Page 73 - 147
P. 73

STORAGE, HANDLING & LOGISTICS









                                                                              รูปที่ 1 ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกที่ตลาดหุ่นยนต์
                                                                              ในอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มเติบโตเร็วที่สุดในปี 2560-2565
                                                                              Figure 1 Countries in Asia Pacific to be the Fastest Growing in The
                                                                              Global Food Robotics Market from 2017-2022  (USD Million)
                                                                              ที่มา/Source: Secondary Literature, Expert Interviews,
                                                                              and MarketsandMarkets Analysis





            ประสิทธิผลในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25
            เมื่อเทียบกับการผลิตแบบแมนนวล
               อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนแรงงานที่มี
            ทักษะในการควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติอาจเป็น
            อุปสรรคส�าคัญในการเติบโตของตลาดหุ่นยนต์
            ด้านอาหาร นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูง
            รวมทั้งค่าซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ควบคุม อุปกรณ์พ่วง
            และไดรฟ์ต่างๆ ก็เป็นอุปสรรคที่ส�าคัญในการ-
            เติบโตของตลาดหุ่นยนต์เช่นกัน
               ในช่วงปี 2560-2565 ตลาดหุ่นยนต์ใน
            อุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มจะเติบโตมากที่สุด
            ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากผู้บริโภคมี
            ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน
            เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญในช่วงทศวรรษ
            ที่ผ่านมา โดยตลาดที่ส�าคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน
            เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และอินเดีย ซึ่งมี
            การน�าเข้าหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มมาก
            ขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่าน
            เข้าสู่สังคมเมืองและรายได้ที่เพิ่มขึ้นยังท�าให้
            ผู้บริโภคมีก�าลังซื้อ น�าไปสู่การขยายตัวของ
            ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารพร้อม-
            รับประทาน
               แม้ว่าหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมอาหารจะถูกน�า
            มาใช้ในกระบวนการบรรจุและจัดวางพาเลท
            เป็นหลัก แต่ในกระบวนการอื่นๆ เช่น การบรรจุใหม่
            การหยิบและวางสินค้า รวมทั้งการแปรรูป ก็เริ่มมี
            การน�าหุ่นยนต์มาใช้กันมากขึ้น นอกจากนี้ การน�า
            หุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารยังมี
            แนวโน้มทางบวก เพื่อจัดการกับปัญหาอาหาร-
            ปลอดภัย เพิ่มความแม่นย�า และเพิ่มปริมาณการผลิต
            ในภาพรวม ไม่เพียงเท่านั้น การพัฒนาระบบ
            คอมพิวเตอร์และระบบควบคุมที่มีความซับซ้อน
            ในราคาที่ถูกลง ยังท�าให้กระบวนการผลิตอาหาร
            ที่ไม่เคยท�าได้มาก่อนสามารถท�าได้ด้วยต้นทุน
            ที่ถูกลงในอนาคตอันใกล้


                                                                                            JUN  2018 FOOD FOCUS THAILAND  69
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78