สภาหอการค้าฯ-สภาอุตสาหกรรมฯ-สถาบันอาหาร ชี้ส่งออกอาหารปี 2562 เผชิญปัจจัยเสี่ยง ลุ้นโตตามเป้า 8.5%

 

กรุงเทพฯ – การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร โดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร เผยข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 มีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้รายละเอียดสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center โดยมีสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่า การส่งออกอาหารของไทยปี 2561 มีมูลค่า 1,031,956 ล้านบาท หรือมูลค่า 32,190 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 385,499 ล้านบาท หรือมูลค่า 11,937 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 6.2 ในรูปเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

สินค้าส่งออกอันดับ 1 ยังคงเป็นข้าว มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 17.5 มูลค่าส่งออก 180,116 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ไก่ ร้อยละ 10.7 มูลค่าส่งออก 110,116 ล้านบาท อันดับที่ 3 ถึงอันดับที่ 5 คือ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง สัดส่วน ร้อยละ 8.5, 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ กลุ่มสินค้าหลักที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 มีจำนวน 7 สินค้า ได้แก่ ข้าว (+8.0%) ไก่ (+13.4%) ปลาทูน่าปรุงแต่ง (+9.5%) แป้งมันสำปะหลัง (+33.1%) เครื่องปรุงรส (+12.5%) มะพร้าว (+19.7%) และอาหารพร้อมรับประทาน (+10.6) ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง จำนวน 3 สินค้า ได้แก่ น้ำตาลทราย (-3.0%) กุ้ง (-12.7%) และสับปะรด (-27.8%)

โดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอาหารของไทยอันดับที่ 1 รองลงมา ได้แก่ จีน (อันดับ 2) เวียดนาม (อันดับ 4), อินโดนีเซีย (อันดับ 5) เมียนมา (อันดับ 6) กัมพูชา (อันดับ 7) มาเลเซีย (อันดับ 8) และฟิลิปปินส์ (อันดับ 9) จะเห็นได้ว่าตลาดอาหารสำคัญของไทย 6 ใน 8 ประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน แต่หากพิจารณาในกลุ่มภูมิภาค จะพบว่าอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าส่งออก 293,172 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 28.4 ของมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ร้อยละ 11.8 อันดับ 3 แอฟริการ้อยละ 9.1 อันดับ 4 สหภาพยุโรป ร้อยละ 8.9 และอันดับ 5 โอเชียเนีย ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ หากคิดเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC Country 57 ประเทศ) พบว่า มีมูลค่าส่งออก 180,777 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 17.6

“ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก ปรับตัวดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 14 ของโลกในปี 2560 โดยพิจารณาจากมูลค่าส่งออกอาหารในรูปดอลลาร์ พบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.36 จากร้อยละ 2.34 ในปีก่อนหน้า ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และจีน ต่างมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลง ส่วนประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญในภูมิภาคอย่างอินเดียและเวียดนาม ต่างก็มีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลงเช่นกัน โดยอินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 13 ของโลก ตกลงมา 2 อันดับ ขณะที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 17 ของโลกดีขึ้น 1 อันดับ”

นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปี 2562 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,120,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากปี 2561 กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมีจำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ ไก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง กุ้ง มันสำปะหลัง เครื่องปรุงรส มะพร้าว สับปะรด และอาหารพร้อมรับประทาน ส่วนกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว และน้ำตาลทราย โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง

สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2562 ได้แก่ 1) การปลดล็อคใบเหลืองประมงไทยของสหภาพยุโรป ที่ทำให้ประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าประมงไทยมากขึ้น 2) สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV ที่สินค้าไทยครองตลาดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50-60 รวมทั้งตลาดอาเซียนเดิมที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าจำพวกข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป รวมทั้งอาหารฮาลาล 3) ราคาพลังงานอยู่ในระดับต่ำ และมีเสถียรภาพ 4) การเมืองไทยมีความชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน

“ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบ ได้แก่ 1) ความผันผวนการเมืองระหว่างประเทศ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้า ส่งกระทบทางอ้อมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อการจับจ่ายใช้สอยลดลงตามไปด้วย 2) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวตามทิศทางดอกเบี้ย Fed Fund rate ของสหรัฐอเมริกา 3)การแข็งค่าของเงินบาท กระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นตลาดต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา รวมถึงรายได้ที่แปลงกลับมาเป็นเงินบาทจะลดลง ทำให้ราคาสินค้าวัตถุดิบการเกษตรลดลงตามไปด้วย 4) รายได้ผู้บริโภคลดลงตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจ และ 5)สหรัฐอเมริกาตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย 11 รายการ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่สินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าวมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 ในตลาดสหรัฐอเมริกา โดย 6 ใน 11 รายการ อยู่ในกลุ่มสินค้าอาหาร ประกอบด้วยทุเรียนสด มะละกอตากแห้ง มะละกอแปรรูป มะขามตากแห้ง ข้าวโพดปรุงแต่ง และผลไม้/ถั่วแช่อิ่ม”

มาเลเซียยกเลิกการผูกขาดการนำเข้าน้ำตาลทราย

กรุงกัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย, 28 มกราคม 2562

นางสาวพัดชา วุฒิพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เปิดเผยว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค (Mr. Chong Chieng Jen) ได้ออกแถลงการรัฐบาลมาเลเซียได้ยกเลิการผูกขาดการนำเข้าน้ำตาลทราย โดยผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มมาเลเซียสามารถยื่นคำขออนุญาตนำเข้าน้ำตาลได้โดยใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งมีผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในรัฐซาราวักได้รับอนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว แสดงให้เห็นความพยายามของรัฐบาลในการยกเลิกการผูกขาดในหลายอุตสาหกรรม เพราะรัฐบาลมองว่าการผูกขาดเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายเปิดเสรีนี้จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ โดยเฉพาะในรัฐซาบาห์และซาราวักซึ่งสามารถที่จะนำเข้าน้ำตาลทรายได้โดยตรงในราคาที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่านมาซึ่งมีเพียง 2 บริษัทในมาเลเซียฝั่งตะวันตกที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลดิบมาเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลทราย ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องซื้อน้ำตาลทรายในราคากิโลกรัมละ 2.8 ริงกิตจากบริษัทในมาเลเซียฝั่งตะวันตกซึ่งมีใบอนุญาตนำเข้า แต่ปัจจุบันสามารถซื้อน้ำตาลทรายจากต่างประเทศไดในราคาต่ำกว่า 2 ริงกิต ต่อกิโลกรัม

นอกจากนี้ นโบยายดังกล่าวยังแสดงถึงความพยายามของภาครัฐในการลดค่าครองชีพของประชาชนอีกด้วย โดยคาดว่าหากผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถลดต้นทุนการผลิตก็จะสามารถลดราคาสินค้าลงได้ด้วยทั้งนี้ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในรัฐซาบาห์และซาราวักมีความต้องการใช้น้ำตาลทรายประมาณ 100 – 200 ตันต่อปี ในขณะที่ตัวเลขการบริโภคน้ำตาลของมาเลเซียทั้งหมดอยู่ที่ 1.3 ล้านตันต่อปี

นางสาวพัดชา กล่าวเสริมอยากเชิญชวนผู้ผลิต/ส่งออกน้ำตาลของไทยพิจารณาตลาดมาเลเซียเป็นอีกทางเลือกในการส่งออกน้ำตาลนอกเหนือจากตลาดเดิมที่มีอยู่แล้ว

www.ditp.go.th

See What’s New in the Star Items

 

พบกับผลิตภัณฑ์ดาวเด่น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนผสมอาหาร และอื่นๆ

ที่น่าสนใจ…ได้ที่นี่  CLICK

Recycled PET (rPET) Bottles to Achieve Sustainable Plastic Waste Management

ขวดพลาสติกรีไซเคิล อีกหนึ่งแนวทางเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน

Compiled By: กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

ในปี 2560 ประเทศไทยผลิตขวดพลาสติกออกสู่ตลาดในประเทศมากกว่า 185,000 ตัน และมีเพียงไม่ถึงครึ่งที่ถูกจัดเก็บ และนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม ส่วนขวดพลาสติกที่เหลือเกือบ 100,000 ตัน ต้องถูกนำไปฝังกลบ และบางส่วนก็เล็ดรอดออกสู่ทะเลกลายเป็นขยะทางทะเล สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างในระดับโลก

หลายประเทศตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงหันมาส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 28 ประเทศ ให้การยอมรับการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แสดงให้เห็นว่าเม็ดพลาสติกรีไซเคิลได้มาตรฐานและปลอดภัยที่จะนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร โดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีอัตราการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุดในสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 94 ส่วนในเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการนำพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุดถึงร้อยละ 83

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย และกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาในประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศความร่วมมือเพื่อผลักดันให้มีการนำขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ Recycled PET (rPET) มาใช้ เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ (Virgin plastic) โดยจะร่วมกันสร้างความเข้าใจถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลที่ทันสมัยซึ่งทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีความสะอาดและปลอดภัย พร้อมเร่งให้ข้อมูลและสร้างความเชื่อมั่นกับภาครัฐ เพื่อปลดล็อคกฎหมายที่ยังห้ามใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยเชื่อว่าหากดำเนินการสำเร็จจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก และยังสอดคล้องกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของทั้งสามองค์กร

In 2017, 185,000 tons of PET beverage bottles made from virgin plastic were supplied to the Thai market and less than half of these bottles were collected and taken for recycling, with almost 100,000 tons going to the landfill, with the rest finding its way into the ocean, creating environmental issues at the global level.

With an increasing number of countries now aware of the issue of plastic waste, support for the use of plastic packaging that can be recycled is growing, notably in Japan and the European Union (EU). All 28 EU member countries currently recycle post-consumer PET packaging to produce primary food contact recycled PET packaging, which proves that the use of recycled PET is safe for consumption. Germany leads the EU with a PET bottle recycling rate of 94%, while in Asia, Japan leads the recycling rate with 83%.

Thai Beverage Industry Association, The Coca-Cola system in Thailand and Indorama Ventures Public Company Limited have announced their collaboration to encourage the use of recyclable PET (rPET) in beverage packaging to help reduce the amount of virgin plastic used. The partnership aims to create a better understanding of recycling innovations and technology that provides hygienic and safe recycled PET for food and beverage packaging. At the same time correct information is being disseminated to help build confidence among the government sector and encouraging it to legalize the use of recycled PET in food and beverage packaging. It is believed that the eventual success of this project will help reduce plastic waste and ease the global environmental issues. This project is also consistent with the three organizations’ commitment to social responsibility and promoting a sustainable environment.

 

Japanese Millionaires: New Marketing Opportunity

เศรษฐีญี่ปุ่น: โอกาสใหม่ทางการตลาด

By: ดร.ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ
Paisan Maraprygsavan, Ph.D.
Director
Industrial and Service Trade Research Division
Trade Policy and Strategy Office
Ministry of Commerce
paisan711@gmail.com

Full article TH-EN

ญี่ปุ่นมีประชากรมากกว่า 126.67 ล้านคน มีคนชั้นกลางราว 100 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์คนรวยขยายตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดให้กับสินค้าและบริการหลากหลายมากขึ้น อาทิ อาหาร การท่องเที่ยว และเครื่องประดับ

บริษัทวิจัย Nomura Research Institute, Ltd. (NRI) เปิดเผยผลสำรวจมูลค่าทรัพย์สิน (เงินฝาก หุ้น พันธบัตร เงินประกันชีวิต เป็นต้น) ของคนญี่ปุ่นประจำปี 2558 พบว่าเศรษฐีญี่ปุ่น (กลุ่มมหาเศรษฐีและกลุ่มอภิมหาเศรษฐี) มีจำนวนรวมกันกว่า 1,217,000 ครัวเรือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.85 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556) มีทรัพย์สินรวมกันมูลค่ากว่า 272 ล้านล้านเยน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.86 เมื่อเทียบกับปี 2556) คนรวยส่วนใหญ่อยู่ในเมือง โดยผู้มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงที่สุด 5 อันดับแรกอาศัยอยู่ในจังหวัดคานากาวะ กรุงโตเกียว จังหวัดโทยามะ จังหวัดฟุคุอิ และจังหวัดชิบะ

Japan has a population of more than 126.67 million people, and among this, 100 million are middle class. However, a new phenomenon shows the growing number of rich populations, which provides new market opportunities for goods and services including food, tourism, and jewelry.

Nomura Research Institute, Ltd. (NRI) revealed the values of assets (savings, stocks, bonds, insurances, etc.) of Japanese in 2015 that there are more than 1,217,000 households of Japanese millionaires (billionaire and multi-millionaires) in Japan (increasing 20.85% from 2013), who hold combined asset of more than 272 trillion yen (rising 12.86% compare to 2013). Most of these millionaires reside in the cities and the top 5 prefectures with the highest income are Kanagawa, Tokyo, Toyama, Fukui, and Chiba.

Logistic & Material Flow

โลจิสติกส์และทิศทางการไหลของผลิตภัณฑ์ในระบบ

Mettler-Toledo (Thailand) Limited
MT-TH.CustomerSupport@mt.com

Full article TH-EN

เป้าหมายของโลจิสติกส์ นั้นคือการ ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาขนส่ง และลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างขนส่ง โดยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขนส่ง หากพูดถึงการขนส่งในอุตสาหกรรมอาหารโดยส่วนใหญ่แล้วเราจะนึกถึงเครื่องชั่งรถบรรทุกสำหรับการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ แต่ในบทความนี้จะขยายให้เห็นการชั่งแบบอื่นๆ ในแต่ละจุดสำคัญที่ทำให้การขนส่งสินค้าเป็นไปได้ตรงตามเป้าหมาย

จุดรับสินค้า
เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เรารับสินค้าได้ถูกต้องแม่นยำ ส่วนใหญ่เราจะเชื่อมั่นว่าสินค้าที่ถูกส่งมาจากซัพพลายเออร์มีความถูกต้องทำให้ไม่มีการตรวจสอบตอนรับเข้า ซึ่งจุดนี้เองอาจทำให้จำนวนสินค้าผิดพลาดได้ จึงควรเพิ่มเครื่องชั่งน้ำหนักที่ได้มาตรฐานเพื่อการตรวจสอบให้ถูกต้องในจุดดังกล่าว

เครื่องชั่งตั้งพื้น พิกัดตั้งแต่ 600-1500 kg (Floor scale) คือเครื่องมือหนึ่งที่สามารถเข้ามาช่วยในจุดนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ ความถูกต้องจะเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต การรับสินค้าเข้าตรงตามจำนวนที่ต้องการ ตรวจสอบย้อนกลับทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
ในส่วนเทคโนโลยีของเครื่องชั่งตั้งพื้นรุ่นใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน นั้นผูผลิตเครื่องชั่งมักจะออกแบบให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ผู้ใช้สามารถยกเครื่องชั่งฉีดล้างทำความสะอาดได้ ซึ่งเครื่องชั่งตั้งพื้นแบบเก่าจะยากต่อการยกล้างทำความสะอาด ซึ่งอาจเกิดการหมักหมมของเศษวัตถุดิบต่างๆได้ในกรณีที่ทำความสะอาดไม่ทั่วถึง รวมทั้งทางลาด (Ramp) ในปัจจุบันก็จะมีระยะสั้นเนื่องจากเครื่องชั่งตั้งพื้นมีความสูงเพียง 6 ซม.เท่านั้น ง่ายต่อการเข็นสินค้าขึ้น ส่งผลให้การรับสินค้าในแต่ละรอบทำได้รวดเร็ว
นอกจากนี้ ผู้ผลิตชั้นนำมักจะติดตั้ง หน้าจอแสดงผลที่ทำงานได้หลากหลายฟังก์ชัน ซึ่งต่างจากเดิมที่สามารถดูได้แค่ค่าน้ำหนักเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เทคโนโลยีของหน้าจอรุ่นใหม่จึงมักจะสามารถเก็บค่าน้ำหนักไว้ที่หน้าจอได้ ทำให้ลดขั้นตอนในการจดบันทึกโดยพนักงาน ข้อมูลการชั่งมีความถูกต้อง หรือสามารถส่งค่าน้ำหนักที่บันทึกได้เข้าซอฟต์แวร์ เพื่อสามารถดูผลลัพธ์ของการรับของเข้าได้แบบ Real-time ทั้งผู้รับและผู้ส่งสินค้าจะเห็นน้ำหนักรวมได้ทันทีหลังจากที่ส่งของชิ้นสุดท้ายเสร็จ ส่งผลให้บริหารจัดการสินค้าได้ง่ายขึ้น

The goal of logistics is to reduce costs, reduce transportation time and reduce problems that may occur during transportation by providing maximum efficiency in logistic. If talking about logistic in the food industry, most will think of weigh-truck for the logistic of goods or raw materials. Yet, for this article will also mention about other types of scale that makes logistic meet its goal, as follows

Pick-up Point
How can we be confident that we receive the right product? In most cases, we are confident that the product delivered from the supplier is accurate, thus we did not check the product when it was delivered. At this point, it may result in missing of amount of the products. Therefore, enterprises should put a standard weighing machine for checking at this point.

Floor scales, rated from 600-1500 kg is one of an important tool for the pick-up point. Accuracy starts since the beginning of the production process. Receiving goods at the desired amount, traceability is simple and accurate.

For the technology of modern floor scales for the food industry, the scales are designed for an easy cleaning. Scales can be lifted, washed, and cleaned. The old floor scales are difficult to lift, wash, and clean. This may cause accumulated piles of various raw materials if it did not thoroughly clean. A modern floor scale has a short ramp as it is only 6 cm height, so it is easy for carrying on products, resulting in fast delivery for each round.

Moreover, a screen for displaying weight is more modern. Previously, we can only see the weight figure, a new generation screen technology can store the weight data, help reducing the process of taking notes by employees. The weighing data is accurate. Also, we can send the recorded weight to the software in order to see the results of goods delivering in real time. Both the recipient and the shipper will see the total weight immediately after the final shipment is completed, resulting in easier product management.

Starbucks Plus Alibaba…to Transform the Customer Experience in the Coffee Industry in China

Starbucks จับมือ Alibaba เปลี่ยนประสบการณ์คอกาแฟในประเทศจีน

Businesswire
Translated By: Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับทั้งสอง บริษัท Starbucks และ Alibaba ที่พร้อมจะสร้างประสบการณ์การให้บริการอันแสนอภิรมย์และราบรื่นที่ Starbucks ผ่านการสานความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

กลยุทธ์ล้ำลึก “New Retail” จาก Starbucks Coffee Company (“Starbucks”) (NASDAQ: SBUX) และ Alibaba Group Holding Ltd. จำกัด (“Alibaba”) (NYSE: BABA) ซึ่งเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยครั้งนี้ จะช่วยให้ประสบการณ์ Starbucks Experience มีความราบรื่นมากขึ้น และช่วยเปลี่ยนแปลงพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศจีน ทั้งนี้ โดยการใช้ความร่วมมือกันระหว่างธุรกิจสำคัญๆ ในระบบนิเวศของอาลีบาบา ได้แก่ Ele.me, Hema, T-mall, Taobao และ Alipay นอกจากนี้ Starbucks ได้ประกาศแผนการนำร่องในการให้บริการจัดส่งสินค้าตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2561 ผ่าน “Starbucks Delivery Kitchens” ที่จะสร้างความสำเร็จในการจัดส่งสินค้าโดยการรวมระบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างร้าน Starbucks เสมือนจริง (Virtual Starbucks) แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเป็นประสบการณ์ Starbucks Experience ออนไลน์ที่ไม่มีใครเทียบได้ สำหรับลูกค้าชาวจีน และที่เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้นกว่าเดิม

การร่วมมือของสองยักษ์ใหญ่ครั้งนี้นับเป็นการนำจุดแข็งด้านการค้าปลีกและเทคโนโลยีที่พิเศษของสองบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกมารวมกันเพื่อปฏิวัติประสบการณ์ของลูกค้า การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศของอาลีบาบาและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในการขายปลีกจะช่วยให้ Starbucks สามารถให้ประสบการณ์ Starbucks Experience อย่างราบรื่นระหว่างร้านค้ากับลูกค้าออนไลน์

Marking a significant milestone for the two companies, Starbucks and Alibaba poised to enable a seamless Starbucks Experience through deepened partnership.

A deep, strategic “New Retail” partnership from Starbucks Coffee Company (“Starbucks”) (NASDAQ: SBUX) and Alibaba Group Holding Ltd. (“Alibaba”) (NYSE: BABA) will enable a seamless Starbucks Experience and transform the coffee industry in China. Collaborating across key businesses within the Alibaba ecosystem, including Ele.me, Hema, T-mall, Taobao and Alipay, Starbucks announced plans to pilot delivery services beginning September 2018, establish “Starbucks Delivery Kitchens” for delivery order fulfillment and integrate multiple platforms to co-create an unprecedented virtual Starbucks store – an unparalleled and even more personalized online Starbucks Experience for Chinese customers.

The collaboration marks a historic moment as two iconic, global companies build on their distinct retail and technology strengths to revolutionize the customer experience. Leveraging the Alibaba ecosystem and New Retail infrastructure, Starbucks will be able to further unify a seamless Starbucks Experience between its stores and online for customers.

Food Safety Testing Market Overview

ภาพรวมตลาดด้านการทดสอบความปลอดภัยอาหารทั่วโลก

By: Allied Market Research
Translated by: กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

Allied Market Research เปิดเผยตลาดการทดสอบความปลอดภัยอาหารประเภทการตรวจสอบการปนเปื้อน ประเภทอาหารที่มีการทดสอบ และเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการทดสอบ: วิเคราะห์โอกาสการเติบโตในทั่วโลกและคาดการณ์อุตสาหกรรมปี 2561-2568 โดยพบว่าในปี 2560 การทดสอบความปลอดภัยอาหารทั่วโลกมีมูลค่าตลาด 13,144 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 23,204 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.3 ตั้งแต่ปี 2561-2568 นอกจากนี้ใน 2560 นั้นยังพบว่ากลุ่มเทคโนโลยีการทดสอบทางปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งตลาดการทดสอบความปลอดภัยอาหารทั้งหมด

การทดสอบความปลอดภัยอาหาร หมายถึงการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อหาสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรค สารเคมี และสิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยทั่วไปจะมีเป้าหมายของการตรวจหาสิ่งที่ปนเปื้อนในอาหารเบื้องต้น 3 แบบ คือ เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค สารเคมี และสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)

“ในปี 2560 การทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคนั้นครองส่วนแบ่งตลาดด้านการทดสอบความปลอดภัยอาหารทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะรักษาความเป็นผู้นำไว้ได้ตลอดช่วงเวลาคาดการณ์ตั้งแต่ปี 2561-2568”

“การทดสอบความปลอดภัยอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในปี 2560 และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่เป็นกำไรอยู่ที่ร้อยละ 7.4 ในช่วงตั้งแต่ปี 2561-2568”

“การทดสอบความปลอดภัยอาหารในกลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ คาดว่าจะมีมีมูลค่าการเติบโตเฉลี่ยที่รวดเร็วที่สุดร้อยละ 7.9 ในปี 2561-2568”

“ด้านเทคโนลยีการตรวจสอบ เทคนิค PCR ครองตลาดการทดสอบด้านความปลอดภัยอาหารสูงสุดในปี 2560 และคาดว่าจะมีมูลค่าการเติบโตโดยเฉลี่ยสูงที่สุดที่ร้อยละ 7.7 ในระหว่างการคาดการณ์ตั้งแต่ปี 2561-2568”

“ปี 2560 ภูมิภาคอเมริกาเหนือเป็นผู้นำตลาดด้านการทดสอบความปลอดภัยอาหารทั่วโลก และในช่วงปี 2561-2568 อาจจะได้เห็นมูลค่าการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 6.3”

The global food safety testing market size was valued at $13,144 million in 2017, and is estimated to reach $23,204 million by 2025, registering a CAGR of 7.3% from 2018 to 2025.

According to a new report published by Allied Market Research, titled, Food Safety Testing Market by Contaminant, Food Tested, and Technology: Global Opportunity Analysis and Industry Forecast, 2018-2025, the global food safety testing market size was valued at $13,144 million in 2017, and is estimated to reach $23,204 million by 2025, registering a CAGR of 7.3% from 2018 to 2025. In 2017, the polymerase chain reaction (PCR) technology segment accounted nearly half of the total food safety testing market share.

Food safety testing refers to the inspection of food products for disease-causing organisms, chemicals, and other hazardous materials. It is generally targeted at three primary food contaminants namely, pathogens, chemicals, and genetically modified organisms (GMOs).

In 2017, the pathogen testing segment dominated the global food testing market, and it is likely to maintain its dominance over the forecast period.”

“The processed food segment dominated the global food testing market in 2017, and it is anticipated to grow at a lucrative CAGR of 7.4% during the forecast period, that is, 2018 to 2025.”

“การทดสอบความปลอดภัยอาหารในกลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ คาดว่าจะมีมีมูลค่าการเติบโตเฉลี่ยที่รวดเร็วที่สุดร้อยละ 7.9 ในปี 2561-2568”

“By technology, the PCR-based assay segment dominated the food testing market in 2017, and is anticipated to witness the highest CAGR of 7.7% during the forecast period, in terms of value.”

“North America led the global food safety testing market in 2017, and is anticipated to witness a CAGR of 6.3% during the forecast period, in terms of value.”

Emerging Technologies for the Extraction of Polyphenols from Natural Sources

เทคโนโลยีใหม่ในการสกัดสารพอลิฟีนอลจากแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติ

By: Richard G. Maroun
Nicolas Louka

Translated and Compiled By: กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN 

กระบวนการแปรรูปโดยใช้ความดันสูง
กระบวนการแปรรูปโดยใช้ความดันสูงเป็นเทคนิคการแปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน โดยเป็นการให้ความดันกับผลิตภัณฑ์ในช่วง 100-1,000 เมกะปาสกาล เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ โดยยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการหรือวิตามินในผลิตภัณฑ์เอาไว้ได้ (Shouqin et al., 2004)

เมื่อไม่นานมานี้ มีการนำเทคนิคดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืช ความดันสูงที่ใช้ทำให้เกิดปฏิกิริยา Deprotonation ของกลุ่มประจุ และทำให้พันธะของเกลือและพันธะไฮโดรโฟบิกซึ่งไม่ชอบน้ำเกิดการเสื่อมสภาพ ส่งผลให้โครงสร้างภายในเซลล์และคุณสมบัติการซึมผ่านได้ของเซลล์เมมเบรนเปลี่ยนแปลงไป สามารถเพิ่มอัตราการถ่ายเทมวลและมีผลปรับปรุงคุณสมบัติการแพร่ของเมทาบอไลท์ในการสกัดด้วยตัวทําละลาย (Torres and Velazquez, 2005)

การสกัดโดยใช้ความดันสูงถูกนำมาใช้เพื่อสกัดสารพอลิฟีนอลจากผลไม้ เช่น เนื้อเยื่อลำไย สารพอลิฟีนอลที่สกัดได้จะเพิ่มขึ้นจาก 16 เป็น 21 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง เมื่อมีการเพิ่มความดันจาก 200 เป็น 500 เมกะปาสกาล อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นจาก 2.5 นาที เป็น 30 นาที นั้นไม่ได้ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณของสารพอลิฟีนอลที่สกัดได้ที่ระดับความดันเดียวกัน (500 เมกะปาสกาล) (Prasad et al., 2009a) สำหรับรูปแบบการถ่ายเทความดันไปทั่วตัวอย่างนั้นเป็นรูปแบบเดียวกันและเป็นไปอย่างทันทีทันใด สมดุลความเข้มข้นของตัวทำละลายระหว่างในเซลล์และนอกเซลล์จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น (Torres and Velazquez, 2005) ซึ่งอธิบายได้ว่าการสกัดให้ได้ปริมาณสารพอลิฟีนอลที่สูงที่สุดนั้นจะเกิดขึ้นในช่วง 2 นาทีแรกของการสกัดโดยใช้ความดันสูง

High-pressure processing
High-pressure processing is a non-thermal food processing technique. It consists in treating food products at an elevated pressure between 100 and 1,000 MPa to inactivate microorganisms and extend the shelf life of the products without any degradation of nutrients or vitamins (Shouqin et al., 2004).

Recently, this technique is used to extract bioactive compounds from plant materials. High pressure can cause deprotonation of charged groups and disruption of salt bridges and hydrophobic bonds resulting in structural changes in cells and permeabilization of the cell membranes. It can enhance the mass transfer rate and improve the diffusivity of metabolites into the solvent extraction (Torres and Velazquez, 2005).

High-pressure extraction was used for the extraction of polyphenols from longan fruit pericarp. Polyphenol yields increased from 16 to 21 mg/g DW when increasing the pressure from 200 to 500 MPa. However, the increase of the treatment duration from 2.5 to 30 min did not improve the yields of polyphenols at a same pressure of 500 MPa (Prasad et al., 2009a). The transfer of pressure to the whole material is uniform and instantaneous. The equilibrium of solvent concentration between the inside and outside of the cells is reached in a short time (Torres and Velazquez, 2005). This explains the extraction of the highest yield of polyphenols during the first 2 minutes of the high-pressure extraction.