Page 45 - FoodFocusThailand No.157 April 2019
P. 45

STRATEGIC R & D




                   เมื่อแบคทีเรียชนิดที่มีประโยชน์ไปย่อยหรือหมักองค์ประกอบในสาหร่าย จะ
                ท�าให้เกิดการสร้างเมทาบอไลท์ที่เป็นประโยชน์ เช่น กรดไขมันสายสั้น โดยเฉพาะ
                กรดบิวทิริก กรดอะซิติก และกรดโพรพิโอนิก (de Jesus Raposo และคณะ, 2016)
                กรดบิวทิริกเป็นแหล่งพลังงานที่ส�าคัญของเซลล์ล�าไส้ใหญ่ ช่วยรักษาความสมบูรณ์
                แข็งแรงของเนื้อเยื่อล�าไส้ กระตุ้นการตายของเซลล์ที่เกิดการเสียหายของ DNA ใน
                ระดับสูงแบบ Apoptosis ส่วนกรดอะซิติกสามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย
                กลุ่ม Enteropathogenic และกรดโพรพิโอนิกที่ผลิตขึ้นภายในล�าไส้อาจมีอิทธิพล
                ต่อการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ (Raman และคณะ, 2016) นอกจากนี้
                กรดไขมันสายสั้นยังส่งผลต่อสุขภาพหลายด้าน รวมถึงการป้องกันโรคต่างๆ เช่น
                โรคอ้วน โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังหรือหืดหอบ โรคมะเร็ง และโรคล�าไส้-
                อักเสบตลอดจนการควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน การรักษาระดับความสมดุลของ
                กลูโคสเมทาบอลิซึมของไขมัน และการควบคุมความหิว (Koh และคณะ, 2016;
                Morrison และ Preston, 2016)
                   ปัจจุบันมีรายงานการเปลี่ยนแปลงเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อล�าไส้และ
                การตอบสนองต่อพรีไบโอติก ในหลายการศึกษากล่าวถึงพรีไบโอติกที่ได้จากสาหร่าย
                ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2559 Charoensiddhi และคณะพบว่า สารสกัดจากสาหร่าย
                สีน�้าตาล Ecklonia radiata มีคุณสมบัติเร่งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็น
                ประโยชน์ เช่น Bifidobacterium และ Lactobacillus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ระบุสมบัติ
                การเป็นพรีไบโอติกและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ในปี 2558 Kuda และคณะ พบว่าโซเดียม
                อัลจิเนตและลามินารานจากสาหร่ายสีน�้าตาล มีผลไปยับยั้งการเกาะติดและ
                การบุกรุกของจุลินทรีย์ก่อโรค ได้แก่ Salmonella Typhimurium, Listeria
                monocytogenes และ Vibrio parahaemolyticus ใน Human enterocyte-like
                HT-29-Luc cells ส่วนผลการทดลองของ Liu และคณะในปี 2558 พบว่า มีการเพิ่มขึ้น
                ของจุลินทรีย์ในล�าไส้ที่เป็นประโยชน์ เช่น Bifidobacterium breve และการลดลง
                ของแบคทีเรียก่อโรค เช่น Clostridium septicum และ Streptococcus pneumonia
                ในสัตว์ทดลองประเภทหนูที่ได้รับการเสริมอาหารด้วยสาหร่ายสีแดง Chondrus
                crispus นอกจากนี้พอลิแซคคาไรด์ที่มีน�้าหนักโมเลกุลต�่าพัฒนาจากสาหร่ายสีแดง
                Gelidium sesquipidale ช่วยเพิ่มจ�านวน Bifidobacterium สูงขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญ
                และส่งเสริมการผลิตอะซิเตทและโพรพิโอเนตอีกด้วย (Ramnani และคณะ,
                2012)

                ภาพรวมของโอกาสและอนาคต
                สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสาหร่ายนั้นเป็นที่น่าจับตามองในเชิงพาณิชย์ส�าหรับ
                พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์ต่อ
                สุขภาพล�าไส้และคุณสมบัติพรีไบโอติกตามที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์
                จากสาหร่ายในด้านนี้ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ประเทศไทยมีความหลากหลายของ
                สาหร่ายตลอดชายฝั่งทะเลที่มีความยาวถึง 2,614 กิโลเมตร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                สาหร่ายเหล่านี้ยังคงถูกใช้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ยังไม่เพิ่มมูลค่าให้กับประชากรที่
                อาศัยใกล้ชายฝั่งเท่านั้น แม้ว่าการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในประเทศไทยจะมีการพัฒนา
                มาตั้งแต่ปี 2529 ก็ตาม แต่การใช้ประโยชน์จากสาหร่ายในปัจจุบันยังคงมีข้อจ�ากัด
                กล่าวคือ ใช้ในการผลิตวุ้นอะการ์ อาหารสัตว์ และการบ�าบัดน�้าเสียในบ่อเลี้ยงกุ้ง
                เท่านั้น สาระส�าคัญของบทความนี้มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาและขยายรูปแบบการใช้
                ประโยชน์จากสาหร่ายเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม
                ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีความตระหนัก
                ด้านสุขภาพ และช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ


                                                                                                   APR  2019 FOOD FOCUS THAILAND  45


         44-47_Strategic R&D_Suwimol.indd   45                                                                       18/3/2562 BE   20:29
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50