“แพนฟู้ดฯ” ผนึก “มาเรล” บิ๊กเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารโลก เล็งดันยอด 5,000 ล้านใน 5 ปี

“แพนฟู้ด” เร่งเครื่องรับเศรษฐกิจฟื้น เดินหน้าลงทุนเสริมทัพไลน์ผลิต ล่าสุดจับมือ “มาเรล”
บิ๊กเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก วาดแผนดันยอดทะลุ 5000 ล้านบาทใน 5 ปี รองรับตลาดค้าส่งฟู้ดเซอร์วิสไทยมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านบาท

คุณธนวิชญ์ หงษ์คู กรรมการบริหาร บริษัท แพนฟู้ด จำกัด เปิดเผยว่า ล่าสุดนั้นบริษัทได้ปรับกลยุทธ์และแผนงานเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศไทยและตลาดโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยบริษัทได้ลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต พร้อมขยายสาขาและศูนย์กระจายสินค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศยิ่งขึ้น โดยใช้งบรวมขั้นต้นกว่า 500 ล้านบาท คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบแตะที่ระดับ 5,000 ล้านบาทได้ภายใน 5 ปีนับจากนี้ ขณะเดียวกันจะส่งผลให้ตลาดส่งออกมีสัดส่วนที่สูงขึ้นเป็นประมาณ
10-15% เช่นกัน จากปัจจุบันที่ส่งออกเพียง 4-5% ของรายได้

“ตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมาเป็นโอกาสให้เราได้เริ่มทยอยทำแผนลงทุนและปรับระบบองค์กรให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่และชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้น คือการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในด้านการผลิตกับ มาเรล ซึ่งนอกจากจะซื้อเครื่องจักรกับมาเรลแล้ว เรายังได้รับการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการแล่ปลา มีหลายแบบ รวมถึงตัวดึงก้าง เพราะเราไม่ได้ขายปลาเป็นตัว เราต้องแล่ปลาแซลมอนออกมาเพื่อส่ง
ตามออเดอร์ลูกค้า ทั้งแบบครึ่งตัว หั่นเป็นแบบชิ้น เป็นแบบซาชิมิ เพราะตามนโยบายที่ท่านประธานบอก การซื้อขายเป็นตัวอาจไม่ใช่คำตอบของการทำธุรกิจในวันนี้”

คุณธนวิชญ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนรองรับช่องทางการจัดจำหน่ายนั้น บริษัทได้ปรับขยายเพิ่มในส่วน สาขาในต่างจังหวัดที่มีอยู่เดิมให้ครบวงจรยิ่งขึ้น รองรับในการขยายคลังสินค้าให้เป็นศูนย์กระจายสินค้า
โลจิสติค รวมทั้งมีช๊อปหน้าร้าน อาทิ ที่จังหวัดภูเก็ต พัทยา สุราษฎ์ธานี  อุดรธานี ซึ่งมีอยู่แล้ว และจะลงทุนเพิ่มในเชียงใหม่และขอนแก่นในอนาคตอันใกล้นี้ โดยมีการลงทุนเพิ่มประมาณ 100 ล้านบาท

ด้านผู้บริหารมาเรลกรุ๊ป มร.จูเลี่ยน ไวดัส (Julien Vidus) ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำภาคพื้นเอเชียและ
โอเชียเนีย กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารประเภทค้าส่งฟู้ดเซอร์วิสในไทยเป็นตลาดที่ได้รับความสนใจระดับโลกโดยมีมูลค่ามากกว่า 2.5 ล้านล้านบาท ในฐานะที่เป็นบริษัทผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา เนื้อ และสัตว์ปีกเป็นที่ยอมรับในระดับต้นของอุตสาหกรรมอาหาโลกนั้น การที่บริษัทได้เป็นพันธมิตรกับแพนฟู้ดฯครั้งนี้คาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจนำเข้าและแปรรูปอาหารของไทยและแพนฟู้ดฯ โดดเด่นยิ่งขึ้น Marel มีเป้าหมายที่จะ ให้ Panfood เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการปลาแซลมอนที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยบริษัทมีสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 60 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก

ประเทศไทยเป็นตลาดชั้นนำสำหรับอาหารทะเลคุณภาพสูง โดยเฉพาะปลาแซลมอนและปลา ทราวต์จากนอร์เวย์และเป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่นำเข้าปลาแซลมอนในเอเชีย และเป็นผู้นำในการนำเข้า ปลาทราวต์จากนอร์เวย์ ตั้งแต่มกราคมถึงตุลาคม 2565 ปริมาณปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ที่ส่งออกไปยัง ประเทศไทยเพิ่มขึ้น 6% ถึง 16,100 ตัน และมีการเพิ่มขึ้น 55% ในมูลค่าการส่งออก ประเทศเวียดนาม ยังเป็นตลาดที่เติบโตของอาหารทะเล ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน ยังคงเป็นตลาดใหญ่ในภูมิภาค

Continue reading ““แพนฟู้ดฯ” ผนึก “มาเรล” บิ๊กเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารโลก เล็งดันยอด 5,000 ล้านใน 5 ปี”

FOOMA JAPAN 2024 งานแสดงเครื่องจักรและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดระดับโลก 4 – 7 มิถุนายน 2567 ณ Tokyo Big Sight กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

‘ผู้ร่วมจัดแสดงงานกว่า 1,000 บริษัท พร้อมด้วยโซลูชันมากกว่า 5,000 รายการ

ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ในเดือนมิถุนายนที่กำลังจะถึงนี้

ความยิ่งใหญ่ของ FOOMA JAPAN ในครั้งนี้ นับว่าเป็นหนึ่งในงานแสดงสุดยอดเครื่องจักรแปรรูปอาหารระดับโลกซึ่งมีพื้นที่จัดแสดงงานขนาดมหึมา ครบครันด้วยความหลากหลายของผู้ผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศญี่ปุ่น สำหรับคอนเซ็ปต์ของงานในครั้งที่ 47 นี้คือ Breakthrough FOOMA” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะเป็นผู้รับผิดชอบอนาคตของอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารมากที่สุดในโลก เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ค้นพบและสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ของวงการอาหาร และก้าวไปสู่การสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารในอนาคต

FOOMA JAPAN เท่านั้นที่เปิดพื้นที่จัดแสดงกระบวนการผลิตอาหารทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ภายในงานจัดแสดงแบ่งออกเป็น 21 หมวดหมู่ และโซนของสตาร์ทอัป โดยงานในครั้งนี้ไม่เพียงแค่นำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เทคโนโลยีล้ำสมัย และบริการที่จำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอย่างครบครันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวคิดการนำ Digital Transformation (DX) มาใช้สำหรับโรงงานผู้ผลิตอาหารผ่านการแปรรูปที่ทันสมัย โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI, IT, IoT และ Robotics ซึ่งสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจจากผู้เข้าชมงานจากต่างประเทศ นั่นคือ การเปิดตัวหุ่นยนต์เพื่อการผลิตรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งจะมาจัดแสดงในงาน FOOMA JAPAN แห่งแรกในโลก เนื่องจากกระแสความนิยมของอาหารญี่ปุ่น รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตอาหารแบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย FOOMA JAPAN 2024 ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน ทั้งการบำรุงรักษาที่ง่ายและประหยัดพลังงาน ดังนั้น จึงมีเครื่องจักรสำหรับผลิตอาหารจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนมากที่สามารถใช้งานได้ง่าย และช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการสร้างธุรกิจใหม่

FOOMA JAPAN ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับระบบอาหารซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุด จากประเทศญี่ปุ่นและได้รับความสนใจจากทั่วโลก!

คุณสามารถเข้าถึงเทรนด์เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีอาหาร (FoodTech)” ซึ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแนวคิดใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤตอาหารโลกจาก FOOMA JAPAN นอกจากนี้ ผู้เข้าชมงานยังได้รับสิทธิพิเศษในการพูดคุยกับบริษัทสตาร์ทอัป ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ไอเดียและเทคโนโลยีนวัตกรรม เช่น เทคโนโลยีเพื่อความความอร่อยและกลมกล่อม (อูมามิ) สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร โดยใช้เทคโนโลยีการหมักสาหร่ายทะเลอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบ AI รวมถึงผู้เข้าชมงานยังได้เรียนรู้เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Agri-tech” ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรระดับโลก โดยเสียงตอบรับจากผู้เข้าชมงานจำนวนมากจากต่างประเทศเห็นตรงกันว่า “อุตสาหกรรมอาหารของประเทศญี่ปุ่นถือเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม” ซึ่งหากได้เห็นเครื่องจักรจริงก็จะทำให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานได้ในทันที โดยผู้เข้าชมงานสามารถค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริษัทที่ร่วมจัดแสดงงานกับ FOOMA JAPAN ได้ผ่านทางเว็บไซต์ โดยสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนเข้าชมงานได้อย่างสะดวก ซึ่งท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์

  

เตรียมสัมผัสประสบการณ์ด้านนวัตกรรมในงาน “Breakthrough FOOMA”  ณ Tokyo Big Sight และทางเว็บไซต์: https://www.foomajapan.jp/int/ นอกจากนี้ ยังสามารถติดตามช่องทางใหม่ผ่านทาง YouTube: https://youtu.be/FztZ85b4gkA ได้อีกด้วย

What makes FOOMA JAPAN incredible, and one of the world’s top food manufacturing exhibitions, is its immense scale and the diverse array of leading Japanese food production machinery and equipment manufacturers that are present there. The theme of this 47th installment of the exhibition is “Breakthrough FOOMA” The theme reflects the desire of food industry innovators—those responsible for the future of the food industry—to bring together the world’s best solutions for food production so that visitors can discover and experience new trends in the food area, and make breakthroughs toward the creation of next-generation food businesses.

FOOMA JAPAN is the only place where you will find all parts of the food production process—from upstream to downstream—represented.

Exhibits will be comprised of 21 categories, plus a start-up zone. These will not only feature all of the cutting-edge products, technologies, and services necessary in the food production process, but also ideas for implementing even more advanced DX solutions in food factories, through state-of-the-art manufacturing lines that employ AI, IT, IoT, and robotics technologies. Attracting a great degree of interest from overseas is the world debut of the latest models of various global robot manufacturers, as well as—due to the growing popularity of Japanese food globally—Japanese food production automation technologies. FOOMA JAPAN 2024 was established with a focus on user-friendly technologies that are easy to maintain and eco-friendly. As such, it features numerous Japanese food production machines that are easy to implement, and that will help facilitate the creation of new businesses.

FOOMA JAPAN: Allows access to information on innovative food systems that are based in Japan and have garnered worldwide interest!

     At FOOMA JAPAN, you can learn about the latest trends in “food tech,” an area of food production that focuses on the development of food products and technologies using new ideas, in order to help solve the global food crisis. Visitors will also have the privilege of encountering start-ups developing innovative new technologies and ideas, such as an “umami flavor” food product technology that utilizes a proprietary AI-based algae fermentation technology. Through these experiences, they will be able to learn about the Agri-tech technologies in Japan, the world’s Agri-tech leader. Many overseas visitors have said that the Japanese food products industry is a leader in innovation, and this is clearly evident in the actual machinery presented at this exhibition. The official website allows you to search for companies exhibiting at FOOMA JAPAN, as well as information about their products, and whether they handle exports. Pre-registering for your visit is easy. See the official website for details.

We cannot wait for “Breakthrough FOOMA,” and the innovation it will allow us to experience, both through its website and the real-life exhibition venue. Do you know FOOMA? – YouTube channel “FOOMA JAPAN channel” is launched! Watching the videos is recommended to get a feel for FOOMA JAPAN.

For more information:

https://www.foomajapan.jp/int/

อัลม่า แพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย) เปิดตัวสำนักงานและโชว์รูมแห่งใหม่ พร้อมอัปเดตนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์

          บริษัท อัลม่า แพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต นำเข้า และติดตั้งเครื่องบรรจุที่มีประสิทธิภาพสูงพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากประเทศสเปน ได้เปิดตัวสำนักงานและโชว์รูมแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมจัดงานสัมมนาเชิงเทคนิคและเยี่ยมชมการสาธิตเครื่องจักรจากบริษัทฯ ในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ คลังสินค้าโชติธนวัฒน์ 2 บล็อก H3A อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ เพื่ออัปเดตนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และความรู้เชิงเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเยี่ยมชมสำนักงานแห่งใหม่ที่จัดแสดงโซลูชันด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารอย่างครบวงจร

ในงานนี้ได้รับเกียรติจาก Mr. Mikel Kortabitarte ตำแหน่ง Commercial Director จาก ULMA Packaging กล่าวเปิดงานและตัดริบบิ้นในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ พร้อมผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเป็นสักขีพยาน รวมถึงได้อัปเดตความรู้ในหัวข้อ “โซลูชันนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์” ซึ่งทางอัลม่า แพคเกจจิ้ง ได้พัฒนานวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ที่เน้นเรื่องความสะดวก ความสวยงาม และความยั่งยืน ภายใต้สโลแกน #ULMAweCare โดยลดการใช้พลาสติกและใช้วัสดุรีไซเคิลที่ย่อยสลายได้ นอกจากนี้ยังมีโซลูชันทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและบรรจุ ไปจนกระทั่งงานบริการการตรวจเช็คและซ่อมแซม โดยนำเสนอนวัตกรรมเครื่องบรรจุสินค้าที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ตามรูปแบบที่ต้องการ เช่น เครื่องแพ็คแบบแนวนอน (Flowpack) เครื่องเทอร์โมฟอร์ม (Thermoform) เครื่องซีลสำหรับถาดบาง (Skin Tray Sealers) และเครื่องบรรจุถุงแบบแนวตั้งด้วยระบบ Tight Bag ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุน และลดพื้นที่ในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ได้

นอกจากนี้ยังได้รับความรู้เชิงเทคนิคจากทางพาร์ทเนอร์บริษัทต่างๆ ทั้ง Mr. Shinya Yoshida จาก Mitsubishi Chemical (Thailand) Co., Ltd. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “ความก้าวหน้าของการพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์และพลาสติกเทอร์โมฟอร์มในผลิตภัณฑ์อาหาร” ซึ่งกล่าวถึงประโยชน์ของการใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์อาหาร DIAMIRON™ ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของแก๊สออกซิเจนได้อย่างดีเยี่ยม สามารถเปิดใช้งานได้สะดวก และใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องผ่านการต้ม การรีทอร์ท หรืออุ่นในไมโครเวฟ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ตามรูปแบบงานที่แตกต่างกันออกไป อาทิ DIAMIRONTM Co-Extruded Multilayer Flat Film ที่ใช้ได้กับการบรรจุแบบเทอร์โมฟอร์ม และเมื่อซีลแล้วสามารถตัดแยกออกเป็นชิ้นได้ DIAMIRONTM Advance in Functional Film เป็นฟิล์มที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น เช่น Retort Film ซึ่งทนต่อการสเตอริไรซ์ที่อุณหภูมิสูง สามารถวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ที่อุณหภูมิห้อง และ DIAMIRONTM Developing Film เช่น Skin-Pack Film ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนได้ดี ช่วยเพิ่มความสวยงามและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ขณะวางจำหน่ายได้

          คุณ Kenny Loh จากบริษัท Valiant Equipment Sdn. Bhd. ได้นำเสนอ “แนวทางพัฒนากระบวนการขึ้นรูป ตัดแต่ง และกระบวนการการชุบแป้งสำหรับผลิตภัณฑ์นักเก็ตและไก่ทอด” พร้อมกล่าวถึงกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ขึ้นรูปที่มีขั้นตอนหลักอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมวัตถุดิบ การผสม การขึ้นรูป และการแช่แข็ง โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ขึ้นรูปที่ดีจะอยู่ที่เนื้อสัมผัส ซึ่งจะต้องมีสัดส่วนของโปรตีน ไขมันและน้ำที่เหมาะสม มีการยึดเกาะกันที่ดีของเนื้อหลังจากการขึ้นรูปและแช่แข็ง พร้อมมีรูปร่างที่สม่ำเสมอหลังจากการขึ้นรูป รวมทั้งควรมีลักษณะปรากฎก่อนและหลังทำให้สุกที่สวยงามและดูน่ารับประทาน นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความข้นหนืดของเนื้อขณะขึ้นรูป คือ อุณหภูมิ ซึ่งสามารถเลือกใช้ระบบทำความเย็นด้วยไนโตรเจนขณะที่ทำการผสม โดยก่อนที่จะเริ่มสร้างไลน์การผลิตเนื้อสัตว์ขึ้นรูปจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงกระบวนการผลิต ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตที่เหมาะสม ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญต่อการผลิตเนื้อสัตว์ขึ้นรูปให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากการห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดีแล้ว ข้อมูลบนฉลากก็มีส่วนสำคัญในการสื่อสารข้อมูลกับผู้บริโภค โดยคุณบุญฤทธิ์ ปานทน จากบริษัท Bizerba South East Asia Pte Ltd ได้บรรยายในหัวข้อ “เพิ่มมูลค่าด้วยฉลากอัจฉริยะ พร้อมระบบตรวจสอบและจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์” ซึ่งนำเสนอโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิต การประมวลผล การชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบการทำงาน และการติดฉลากสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดยกล่าวถึงประเภทของฉลากที่ใช้ในโรงงานผลิตอาหาร อาทิ Dynamic Labeling ประกอบด้วยคิวอาร์โค้ด และชุดข้อมูล (Data Matrix) ซึ่งจะถูกปรับเปลี่ยนแบบเรียลไทม์รองรับข้อมูลตามปัจจัยต่างๆ อาทิ ส่วนผสม คุณค่าทางโภชนาการ สารก่อภูมิแพ้ ความสดของผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลทางการตลาด นอกจากนี้ ยังมี Linearless Labels ที่สามารถรีไซเคิลได้ ช่วยประหยัดต้นทุนและพื้นที่จัดเก็บ รวมถึง Smart Labeling ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก สามารถเพิ่มข้อมูลและสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบการจัดการข้อมูลด้วย Bizerba BRAIN2 Software ซึ่งเป็นระบบรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพในการผลิต และความปลอดภัยได้ตลอดกระบวนการผลิต

          ปิดท้ายด้วยคุณธนากฤต สมประสงค์ จากบริษัท Tsukasa Industry (Thailand) Co., Ltd. ที่ได้มาจุดประกายความคิดด้วย “เทคนิคติดสปีดความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตอย่างสูงสุดในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม” พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์ จากการที่โรงงานผลิตอาหารได้มีโครงการพัฒนาไลน์การผลิตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด โดยทางซึกาสะมีประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีในการจัดการผลิตภัณฑ์ประเภทผงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น แป้ง ข้าว น้ำตาล สารเคมี ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ จัดเก็บ ลำเลียง กำจัดสิ่งปนเปื้อน บด ชั่ง และผสม เพื่อเตรียมพร้อมวัตถุดิบเข้าสู่ไลน์การผลิตด้วยความสะอาดและปลอดภัย โดยปัจจุบันผู้ผลิตต่างต้องพบเจอกับปัญหาด้านแรงงาน ขณะที่โซนวัตถุดิบต้องพบเจอกับปัญหาเรื่องฝุ่นฟุ้งกระจาย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการฟุ้งกระจายของแป้ง เครื่องปรับอากาศที่มีการอุดตันของฝุ่นผง จากการที่ทีมซึกาสะได้เข้าไปตรวจเช็คพูดคุยกับทีมงานลูกค้า และวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้หลักการ 8 wastes พร้อมจัดการปัญหาด้วยแผนปฏิบัติการแบบ Quick Win ผลปรากฏว่า สามารถลดขั้นตอน จำนวนคนงาน และความสูญเสียในการผลิตให้น้อยลง รวมถึงช่วยเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัยได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้เยี่ยมชมนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากบริษัทฯ และพาร์ทเนอร์ รวมทั้งชมการสาธิตเครื่องจักรของบริษัท อัลม่า แพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด อีกด้วย หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ info@ulmapackaging.co.th หรือ https://www.ulmapackaging.com

อัปเดตงานสัมมนาออนไลน์เดือนพฤษภาคม 2567 ของ METTLER TOLEDO

ขอเชิญพบกับสัมมนาออนไลน์ทั้งหมด 8 หัวข้อแบบอัดแน่นตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ และเพิ่มทักษะในการใช้งานเครื่องมือ รวมถึงอัปเดตนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมให้กับธุรกิจของคุณ โดยหัวข้อสัมมนาจะครอบคลุมโซลูชันตั้งแต่ต้นจนถึงท้ายกระบวนการผลิต

ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ

-เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ (pH Meter, Titrator)
-เครื่องมือวิเคราะห์ออนไลน์/อินไลน์ (ISM Sensor)
-เครื่องชั่งน้ำหนักในกระบวนการผลิต (เครื่องชั่งเตรียมส่วนผสม เครื่องชั่งรถบรรทุก)
-วิธีการอ่านใบรายงานผลการสอบเทียบและการสอบเทียบเครื่องชั่งถังแบบใหม่ RapidCal™

และเตรียมตัวพบกับ METTLER TOLEDO ในงาน PROPAK ASIA 2024 ที่บูธ AJ06 ซึ่งจะมีการจัดแสดงเครื่องมือเพื่อให้ทุกท่านได้ไปลองสัมผัสและทดสอบกันด้วยตัวเอง

ลงทะเบียนสำรองสิทธ์การเข้าร่วม #สัมมนาออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในหัวข้อที่คุณสนใจ
คลิก Link : www.mt.com/webinars


สามารถติดตามข้อมูลทาง Line Official Account @mtth, www.mt.com และทุกช่องทางของ Food Focus Thailand

มุ่งสู่เทคโนโลยีการผลิตเนื้อสุกรอย่างครบวงจรและระบบไฮยีนที่ได้มาตรฐาน

          บริษัท โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จำกัด ร่วมกับ บริษัท เอ็กโคแล็ป จำกัด และบริษัท เอเชี่ยน บี ฟู้ด จำกัด ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “เทคโนโลยีการแปรรูปสุกร มาตรฐานโรงงานแปรรูปสุกรและระบบไฮยีนที่ได้มาตรฐาน” ในวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ บริษัท โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จำกัด เพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตเนื้อสุกรอย่างปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ครบวงจรและมาตรฐานการผลิตที่ถูกสุขลักษณะแก่ผู้ประกอบการชำแหละ ตัดแต่ง และแปรรูปเนื้อสุกร

          งานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณศิโรตน์ นุกูลธรรม กรรมการ บริษัท โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จำกัด หรือ OFM กล่าวเปิดงาน พร้อมแนะนำเทคโนโลยีการชำแหละ ตัดแต่งและแปรรูป จากบริษัทฯ พร้อมพาร์ทเนอร์ที่ได้มีการนำเครื่องจักรจาก OFM มาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการชำแหละสุกรมาอย่างยาวนาน โดย OFM เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องจักรในโรงเชือดและโรงตัดแต่งสุกรแบบครบวงจรมากว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช็อตสุกร 3 จุดที่ช่วยลดกระดูกแตกและจุดเลือด ราวแขวนหมูอัตโนมัติ เครื่องปั่นขน เครื่องเลื่อยกระดูก และเครื่องจักรอื่นๆ พร้อมบริการหลังการขายอย่างดีเยี่ยม รวมถึงบริษัทในเครือฯ ได้แก่ บริษัท ทะเลเทคโนโลยี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรแปรรูปเนื้อสัตว์ และบริษัท ชบาโฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการด้านการออกแบบและรับเหมาก่อสร้างอาคารและโรงงานอย่างครบวงจร (Turnkey Project Solution) นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอระบบบริหารจัดการโรงชำแหละสุกร (Wisdom Technology) ซึ่งเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์และถูกออกแบบมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการไทย

 

          จากนั้น ผศ.น.สพ.ดร. สุเจตน์ ชื่นชม ที่ปรึกษาสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และที่ปรึกษาสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้อัปเดตกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโรงงานแปรรูปสุกรและการผลิตสุกรที่มีคุณภาพและปลอดภัย ซึ่งปัญหาที่มักพบในธุรกิจชำแหละเนื้อสุกร เช่น โรคปากเท้าเปื่อย สารเร่งเนื้อแดง (กลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์) สารปฏิชีวนะและโลหะหนัก ซึ่งแนวทางป้องกันปัญหาต้องเริ่มจากการที่ฟาร์ม โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานตัดแต่งเนื้อสัตว์และโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ต้องมีการจัดทำระบบไม่ว่าจะเป็น GAP GMP และ HACCP เพื่อให้สามารถสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาต่างๆ ได้ พร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อสุกร ได้แก่ พรบ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2559 พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรฐานฟาร์มสุกร พ.ศ. 2566 และพรบ. ควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำไปถึงผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดสุกรว่าต้องมีการวางแผนการตลาดให้รอบคอบ ก่อนที่จะกลับมาวางโครงสร้างภายใน เพื่อคำนึงถึงต้นทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดโรงฆ่าสุกร จำนวนสุกรเข้าเชือด เงินทุน เครื่องจักรและอุปกรณ์ การขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำระบบมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 

          คุณวีระยา เตชะรัตน์พงษ์ บริษัท เอ็กโคแล็บ จำกัด และคุณกัญญาวีร์ บุเงิน บริษัท เอเชี่ยน บี ฟู้ด จำกัด ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการด้านสุขลักษณะที่ดีในโรงงานแปรรูปสุกรแบบมาตรฐานครบวงจร ด้วยการปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420 พ.ศ. 2563 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ทั้งนี้ จึงได้เน้นย้ำถึงกระบวนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณพื้น ฝาผนังและเพดาน รวมถึงระบบแอร์และระบบระบายอากาศ ด้วยการคำนึงถึง 4 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดและความเข้มข้นของสารเคมี อุณหภูมิ ระยะเวลา และแรงขัดถู รวมถึงการทำความสะอาดด้วยระบบโฟมและการเลือกสารทำความสะอาดให้เหมาะสม เช่น INCIMAXX DES N ซึ่งเป็นกรดเปอร์อะซิติก สำหรับฆ่าเชื้อโรคปากเท้าเปื่อยในคอกสุกร และ TOPAX DUO 2 IN 1 เป็น Amine-based ไม่มีส่วนผสมของควอท สำหรับใช้ทำความสะอาดและขจัดคราบไขมันบนพื้นผิว ผนังและอุปกรณ์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ และโรงแปรรูปเนื้อสัตว์ ซึ่งสามารถลดขั้นตอนในการทำความสะอาดจาก 5 ขั้นตอนเหลือ 3 ขั้นตอน จึงช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตให้ผู้ประกอบการได้มากขึ้น เป็นต้น

 

       

          ในช่วงบ่ายผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้เยี่ยมชมเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากบริษัท โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จำกัด พร้อมชมการสาธิตเทคโนโลยีการล้างและทําความสะอาด จาก บริษัท เอ็กโคแล็บ จํากัด รวมถึงเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากบริษัท เอเชี่ยน บี ฟู้ด จำกัด อีกด้วย

METTLER TOLEDO ประชาสัมพันธ์ตารางงานสัมมนาออนไลน์ประจำเดือน เมษายน 2567

เมทเล่อร์-โทเลโด ประเทศไทย รวบรวมและคัดสรรงานสัมมนาออนไลน์ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 มาให้คุณแล้ว กับ 5 หัวข้อพิเศษที่จะมาช่วยเสริมความรู้ สร้างความเข้าใจ เพิ่มเทคนิคการใช้งาน และการดูแลรักษาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยงานสัมมนาทั้ง 5 หัวข้อที่เราจัดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับเครื่องมือวิเคราะห์ออนไลน์/อินไลน์ (Process Analytics) เครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory Instrument) เครื่องตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Product Inspection) ซึ่งเนื้อหาสัมมนาที่ได้จัดเตรียมไว้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่มีเครื่องมือดังกล่าว โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ความชำนาญและมีประสบการณ์ด้านเครื่องมือชนิดนั้นๆ มาบรรยายและตอบข้อซักถามให้ผู้เข้าฟังสัมมนาทุกท่าน

นอกจากสาระความรู้ ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกลุ้นชิงรางวัลมากมายและผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ยังได้รับใบรับรองการเข้าร่วมอบรมอีกด้วย

หากคุณสนใจโปรแกรมงานสัมมนาออนไลน์ของเมทเล่อร์-โทเลโด สามารถคลิก
https://www.mt.com/th/th/home/events/live-webinars.html

ลงทะเบียนสำรองสิทธ์การเข้าร่วมสัมมนาตามหัวข้อที่คุณสนใจ


หรือสามารถติดตามข้อมูลทาง
Line Official Account: @mtth
Website: www.mt.com

ถึงเวลายกระดับการผลิตแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการวัดจากวีก้า อินสตรูเมนท์

บริษัท วีก้า อินสตรูเมนท์ จำกัด ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Measurement Technology: The Power of Incremental Accuracy and Efficiency in Process Automation” ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เพื่อเสริมอาวุธทางการแข่งขันให้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ทั้งการเลือกใช้เซนเซอร์อัจฉริยะ แนวทางการใช้ระบบซอฟต์แวร์ รวมถึงการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์การวัดระดับตามข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัย

งานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณสมบัติ ตันติวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีก้า อินสตรูเมนท์ จำกัด กล่าวเปิดงาน พร้อมแนะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีวัดระดับล่าสุดจาก VEGA และ Mr. Juan Garcia ได้กล่าวถึงแนวทางการประยุกต์ใช้ระบบ Bus system ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกของการตรวจวัดในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ

คุณอังกูร รุจิพงศ์วาที ได้กล่าวถึงปัญหาและความท้าทายที่ต้องพบเจอในระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ รวมถึงแนวทางการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมแนะนำถึงแนวทางในการเลือกใช้เซนเซอร์อัจฉริยะ ทั้งเซนเซอร์วัดระดับและแรงดันให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต กรณีศึกษาต่างๆ ที่น่าสนใจ เพื่อลดความสูญเสียในการผลิตและวัดระดับได้อย่างแม่นยำมากขึ้น พร้อมก้าวไปสู่การผลิตอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันต่อไป

รศ.ดร. ทวีพล ซื่อสัตย์ และ รศ.ดร. นวภัทรา หนูนาค จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และประธานโครงการ EHEDG ประจำประเทศไทย ได้ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติ ของการออกแบบอุปกรณ์การวัดตามมาตรฐานยุโรป EHEDG รวมถึงหลักการในการผลิตและติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกสุขลักษณะที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและยา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการผลิต ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคมากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้เยี่ยมชมนวัตกรรมและเทคโนโลยีการวัดจากบริษัท วีก้า อินสตรูเมนท์ จำกัด ได้แก่

1.myVEGAYour personal customer portal ซึ่งเป็น Station สำหรับแพลตฟอร์มของ VEGA เพื่อให้สามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น ใบ Certificate, Config Devices โดยผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้อออนไลน์ รวมถึงดูประวัติการสั่งซื้อย้อนหลัง และสำรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ไว้บนระบบคลาวด์ได้อีกด้วย

2.IO-Link – 360 Degree status display for level, point level and pressure sensor ด้วยเทคโนโลยี IO-Link ที่ช่วยให้การสั่งการเซนเซอร์อัจฉริยะนี้เป็นเรื่องง่าย ยืดหยุ่นกับการใช้งานร่วมกับระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่ง Station นี้แสดงอุปกรณ์ของ VEGA รุ่น Compact ที่ใช้ในการวัดระดับและแรงดัน มาพร้อมกับไฟ LED ที่สามารถมองเห็นได้ 360 องศา เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและสะดวกในการแจ้งสถานะต่างๆ โดยสามารถตั้งค่าสีได้ถึง 256 เฉดสี

3.Radar on pump station – Radar sensor ซึ่งเป็น Station ในการจำลองและติดตั้งการใช้งาน Pro Radar 6X บนถังกวน ซึ่งเป็นเรดาห์ตรวจจับสัญญาณที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกรูปแบบ

4.CIP Process – All around instruments on CIP process เป็นการจำลองระบบ CIP ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงยา ซึ่งสามารถติดตั้งเซนเซอร์วัดแรงดันได้

หากท่านสนใจเทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะ ติดต่อได้ที่ บริษัท วีก้า อินสตรูเมนท์ จำกัด

โทร 02-700-9240 หรือ E-mail: info.th@vega.com

และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.vega.com

Health & Nutrition Asia 2024

เชิญเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมสุขภาพสัตว์-โภชนาการสัตว์แห่งภูมิภาคเอเชีย

หากธุรกิจของคุณเกี่ยวข้องกับสุขภาพ โภชนาการ อาหารสัตว์ นี่คืองานแสดงสินค้าที่คุณไม่ควรพลาด!!

Health & Nutrition Asia 2024 | 12-14 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10:00-18:00 น. ณ EH 100-102 BITEC กรุงเทพฯ

ลงทะเบียนเข้าชมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ https://www.databadge.net/viah2024/reg/?card=10010382 / https://vivhealthandnutrition.nl

งานแสดงสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมสุขภาพสัตว์-โภชนาการสัตว์แห่งภูมิภาคเอเชีย มุ่งเน้นการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชีย จัดโดยทีมงานเดียวกับ VIV Asia งานปศุสัตว์อันดับ 1 ของภูมิภาค จัดพร้อมกันกับงาน VICTAM Asia งานแสดงสินค้าและการประชุมชั้นนำระดับโลกด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์

ไฮไลท์สำคัญที่คุณไม่ควรพลาด

  • พบ 250+ ผู้ประกอบการ มากกว่า 400 แบรนด์ พร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ล่าสุด อาทิ การดูแลสัตว์ในฟาร์มผ่านระบบอัตโนมัติ เพื่อได้รับสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม / การผสมพันธุ์และพันธุศาสตร์เพื่อตัดแต่งต่อเติมและเพิ่มความแข็งแกร่งของสายพันธุ์ / สารเติมแต่งอาหารและส่วนผสมอาหารสัตว์เพื่อทดแทนและเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ / เทคโนโลยีขั้นสูงด้านสุขภาพสัตว์ / อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ / เภสัชกรรม กระบวนการผลิตภัณฑ์ยาสำหรับสัตว์และสัตวแพทยศาสตร์ ฯลฯ
  • รวมสุดยอดแบรนด์ชั้นนำจากนานาชาติไว้ในที่เดียว อาทิ
  •   

    China Animal Husbandry Industry Co., Ltd. (China), Amorvet, Aniamor Nutrition, BiomiXin, Buhler, Catalysis S.L., Daesung Microbiological Labs Co., Ltd., EW Nutrition Pacific Pte. Ltd., Famsun , Green Cross Veterinary Product Co., Ltd., Huali, Intracare B.V., Korea Thumvet Co., Ltd., Median Diagnostics, MK Bio Science Co., Ltd., Solton Biochem Inc., Union Pharma Lab Pvt. Ltd., Vetnostrum Animal Health Co., Ltd., Yantai Oriental Protein Tech Co., Ltd., Zoeuticals LLC และอีกมากมาย

    ค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่จากหน่วยงานสมาคมทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อหาคู่ค้าให้ตรงความต้องการ อาทิ Korea Animal Health Products Association (KAHPA) and Korea Feed Ingredients Association (KFIA), Animal Health Products Association (AHPA), Thailand, Faculty of Veterinary Medicine (KU), Federation of Asian Veterinary Association (FAVA), National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS), National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Thai Society of Animal Nutrition ฯลฯ เช็ครายชื่อผู้ประกอบการได้ที่ https://www.viv.net/events/38a3a1c4-a91d-4c15-a586-4475e6e375d1?tab=companies

     

    • เต็มอิ่มไปกับงานประชุม งานสัมมนา งาน Networking และงาน Business Pitching มากกว่า 50+ หัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ

    12 มีนาคม 2567

    – Experience in Conducting Research on Thai Herbal Medicine Trials in the Swine Industry- By LiLy FoodAnSci Ltd

    – Probiotics, Prebiotics and Beyond as Substitutes of Antibiotics – By: AFOB and TSB

    – FAVA’s One Health Approach on Sustainable Food Security in Asia Pacific – By: FAVA-TVMA

    – Healthier Farms for Healthier Futures: Towards a More Resilient Livestock Value Chain – By: FAO

    – TCA-NSI, an Ideal Quality Indicator of Fermented Soybean Meal – By: DaBomb Protein Biotech Corp

    13 มีนาคม 2567

    – Introducing Axxess XY: Full Flexibility for Feed Performance – By EW Nutrition

    – The Most Accurate, Portable, and Cost-Effective NIR Spectrometer Solutions – The All-In-One Platform For All Feed Mills

    – Climate Journey: Steering Collaborative Change along the Animal Protein Value Chain – By: UOB

    – Build My Feedmill Conference – By: Perendale Publishers Ltd.

    – Insects for Health and Nutrition: Updates from the Asian Industry by Asian Food and Feed Insect Association (AFFIA)

    – Feed Strategy Seminar: Sustainable Feed, Nutrition Solutions to Support Antibiotic Reductions – By: WATT Global Media

    14 มีนาคม 2567

    – Health and Nutrition Asia 2024 Start-Up Pitching by VNU-KUVA

    ** สำรวจตารางงานสัมมนาเพื่อจับจองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ https://vivhealthandnutrition.nl/visit/conference-program **

    ห้ามพลาดโอกาสที่จะอัปเดตความรู้และเทรนด์ที่สำคัญของอุตสาหกรรม

    ลงทะเบียนเข้าชมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ https://www.databadge.net/viah2024/reg/?card=10010382  และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://vivhealthandnutrition.nl / โทร. 02-1116611 ต่อ 330/335 แล้วพบกันที่งาน Health & Nutrition Asia 2024 | 12-14 มีนาคม 2567 ณ EH 100-102 BITEC กรุงเทพฯ จัดโดย VNU Asia Pacific#VIV

    สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) จัดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองจากภาครัฐและเอกชน ผ่านการเสวนาเชิงวิชาการ “ความมั่นคงทางอาหารในบริบทการค้าไทย”

              เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย สำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กรมการค้าต่างประเทศ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จัดการเสวนาเชิงวิชาการ เรื่อง “ความมั่นคงทางอาหารในบริบทการค้าไทย” (Food Security in the Context of Thai Trade) ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท

              ในงานเสวนานี้ ได้รับเกียรติจาก คุณสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนา และดร.ชุมเจธว์ กาญจนเกษร ผู้จัดการทั่วไป สำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve; APTERR) บรรยายพิเศษ เรื่อง “สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน” ซึ่งจากข้อมูลของ 5 สินค้าเกษตร (Commodities) หลัก อันได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด ที่ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการนำเข้าและส่งออกภายในภูมิภาคอาเซียน พบว่าสินค้าที่มีบทบาทมากที่สุดอย่าง “ข้าว” ของประเทศไทยนั้นมีปริมาณการผลิต 22 ล้านตัน (ข้อมูลถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566) ซึ่งเป็นอันดับที่ 3 รองจากประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ตามลำดับ โดยมีปริมาณการส่งออกกว่า 8 ล้านตัน น้อยกว่าประเทศเวียดนามเพียง 3 แสนตัน

     

              นอกจากนี้ในช่วงเช้ายังมีการร่วมเสวนาโดย คุณธรรศ ทังสมบัติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และคุณกนกวรรณ ขับนบ หัวหน้างานสนับสนุนทุนวิจัยด้านอาหาร สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ในหัวข้อ “ความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหารในมุมมองของอาหารอนาคตไทย” ซึ่งพบว่า แม้ประเทศไทยจะมีความพร้อมในภาคการเกษตรสูง แต่การขับเคลื่อนอาหารอนาคตไทยสู่ความสำเร็จนั้นยังต้องอาศัยความร่วมและการพัฒนาในทุกภาคส่วน ทั้งการเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกษตรกรสามารถนำมาใช้ได้จริง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ปรับตัวทันตามความต้องการของตลาด การสร้างความตระหนักรู้และสื่อสารกับผู้บริโภค ตลอดจนการผลักดันผลงานวิจัยต่างๆ ไปสู่การจำหน่ายในท้องตลาด

     

              ทั้งนี้ ด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการส่งออก อาทิ กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศคู่ค้าที่กำลังชะลอตัว การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิกฤตราคาอาหารแพง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ตลอดจนนโยบายป้องกันตัวเองของหลายประเทศ ที่ “จำกัด-ห้าม” ส่งออกอาหารบางชนิดเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และช่วงบ่ายได้มีการเสวนาในหัวข้อ “ถกแถลงแนวทางการส่งออกสินค้าอาหารในภาวะวิกฤต” โดยได้รับเกียรติจาก คุณอรรัตน์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการกองบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ คุณหิรัญญา สระสม ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คุณสุกัญญา ใจชื่น กรรมการสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคุณวิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เพื่อแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับแนวทางในการบริหารจัดการด้านต่างๆ หากประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวมากขึ้น

     

     

     

     

    LAB Future & BIO Expo 2024 ขับเคลื่อนไบโอเทค การแพทย์อีสาน โชว์นวัตกรรมเครื่องมือแล็บจากทั่วโลก สร้างเศรษฐกิจมูลค่าสูงรับ NeEC

              เมื่อเร็วๆ นี้ ขอนแก่นอินโนเวชั่นเซ็นเตอร์ โดยบริษัท แอดลิบ แมเนจเม้นท์ จํากัด และโกลว์ฟิช ขอนแก่น ร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หอการค้าจังหวัดขอนแก่น ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล (ศูนย์ขอนแก่น) มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวเตรียมการจัดงาน LAB Future & BIO Expo ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนเเก่น (ไคซ์) ภายใต้แนวคิด พลิกอีสานสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูง โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน มากกว่า 3,500 คน และการเจรจาธุรกิจมูลค่ามากกว่า 350 ล้านบาท

     

              ภายในงานแถลงข่าว คุณธีรยุทธ์ ลีลาขจรกิจ ผู้อํานวยการ บริษัท แอดลิบ แมเนจเม้นท์ จํากัด และโกลว์ฟิช ขอนแก่น ได้กล่าวว่า ภาคอีสาน เป็นภาคที่มีอัตราการขยายตัวของตลาดเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีมูลค่าการตลาดรวมเฉลี่ยกว่า 30,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจระหว่างระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor หรือ NeEC) และเขตเศรษฐกิจในประเทศลุ่มนํ้าโขง (Greater Mekong Sub region; GMS) โดยเฉพาะเขต NeEC 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินการลงทุนเข้ามาสูงสุดในภาคอีสาน และส่งผลให้เกิดการลงทุนห้องปฏิบัติการและงานวิจัยต่างๆ รวมทั้งศูนย์การแพทย์ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ ศูนย์นําเข้าและส่งออก ศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ฯลฯ

              ด้วยเหตุนี้เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของภาคอีสานในอนาคต งาน LAB Future & BIO Expo 2024 จึงได้รวบรวมผู้ผลิตและผู้จัดจําหน่ายเครื่องมือห้องปฏิบัติการทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแสดงกว่า 80 บริษัท พร้อมงานประชุมต่างๆ อาทิ งานประชุมนานาชาติไบโอเทคอีสาน หรือ ISAN BIOTECH Conference 2024 การประชุมด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาทิ ISAN Health & Medical Conference และ การประชุมด้าน Phenomics Conference นอกจากนี้ ภายในงาน ยังได้จัดให้มี ISAN Innovation Pavilion รวบรวมนวัตกรรมของผู้ประกอบการภาคอีสานและNeEC ที่พร้อมต่อยอดและลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนามาจัดแสดงในงานด้วย

     

              คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อํานวยการศูนย์นวัตกรรมเเละการวิจัยมิตรผล (ศูนย์ขอนแก่น) กล่าวว่า ภาคอีสานเป็นทั้งพื้นที่ของผู้พัฒนาและผู้ใช้นวัตกรรมในขณะเดียวกัน โดยมีความตื่นตัวของการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของตนมาได้นานสักระยะหนึ่งแล้ว โดยหลายธุรกิจได้แสวงหาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผลที่ขอนแก่น เพื่อพัฒนางานวิจัยต่อยอดธุรกิจร่วมกัน นอกจากนี้ โอกาสความพร้อมของอุตสาหกรรมด้าน Bio-based ในภาคอีสาน ที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงได้ อาทิ Food, Feed, Fuel, Pharma และ Digital จึงรู้สึกยินดีมากที่การจัดงาน LAB Future & BIO Expo 2024 จะได้มี ISAN Innovation Pavilion ที่เป็นทั้งผู้แสดงและผู้ซื้อเทคโนโลยีและเครื่องมือเพื่อไปพัฒนาธุรกิจของตนต่อไป

     

              สําหรับการพัฒนาและโอกาสการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของอีสาน รศ.ดร.ประสงค์ แคนํ้า กรรมการสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มิติทางด้านสุขภาพ ถือเป็นพื้นฐานของการขับเคลื่อนในมิติอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเข้าสู่ยุคประเทศไทย ๔.๐ ได้อย่างมีแบบแผน โดยเฉพาะองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ที่มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการให้ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ แก่แพทย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัย ติดตามรักษา หรือควบคุมโรคต่างๆ ตลอดจนการดูแลสุขภาพ ให้มีความแม่นยําและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ เปิดช่องทางธุรกิจและสร้างความพร้อม ผนึกกําลังส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน การเข้าร่วมจัดสัมมนาในงาน LAB Future & BIO Expo 2024 จึงเป็นต่อยอดองค์ความรู้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์กับภาคีเครือข่ายภาคอีสานได้เป็นอย่างดี

     

              สําหรับแนวโน้มและความพร้อมของภาคอีสานต่อการพัฒนาไบโอเทคนั้น รศ.ดร.ประกิต สุขใย อุปนายก
    สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อีสานสามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านไบโอเทคด้านอาหารและเกษตรของประเทศได้ ด้วยศักยภาพการเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เช่น ข้าว นํ้าตาล มันสําปะหลัง ตลอดจนงานวิจัยด้านไบโอเทคที่มีอยู่จํานวนมากในภาคอีสาน โดยมองว่าการเชื่อมต่อกับกลุ่มประเทศลุ่มนํ้าโขงที่เป็นแหล่งวัตถุดิบดิานการเกษตรเช่นเดียวกัน จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านไบโอเทคที่จะมีส่วนเสริมธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอีสานให้มีมูลค่าสูงขึ้นได้ ทั้งนี้ สมาคมเทคโนยีชีวภาพแห่งประเทศไทย จึงได้จัดประชุม ISAN Biotech Conference ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน BIO Expo 2024 ในครั้งนี้

     

              ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าเยี่ยมชมงาน LAB Future & BIO Expo 2024 ในวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนเเก่น (ไคซ์)  ล่วงหน้าได้ที่ https://www.labfutureexpo.com/

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท แอดลิบ แมเนจเม้นท์ จํากัด คุณกมลแก้ว ศรีนวล โทร 091 445 3116 หรือ Kamonkaeo@glowfishevents.com