Page 48 - 151
P. 48

STRATEGIC R & D


        สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึงปรากฏการณ์ที่สัดส่วนผู้สูงอายุในสังคมสูงมากเมื่อเทียบกับจ�านวนประชากรทั้งหมด

        ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ (UN) ได้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 หรือ
        อายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ
        โดยสมบูรณ์ (Aged society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 และอายุ 65 ปีขึ้นไป
        เพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 14 โดยอ้างอิงจากส�านักงานสถิติแห่งชาติ
        The Effects of









        Whey Protein


        on Sarcopenia in Older Adults


        การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่อง

        ในผู้สูงอายุโดยเวย์โปรตีน







        ฝ่ายบริการเทคนิคและประกันคุณภาพ
        Technical Service and Quality Assurance Department
        I.P.S. International Co., Ltd.
        IPS.TSQA@gmail.com





           ทั้งนี้ จากการศึกษาเรื่องภาวะกล้ามเนื้อพร่องใน
        ผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่า “Sarcopenia” ซึ่งเป็นภาวะที่
        ร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อลดลงและมีไขมันเพิ่มขึ้น แต่
        ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงนั้น พบว่า “ภาวะ
        กล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงอายุ” ในช่วงอายุตั้งแต่ 40-70 ปี
        มวลกล้ามเนื้อจะลดลงกว่าร้อยละ 8 ต่อ 10 ปี และ
        จะเด่นชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 70 ปี โดยมวลกล้ามเนื้อ
        จะลดลงกว่าร้อยละ 15 ต่อ 10 ปี ซึ่งการลดลงของมวล
        กล้ามเนื้อจะแปรผันตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุหลัก
        มาจากหลายปัจจัย ได้แก่ การไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อ
        การเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นตามวัย การได้รับ
        สารอาหารที่ไม่เพียงพอ รวมถึงการมีกิจกรรมทางกาย
        ที่ลดลง ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อพร่องจะมีโอกาสหกล้ม
        และเกิดการแตกหักของกระดูก เพราะนอกจากการ
        ลดลงของมวลกล้ามเนื้อแล้ว ก็พบการลดลงของมวล
        กระดูกในผู้สูงอายุเช่นกัน โดยวิธีที่จะช่วยป้องกันภาวะ
        กล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงอายุคือ การรับประทานโปรตีน
        เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ



       46 FOOD FOCUS THAILAND  OCT  2018
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53