรือตัก ควรล้างทำความสะอาดสัตว์น้ำเป็นอย่างดีก่อนทำการปรุงอาหารทุกครั้ง และดูแลตัวเองให้ดี ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19…แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน…อธิบดีกรมประมง กล่าว