Page 56 - 151
P. 56

STREN
       STRENGTHEN THE PACKAGINGGTHEN THE PACKAGING

       เทคโนโลยีและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร


       ส�ำหรับผู้บริโภคยุค 4.0




       ผู้บริโภคยุคใหม่มีรูปแบบการด�ารงชีวิตที่ต้องการความสะดวกสบาย  ชอบสิ่งแปลกใหม่  และพร้อมที่จะปรับตัวตามเทคโนโลยี
       ที่เปลี่ยนแปลงไป ท�าให้แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว นอกจากนี้
       นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลในปัจจุบันยังส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นเองภายในประเทศ รวมถึงกระตุ้น

       การส่งออกเทคโนโลยีและนวัตกรรมแทนการน�าเข้า  เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
       และอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและระดับโลก

                                                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย หาญการสุจริต
                                                                          Assistant Professor Nathdanai Harnkarnsujarit, Ph.D.
                                                                          Department of Packaging and Materials Technology
                                                                          Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University
                                                                          nathdanai.h@ku.ac.th


                                            ภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์เป็นเสมือนหน้าต่างของสินค้าที่มีต่อผู้บริโภค ท�าหน้าที่ปกป้อง อ�านวยความสะดวก
                                          และสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ด้านการออกแบบและเทคโนโลยีจะช่วยตอบโจทย์ผู้บริโภค
                                          ยุคใหม่ ตลอดจนส่งเสริมนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ ซึ่งตัวอย่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เห็นได้ในประเทศ
                                          ได้แก่

                                           บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยอ�ำนวยควำมสะดวกแก่ผู้บริโภค  บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือส�าคัญในการอ�านวย
                                       1ความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อและผู้บริโภคอาหาร การออกแบบโครงสร้างภาชนะบรรจุจะช่วยอ�านวยความสะดวกใน
                                     การใช้งานบรรจุภัณฑ์อาหาร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และยังอาจช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า ตัวอย่างเช่น
                                     การเพิ่มความสะดวกในการหยิบจับถือหรือหิ้วภาชนะได้ถนัดมือ ความสะดวกในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม เช่น
                                     บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวส�าหรับอาหารเหลวบรรจุในถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่มีลายพิมพ์สวยงามมีการออกแบบปากถุงคล้าย
                                     หลอดดูดที่ผู้บริโภคสามารถเปิดรับประทานได้ทันที การออกแบบฝาที่ใช้นิ้วดันเปิด-ปิดได้สะดวกในขณะที่สามารถดูด
                                     เครื่องดื่มเหลวได้ง่ายไม่หกเลอะเทอะ ความสะดวกในการปิดผนึกและเปิดบริโภคซ�้าส�าหรับขนมขบเคี้ยว ความสะดวก
                                     ในการอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟและ/หรือเตาอบส�าหรับอาหารพร้อมบริโภค ฯลฯ และมีงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์
                                     ระหว่างการออกแบบรูปทรงหรือส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้าง เช่น ความสูงหรือขนาดของฝา ลักษณะและปริมาณเกลียว
                                     บนฝาขวดบรรจุต่อแรงบิดที่ใช้ในการเปิดผนึก เพื่อใช้ในการออกแบบโครงสร้างฝาส�าหรับผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงวัย การออกแบบ
                                     โครงสร้างดังกล่าวต้องอาศัยการศึกษาหลักวิทยาศาสตร์ทางสรีรวิทยา หลักวิศวกรรมการบรรจุ ควบคู่กับการท�าความ-
                                     เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคส�าหรับอาหารแต่ละชนิด
                                              นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุบรรจุประเภทต่างๆ เพื่ออ�านวยความสะดวกต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะ
                                                 การเปิด-ปิดผนึกภาชนะ เช่น การผลิตฟิล์มพลาสติกปิดผนึกถ้วยหรือถาดที่ลอกง่าย (Easy-peel)
                                                       ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่ การเคลือบผิวหรือลามิเนต โดยควบคุมแรงพันธะระหว่างผิวหน้า
                                                              ฟิล์มชั้นปิดผนึกและผิวหน้าถ้วยหรือถาดที่เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ท�าให้ผู้บริโภค
                                                                  ออกแรงเพียงเล็กน้อยก็สามารถเปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ได้ ในขณะที่รอยปิดผนึก
                                                                      มีความแข็งแรง เทคโนโลยีซองฉีกง่าย และการควบคุมทิศทาง
                                                                             (Direction) ของรอยฉีกด้วยการใช้แสงเลเซอร์ หรือ “Laser-
                                                                               microperforation” โดยฟิล์มที่ใช้ผลิตซองนั้นจะผ่าน
                                                                       กระบวนการท�ารอยบากด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้สามารถควบคุม
                                                                     ทิศทางการฉีกขาดได้ดีขึ้น
                                                                    ผู้บริโภคส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเปิดผนึกส�าหรับอาหารกระป๋อง
                                                             ท�าให้ฝากระป๋องมีวิวัฒนาการเพื่อความเปิดง่ายอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตกระป๋องใน
                                                           ประเทศไทยมีการพัฒนาฝากระป๋อง เช่น การใช้ห่วงปิดลงบนฝาเพื่อให้ผู้บริโภคดึงฝา
                                                         ออกได้ง่าย การพัฒนาเทคโนโลยีของวัสดุปิดผนึกกระป๋องด้วยแผ่นฟอยล์ที่สามารถทนทาน
                                                       ต่ออุณหภูมิสูงและแรงดันในกระบวนการแปรรูปด้วยความร้อน (Thermal processing) และ
       54 FOOD FOCUS THAILAND OCT 2018
       54 FOOD FOCUS THAILAND  OCT 2018
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61