Page 58 - 150
P. 58

SURF THE AEC
       SURF THE AEC
       SURF THE AEC
                                                                                              สถาบันอาหาร
                                                                                              กระทรวงอุตสาหกรรม
                                                                                              National Food Institute
                                                                                              Ministry of Industry

                       ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และมีสังคมการท�างานที่มีความเครียดสูง ส่งผลให้ประชากร
                       ชาวญี่ปุ่นจ�านวนมากประสบปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคคอเลสเตอรอลสูง โรคระบบ
                       ไหลเวียนโลหิตผิดปกติ และโรคความจ�าเสื่อม ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นทั้งผู้สูงอายและผู้ที่อยู่ในวัยท�างานต่างหันมาใส่ใจ

                       ในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองและคนในครอบครัวมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น
                       ยุคใหม่ยังมีความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น  และพร้อมที่จะ
                       จ่ายเงินเพิ่มในการซื้อสินค้าดังกล่าว จึงเป็นโอกาสที่ดีส�าหรับผู้ประกอบการไทยที่จะ

                       ขยายโอกาสทางการค้าและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของไทยไปสู่ตลาดญี่ปุ่น


                      ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพญี่ปุ่น...



                                                  กับโอกาสของผู้ประกอบการไทย




                       สถานการณ์ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพญี่ปุ่น
                       ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในญี่ปุ่นมีทิศทางการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 พบว่า มีมูลค่าการจ�าหน่ายภายในประเทศรวม 5,450.2
                       พันล้านเยน หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2556-2560) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวญี่ปุ่นมีความต้องการ
                       ยกระดับสภาพการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาหารเพื่อสุขภาพทุกประเภทผลิตภัณฑ์ในตลาด
                       ญี่ปุ่นมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นเครื่องดื่มประเภท Better for You ที่มีการลดปริมาณสารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย
                       เช่น น�้าตาล คาเฟอีน เป็นต้น ซึ่งพบว่าเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่นลดลง โดยสินค้าอาหารประเภท Free From ที่มีการสกัดสารก่อให้
                       เกิดอาการแพ้ เช่น กลูเตน แลคโตส ออกไป ซึ่งแม้จะมีมูลค่าตลาดไม่มากนัก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น แต่กลับได้รับความนิยม
                       และเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 6.6 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (รูปที่ 1)
                          กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มประเภท Naturally Healthy ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ข้าวกล้อง และประเภท
                       Fortified/ Functional ที่มีการเพิ่มสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น คอลลาเจน เป็นกลุ่มสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพที่ครองตลาดส่วนใหญ่ของ
                       ญี่ปุ่น มีสัดส่วนร้อยละ 51.6 และ 35.6 ของมูลค่าการจ�าหน่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทั้งหมดในตลาดญี่ปุ่น ปี 2560
                       ตามล�าดับ (รูปที่ 2) โดยเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์เพื่อสุขภาพ เป็นชนิดสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดญี่ปุ่น มีส่วนแบ่ง
                       ร้อยละ 58.1 ตามด้วยผลิตภัณฑ์จากนม มีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 16.4 (รูปที่ 3)
                          ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีระเบียบข้อก�าหนดเกี่ยวกับระบบควบคุมดูแลด้านมาตรฐาน/ความปลอดภัยสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพที่จ�าหน่ายในตลาด
                       ญี่ปุ่นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เรียกว่า “Food with Health Claims (FHC)” ซึ่งสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพของญี่ปุ่นจะครอบคลุมถึงกลุ่มอาหารที่
                       ใช้เฉพาะเพื่อสุขภาพ หรือ FOSHU (Food for Specific Health Uses) อาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ส่งผลดีต่อร่างกาย (Food with
                       Nutrient Function Claims) อาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Food with Function Claims) และรวมถึงอาหารที่มีวัตถุประสงค์ในการบริโภค
                       เฉพาะทาง หรือ FOSDU (Food for Special Dietary Uses) อาทิ อาหารทางการแพทย์ อาหารส�าหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร อาหาร
                                                      ทารก และอาหารผู้สูงอายุ โดยผู้น�าเข้าสินค้าเหล่านี้จะต้องยื่นขอและผ่านการอนุญาตจาก
                                                      Consumer Affairs Agency (CAA) ในการระบุสรรพคุณบนฉลาก อย่างไรก็ตาม ระเบียบ
                                                      ดังกล่าวเป็น การก�าหนดวิธีการระบุฉลากสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งสินค้าอาหาร
                                                      ทุกประเภทจ�าเป็นต้องผ่านการตรวจและได้รับอนุญาตให้จ�าหน่ายได้ภายใต้กฎหมาย
                                                      สุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Act) และ/หรือกฎหมายคุ้มครองพืช (Plant Protection
                                                      Act) ของญี่ปุ่นเป็นปกติเช่นเดิม
                                                      ภาวะการแข่งขันในตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของญี่ปุ่น
                                                      แม้ว่าบริษัท Coca-Cola จะคงความเป็นผู้น�าในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพของญี่ปุ่น
                                                      โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.6 ของมูลค่าการค้าปลีกสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพทั้งหมดใน
                                                      ประเทศ ในปี 2559 จากการได้รับความยอมรับและความเชื่อมั่นที่ดีของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น
                                                      ทั้งในสินค้าเครื่องดื่มฟังก์ชันนอลส�าหรับนักกีฬา ภายใต้ตรา Aquarius ไปจนถึงชาเขียว
       56  FOOD FOCUS THAILAND  SEP  2018
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63