Page 30 - FoodFocusThailand No.156 March 2019
P. 30
SPECIAL FOCUS
SPECIAL FOCUS
สุดารัตน์ ฉายโฉมเลิศ
Sudarat Chaichomlert
Professional of Virus and Serology
Betagro Science Center Co., Ltd.
sudaratc@betagro.com
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
และสัตว์ปีกอนามัย
เนื้อสัตว์อนามัย หมายถึง เนื้อสุกร เนื้อโค และเนื้อสัตว์ปีกรวมทั้งเครื่องใน
ที่อยู่ในสภาพแช่เย็นหรือแช่แข็งมีความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง
และปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้มาตรฐานของ
โครงการเนื้อสัตว์อนามัยเป็นเกณฑ์ตัดสิน
“เนื้อสัตว์” จัดเป็นประเภทอาหารที่มีประโยชน์อย่างส�าคัญต่อการเจริญเติบโต
ของร่างกาย เนื่องจากมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งเป็นแหล่งของกรดอะมิโน
ที่จ�าเป็น (Essential amino acid) ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนจะส่งผลท�าให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต เป็นโรคโลหิตจาง ผอม
แคระแกร็น กล้ามเนื้อไม่มีแรงและเสียการทรงตัว นอกจากนี้ ในเด็กอายุระหว่าง 1-5 ปี ที่ขาดโปรตีน
และพลังงานอย่างรุนแรงนั้นจะส่งผลให้เด็กมีลักษณะพุงโร ผิวหนังอักเสบและเป็นสีแดง ร่างกาย
มีความต้านทานโรคต�่า เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเจ็บป่วยแล้วจะหายช้าและมีสติปัญญาต�่า
ใส่ใจคุณภาพและความปลอดภัยตั้งแต่ฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภค
สัตว์ที่ใช้เนื้อเพื่อบริโภค ได้แก่ เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เนื้อหมู เนื้อโค เนื้อแพะ เนื้อแกะ เนื้อควาย
เนื้อสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน และนกทุกประเภท อย่างไรก็ตาม เนื้อสัตว์ที่ผู้บริโภคนิยมกันอย่าง
แพร่หลายและมีการเลี้ยงเป็นระบบอุตสาหกรรมนั้น ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ และโคเนื้อ การเลี้ยงในระบบ
อุสาหกรรมทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศ และการส่งออกต้องมีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานตั้งแต่
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์จนถึงผู้บริโภค โดยระบบการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานควรตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน
โรงเรือนสร้างด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรง มีการท�าความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยง
อย่างสม�่าเสมอ มีการก�าจัดของเสีย ขยะ และสิ่งปฏิกูล รวมทั้งมีการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
โรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีการควบคุมคุณภาพ ไม่เป็นเชื้อราหรือมี
เชื้อแบคทีเรียก่อโรค กรณีที่ซื้ออาหารสัตว์จากร้านขายอาหารสัตว์ ต้องเป็นร้านขายอาหารสัตว์ที่มี
ใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรณีผสมอาหารสัตว์ใช้เอง อาหารสัตว์
ต้องมีคุณภาพเป็นไปตามที่กฎหมายก�าหนด สัตว์ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค การใช้ยา
ส�าหรับสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อก�าหนดในการใช้ยาส�าหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540) ควรหยุดการใช้ยา
ก่อนส่งสัตว์เข้าโรงฆ่าสัตว์ 7-14 วัน หรือตามค�าแนะน�าของฉลากยา และไม่ใช้ยาสัตว์ที่ไม่มีทะเบียน
หรือยาเถื่อน ไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลงในขณะเลี้ยงสัตว์ การใช้ยาฆ่าแมลงในฟาร์มต้องเป็นชนิดที่กฎหมาย
อนุญาตให้ใช้ได้ และไม่ควรเป็นชนิดที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มท�าหน้าที่ดูแล
28 28 FOOD FOCUS THAILAND MAR 2019AR 2019
FOOD FOCUS THAILAND M