Page 65 - FoodFocusThailand No.159 June 2019
P. 65

STRATEGIC R & D




                 ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ หรือวอลนัท มีผลดีต่อไขมันในเลือด โดย
                 สามารถช่วยลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล และลดอัตราส่วนของ
                 คอเลสเตอรอลทั้งหมดต่อเอชดีแอลคอเลสเตอรอลได้ ท�าให้มีผลในการ-
                 ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยิ่งไปกว่านั้น ถั่วส่วนมากจะอุดมไปด้วย
                 กรดอะมิโนอาร์จีนิน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างสารเพื่อการผ่อนคลาย
                 (Relaxing factor) จากเอนโดทรีเลียมและไนตริกออกไซด์ซึ่งช่วยขยาย
                 หลอดเลือด นอกจากนี้ ในถั่วยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ เช่น
                 แมกนีเซียม คอปเปอร์ กรดโฟลิก โพแทสเซียม วิตามินดี และใยอาหาร


                 ธัญพืชไม่ขัดสี
                 ธัญพืช คือ อาหารพื้นฐานของหลายชนชาติ การบริโภคธัญพืชอาจจะอยู่ใน
                 รูปของธัญพืชเดิม หรือในรูปของแป้งที่ผ่านกระบวนการบด ซึ่งกระบวนการ-
                 บดแป้งนอกจากจะท�าให้ขนาดเล็กลงแล้ว ยังเป็นการขัดร�าที่ผิวนอกของ
                 ธัญพืชและจมูกของธัญพืชส่วนมากออกไป ส่งผลให้สูญเสียวิตามิน แร่ธาตุ
                 ใยอาหาร กรดไขมันจ�าเป็น และสารพฤกษเคมี
                    ผลจากการสูญเสียร�าและการบดเอนโดเสปิร์มให้มีขนาดเล็กลง ท�าให้
                 ธัญพืชถูกย่อยและดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระดับน�้าตาลในเลือดและ
 ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น
                 อินซูลินเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ท�าจากธัญพืชทั้งเมล็ดจะมีค่าดัชนี
 Sudathip Sae-tan, Ph.D.
 Department of Food Science and Technology  น�้าตาลต�่ากว่าผลิตภัณฑ์ที่ท�าจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสี นอกจากนี้ ธัญพืชทั้ง
 Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University    เมล็ดอุดมไปด้วยใยอาหาร สารพฤกษเคมี วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ โดย
 fagists@ku.ac.th
                 การศึกษาในมนุษย์หลายชิ้นพบว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธัญพืช
                 มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
                    นอกจากการเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรค-
                 ไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ แล้ว ยังมีการเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยง
                 ของโรคอ้วนอีกด้วย การรับประทานอาหารแบบ Plant-based foods อาจจะ
                 เป็นข้อกังวลของผู้บริโภคบางกลุ่ม เนื่องจากเห็นว่ามีการรับประทานถั่ว
                 ร่วมด้วย เนื่องจากถั่วมีปริมาณไขมันและพลังงานสูง แต่จากการศึกษาใน
                 มนุษย์พบว่าถ้าผู้บริโภคจัดสมดุลพลังงาน โดยเมื่อรับประทานถั่วมากขึ้นจะ
                 ลดพลังงานจากส่วนอื่นลง และมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มี
                 แนวโน้มน�้าหนักที่ลดลง นอกจากนี้ รูปแบบของคาร์โบไฮเดรตก็ยังมีบทบาท
                 ส�าคัญต่อการพัฒนาโรคอ้วนด้วย โดยพบว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน�้าตาลสูงจะ
                 ท�าให้ร่างกายสังเคราะห์ไขมันขึ้นมากกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน�้าตาลต�่า
                 เมื่อเทียบที่พลังงานเท่ากัน ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนี
                 น�้าตาลต�่าอย่างธัญพืชไม่ขัดสีจึงเป็นผลดีต่อร่างกาย อีกทั้งยังพบว่าการ-
                 บริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตประเภทที่มีค่าดัชนีน�้าตาลสูง
                 น้อยลงมีความสัมพันธ์กับระดับไขมันในเลือดและการลดลงของน�้าหนักตัว
                 และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
                    นอกจากประโยชน์ของ Plant-based foods ในแต่ละองค์ประกอบ
                 ที่กล่าวมาแล้วนั้น อีกสาเหตุหนึ่งที่ท�าให้ผู้บริโภคสนใจรูปแบบของ Plant-
                 based foods คือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในกระบวนการเลี้ยงสัตว์
                 มีการใช้ทรัพยากรอย่างมากเมื่อเทียบกับพืช ดังนั้น Plant-based foods
                 จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
                 มากขึ้น
                    ปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคด้าน Plant-based foods มีแนวโน้ม
                 มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเห็นได้จากการมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ท�ามาจากพืชและ

                                                                                                  JUNE  2019 FOOD FOCUS THAILAND  65


         64-67_Strategic R&D_Sudathip.indd   65                                                                      17/5/2562 BE   16:23
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70