Healthy Food Market in Japan and Opportunity

 

ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพญี่ปุ่น…กับโอกาสของผู้ประกอบการไทย

By: National Food Institute, Ministry of Industry

Full Article TH-EN

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และมีสังคมการทำงานที่มีความเครียดสูง ส่งผลให้ประชากรชาวญี่ปุ่นจำนวนมากประสบปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคคอเลสเตอรอลสูง โรคระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ และโรคความจำเสื่อม ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นทั้งผู้สูงอายและผู้ที่อยู่ในวัยทำงานต่างหันมาใส่ใจในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองและคนในครอบครัวมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นยุคใหม่ยังมีความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น และพร้อมที่จะจ่ายเงินเพิ่มในการซื้อสินค้าดังกล่าว จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะขยายโอกาสทางการค้าและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของไทยไปสู่ตลาดญี่ปุ่น

สถานการณ์ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพญี่ปุ่น
ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในญี่ปุ่นมีทิศทางการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 พบว่า มีมูลค่าการจำหน่ายภายในประเทศรวม 5,450.2 พันล้านเยน หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2556-2560) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวญี่ปุ่นมีความต้องการยกระดับสภาพการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาหารเพื่อสุขภาพทุกประเภทผลิตภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นเครื่องดื่มประเภท Better for You ที่มีการลดปริมาณสารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย เช่น น้ำตาล คาเฟอีน เป็นต้น ซึ่งพบว่าเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่นลดลง โดยสินค้าอาหารประเภท Free From ที่มีการสกัดสารก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น กลูเตน แลคโตส ออกไป ซึ่งแม้จะมีมูลค่าตลาดไม่มากนัก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น แต่กลับได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 6.6 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์

 

Japan has fully entered the ageing society and is notoriously known as a country with stressful work environment, which resulted in many Japanese suffering from health issues ranging from obesity, hypertension, high cholesterol, circulatory system disease, and memory disorders. Thus, many Japanese, including the elderlies and working generation, are becoming more concerned about the health and well-being of themselves and their families. Not only that, the younger generation are also equipped with better knowledge in choosing for healthy products and are willing to pay more for them. This is a great opportunity for Thai enterprises to expand its trade opportunities and export Thai healthy products to the Japanese market.

Climate of Healthy Food Market in Japan

Healthy food market in Japan is expanding continuously. In 2017, domestic sales reached 5,450.2 billion yen, expanding averagely at 1.2% year-on-year between 2013-2017. This is partly because Japan’s population feel the need to improve living conditions and consume more healthy food products, as seen from the gradually increasing demands for the food every year. However, the trend doesn’t cover “better-for-you” beverages that contain harmful ingredients such as sugar and caffeine, which witnessed decreasing demands. Free-from foods – which discard allergens such as gluten and lactose – may not see significant market share comparing to other products, but it has witnessed a great expansion recently at a rate of 6.6% per year during the period of analysis.

Trendsetter…Filling of Juice with An Aseptic Filler and Block

การผลิตน้ำผลไม้ 100% แบบปลอดเชื้อในขวด PET…วิสัยทัศน์สู่อนาคต

By: โครเนส เอจี
Krones AG

Full Article TH-EN

กระบวนการบรรจุน้ำผลไม้สดจากผลในขวด PET แบบปลอดเชื้อ ไอเดียสู่อนาคตที่ยั่งยืนของ Natural One ผู้ผลิตน้ำผลไม้ชื่อดังเมืองแซมบ้า

Ricardo Ermirio de Moraes ชายผู้มีวิสัยทัศน์ที่สามารถนำเอาประสบการณ์ที่สั่งสมมาหลายปีจากอุตสาหกรรมน้ำส้มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเขายังเป็นผู้ก่อตั้ง Citrovita และดำรงตำแหน่งประธานของ Citrosuco มาอย่างยาวนาน โดยเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เขาตั้งบริษัท Natural One ที่มีจุดเริ่มต้นจากเครื่องดื่มวอดก้าผสมน้ำผลไม้พร้อมดื่มบรรจุขวด PET ก่อนจะตัดสินใจเปิดตัวน้ำผลไม้ในปี 2555 ภายใต้แบรนด์ Natural One โดยมีปรัชญาและสโลแกนในการทำแบรนด์ว่า “pura verdade” ซึ่งแปลว่า “ความจริงที่บริสุทธิ์” หมายถึงน้ำผลไม้ของเขานั้น จะไม่มีส่วนผสมของน้ำผลไม้เข้มข้น ไม่มีน้ำตาล และสารกันเสีย เป็นน้ำผลไม้ 100% และเป็นบริษัทแรกที่ไม่ได้บรรจุผลิตภัณฑ์ในกล่องแต่ใช้ขวด PET

ด้วยเหตุนี้ Ricardo Ermirio de Moraes จึงปลูกส้มกว่า 5 ล้านต้น บนพื้นที่กว่า 2,800 ตารางกิโลเมตร บนพื้นที่ทางตอนใต้ของนครเซาเปาโล (ซึ่งมีอากาศเย็นกว่า) โดยในสายตาผู้ที่เฝ้าจับตามองตลาด การตัดสินใจครั้งนี้ถือว่าน่าฉงนอยู่ไม่น้อย เนื่องจากทางใต้เป็นพื้นที่ที่มีแดดน้อยกว่า ซึ่งจะทำให้ผลไม้ที่สุกแล้วมีความหวานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลไม้ที่ปลูกทางตอนเหนือและได้รับแสงแดดมากกว่า แต่ทว่า ผลไม้ที่ปลูกที่นี่กลับได้รับคำชมเป็นอย่างมากในแง่ของความหวานที่น้อยกว่าและสีสันที่สดใสเด่นชัด “เมื่อมาถึงจุดนี้ การตัดสินใจนี้ถือเป็นเรื่องปกติในแง่ของการลงทุนและการส่งออก โดย Ricardo Ermirio de Moraes ยังเป็นคนแรกในบราซิลที่ส่งออกน้ำผลไม้สด การตัดสินใจครั้งนี้ก็ถูกมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระในตอนแรกเช่นกัน แต่ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการตัดสินใจที่มีวิสัยทัศน์และถูกต้อง” Valdenir Soares จากฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ ของ Natural One ระบุ

 

Bottling Not from concentrate (NFC) juice aseptically in PET containers – with this idea the Brazilian fruit juice producer Natural One conquered the market within two short years.

Ricardo Ermirio de Moraes is a visionary. He can draw upon many years of experience in the orange juice business, was the founding father of Citrovita, and subsequently the long-serving President of Citrosuco. About ten years ago, he set up Natural One, and to begin with bottled ready-mixed vodka-based fruit juice mixtures in PET containers. In 2012, he then decided to launch fruit juices on the market himself under the Natural One brand. His philosophy and slogan are: “pura verdade”, which translates as “pure truth”. Meaning no concentrate or squash, no added sugar, no preservatives, but 100 per cent juice – and it was the first company Brazil not to do it in carton packages, but in PET bottles.

For this purpose, Ricardo Ermirio de Moraes had five million new orange trees planted on a farm measuring 2,800 square kilometres. This “fazenda” is located in the (cooler) south of São Paulo state. For many market observers, this was at first incomprehensible, because down there the sun shines less often and the fruits are correspondingly less sweet when they ripen than in the warmer north. But: the juice obtained from these oranges scores highly in terms of precisely this lesser sweetness and its vibrant, intensive colour. “Hitherto, it had been normal, for reasons of cost, to export concentrates. Ricardo Ermirio de Moraes was also the first to export NFC juices from Brazil. This decision, too, was at first ridiculed, but has proved to be visionary and right,” explains Valdenir Soares, who at Natural One is responsible for the New Business Development Department and had been tasked with internationalising the company.

Plant-type Flavours. Go Healthy the Flavourful Way!

สารให้กลิ่นรสจากพืชธรรมชาติ…ก้าวสู่สุขภาพที่ดีในแบบเต็มรสชาติ

By: Derrick Heng
New Product Development Manager
KH Roberts Pte. Ltd.
derrick.heng@kh-roberts.com

Full article TH-EN

เนื่องจากสารผสมอาหารจากพืช เช่น ผักต่างๆ และถั่วเหลืองนั้นมีให้เห็นอยู่มากมาย นวัตกรรมการประยุกต์ใช้สารผสมอาหารเหล่านี้สำหรับอาหารยุคใหม่นั้นก็ได้มีการพัฒนาไปจากช่วงที่ผ่านมามากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือชิปส์และเนื้อเทียม โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มมันฝรั่งทอดนั้นมีการแข่งขันกันมากขึ้นในรูปแบบเพื่อสุขภาพ เช่น บลอกโคลีอบกรอบ และชิปส์บีทรูท ส่วนทางด้านถั่วเหลืองและผักทางเลือกอื่นๆ ก็ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเช่นกันในกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมมังสวิรัติซึ่งจะทำให้ได้เนื้อสัมผัสที่ดีขึ้นเหมือนกับเนื้อสัตว์จริง

จะเห็นได้ว่าอาหารจากพืชธรรมชาตินั้นสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม โดยผู้บริโภคกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นรับประทานอาหารและเครื่องดื่มจากพืชธรรมชาติจะยอมรับได้มากขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารปรุงแต่งกลิ่นรสคลาสสิกที่ไม่มากเกินไปเพื่อกลบกลิ่นรสบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น นมถั่วเหลืองกลิ่นรสวนิลาหรือช็อกโกแลตซึ่งมีการใช้สารปรุงแต่งกลิ่นรสเพื่อกลบกลิ่นเหม็นเขียวของถั่ว ในขณะที่ผู้บริโภคที่ยอมรับอาหารจากพืชธรรมชาติอยู่แล้วก็จะยอมรับได้ในกลิ่นรสของถั่ว กลิ่นคล้ายกลิ่นดิน และกลิ่นผัก ซึ่งทำให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มประสบความสำเร็จอย่างมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต่างๆ โดยแทนที่จะปกปิดกลิ่นรสจากพืชเหล่านี้ก็เป็นนำกลิ่นรสเหล่านี้มาเน้นและสร้างให้เป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์นั้นแทน

สำหรับกลุ่มพืชหัว เช่น มันม่วง และมันเทศ หรือพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว มีโพรไฟล์ของกลิ่นรสที่น่าสนใจไม่แพ้กัน และยังให้สีสันที่สวยงามซึ่งผู้ผลิตอาหารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยส่วนผสมอาหารเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสารให้กลิ่นรสจากพืชธรรมชาติสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างลงตัว เช่น เค้ก ไอศกรีม นมปรุงแต่งกลิ่นรส รวมถึงเครื่องดื่มประเภทพร้อมดื่ม และเครื่องดื่มผงสำเร็จรูป

While plant-based ingredients such as vegetables and soy have always been around, innovations of their new applications into contemporary foods have gained pace in recent years. Notable examples are chips and mock meats. Fried potato chips are now seeing rising competition from healthier versions such as baked broccoli and beetroot chips. While soy and alternative vegetables are now highly used in vegetarian mock meats with enhanced texture that mimicks real meat.

This opens up new opportunities for food and beverage manufacturers. Consumers who are new to plant-based foods and beverages will be more receptive towards products using classic flavours for masking notes that they might not be used too. An example would be a vanilla or chocolate flavoured soy milk, which masks off the beany note. Consumers who embrace plant-based foods will be more receptive to flavours with nutty, earthy and vegetal notes, which allows food and beverage manufacturers to come up with more innovative products. Instead of masking off these plant-type flavours, they are instead highlighted and made the unique selling point of these products.

Tubers such as purple yam and orange sweet potato, or legumes such as red and green bean, have appealing flavour profiles, together with their vibrant colours which food manufacturers can leverage on to. These ingredients coupled with the use of plant-type flavours are successful in applications such as cakes, ice-cream, flavoured milk, and beverages such as ready-to-drink and instant beverages.

New Technology offers Faster and Cheaper Food Testing

อีกระดับของเทคโนโลยีเพื่อการทดสอบความปลอดภัยอาหารที่น่าจับตามอง

By: Anne Trafton
MIT News Office

Translated and Compiled by:
กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ได้เปิดเผยถึงวิธีการทดสอบแบบใหม่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา อาศัยหลักการตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์เป้าหมายจากหยดของเหลวชนิดพิเศษที่พัฒนาเพื่อให้สามารถยึดจับกับโปรตีนของเซลล์แบคทีเรียได้ โดยการยึดจับกันนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือผ่านทางสมาร์ทโฟน ซึ่งจะเป็นวิธีการทดสอบความปลอดภัยอาหารทางเลือกหนึ่งที่รวดเร็วและถูกลงกว่าเดิม

การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
เมื่อสองปีที่ผ่านมา ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยโดย Swager ได้คิดค้นวิธีการสร้างหยดของเหลวที่มีลักษณะพิเศษทางอิมัลชัน หรือที่เรียกว่า Janus emulsions โดยหยดของเหลวดังกล่าวประกอบขึ้นด้วยสองส่วนคือฟลูออโรคาร์บอนและไฮโดรคาร์บอนอย่างละเท่าๆ กัน ฟลูออโรคาร์บอนมีความหนาแน่นมากกว่าไฮโดรคาร์บอน ดังนั้น เมื่อหยดของเหลววางบนพื้นผิวจะเห็นครึ่งหนึ่งที่เป็นด้านฟลูออโรคาร์บอนอยู่ด้านล่าง

เมื่อใช้หยดของเหลวมาเป็นเซ็นเซอร์ นักวิจัยได้ออกแบบโครงสร้างสารลดแรงตึงผิวซึ่งมีน้ำตาลแมนโนสเป็นส่วนประกอบทำให้เกิดการจัดเรียงโมเลกุลขึ้นเองที่พื้นผิวหรือระหว่างพื้นผิวของน้ำกับไฮโดรคาร์บอน โดยการจัดเรียงตัวขึ้นเองนี้จะเกิดขึ้นที่ด้านครึ่งบนของหยดของเหลว โครงสร้างของโมเลกุลที่เกิดขึ้นนี้สามารถไปจับเลคตินโปรตีนซึ่งพบบริเวณผิวชั้นนอกของเชื้อจุลินทรีย์ E. coli บางสายพันธุ์ ในการทดสอบเมื่อมีเชื้อ E. coli ปรากฏขึ้น หยดของเหลวเหล่านี้จะเข้าไปจับกับเลคตินโปรตีนและเกิดการเกาะกลุ่มกันทำให้เห็นโครงสร้างของโมเลกุลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อแสงส่องผ่านมาที่หยดของเหลวจึงเกิดการกระเจิงแสงในทุกทิศทุกทาง และเมื่อมองจากด้านบนจะเห็นหยดของเหลวมีลักษณะทึบแสงเกิดขึ้น

เพื่อแสดงให้เห็นว่าหยดของเหลวดังกล่าวสามารถใช้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับได้อย่างไร นักวิจัยจึงได้นำหยดของเหลวใส่ลงในจานเลี้ยงเชื้อแล้วสร้าง QR code ทับด้านบนเพื่อใช้สแกนตรวจสอบผลผ่านทางสมาร์ทโฟน เมื่อพบว่ามีเชื้อ E. coli หยดของเหลวก็จะเคลื่อนเข้ามากระจุกอยู่ด้วยกันและทำให้ไม่สามารถอ่าน QR code ได้

MIT News Office explains that the new test is based on new type of liquid droplet that can bind to bacterial proteins. The interaction can be detected by the naked eye or a smartphone; offering a much faster and cheaper alternative to existing food safety tests.

Detecting bacteria
Two years ago, Swager’s lab developed a way to easily make complex droplets including droplets called Janus emulsions. These Janus droplets consist of two equally sized hemispheres, one made of a fluorocarbon and one made of a hydrocarbon. Fluorocarbon is denser than hydrocarbon, so when the droplets sit on a surface, the fluorocarbon half is always at the bottom.

To turn the droplets into sensors, the researchers designed a surfactant molecule containing mannose sugar to self-assemble at the hydrocarbon–water interface, which makes up the top half of the droplet surface. These molecules can bind to a protein called lectin, which is found on the surface of some strains of E. coli. When E. coli is present, the droplets attach to the proteins and become clumped together. This knocks the particles off balance, so that light hitting them scatters in many directions, and the droplets become opaque when viewed from above.

To demonstrate how these droplets could be used for sensing, the researchers placed them into a Petri dish atop a QR code that can be scanned with a smartphone. When E. coli are present, the droplets clump together and the QR code can’t be read.

Trans Fat…time to be Transformed

ไขมันทรานส์…ถึงเวลาต้องทรานสฟอร์ม?

Compiled By: Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ของวงการอุตสาหกรรมอาหารในชั่วโมงนี้ ต้องผายมือให้กับประเด็นร้อน “กรดไขมันทรานส์” ที่สร้างกระแสตื่นตัวให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งวงการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ การนำเสนอข้อมูลของไขมันทรานส์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านช่องทางโซเชียลยังรวดเร็วติดสปีด…หากแต่ข้อมูลที่เราได้รับรู้นั้นจะจริงหรือไม่…จริงหรือเปล่า?…#ต้องถามผู้เชี่ยวชาญ

“ข้อมูลที่มีการรายงานหรือกล่าวถึงไขมันทรานส์ มีทั้งใช่ และไม่ใช่” ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าวิจัยโครงการ “ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์” กล่าวเริ่มต้นกับ ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์

“ความคลาดเคลื่อนเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ หนึ่ง…ความไม่เข้าใจสถานการณ์เฉพาะของประเทศไทยที่แตกต่างจากซีกโลกตะวันตก รวมถึงบางประเทศในเอเชียที่พึ่งพิงแหล่งไขมันที่มีความไม่อิ่มตัวสูงเป็นหลัก และ สอง…การใช้วิธีวิเคราะห์หาไขมันทรานส์ที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์สูงกว่าความเป็นจริงมาก ซึ่งสร้างความตระหนกให้กับทั้งผู้วิเคราะห์และผู้ที่ได้เห็นข้อมูล”

“ปัญหากรดไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของตลาดบ้านเรามีผลกระทบน้อยมาก เพราะ (1) เบเกอรี่ไฮโซไม่กระจายไปในวงกว้าง (2) บ้านเรามีไขมันอิ่มตัวธรรมชาติ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว จึงไม่ต้องผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และ (3) เบเกอรี่ไม่ใช่อาหารหลักในชีวิตประจำวันของคนไทย”

“คนไทยไม่มีปัญหาเรื่องกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs จากกรดไขมันทรานส์ แต่ปัญหา NCDs ของเรามาจากไขมันอิ่มตัวมากกว่า” ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ กล่าว

ในขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก กำลังตระหนักถึงอันตรายของไขมันทรานส์ และพยายามจำกัดไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะมีความพร้อมทั้งวัตถุดิบ และความพร้อมของภาคเอกชน ซึ่งได้พยายามวิจัยและพัฒนาสูตรเพื่อยกเลิกการใช้น้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนที่เป็นแหล่งสำคัญของไขมันทรานส์มา 5-6 ปีแล้ว

For food industry, no issue is stronger, at this moment, than Trans Fatty Acids or TFA. Becoming the hottest Talk of The Town, trans fat has shaken the whole food value chain —from upstream to midstream and downstream. Any information about trans fat can unbelievably swarm every channel of social media and news, but all those facts, are they real? Are they accurate? Are they believable? Let’s ask the expert.

“Not all the overwhelming information about trans fat is all true,” Prof. Dr.Visith Chavasit, Lecturer at the Institute of Nutrition, Mahidol University and head of “Thailand: Trans Fat Free Country” research project, began for Food Focus Thailand.

“There were 2 main reasons that had caused the confused information, which were:

1. A failure to differentiate the unique consumption pattern in Thailand from that in other western countries, as well as some countries in Asia, which still rely very much on polyunsaturated fat.

2. Use of wrong analytical method for a trans fat that consequently resulted in false-positive data that alarmed both the analyzers and the data users.”

“The problem on trans fatty acid in bakery products has very small impact in Thailand due to 3 main factors:
(1) Classy bakeries are favored in only small circles,
(2) Alternative natural saturated vegetable oils for PHOs are available such as palm oil and coconut oil,
(3) Bakery products are not the main diet in the Thai’s daily lives.

“In Thailand, Non-communicable Diseases or NCDs problems are not caused by trans fatty acids but from saturated fatty acids or SFA,” said Prof. Dr.Visith.

While danger of trans fat is such a big and alarming issue around the world, and most countries are trying to bring down trans fat content in food products, Thailand, as it turned out, is the country that can solve this problem most effectively. This is because we have alternative raw material readily available, and the readiness of private sectors who for the pass 5-6 years have been researching and developing formulas away from the use of PHOs which is the main source of trans fat.

ร่วมแสดงความคิดเห็น U Share V Care เดือน กันยายน 2561

ร่วมแสดงความคิดเห็น U Share V Care เดือน กันยายน 2561 ลุ้นรับGift Voucher Central worth THB500
(Only 2 Lucky Winners)

ลุ้นรางวัลกับเราได้ตามลิงก์ด้านล่างเลย อย่าลืมกรอกให้ครบ..นะคะ

https://goo.gl/forms/R6cE8aPNlDfamCo73

SIG Leads the Industry with 100% Renewable Energy – Electricity and Gas – for Production Worldwide

Switzerland, August 2018 – SIG is the first in the industry to produce all its packs using 100% renewable energy – electricity and gas – at production sites worldwide. By effectively eliminating greenhouse gas emissions from production, this represents a major milestone on SIG’s journey to go Way Beyond Good by contributing more to society and the environment than it takes out.

SIG has met its 2020 goal to source 100% renewable energy and Gold Standard CO2 offset for all non-renewable energy at production plants two years early. The company made the switch to 100% renewable electricity in 2017 and is now sourcing renewable alternatives for the remaining energy used in production that comes from natural gas.

SIG is purchasing biogas certificates that are certified to the recognised GoldPower® standard to offset 100% of the natural gas used at its production sites as of 1 January 2018.

Arnold Schuhwerk, SIG’s Global Category Manager for energy procurement, said: “We achieved a big milestone last year by securing 100% renewable electricity for production. Sourcing renewable alternatives for gas was even more challenging because the market for renewable biogas is not yet well established.”

With no viable option to source renewable biogas directly, SIG is sourcing it indirectly instead by supporting projects to construct and operate waste-to-energy systems in China, Thailand and Turkey that capture gas generated at landfill sites and use it to produce renewable energy.

Landfill gas from decomposing waste includes large amounts of methane, a potent greenhouse gas. Preventing this gas from escaping into the atmosphere helps to avoid harmful climate impacts.

The projects are certified to the GoldPower® standard which verifies that they will not only deliver measurable greenhouse gas emissions reductions, but also create benefits for local communities, such as air or water quality improvements or job opportunities.

“We are supporting projects that capture harmful greenhouse gases from landfill and convert these into energy,” said Schuhwerk. “We chose the projects because they are certified to a recognised standard to make sure they have a positive social impact as well as supporting environmental savings.”

All other remaining greenhouse gas emissions from production sites, such as small amounts released in the printing process, are also being offset to completely eliminate greenhouse gas emissions from production.

The switch to renewable gas will save an estimated 28,600 tonnes of CO2 equivalent emissions per year. This will make an important contribution towards SIG’s science-based targets to cut Scope 1 and 2 greenhouse gas emissions by 50% by 2030 – and by 60% by 2040 – from the 2016 base-year.

By reducing the climate impact of SIG’s solutions, this latest step to go Way Beyond Good will also help customers cut the lifecycle impacts of their products and meet their own sustainability goals.

Epi Ingredients Enters the Protein Ingredient Market with EPIPROT 60UL

France, August 2018 – As consumer interest in protein continues to grow, their new expectations in terms of sustainability, transparency, animal welfare and the like, are transforming the market and urging food, beverage and nutrition manufacturers to continuously innovate. To support them, Epi Ingredients is now launching its first ever protein concentrate, EPIPROT 60 UL.

“As a major food producer, we have a responsibility to contribute to people’s quality of life through our products. This is why we are fully committed to assist our customers by supplying sustainable, high-quality ingredients designed to tackle their current challenges as well as to meet consumers ever evolving requirements”, explains Mathieu Lucot, Marketing Manager at Epi Ingredients.

This innovative native ingredient fits into the company’s new protein range, EPIPROT, which also includes caseinates and acid caseins and will soon feature additional offerings of milk protein concentrates and isolates. EPIPROT 60 UL is a milk protein concentrate containing 60% total native protein. It is produced directly from fresh milk using a unique ultra-low heat process which allows for minimal denaturation and optimal functional & nutritional properties. It also preserves the 80/20 casein/native whey protein ratio unadulterated.

EPIPROT Dairy proteins are considered high-quality proteins as they provide adequate amounts of all the essential amino acids as well as excellent digestibility and bioavailability, allowing the body to perform its countless functions flawlessly. “And Epi Ingredients takes it a step further with full control over the entire value chain from field to fork as well as the implementation of its very comprehensive CSR initiative, Passion du Lait®; ultimately allowing us to offer the highest quality, most natural and safest ingredients possible”, adds Mathieu Lucot. This commitment to quality and sustainability goes a long way in today’s landscape, especially as consumer demand for familiar ingredients and recognizable protein sources is rising, per Katy Askew, editor at FoodNavigator.com. The article also suggests that milk protein remains the most popular source of protein, according to a new consumer survey.

In this context, native protein EPIPROT 60 UL is the ideal solution for product developers seeking a highly functional quality protein source with outstanding nutritional properties. Not only does the ingredient offer superior gelling, emulsifying and water retention capabilities, but it also features the unique ability to provide enhanced creaminess and a rich mouthfeel in low-fat, high-protein applications. EPIPROT 60 UL also presents a superior nutritional profile high in native calcium and low-lactose. This new ingredient is easy to use and can be incorporated into a wide range of applications such as cheese, yogurt, quark, beverages, nutritional products and more!

“At Epi Ingredients, we take our mission to drive innovation very seriously and the best way for us to feature what our ingredients can do is to develop finish product concepts with them”, explains Mathieu Lucot. After the massive success of SoFlexi, first concept of the SoUnik range, last year, the company has decided to repeat the experience and will soon be launching a new concept using EPIPROT 60 UL. It will be available to sample at the company’s upcoming trade show appearances: Gulfood Manufacturing and HIE. Stay tune for the big announcement in September!

TILOG–LOGISTIX 2018 เวทีบูรณาการภาคธุรกิจโลจิสติกส์ไทย สร้างโอกาสเชื่อมโยงสู่ภูมิภาค

15 สิงหาคม 2561

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ รี้ด เทรดเด็กซ์ จัดงาน TILOG–LOGISTIX 2018 ระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2561 ณ ไบเทค กรุงเทพ เพื่อเป็นเวทีบูรณาการส่งเสริมการพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจการค้าโลจิสติกส์ไทยในการเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาคอาเซียน นำผู้แสดงสินค้าจำนวนกว่า 415 แบรนด์ จาก 25 ประเทศ จัดแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม โซลูชั่นและบริการด้านโลจิสติกส์ พร้อมกิจกรรมเพิ่มองค์ความรู้ และสัมมนาระดับนานาชาติ คาดผู้เข้าชมงานกว่า 11,000 ราย เป้ามูลค่าเจรจาธุรกิจจากการจัดงานกว่า 600 ล้านบาท

นางวรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประธานแถลงข่าวการจัดงาน TILOG–LOGISTIX 2018 โดยกล่าวว่า “ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ ทั้งยังสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาทต่อปี จ้างแรงงานกว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจ โลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยกำหนดไว้ชัดเจนทั้งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2564) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (2560-2564) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชน และบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด จัดงาน TILOG-LOGISTIX 2018 เป็นครั้งที่ 4 แต่นับเป็นปีที่ 15 สำหรับงาน TILOG เพื่อให้เป็นกิจกรรมรองรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งยกระดับประสิทธิภาพและมาตรฐานการให้บริการโลจิสติกส์ให้เทียบเคียงกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ”

ผลจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน ส่งผลให้อันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Performance Index: LPI) ของธนาคารโลก ปี 2561 ไทยอยู่อันดับที่ 32 จาก 160 ประเทศทั่วโลก ดีขึ้นกว่าปี 2559 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 45

นอกจากนี้ ในปีนี้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการโลจิสติกส์ด้านการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตโดยใช้กระบวนการโลจิสติกส์เข้ามาบริหารจัดการ อาทิ การเก็บรักษา/ยืดอายุสินค้า บรรจุภัณฑ์
การขนส่ง เพื่อรักษาคุณภาพจนถึงผู้ซื้อ ซึ่งจะสามารถขยายโอกาสและสร้างช่องทางการตลาดให้กับผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย งาน TILOG-LOGISTIX 2018 จึงไม่เพียงแต่ยกระดับงานแสดงสินค้าด้านโลจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงเครือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งไทยและในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น ยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก แสดงถึงศักยภาพของโลจิสติกส์ไทยในการเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค นางวรรณภรณ์ กล่าวเสริม

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงมุมมองต่อบทบาทธุรกิจโลจิสติกส์ว่า “ธุรกิจโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับการค้าระหว่างประเทศได้ ด้วยคุณภาพบริการที่ดี ต้นทุนที่เหมาะสมกับคุณภาพบริการ และการขยายเครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนี้ การขยายตัวของตลาด Cross Border e-Commerce
ที่ต้องการบริการโลจิสติกส์สำหรับพัสดุขนาดเล็ก ที่ส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงการจัดส่งแบบ door-to-door service ส่งผลให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต้องพัฒนาระบบภายในของตนเองให้เชื่อมโยงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล และป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมถึงการจัดการข้อมูลที่รวดเร็วที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ต้องพัฒนาให้ทันตลาด e-Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงจะสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างชาติ และเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าของไทย สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก”

นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)
ได้ชี้ให้เห็นถึงทิศทางภาคธุรกิจโลจิสติกส์ไทยว่า “จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทยฉบับที่ 3 ต้องการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค โดยมีดัชนีชีวัดความสำเร็จของการพัฒนาที่สำคัญ 3 ด้าน คือ ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index- LPI) โดย World Bank ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับที่ 32 จาก 160 ประเทศ และถือเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน และอันดับ 7
ในเอเชีย สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2564 เท่ากับ 12%
ซึ่งมีสัดส่วนลดลงตามรายงานของสภาพัฒน์ฯ และประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกทางการค้าของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นในปี 2564 จาก Trading Across (อันดับด้านการค้าระหว่างประเทศของธนาคารโลก) จากดัชนีชี้วัดดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าโลจิสติกส์ไทยมีทิศทางการเติบโตทีสูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงสู่การค้าในระดับภูมิภาค”

ภายในงานประกอบด้วยองค์ความรู้มากมายจากงานสัมมนาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
โลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศ อาทิ Trade Logistics Symposium 2018 นำเสนอองค์ความรู้
ด้านโลจิสติกส์เพื่อสินค้าเกษตรและสินค้าเน่าเสียง่าย World Transport & Logistics Forum Thailand (WTLFT) เผยดัชนี Logistics Performance Index (LPI) และบทวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาภาคโลจิสติกส์
โดยธนาคารโลก (World Bank) และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิตัลไปกับองค์ความรู้ด้าน
e-commerce ต่อผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์และผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศ
ในอนาคต และประเด็นสัมมนาอื่นๆ กว่า 20 หัวข้อ รวมทั้งกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น พบต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการคลังสินค้าแห่งอนาคต (Virtual Reality Advanced Distribution Centre)
ที่โซน “Innovation Showcase” เรียนรู้จากแนวคิดและกลยุทธ์ของผู้นำวงการโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนามาตรฐานธุรกิจสู่ระดับสากล ณ “ELMA Showcase” พบเคล็ดลับลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายและขนส่งสินค้าเกษตร โดยใช้ประโยชน์โลจิสติกส์จากธุรกิจต้นแบบ พร้อมรับคำแนะนำโดยตรงที่ “Agri Logistics Value Chain Pavilion” เทคโนโลยีระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์จากสตาร์ทอัพไทยที่ “Logistics Startup Pavilion” ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ ไม่ควรพลาดโอกาสสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจ รองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก