Page 35 - 150
P. 35
SPECIAL FOCUS
จากรายงานระบุว่าปี 2556 ผลิตภัณฑ์อาหาร Gluten-free มีมูลค่าทาง
การตลาดทั่วโลกประมาณ 4.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกลุ่มผู้บริโภคมีอยู่
ทั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เยอรมนี แคนาดา และประเทศใน
ทวีปเอเชีย ในปี 2558 มีรายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์อาหาร Gluten-free มีอัตรา
เติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีประมาณร้อยละ 10.4 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโต
เพิ่มขึ้นจาก 4.60 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 7.59 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี
2563 และจากการคาดการณ์ในอีก 7 ปีข้างหน้า (ช่วงปี 2561-2568) ตลาด
ของผลิตภัณฑ์อาหาร Gluten-free จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์
อาหาร Gluten-free หลักในตลาดได้แก่ เบเกอรี นมทางเลือก ขนมหวานและ
ไอศกรีม และพาสต้า
เมื่อมองในมุมของผู้ผลิตอาหาร ข้อมูลผู้ที่มีอาการแพ้กลูเตนที่เพิ่มขึ้นและ
ข้อมูลการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร Gluten-fee ที่กล่าวข้างต้นนั้น
เป็นโอกาสส�าคัญของประเทศไทย กล่าวคือ ข้าวเป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่ใช้ใน
การผลิตอาหาร Gluten-free แทนการใช้ธัญพืชที่มีกลูเตนได้ ซึ่งประเทศไทย
เป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ทุกภาคของประเทศไทยมีการปลูก
ข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ที่ผ่านการพัฒนาแล้ว โดยที่
ข้าวไทยแต่ละสายพันธุ์มีคุณลักษณะทั้งทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการผลิตอาหาร Gluten-free โดยใช้ข้าวไทยเป็นวัตถุดิบจึงเป็นเรื่องที่
น่าสนใจเป็นอย่างมากและน่าจะสามารถท�าได้ทั้งผู้ประกอบการผลิตอาหาร
ระดับ SME และระดับอุตสาหกรรม เพื่อจ�าหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร Gluten-free
ภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ส�าหรับสูตร วิธีการ และเทคโนโลยี
การผลิตอาหาร Gluten-free โดยการใช้ข้าวไทยนั้น ผู้ผลิตจ�าเป็นต้องมี
การคิดค้น พัฒนา และทดลองก่อนการผลิตจริง เพราะข้าวมีโปรตีนน้อย และ
คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนข้าวมีความเหมาะสมส�าหรับการผลิตอาหาร
แต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น โปรตีนข้าวมีความสามารถในการเกิดเจลได้ดี
เหมาะส�าหรับการท�าผลิตภัณฑ์อาหารเส้นและขนมบางชนิด แต่โปรตีนข้าว
มีคุณสมบัติในการเป็นอิมัลซิฟายเออร์และการเกิดฟองได้ไม่ดีจึงไม่เหมาะ
ส�าหรับการท�าผลิตภัณฑ์เบเกอรีและไอศกรีม เป็นต้น ผู้ผลิตอาจใช้สารเจือปน
อาหารชนิดและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้คุณลักษณะและคุณภาพของ
อาหาร Gluten-free เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ในเบื้องต้นผู้ผลิตสามารถหา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหาร Gluten-free ได้เองจากการสืบค้นรายงานการวิจัยที่
นักวิจัยทั่วโลกศึกษาไว้แล้วจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ และจากการใช้ระบบ
สืบค้นสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (www.
ipthailand.go.th) ที่สามารถสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีการจดสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ไว้แล้วได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตามในการผลิตจริง ผู้ผลิต
อาจต้องขอค�าแนะน�าจากนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อาหาร Gluten-free เพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพและผลิตภัณฑ์
ที่ได้มีคุณภาพดี
การผลิตอาหาร Gluten-free โดยใช้ข้าวไทยเป็นวัตถุดิบหลัก นอกจากจะ
ช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร
แปรรูปของประเทศไทยและช่วยพัฒนาศักยภาพการผลิตอาหารของผู้ประกอบ-
การไทยให้เชี่ยวชาญมากขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทยซึ่งน่าจะมี
ส่วนช่วยให้ชาวนาไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้
หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตอาหาร
Gluten-free ที่มีคุณภาพดีเหมาะสมกับการแข่งขันในตลาดโลก
SEP 2018 FOOD FOCUS THAILAND 33