Food Innopolis’ Strategic Implementation of “Science, Technology and Innovation” to Push Economic Development

Food Innopolis

เดินเกมนำ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ

 

By:      Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN 

 

อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารสร้างรายได้ให้กับประเทศของเราอย่างมหาศาล กว่าร้อยละ 80 ของทรัพยากรธรรมชาติในประเทศถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจุบันมีโรงงานแปรรูปอาหารในไทยกว่า 10,000 แห่ง มีการจ้างแรงงานกว่า 600,000 คน หากนับกันเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแล้ว เมืองไทยของเราเป็นประเทศที่มีการส่งออกอาหารมากกว่าการนำเข้าเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

 

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สวทน. สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมองการณ์ไกลไปถึง 20 ปีข้างหน้า เดินเกมนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

 

“ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร มีผู้ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมถึง 39.8 ล้านคน นับเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรในประเทศ แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า GDP จากอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารกลับอยู่ที่ร้อยละ 10 เท่านั้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รองเลขาธิการ สวทน. ในฐานะซีอีโอ เมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวเริ่มต้นกับ ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ พร้อมเสริมว่าอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในบ้านเรายังมีช่องว่างของความแตกต่างอยู่มาก รายที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีศักยภาพสูง ส่วนรายขนาดกลางและเล็กซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ มีอยู่กว่าร้อยละ 90 ยังขาดศักยภาพและโอกาสในด้านงานวิจัยและพัฒนา สวทน. จึงได้จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร หวังนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเชื่อมช่องว่างเหล่านี้

 

จนถึงปัจจุบัน ภาคเอกชนได้เข้ามาลงทุนจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านอาหารโดยเฉพาะภายในเมืองนวัตกรรมอาหาร จำนวน 34 ราย และยังมีภาคเอกชนที่มีความสนใจอีกกว่า 60 ราย ทั้งนี้ มีภาคเอกชนจากต่างประเทศ คือ ญี่ปุ่น จำนวน 4 ราย ได้เข้ามาลงทุนแล้ว และมีเป้าหมายที่จะเชิญชวนผู้ประกอบการจากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆ ที่เป็นฐานการผลิตอาหารของโลกให้เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม

 

เมืองนวัตกรรมอาหารจึงเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้เข้าสู่ประเทศไทย…เชื่อว่าหมากเกมนี้จะพลิกกระดานให้ไทยพร้อมด้วยอาวุธแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารให้มีความยั่งยืนต่อไป

 

The agricultural and food sector earns Thailand enormous revenues. More than 80 percent of the country’s natural resources are used in the food industry. There are currently more than 10,000 food processing factories countrywide, which contribute to the recruitment of over 600,000 workers. Thailand is the only country in Asia with food export exceeding import.

 

The National Science Technology and Innovation Policy Office (STI), Ministry of Science and Technology, is another government entity with a role in economic acceleration through the established vision that expands over the next 20 years by implementing Science, Technology and Innovation in the agricultural and food industry.

 

“Over fifty percent of Thai industrial sector is dedicated to food and agriculture, involving more than 39.8 million people overall, which is equal to half of the entire population. However, the agricultural and food industry surprisingly makes up only 10 percent of the GDP.”, said Assistant Professor Dr.Akkharawit Kanjana-Opas, Deputy Secretary of STI and CEO of Food Innopolis at the beginning of the interview with Food Focus Thailand. He added that the Thai agricultural and food sector is also challenged by a huge gap of difference. Bigger and well-established businesses wield greater potential while SMEs, which are the country’s main artery making up for more than 90 percent of the whole sector, are lacking in terms of potentiality and opportunities when it comes to R&D. STI, therefore, has created a special area of innovation for this particular industry in hope of bringing Science, Technology and Innovation in to narrow down the gap.

 

At present, 34 companies of the corporate sector have invested in the establishment of specialized food research centers, and over 60 more have so far expressed interest in following suit, with 4 Japanese firms already having initiated the investment. There are also plans to invite overseas entrepreneurs from Europe, USA, Australia, New Zealand, and other countries that are global major food manufacturers to invest in Thailand.

 

Food Innopolis will serve as a magnet attracting the investment in entrepreneurial R&D as well as knowledge workers to Thailand. These strategies are expected to put Thailand in an advantageous position and equip the country with weapons of Science, Technology and Innovation so that its economy, along with its agricultural and food industry, continues to prosper in a sustainable manner.

The Most Recently Enforced Food Regulations: Labeling of Gluten-free Foods The Notification of the Ministry of Public Health (No.384) B.E.2560 (2017) Re: Labeling of Gluten-free Foods

กฎระเบียบด้านอาหารล่าสุดที่มีผลบังคับใช้: การแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตน

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 384) พ.ศ.2560 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตน

 By:       Bureau of Food

Food and Drug Administration, Ministry of Public Health

food@fda.moph.go.th

Full article THEN 

เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกซื้ออาหารสำหรับผู้บริโภคที่แพ้กลูเตน ประกอบกับสากลและประเทศต่างๆ ได้มีข้อกำหนดการแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตนแล้ว ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 384) พ.ศ.2560 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตน โดยมีสาระสำคัญสรุปดังต่อไปนี้1. กำหนดชนิดและลักษณะอาหารที่จะกล่าวอ้างว่า “ไม่มีกลูเตน” 4 กลุ่ม

1.กำหนดชนิดและลักษณะอาหารที่จะกล่าวอ้างว่า “ไม่มีกลูเตน” 4 กลุ่ม

2.กำหนดนิยามของกลูเตน ธัญพืช และพืชหัว

3.การแสดงฉลากของอาหารไม่มีกลูเตน ต้องใช้ข้อความว่า “ไม่มีกลูเตน” หรือ “gluten free” เท่านั้น สำหรับกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกระบวนการกำจัดกลูเตน ต้องแสดงข้อความว่า “ผ่านกระบวนการกำจัดกลูเตน” กำกับข้อความ “ไม่มีกลูเตน” หรือ “being specially processed to remove gluten” กำกับข้อความ “gluten free” ไว้ด้วย

4.กำหนดวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการของกลูเตน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์กลูเตนในอาหาร

5.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 384) พ.ศ.2560 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

6.อาหารที่มีการแสดงฉลากอาหารไม่มีกลูเตนไม่ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ ถือว่าเป็นการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(10) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท

 

With objective to provide decision-making information for consumers on gluten-free products, and due to the current situation in which label requirements for gluten-free foods have been internationally established in various countries, the Food and Drug Administration (Thai FDA) thus issued the Notification of the Ministry of Public Health (No.384) B.E.2560 (2017) Re: Labeling of Gluten-free Foods wherein label requirements and conditions for gluten-free foods are stipulated as follows:

1.Foods that claim to be “Gluten-free” are classified into 4 groups

2.Definition Declaration of these words; Gluten, Cereal and Underground stem plant

3.Labeling of gluten-free foods shall include texts of “Gluten free” only. For foods that have undergone gluten-removal process, the text of “Being specially processed to remove gluten” shall be displayed together with the text of “Gluten free”.

4.Gluten analysis methods are established in compliance with rules and conditions of gluten assay in food

5.The Notification of the Ministry of Public Health (No.384) B.E.2560 (2017) Re: Labeling of Gluten-free Foods shall come into force from the 5th of April B.E.2560 (2017).

6.Food not displaying Gluten-free label in accordance with the stipulated regulations in this notification shall be deemed incompliant with the notification issued under Clause 6(10). Violators are subject to fine of not more than THB 30,000.

 

Fi Vietnam 2018…Dedicated Platform for A Fast Growing F&B Market

ตลาดเครื่องดื่มที่หลากหลาย…และการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้นจะผลักเวียดนามสู่ตลาดโลก

 

By: Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

 

Full article TH-EN 

 

Fi Vietnam 2018 งานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีด้านส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มระดับนานาชาติที่จัดขึ้น 2 ปีครั้ง โดย บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ครั้งนี้นับเป็นอีกความสำเร็จของการเป็นเวทีกลางระดับนานาชาติในการรวบรวมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มรวมถึงนวัตกรรมด้านส่วนผสมอาหารจากทั่วทุกมุมโลกไว้ในที่เดียว

Three Days Explorations

เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของเวียดนามและประเทศในอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด งาน Fi Vietnam 2018 ครั้งนี้จึงได้ขยายพื้นที่จัดแสดงเพื่อให้สามารถบรรจุเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านส่วนผสม พร้อมด้วยงานสัมมนาและการประชุมระดับนานาชาติคุณภาพมากมาย เพื่อรองรับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมได้อย่างครอบคลุมที่สุด

 

Fi Vietnam 2018, an international exhibition for food and beverage ingredients held twice a year by UBM Asia (Thailand) Co., Ltd., has reached its 3rd time milestone. The event has served as a central platform that successfully gathers ingredients and technologies for food and beverage industry from every corner of the world.

Three Days Explorations

Due to the rapid expansion of the food and beverage industry in Vietnam and other ASEAN countries, Fi Vietnam 2018 has enlarged its exhibit space to integrate food ingredient technology and innovation as well as many quality seminars and international conferences in one venue.

THAIFEX-World of Food Asia 2018

งานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชีย

 Full article TH-EN 

 

 

คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทของหอการค้าไทยในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศว่า “การจะพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านอาหารนั้นสิ่งสำคัญคือการเปิดโอกาสในการเรียนรู้รูปแบบธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ โดยสามารถดูได้จากงานในปีนี้ ซึ่งหอการค้าไทยและพันธมมิตรได้ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้าภายในงานเพื่อเรียนรู้เทรนด์ตลาด เทรนด์ของผู้บริโภค ตลอดจนนวัตกรรมจากต่างประเทศเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาธุรกิจของตนเองต่อไป”

 

“ปัจจุบันความต้องการของตลาดโลกเปลี่ยนเปลงไป โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาหาร การตรวจสอบย้อนกลับ ความแข็งแรงและความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ ราคาสมเหตุสมผล ความสะดวกในการส่งมอบสินค้า และภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยก็ควรปรับตัวและเลือกใช้นวัตกรรมให้เหมาะสม เช่น ระบบอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตมากขึ้น ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เน้นตลาดช่องทางนี้ควรมีเว็บไซต์ที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ชัดเจน และในอนาคตอาจจำเป็นต้องพัฒนาสร้างระบบการชำระเงินผ่าน QR code ด้วยเพื่อความสะดวกในการส่งมอบสินค้าและการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยหลายรายได้ก้าวเข้าสู่ตลาดโลกแล้ว โดยเป้าหมายต่อไปที่เราสนับสนุนก็คือการกระจายรายได้สู่ภาคเกษตรกร เนื่องจากอาหารไทยได้รับความนิยมมากสำหรับนักท่องเที่ยว ดังนั้น การส่งเสริมเรื่องของอาหารไทย ส่วนผสมและวัตถุดิบต่างๆ ของไทยให้มีคุณภาพ ไม่ใช้สารเคมี และสิ่งสำคัญคือแรงงานผิดกฎหมายที่เราต้องผลักดันให้ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานการค้าที่ทั่วโลกยอมรับ” คุณกลินท์ กล่าวสรุป

 

 

Mr.Kalin Sarasin, Chairman of Thai Chamber of Commerce and Board of Trade of Thailand gave an interviewing about the role of the Thai Chamber of Commerce in promoting Thai entrepreneurs to penetrate the international market that “To develop potential food entrepreneurs, the important thing is to broaden new revenue models or innovative technology solutions in moving towards a sufficiency-driven economy across a broader range of industry sectors. We can observe from THAIFEX 2018 which the Thai Chamber of Commerce and alliances have encouraged and supported Thai entrepreneurs to attend the event in order to learn about market trend, consumer trend, as well as innovation from overseas so that they can create value and develop their own business in the next step.”

 

“Dealing with dramatical changing demands of the world, Thai entrepreneurs should improve their business with appropriate innovations. Nowadays, consumers become concerning on food quality, traceability, strength, creative packaging, reasonable prices, ease of delivery, image of the brand as well as the e-commerce system, which is growing significantly. Therefore, SME and startup, which focus on the e-commerce market, should have easy-to-access websites, and clear message for communication to customers. In the future, they may need to develop a QR code payment system to facilitate the logistics system and systemize information storage. However, many Thai entrepreneurs have already entered to the world market, so the next target is to generate income back to farming sector. Since Thai food is very popular among tourists, the promotion of Thai food and quality ingredients as well as non-chemical farming and the Labour’s welfare policy will push the right economic direction to the international trading standards,” Mr.Kalin concluded.

Protein Hydrolysate: Alternative Food Ingredient to Improve the Quality of Sausage Products

โปรตีนไฮโดรไลเซท: ส่วนผสมทางเลือกเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ไส้กรอก

           

By: Kanokrat Limpisophon, Ph.D.

fagikrl@ku.ac.th

Phaeploy Pitakpirompai

Department of Food Science and Technology

Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University

 

Full article THEN  

 ไส้กรอกเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสัตว์ โดยการนำเนื้อสัตว์มานวดบดผสมกับเกลือ ไขมัน และเครื่องปรุงอื่นๆ บรรจุในไส้ของสัตว์หรือไส้เทียม เช่น ไส้คอลลาเจน ไส้พลาสติก ผลิตภัณฑ์ไส้กรอก หมายรวมถึง ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปในลักษณะดังกล่าวข้างต้น เช่น ไส้กรอกปลา กุนเชียง ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ไส้กรอก คือ โปรตีน และไขมัน ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเป็นอาหารที่สะดวกซื้อ อีกทั้งมีรสชาติที่หลากหลายอร่อยถูกใจผู้บริโภค แต่โดยทั่วไปมักพบปัญหาที่มีอายุการเก็บรักษาที่ไม่ยาวนาน เนื่องจากการเสื่อมเสียจากเชื้อจุลินทรีย์ และในด้านคุณภาพจากการเกิดกลิ่นหืนของส่วนประกอบที่เป็นไขมัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อสัมผัสและสีของผลิตภัณฑ์ได้ ดังนั้น จึงมีงานวิจัยหาแนวทางการใช้ประโยชน์โปรตีนไฮโดรไลเซท เพื่อการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ไส้กรอก

 

โปรตีนไฮโดรไลเซท คือ ผลิตภัณฑ์โปรตีนที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์โปรตีเอส ได้เป็นสารเปปไทด์ที่มีขนาดเล็กลงและกรดอะมิโนอิสระ สามารถใช้แหล่งโปรตีนทั้งจากพืชหรือโปรตีนจากสัตว์ เพื่อย่อยด้วยกระบวนการไฮโดรไลซิสและเอนไซม์ที่เหมาะสมให้กลายไปเป็นโปรตีนไฮโดรไลเซทประเภทต่างๆ ได้หลากหลายชนิด นอกจากนี้ โปรตีนไฮโดรไลเซทยังเป็นส่วนผสมอาหารเชิงหน้าที่ในระดับอุตสาหกรรม เช่น ในผลิตภัณฑ์ไส้กรอก เครื่องดื่มเสริมโปรตีน สำหรับการใช้โปรตีนไฮโดรไลเซทในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกจะมีผลช่วยในการปรับปรุงคุณภาพ และคุณลักษณะด้านต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ดังนี้

  1. เพิ่มความคงตัวด้านเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ไส้กรอก
  2. ชะลอการหืนและรักษาปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ในผลิตภัณฑ์
  3. เพิ่มกลิ่นรสและปรับปรุงเนื้อสัมผัส
  4. ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสีของไส้กรอก

อย่างไรก็ตาม การเติมโปรตีนไฮโดรไลเซทควรมีการปรับสูตรศึกษาหาปริมาณการใช้ที่เหมาะสมโดยเฉพาะในเรื่องรสชาติ เนื่องจากโปรตีนไฮโดรไลเซทบางประเภทจะให้รสขมกับผลิตภัณฑ์ได้

 

Sausage is one kind of comminuted meat products made by grinding meat, mixing with salt, fat, other seasoning ingredients and followed by stuffing into either a natural casing from animal intestines or synthetic casing such as collagen or plastic. Sausage can be made from various meats for example fish sausage, Chinese sausage, in which protein and lipid are the main components. Sausage is a convenience food and can have variety of tastes for various consumers. Generally, sausage has a short shelf-life due to microbial spoilage and off-flavor quality due to a rancidity of lipid components. Furthermore, there may be changes in texture and color of the products. Therefore, some researches have reported the use of protein hydrolysate to improve the quality of sausage products.

 

Protein hydrolysate is a product of protein hydrolyzed by the enzyme called protease which splitting protein into smaller peptides and free amino acids. Protein from both plant sources and animal sources can be used as a protein source to produce the protein hydrolysate. The protein hydrolysate can be used as a functional food ingredient in food industrial products. Since the protein hydrolysate provides a greater solubility than native proteins, contributes to a specific flavor, has an antioxidant activity, and improves food stability, the use of protein hydrolysate in sausage products then help to improve the quality and characteristics as follows;

  1. Stabilizing the texture of sausage products
  2. Slow down rancidity and maintain health benefit unsaturated fatty acids in products
  3. Enhancing flavor and improving texture
  4. Reducing color changes of the sausage

The addition of protein hydrolysate should be adjusted to the appropriate sausage recipe to suit the specific requirement, especially in flavor because some protein hydrolysates can give a bitter taste to the product.

STRONGHOLD OF THE INTERNATIONAL BAKING INDUSTRY

iba 2018 ศูนย์รวมแห่งอุตสาหกรรมขนมอบทั่วโลก

Full article TH-EN 

ในปี 2561 นี้อุตสาหกรรมการทำขนมอบทั่วโลกกำลังจะถูกรวบรวมไว้ที่ iba งานแสดงสินค้านานาชาติด้านเบเกอรี่ ขนมหวาน และขนมขบเคี้ยวระดับโลก ซึ่งจะจัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 15-20 กันยายน 2561 งาน iba ถือเป็นเวทีงานแสดงสินค้าที่เป็นจุดนัดพบของนักอบขนม เชฟเพสทรี เจ้าของภัตตาคาร เจ้าของธุรกิจคาเฟ่ ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจโรงแรม และนักจัดเลี้ยง ตลอดจนผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจจากตลาดค้าปลีกอาหารทั่วโลก งานแสดงสินค้านี้จะนำเสนอภาพรวมของตลาดขนมอบที่หาชมได้ยากครอบคลุม 12 ฮอลล์ สมกับที่เป็นแพลตฟอร์มชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรม โดยจัดแสดงนวัตกรรมล่าสุดและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งแต่ส่วนผสมสำหรับการอบขนมและวัตถุดิบต่างๆ ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์  https://www.iba.de/en

 

In 2018, the international baking industry will be dominated by iba, the world’s leading trade fair for bakery, confectionery and snacks, which will take place at Fairground Munich from 15 to 20 September 2018. This trade fair is the international meeting place for bakers, pastry chefs, restaurateurs, café owners, hotel professionals and caterers as well as decision-makers from the food retail market. As a premier platform, it offers an unparalleled market overview in 12 halls with all the latest innovations and products of the industry on display – from baking ingredients and raw materials to packaging.

More details on iba are available at https://www.iba.de/en

Vitamin B and Depression

วิตามินบีกับโรคซึมเศร้า

Siriporn Chaitharatip

Product Manager

Maneenuch Santinipanon

Product Advisor

Adinop Co., Ltd.

 

Full article TH-EN 

 

คนยุคมิลเลนเนียลกับโรคซึมเศร้า

ความเจริญทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด และการแข่งขันที่ดุเดือดในสังคมทุกวันนี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่คนรุ่นมิลเลนเนียลหรือคนวัยทำงานหลักในปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะความเครียดและกดดันมากขึ้น การที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวเป็นเวลานานและไม่มีวิธีการจัดการกับความเครียด จะทำให้คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ การศึกษาทางสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของโลกที่ทำให้คนสูญเสียสุขภาวะ โดยพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก1 สำหรับประเทศไทย มีผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 1.5 ล้านคน และมีผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงอีกจำนวนมาก2

สาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า คือความผิดปกติของสารเคมีในสมอง  ซึ่งสมองเป็นอวัยวะสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการระบบต่างๆ ในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพของสมองจะลดลงและอาจเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ  เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคอัลไซเมอร์  นอกจากความเครียดและความเสื่อมของเซลล์สมองแล้ว อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จาก ลักษณะทางพันธุกรรม และภาวะขาดสารอาหารได้อีกด้วย

 

Millennials and depression

The rapid growth of technology and keen competitions nowadays are main factors that put a lot of pressures and stress on the people in the millennial generation. For those who have been in the stressful situation for a long time and cannot handle their stress well, their risks of becoming depressed are higher. According to the World Health Organization (WHO), depression is the leading cause of disability worldwide with over 300 million sufferers1. In Thailand, there are more than 1.5 million people diagnosed with depression and many people are at risks2.

Brain chemical imbalance is one of the brain malfunctions that can lead to depression. The brain is a vital organ that controls all systems of the body, especially being the center of the nervous system. The efficiency of the brain decreases as we age which is linked to several neurological disorders including depression, anxiety, dementia and Alzheimer’s disease. Other factors that contribute to these neurological symptoms include genetic factors and malnutrition.

Beyond Immuno-Based Allergen Testing

เทคโนโลยีการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ที่เหนือกว่าเทคนิคทางระบบภูมิคุ้มกัน

 

Kurt Brunner, Ph.D.

Division Research Officer

Romer Labs Division Holding GmbH

kurt.brunner@romerlabs.com

Full article TH-EN 

 

เนื่องจากความจำเพาะเจาะจงสูงของแอนติบอดี้ที่จะจับกับโปรตีนซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้เพียงชนิดเดียวเท่านั้น รวมถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยีนี้ ชุดทดสอบแยกประเภทสารก่อภูมิแพ้จึงมีการนำมาใช้สำหรับตรวจสอบสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด นอกจากนี้ ระดับความจำเพาะเจาะจงที่สูงของสารก่อภูมิแพ้ยังอาจนำไปสู่การอ่านผลการวิเคราะห์ที่เป็นลบเทียมได้ ในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น การใช้ความร้อน การเติมสารประกอบประเภทกรดหรือการหมักสามารถทำให้โครงสร้างโปรตีนที่เป็นสารก่อภูมิแพ้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ โดยสารก่อภูมิแพ้ที่เปลี่ยนรูปไปนี้อาจสูญเสียคุณสมบัติทางภูมิคุ้มกัน และแอนติบอดี้ที่จำเพาะเจาะจงก็จะไม่สามารถเข้าจับกับโปรตีนที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ได้ต่อไป และนำไปสู่การอ่านผลการวิเคราะห์เป็นลบที่ไม่เป็นลบจริง หรือเพียงแค่มีปริมาณลดลง

 

เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าสำหรับการตรวจวัดและหาปริมาณสารก่อภูมิแพ้ คือ เทคนิค Mass Spectrometry โดยเป็นเทคโนโลยีการวิเคราะห์ชั้นสูงที่สามารถระบุแยกชนิดโปรตีนและเปปไทด์ด้วยความแม่นยำสูง ข้อได้เปรียบของเทคนิคนี้คือแม้ว่าโปรตีนจะมีการเสียสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างไปเนื่องจากสภาวะที่รุนแรงในการผลิต แต่ความน่าจะเป็นของการค้นหาอย่างน้อยหนึ่งชิ้นส่วนที่สมบูรณ์มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง

 

 

Due to the high specificity of antibodies towards only one particular allergenic protein and technology-related limitations, a separate kit has to be used for each allergen. Furthermore, the high degree of specificity to one allergen might lead to false negative results. Food processing steps like heat treatment, the addition of acidic compounds or fermentation can modify the target protein structure. These modified allergens can lose their immunological properties and the antibody – target protein complex cannot be formed anymore. This leads to false negative results or reduced quantifications.

 

An even newer technology for detecting and quantifying allergens is mass spectrometry, a high-tech method that identifies proteins and peptides with a very high level of accuracy. The advantage of this approach is that even if proteins are partially degraded or modified due to harsh food processing conditions, the probability of finding at least one intact fragment is quite high.

Foods for Brain Health and Cognitive Function

อาหารเพื่อสุขภาพสมองและการจดจำ

 

By: Alan Flanagan

Translated by:

กองบรรณาธิการ

นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

 

Full article TH-EN Page 44

 

ในบทความนี้จึงขอให้ข้อมูลด้านโภชนาการของอาหารที่มีหลักฐานการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ประสาท และช่วยให้สมองทำหน้าที่ในการจดจำได้ดีขึ้นได้

 

1.ปลา

หลักฐานสำคัญของสารอาหารที่ป้องกันต่อสภาวะการทํางานที่ลดลงของระบบประสาทและความจำ ได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 จากปลาทะเลน้ำลึก กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid: EPA) และกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid: DHA) เพียงแค่รับประทานปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูงหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อม กรดไขมันดีเอชเอนั้นเป็นกรดไขมันที่สำคัญและจำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อสมอง โดยพบมากในปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง เช่น แซลมอน แมคคาเรล ซาร์ดีน เฮร์ริง และแอนโชวี่

 

  1. ผักใบเขียว

สารอาหารสำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อสุขภาพสมองและความจำมีมากในแหล่งอาหารที่พบทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยอาหารประเภทผักโขม ผักเคล สวิสชาร์ด ผักกาดหอม ร็อกเก็ต ผักจำพวกกะหล่ำ บรอกโคลี เป็นต้น โดบผักเหล่านี้มีสารอาหารโดยเฉพาะวิตามินอี และบี9

 

สิ่งที่น่าสนใจของงานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินอีโดยให้ความสำคัญที่การเสริมวิตามินอีในการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครแบบมีกลุ่มควบคุมนั้นล้มเหลวต่อการเพิ่มหน้าที่การจดจำของสมอง วิตามินอีจึงดูเหมือนจะเป็นสารอาหารที่ควรได้จากการรับประทานอาหารเข้าไป

 

สำหรับวิตามินบี 9 เป็นอีกสารอาหารที่พบมากในผักใบเขียว รวมถึงกลุ่มวิตามินบีรวมก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทอันเนื่องจากหน้าที่ในกระบวนการทำงานของระบบประสาทนั้นมีความหลากหลาย

 

 

This article will give you a rundown of the nutrients and foods with the strongest evidence for neuroprotection, and for improving cognitive function.

  1. Fish

The strongest evidence for any nutrients protecting against cognitive decline lies with the marine omega-3 fatty acids, EPA & DHA; as little as 1 oily fish meal per week is associated with less incidence of AD and dementia. The primary benefit appears to derive from the fatty acid DHA, the main fatty acid in brain tissue that is found highly concentrated in oily fish like salmon, mackerel, sardines, herrings and anchovies.

  1. Dark Green Leafy Vegetables

Several nutrients vital for cognitive health are provided by this broad food group, which encompasses foods like spinach, kale, Swiss chard, lettuce, rocket, cabbage, broccoli etc. In particular, vitamin E and vitamin B9.

 

An interesting feature of vitamin E research worth paying attention to is supplementation in controlled trials has failed to improve cognitive function. Vitamin E thus appears to be a nutrient where dietary intake comes first.

 

Vitamin B9 is another nutrient abundant in dark green leafy vegetables, and the B-vitamin family has been implicated in neurological disease, due to their multiplicity of roles in neurological processes.

Northbound to India

ขึ้นเหนือไปอินเดีย

 

By:      Paisan Maraprygsavan, Ph.D.

Director

Industrial and Service Trade Research Division

Trade Policy and Strategy Office

Ministry of Commerce

paisan711@gmail.com

Full article TH-EN 

 

 

อีก 1 ปี เราจะได้นั่งรถทะลุแม่สอดไปอินเดียด้วยเวลาเพียงครึ่งวัน โดยถนนสายใหม่ไตรภาคีไทย-เมียนมา-อินเดีย นอกจากจะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวใหม่แล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้าไทยเจาะตลาดอินเดียและจีนที่มีประชากรรวมเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลดีทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของภูมิภาคและของโลกอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ขณะที่ไทยก็จะกลายเป็นประตูสู่ตลาดใหญ่ในอินเดีย (1,300 ล้านคน) จีน (1,400 ล้านคน) และอาเซียน (600 ล้านคน) อย่างเต็มตัว และช่วยดึงดูดการลงทุนมาสู่ไทยมากยิ่งขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทั้งญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง รัสเซีย และสิงคโปร์มากเป็นพิเศษ สอดคล้องกับผลการศึกษาของธนาคารพัฒนาเอเชียที่ได้ระบุว่าพลวัตรของเศรษฐกิจโลกกำลังเคลื่อนตัวสู่เอเชีย โดยมีจีนและอินเดียเป็นตัวจักรสำคัญ

ปัจจุบันความเคลื่อนไหวของมหาอำนาจที่สำคัญ คือ การเข้าไปร่วมพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น (ในไทยและอินเดีย) จีน (ในปากีสถาน เมียนมา ลาว และศรีลังกา) เกาหลีใต้ (ในเวียดนาม) ดังนั้น ไทยจึงควรเตรียมความพร้อมในระดับนโยบายในการเข้าไปร่วมพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจไตรภาคีแห่งนี้ ซึ่งมีศักยภาพสูงที่จะเกิดระเบียงเศรษฐกิจในทำนองเดียวกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทยด้วย อันจะช่วยสร้างโอกาสทางการส่งออก/การลงทุนที่หลากหลายให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

In one year time, we will be able to drive through Mae Sot all the way to India in just half a day, on the brand new India-Myanmar-Thailand Trilateral Highway. Apart from being the newest road-trip destination, this new highway is the new channel through which Thai goods can access Indian and Chinese markets where almost half the world’s populations reside. This benefits Thailand in stepping up as the center of the region’s and global economic and trade, making Thailand a true portal into enormous markets: India (1.3 billion people), China (1.4 billion) and ASEAN (600 million), as well as drawing more investment into the country. So, it came as no surprise that Thailand’s Eastern Economic Corridor (EEC) has attracted much attention from investors from Japan, China, Hong Kong, Russia and Singapore. The direction of development coincided with the study of the Asian Development Bank (ADB) that indicated the moving dynamic of global economy towards Asia with China and India as the main driving gears.

 

Many of the world’ s superpowers are, as the global trend now, taking parts in developing new economic corridors with less developed countries, such as Japan (in Thailand and India), China (in Pakistan, Myanmar, Lao PDR and Sri Lanka), and South Korea (in Vietnam). We should get ready and have relevant policies prepared to join in developing this Trilateral project that can potentially lead to similar initiative to the EEC, that will enhance opportunity in exporting/investing for Thai traders in the long run.