DITP แนะธุรกิจโลจิสติกส์เจาะลูกค้า B2C

7 ธันวาคม 2561

มูลค่า B2C ในธุรกิจ e-Commerce มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขนส่งสินค้าขนาดเล็กมีปริมาณเพิ่มขึ้น LSP ไทยควรขยายฐานธุรกิจเจาะตลาด B2C ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า เน้นสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และคุ้มค่า

นางสาวบรรจงจิตต์ อังสุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การขนส่งสินค้าขนาดเล็ก หรือพัสดุภัณฑ์มีแนวโน้มสูงขึ้นตามทิศทางการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยกลุ่มลูกค้าที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือกลุ่ม B2C เนื่องจากผู้ค้าจำนวนมากเป็นผู้ค้ารายย่อยที่ต้องการผู้บริหารจัดการสต็อกสินค้า การบรรจุหีบห่อและการจัดส่งหรือกระจายสินค้าในลักษณะของ e-Fulfillment ซึ่งประกอบด้วยการบริการพื้นที่จัดเก็บ (Storage service) บริการค้นหาสินค้าและบรรจุหีบห่อ (Pick & Pack service) รวมถึงบริการจัดส่ง (Delivery service) ระบบสารสนเทศ หรือ e-Logistics จึงมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในคลังสินค้าและการขนส่งสินค้า และสร้างความเชื่อมั่น (ความเชื่อถือ) กับทั้งผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อ ที่ต้องการตรวจสถานะการขนส่งสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หากทั้งผู้ขายสินค้าผู้ให้บริการโลจิสติกส์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า (ต้นทุน ยอดขาย ขนาดกล่องบรรจุ) รวมถึงต้นทุนการให้บริการ เพื่อร่วมกันคำนวณต้นทุนของทั้ง 2 ฝ่าย จะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และ สามารถพยากรณ์ต้นทุนและกำไรจากการขายได้อย่างแม่นยำ

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยควรรวมกลุ่มให้ครบทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน สามารถสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันในการขยายการให้บริการ หรือลงทุน IT ด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน หรืออาจร่วมธุรกิจกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ข้ามชาติ ในรูปแบบJoint Venture ซึ่งแม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะมีข้อได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อคำนวณต้นทุนและกำไรเมื่อจะลงทุนให้บริการในแต่ละประเทศแล้วพบว่าไม่คุ้มค่า จึงใช้วิธีจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในท้องถิ่นที่มีความชำนาญในแต่ละพื้นที่การจัดส่งสินค้าเป็นผู้ดำเนินงานแทน

ทั้งนี้จากรายงานของ EDTA อธิบายว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2559-2561) มูลค่า e-Commerce ในกลุ่มธุรกิจ B2C ขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 23.17 และคาดว่าในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 16.79 หรือคิดเป็นมูลค่า 949,121.61 ล้านบาท จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (LSPs) ที่จะเข้ามาให้บริการในตลาดนี้ นอกจากนี้ การมีคู่ค้า (Partner) ที่ดี จะช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ขายสินค้า ผู้ซื้อสินค้า ผู้ขนส่งสินค้า ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและเชื่อถือได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำมาใช้วางแผนบริหารจัดการธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม LSPs ไทยส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่ขนส่งสินค้าในปริมาณมาก หรือในลักษณะตู้คอนเทนเนอร์มากกว่าสินค้าปริมาณไม่เยอะหรือชิ้นเล็ก จึงทำให้ LSPs ต่างชาติเห็นช่องว่างในตลาดนี้ และเข้ามาให้บริการขนส่งสินค้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

โอกาสส่งออกเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบอาหารสู่ชิลี

กรุงซันติอาโก ประเทศชิลี, 4 ธันวาคม 2561

ทูตพาณิชย์ชิลี เผยร้านอาหารไทยสุดบูม ผู้บริโภคนิยม นักท่องเที่ยวชอบ เหตุรสชาติอร่อย ดีต่อสุขภาพ ใช้เครื่องปรุงสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีจำนวนร้านเปิดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ระบุส่งผลดีต่อการส่งออกเครื่องปรุงและวัตถุดิบอาหารของไทย “บรรจงจิตต์” สั่งการลงพื้นที่สำรวจคุณภาพ มาตรฐาน หากเข้าเกณฑ์ ดันรับตรา Thai Select เพื่อช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธ์

น.ส.จุฬาลักษณ์ เข็มทอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก ประเทศชิลี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจอาหารในชิลี ได้รายงานผลการสำรวจตลาดธุรกิจร้านอาหารในประเทศชิลี โดยพบว่ามีการขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะร้านอาหารประเภท Fast Food และร้านที่เปิดในลักษณะ Kiosk ที่ให้บริการส่งอาหารถึงบ้าน แต่ร้านที่เปิดเพิ่มในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากร้านข้างต้น ยังมีร้านอาหารนานาชาติที่เปิดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น ร้านอาหารเปรู ร้านอาหารโคลอมเบีย ร้านอาหารจีน ร้านอาหารญี่ปุ่น และร้านอาหารไทย

“จากการเข้าไปสอบถามเจ้าของร้านอาหารไทยในชิลี ได้ทราบข้อมูลว่าตอนนี้ร้านอาหารไทยมาแรง ปัจจุบันชาวชิลีรู้จักและให้ความสนใจในร้านอาหารไทยมากกว่าในอดีต เพราะเดิมเข้าใจว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่มีรสเผ็ดจัด จึงไม่กล้าที่จะลองรับประทาน แต่พอได้มาลิ้มลอง จึงมีความเข้าใจและนิยมบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับในชิลีมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปเที่ยวมากขึ้น และนักท่องเที่ยวเหล่านี้รู้จักอาหารไทยอยู่แล้ว จึงยิ่งทำให้มีการบริโภคอาหารไทยเพิ่มมากขึ้น”

นอกจากนี้ ยังมีนิตยสารหลายฉบับได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับอาหารไทย และมีรายการโทรทัศน์ของชิลีหลายรายการที่ได้เผยแพร่สารคดีท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งพิธีกรที่ดำเนินรายการได้กล่าวถึงอาหารไทยว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพ เพราะใช้เครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ก็ยิ่งทำให้คนชิลีนิยมรับประทานอาหารไทยเพิ่มขึ้น

เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างการรับรู้ให้กับอาหารไทย สำนักงานฯ ได้เดินหน้าจัดโครงการประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารไทยร่วมกับห้างสรรพสินค้าของชิลี และร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในชิลี จัดกิจกรรมเผยแพร่อาหารไทยอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งส่งผลให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในชิลี ทำให้ปัจจุบันมีธุรกิจร้านอาหารไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งการขยายสาขาของผู้ประกอบการรายเดิม และการเปิดสาขาเพิ่มของผู้ประกอบการรายใหม่ ทั้งนี้ ผลจากการที่มีจำนวนร้านอาหารไทยเพิ่มขึ้น ได้ส่งผลดีทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรุงรส และวัตถุดิบอาหารไทยเพิ่มขึ้น โดยผู้ส่งออกที่ต้องการขยายตลาดสินค้าในกลุ่มนี้เข้าสู่ตลาดชิลี สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานฯ ทางอีเมล์ thaitrade@ttcsantiago.cl

Taking Thai Taste Global

เผยรสชาติไทยแท้สู่ตลาดโลกผ่าน 2 ผลิตภัณฑ์รับเทรนด์สุขภาพ

นายภูมิกิจ วราห์สิทธินนท์ ประธานบริษัท แจ็คสันโกลบอล พาร์ทเนอร์ส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรกับ บริษัท สไตล์ บ๊อบ ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตกาแฟและผลิตภัณฑ์อาหารสไตล์บ๊อบ และ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือ บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักกรอบในรูปแบบขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ แบรนด์ Deedy ภายใต้โครงการ “Taking Thai Taste Global” เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของสองผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาและตลาดอื่นๆ ทั่วโลก โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย ยศสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมเป็นประธานภายในงาน

Mr. David Lee Jackson ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาดต่างประเทศ ของบริษัท แจ็คสัน โกลบอลพาร์ทเนอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า “การจับมือทางธุรกิจครั้งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารของไทยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารไทยกำลังเป็นที่ต้องการมากในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งในความร่วมมือครั้งนี้เน้นขยายตลาดสินค้า 2 กลุ่ม คือ เมล็ดกาแฟคั่ว บด ภายใต้คอนเซ็ปท์สไตล์บ๊อบคอฟฟี่ และขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ แบรนด์ Deedy เชื่อมั่นว่าจะสามารถเปิดตลาดได้อย่างดีในสหรัฐอเมริกาและสามารถสร้างชื่อเสียงของสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนสร้างโอกาสในการขยายเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั่วโลกต่อไป”

นายณัฐธีร์ กิติวิบูลย์ชัย นักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเจ้าของผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟคั่ว บด ภายใต้คอนเซ็ปท์สไตล์บ๊อบคอฟฟี่ เปิดเผยถึงคอนเซ็ปท์อันแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ว่า “กาแฟจัดเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงและมีความท้าทายสูงเช่นกัน โดยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดเราจึงคัดสรรเมล็ดกาแฟออร์แกนิกที่มีคุณภาพโดยการรับซื้อจากชาวเขาทางภาคเหนือนำมาผ่านกระบวนการคั่วแบบสามขั้นตอน (Triple Roast Process) ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านรสชาติ และเพิ่มความแปลกใหม่ของกาแฟด้วยการนำผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างเช่นพริกมาคั่วผสมเพื่อดึงกลิ่นรสอันเผ็ดร้อนของพริกทำให้ได้กาแฟคั่วกลิ่นหอมเข้มเต็มรสชาติความเป็นไทยแท้ โดยคาดว่าจะสามารถจับกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลายเพิ่มขึ้น”

คุณปกรณ์ พงศ์วราภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือบริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยที่มาของอีกหนึ่งธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารว่า “เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น มีความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีประโยชน์ แปลกใหม่ และดีต่อสุขภาพ ประกอบกับปัจจุบันกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพมีการเติบโตสูงโดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศอย่างยุโรปและสหรัฐอเมริกา จากความต้องการของตลาดกลุ่มนี้เราจึงได้ขยายธุรกิจเข้ามาในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ผักกรอบ 5 สายพันธุ์สูตรผงน้ำสลัด แบรนด์ Deedy ขึ้นเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปท์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการทอดแบบสุญญากาศ (Vacuum fried) จึงช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร เช่น สี กลิ่น รสชาติ ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 รสชาติ คือ ผงน้ำสลัดเทาซันไอส์แลนด์ ผงน้ำสลัดวาซาบิ และผงน้ำสลัดรสซีฟู้ด โดยเริ่มต้นรุกตลาดภายในประเทศผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดรวมถึงช่องทางออนไลน์ และวางแผนขยายตลาดไปยังจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปต่อไป”

พาณิชย์ดันสินค้าข้าวไทยรุกตลาดฮ่องกง

ฮ่องกง, 2561

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนางบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีและคณะผู้บริหารระดับสูงกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเพื่อต่อยอดกระชับความสัมพันธ์เชิงรูปธรรมในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ พร้อมพบหารือภาคเอกชนรายสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าข้าวนำโดย Mr. Kenneth Chan ประธานสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง และประธานบริษัท 759 Stores (Ms. Ida Tang) ซึ่งดำเนินกิจการร้านสะดวกซื้อที่มีสาขากว่า 200 แห่งทั่วเกาะฮ่องกง

นายสนธิรัตน์ เปิดเผยว่า “ฮ่องกงถือเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของไทย และมีความสำคัญในฐานะเป็นซูเปอร์คอนเนคเตอร์ที่เชื่อมโยงจีนแผ่นดินใหญ่กับโลกผ่านเขตเศรษฐกิจ PPRD และ GBA โดยที่ผ่านมา ฮ่องกงถือเป็นหนึ่งในตลาดนำเข้าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงที่สำคัญของไทย ซึ่งการพบหารือกับกลุ่มผู้นำเข้าข้าว รวมถึงเครือข่ายร้านสะดวกซื้อในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการต่อยอดความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดสินค้าข้าวไทยแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อตอกย้ำศักยภาพของไทยในการเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวคุณภาพสูงและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ออกสู่ตลาดโลก ซึ่งทั้งประธานสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง และประธานบริษัท 759 Stores ต่างก็ให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพของข้าวไทยมาโดยตลอด ทั้งนี้ บริษัท 759 Stores ยินดีที่จะพิจารณาเพิ่มการนำเข้าข้าวไทย ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล และข้าวสังข์หยด ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากข้าว อาทิ น้ำมันรำข้าว แป้งข้าวโปรตีนต่ำ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงสินค้าอื่นๆ จากไทยเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า Niche Market ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย”

“การเติบโตของตลาดกลุ่ม Niche Market ในฮ่องกงถือเป็นสัญญาณที่ดีในการขยายการส่งออกสินค้าข้าวชนิดพิเศษรวมถึงผลิตภัณฑ์จากข้าวไปสู่ตลาดจีน เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนแผ่นดินใหญ่ส่วนใหญ่มองว่าชาวฮ่องกงเป็นกลุ่ม Trend Setter รวมทั้งสินค้าหรือบริการที่เข้าสู่ตลาดฮ่องกงได้ก็มีแนวโน้มว่าจะสามารถตีตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ได้เช่นกัน” นายสนธิรัตน์กล่าวเสริม

นอกจากนี้ บริษัท 759 Stores ยังได้จับมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในจัวหวัดต่างๆ ของไทยทำ Co-Branding ในหลากหลายสินค้าซึ่งรวมถึงหอมมะลิและข้าวสีต่างๆ ของไทย และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคฮ่องกง ซึ่งนายสนธิรัตน์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ผมเห็นว่าการทำ Co-branding เป็นโมเดลที่ดีเพื่อสร้างความยั่งยืนในการส่งออกให้กับสินค้าแบรนด์ไทย ถือเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาวได้อย่างมั่นคง”

ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 65 หรือมากกว่า 2 แสนตัน/ปี โดยในปี 2560 การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยคิดเป็นปริมาณกว่า 1.61 ล้านตัน หรือประมาณ 1245.13 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยอดการส่งออกข้าวหอมมะลิในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2561 คิดเป็นปริมาณ 8.7 แสนตัน ด้วยมูลค่ากว่า 985.53 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

CPF Showed Its Innovative Sausage Production with “Smoked System” to Enable TARs Separation

นายณฤกษ์ มางเขียว รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจอาหารสำเร็จรูป และ นายวิทวัส ตันติเวสส รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านการตลาดกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกันนำคณะสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมกระบวนการการผลิตไส้กรอก CP อันทันสมัยโดยนวัตกรรมล่าสุด “ระบบรมควัน”ที่สามารถดักแยกสารทาร์ (TARS) ซึ่งมีองค์ประกอบของสารก่อมะเร็งออกจากไส้กรอกได้โดยเด็ดขาด ตอกย้ำนโยบายคุณภาพด้านความปลอดภัยอาหารของไส้กรอก CP ณ โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก ถ.สุวินทวงศ์./

Mr.Narerk Mangkeow, EVP for Processing Food Business, together with Mr. Vittavat Tantivess, EVP for Marketing, welcome reporters who visit to learn modern sausage production process at Nong Jok Food Processing Plant. CPF’s sausage production is equipped with “smoked system” to enable separate TARs from product. This reassure CP sausage are free from carcinogenic substance.

NSC จับมือ World’s Sushi Skills Institute (WSSI) จัดแข่งขัน “THE GLOBAL SUSHI ACADEMY: NORWAY MEETS JAPAN” A National Competition to Crown Thailand’s Top Sushi Chef

กรุงเทพฯ – 27 พฤศจิกายน 2561

การแข่งขัน “THE GLOBAL SUSHI ACADEMY: NORWAY MEETS JAPAN” A National Competition to Crown Thailand’s Top Sushi Chef เป็นการร่วมมือกันระหว่าง สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) และ สถาบัน World’s Sushi Skills Institute (WSSI) เพื่อเฟ้นหาตัวแทนเชฟผู้ชนะจากประเทศไทยคนแรกไปร่วมแข่งขันในรายการ WORLD SUSHI CUP JAPAN 2019 ที่จะจัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นปีหน้า โดยนอกจากการแข่งขันแล้ว การจัดงานครั้งนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของเชฟให้ได้มาตรฐาน และยังสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการปลาแซลมอนที่ถูกต้อง การเตรียม และสุขลักษณะในพื้นที่ครัวให้แก่เชฟที่เข้าร่วมด้วย

DITP ชี้โอกาสธุรกิจอาหารไทยบุกอีคอมเมิร์ซจีน

กรุงเทพฯ – 27 พฤศจิกายน 2561
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ชี้โอกาสสินค้าอาหารของไทยซึ่งได้รับความนิยมจากชาวจีน ผู้ประกอบธุรกิจอาหารของจีนมักมีช่องทางจำหน่ายทั้งทาง Online และ Offline
แต่การสั่งซื้อสินค้าจากทางออนไลน์มีสินค้าหลากหลาย สะดวกในการเลือกซื้อและสั่งซื้อ ผู้บริโภคจึงนิยมช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง พบว่า ธุรกิจ e-Commerce ระหว่างประเทศของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็ว สินค้าที่ขายดีที่สุดคือ สินค้าอาหาร โดยในปี 2560 จีนได้นำเข้าสินค้าอาหารจาก 187 ประเทศ มีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 58,280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 25 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยอาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนมากที่สุด นอกจากเรื่อง ของราคาแล้ว ผู้บริโภคชาวจีนให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า ส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นแบรนด์ที่มีขื่อเสียง อีกทั้งทางการจีนได้เข้มงวดกับสินค้าอาหารนำเข้า ก่อนเข้าสู่ตลาดจีนต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคชาวจีน ทำให้ชาวจีนนิยมสินค้าอาหารนำเข้ามากขึ้น และมีการตรวจสอบแหล่งที่ผลิตสินค้าก่อนทำการสั่งซื้ออีกด้วย
“ในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงการแข่งขัน
ทางการค้า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าในรูปแบบใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) มีนโยบายพัฒนาผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออก และผลักดันสินค้าไทยให้ไปอยู่บน e-Marketplace ชั้นนำระดับโลก และยกระดับแพลตฟอร์ม “Thaitrade.com” เชื่อมโยงกับผู้ให้บริการระดับโลก เช่น Amazon, Alibaba, e-Bay, JD.com และผู้ค้าตลาดใหม่ๆ จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2560 มีมูลค่า 2,812,592 ล้านบาท ขยายตัว 9.86%” นางสาวบรรจงจิตต์ กล่าว
นางสาวบรรจงจิตต์ กล่าวเสริมว่า ในปี 2560 บริษัทอีคอมเมิร์ซ JD.com ของจีนมียอดจำหน่ายสินค้าอาหารนำเข้าเติบโตกว่าร้อยละ 50 และบริษัทได้วางแผนเปิดเว็บเพจจำหน่ายสินค้านำเข้า 50 เพจในปี 2562 โดยทำการเปิดเพจของประเทศไอร์แลนด์ ไทย ฮอลแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย ฯลฯ ไปแล้ว โดยเว็บเพจสินค้าจากประเทศต่างๆ ได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตจีนที่อยู่ในประเทศนั้นๆ หรือรัฐบาลของประเทศนั้นๆอีกด้วย
นางสาวบรรจงจิตต์ ทิ้งท้ายว่า สินค้าอาหารของไทยได้รับความนิยมจากชาวจีน โดยช่องทางการจำหน่ายทางออนไลน์จะสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคจีนได้เลือกซื้อสินค้าอาหารของไทยมากขึ้น สินค้าอาหารไทย
ที่ได้รับความนิยม เช่น ข้าวหอมมะลิ เครื่องปรุงรส เครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมจากแอลกอฮอล์ ผลไม้อบแห้ง ขนมทานเล่น เป็นต้น จึงถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย SME และ Startup กลุ่มธุรกิจอาหารที่ต้องการส่งออกหรือมองหาช่องทางการส่งออกสินค้าไปยังจีนที่จะพัฒนาสินค้าให้สามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที
สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือโทรสายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169

10 Things To Consider For Premium Packaging

10 ข้อที่ต้องเช็ค ก่อนทำ Premium Packaging

โดย: นภนีรา รักษาสุข
Nopneera Rugsasook
Founder / MD / ECD
Yindee Design Co., Ltd.
fon@yindeedesign.com

Full article TH-EN 

ความสนใจที่จะพัฒนาแพ็คเกจจิ้งมีอยู่ในธุรกิจตลอดเวลา เพื่อให้สินค้าดูยกระดับมากขึ้น หรือเพื่อกระตุ้นยอดขาย หรือเพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ…ก่อนจะทำเช่นนั้น เรามาดูเช็คลิสต์กันก่อนดีไหม เพื่อให้การทำ Premium Packaging มีประสิทธิภาพสูงสุด เรารวบรวมมา 10 ข้อด้วยกัน ให้คุณเช็คดูก่อนที่จะออกดีไซน์ใหม่

1. ทำไมต้องพรีเมียม?
ก่อนอื่น เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า “ทำไมแพ็คเกจจิ้งนี้ต้องพรีเมียม” หรือถามอีกแบบหนึ่งก็คือ เราอยากจะทำให้มันพรีเมียมไปเพื่ออะไร

2. จะพรีเมียมไปขายใคร?
แบรนด์ต้องตอบให้ได้ว่า สินค้าใน Premium Packaging นี้ จะขายใคร การกำหนดกลุ่มคนซื้อเป็นเรื่องสำคัญมากที่เจ้าของแบรนด์จะต้องชัดเจน ในยุคนี้คงไม่มีใครพูดว่าจะขายสินค้าให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย อีกต่อไปแล้ว

3. ใครบอก…ว่าพรีเมียม?
สิ่งที่ต่อเนื่องมาจากเรื่องกลุ่มเป้าหมาย คือการเข้าใจว่าความพรีเมียมของแต่ละกลุ่มมีหน้าตาเป็นอย่างไร หลุมพรางของเรื่องนี้คือ แบรนด์ไม่ได้มองมาจากมุมมองของลูกค้า แต่มองมาจากความเห็นของแบรนด์เอง เพราะความพรีเมียมของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มนั้นมีหน้าตาและการแสดงออกที่แตกต่างกัน

4. โอกาสไหนที่เป็นพรีเมียมได้บ้าง?
มีหลากหลายโอกาสที่เราสามารถสร้าง Premium Packaging ได้ เช่น ออกสินค้าใหม่ที่มี Positioning ระดับบน โดยมีดีไซน์แพ็คเกจจิ้งที่น่าประทับใจ หรือยกระดับภาพลักษณ์เดิมของสินค้าเพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

5. พรีเมียมมากขึ้นหรือน้อยลง ช่องทางขายก็มีส่วน
แบรนด์จำเป็นต้องวางแผนการดีไซน์จากแผนของช่องทางการขายด้วย เพราะช่องทางการขายมีผลกับการที่จะทำให้แพ็คเกจจิ้งดูพรีเมียมมากขึ้นหรือน้อยลง

Packaging is constantly evolved to upgrade the product’s image, boost sales, or attract new customers. Before packaging improvement, let’s take a look at this checklist to ensure the optimum results. Here are the 10 things to consider before going ahead with the new packaging design.

1. Why Premium?
Before anything else, start by asking “Why does this packaging need to be premium?” or “What do we want to make it premium for?”

2. Premium for Whom?
Whom is the product in such lavish packaging for? A clearly defined target group is vital. These days, there’s hardly anyone who would say that their products are for people of any gender or age.

3. Who Says…This Is Premium?
Further to the previous point, understanding what premium for each target group looks like is also one of the keys. The trap here is that the brand may not put itself in the clients’ shoes but rather see things from its own perspectives. Each target group’s definition of lavishness can be manifested very differently.

4. When Is The Best Time to Be Premium?
There exist many opportunities where premium packaging can be used; a new product positioned for the upper market or an existing product requiring positioning enhancement in order to attract new groups of clients.

5. Sales Channels Make It More, Or Less, Premium
Sales channels must be taken into account when it comes to packaging design as these will inevitably affect the deluxe facade of the packaging.

Show Times – Post Show Fi Asia 2018

Fi Asia 2018: Another Record Breaker
3-5 October 2018 @ Jakarta International Expo, Indonesia

Full article TH-EN

Fi Asia 2018 ครั้งที่ผ่านมา จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 ทำลายสถิติทั้งขนาดพื้นที่แสดงสินค้า ชื่อเสียง รวมทั้งการเป็นเวทีกลางสร้างแรงบันดาลใจ นำเสนอนวัตกรรม และให้ความรู้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ ในปีนี้มีผู้ร่วมแสดงสินค้ามากกว่า 750 ราย เต็มพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร นับว่าขยายพื้นที่กว่าร้อยละ 40 ต้อนรับนักอุตสาหกรรมอาหารมืออาชีพ 22,176 ราย จาก 66 ประเทศ เพิ่มขึ้นกว่าในปี 2559 ที่จัดในอินโดนีเซียร้อยละ 15

The 23rd edition of Fi Asia continued to grow in size and reputation, providing inspiration, innovation, and education to F&B industry in ASEAN and beyond. The exhibition utilised seven halls which equals with 40% bigger expansion to 25,000 sqm. The spacious area attracted a record 22,176 food and beverage industry professionals from 66 countries, 15% increase over Fi Asia 2016, the last edition held in Indonesia. Visitors were able to meet face to face with more than 750 leading local, regional and international exhibitors, including subsidiary companies.

Post Show – Food Focus Thailand Roadshow 2018: Food Safety Roadshow # 6

Full article TH-EN 

 

ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ นิตยสารอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำของประเทศไทย ส่งมอบความรู้และความสนุกของงานสัมมนา Food Focus Thailand Roadshow 2018: Food Safety Roadshow # 6 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างประสบความสำเร็จอีกครั้ง ตอกย้ำถึงความสำคัญทางด้านความปลอดภัยอาหารอย่างต่อเนื่องอันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยให้พร้อมก้าวสู่ตลาดในระดับสากลอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

 

อัพเดทเทรนด์ในอุตสาหกรรมกันแบบจุใจกับเรื่อง “เทรนด์ล่ามาแรงของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม: มุมมองในอาเซียนและไทยและทั่วโลก” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา ศรีวัฒนะ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ “อัพเดทมาตรฐานที่จำเป็นล่าสุดในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม” อาทิ BRC Global Standard Food Safety Issue 8 เวอร์ชันใหม่ มาตรฐาน FSSC 22000 Version 4.1 การป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางอาหาร และสารก่อภูมิแพ้ โดยคุณศรีประไพ ปาจรียานนท์ Food Division Manager สถาบันมาตรฐานอังกฤษ BSI ปิดท้ายสัมมนาด้วยกิจกรรมจากผู้ร่วมจัดแสดงสินค้าและลุ้นรับของรางวัลต่างๆ ภายในงาน

 

เตรียมความพร้อมกับ Global Standard for Food Safety issue 8

อัพเดทมาตรฐาน Global Standard for Food Safety issue 8 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดบางประการสำหรับการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของข้อกำหนดดังกล่าว โดยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่างๆ พัฒนาระบบเพื่อความปลอดภัยและการป้องกันการก่อการร้ายทางอาหาร อีกทั้งยังเพิ่มความชัดเจนในข้อกำหนดสำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงสูงตลอดจนโซนการผลิตที่มีความเสี่ยงหรือต้องการการดูแลให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้มั่นใจว่ามีการบังคับใช้ทั่วโลกและเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศด้าน ความปลอดภัยอาหารโลก Global Food Safety Initiative (GFSI)

 

Food Focus Thailand Roadshow 2018: Food Safety Roadshow # 6, the leading seminar on food safety organized by Food Focus Thailand Magazine; the leading magazine for food and beverage professionals again succeeded in providing complete knowledge of food safety to increase the sustainable success of Thai food & beverage industry.

 

Participants could attend seminars such as “Catch Up the Latest Trend in Food & Beverage Industry in Global, ASEAN and Thailand” by Assistant Professor Dr.Sujinda Sriwattana

Dean of Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University, and “New Update: Food Standard for Food & Beverage Industry” including BRC Global Standard Food Safety Issue 8 (New Version), FSSC 22000 Version 4.1, food defense and food allergen by Ms.Sriprapai Pajareeyanont, Food Division Manager from British Standards Institution. Moreover, they also had a chance to check out various products showcased in the event, participated in activities and lucky prize session.

 

Global Standard for Food Safety issue 8

During the Issue 8 development phase, the focus of attention included expansion of the requirements for environmental monitoring to reflect the increasing importance of this technique, encouraging sites to further develop systems for security and food defense, adding clarity to the requirements for high risk and high care as well as ambient high care production risk zones, providing greater clarity for sites manufacturing pet food and also ensuring global applicability and bench-marking to the Global Food Safety Initiative (GFSI)